[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
วิสัยทัศน์
          ประสานภาคีเครือข่ายกระจายการศึกษาสู่ชุมชน  สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
๑. จัดและส่งเสริมการรู้หนังสือ และพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ
๒. จัดและส่งเสริมให้เครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตรงตามความต้องการของ
กลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ
          ๔. พัฒนาผู้เรียน และผู้รับบริการ ให้สามารถใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่าง
          ๕. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้
 
บุคลากร
Ø นางสาวบุณยาพร เดือนเพ็ง
         
ภารกิจของ กศน. ตำบล
          กศน. ตำบลเป็นหน่วยงานที่มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน   ภารกิจที่สำคัญดังไปนี้
          ๑. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็นแหล่งที่รวบร่วมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของชุมชน เช่น   ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติชุมชน ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา สาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้ในขณะเดียวกัน ก็จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อื่น ๆ ด้วย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน ในขณะเดียวกันก็จะเป็นแหล่งกระจายข่าวสารข้อมูลของภาครัฐผ่านเสียงตามสาย หรืออาจเป็นสถานีวิทยุชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้วย
          ๒. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Cente) เป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน เช่น กิจกรรมศูยน์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ประชาชนใช้บริการซ่อมอุปกรณ์ไฟ้ฟ้า วิทยุ เครื่องยนต์ขนาดเล็ก กิจกรรมส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค  กิจกรรมให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฯลฯ ดัวนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นเสมือนที่นัดพบระหว่างประชาชนกัยหน่วยงานให้บริการต่าง ๆ ของรัฐหรือองค์อื่น ๆ เพื่อสร้าง
โอกาสทางการเรียนรู้
          ๓. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Leaning Cente) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ตอบ
สนองความต้องการของประชาชน เช่น การศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษา
ของประชากรวัยแรงงาน ซึ่งจัดโดย กศน. การศึกษานอกระบบที่จัดหลักสูตรการทำมาหากินในรูปของ
หลักสูตรระยะสั้นต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่จัดการฝึกอบรมประชาชนในหลักสูตรทีตอบสนองความต้องการของ
ชุมชนต่าง ๆ และการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับประชาชน เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ใน
ประเทศอาเซียนการเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
          ๔. ศูยน์ชุมชน (Commuity Center) เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนจะมาทำกิจกรรมร่วากัน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคม หรือใช้เป็นสถานที่พบประเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่เป็นที่ “โสเล” หรือ “เขลง” กันในชุมชน กศน. ตำบล จึงทำหน้าที่คล้ายศาลาประชาคมไปพร้อมกันด้วย
              กิจกรรมของ กศน. ตำบลเหล่านี้จะมีครู กศน. ตำบลซึ่งเป็นพนังงานราชการในสังกัดสำนักงาน กศน. เป็นผู้ดำเนินการจัดให้กิจกรรมเหล่านี้ขึ้น โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้ง อบต. อบจ. เทศบาล ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐบาล ภาคเอกชน รวมทั้งมีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชนผู้นำท้องถิ่นต่างๆ   เข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน
บทบาทหน้าที่ของครู กศน. ตำบล
ครู กศน. ตำบล เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต   ดังนั้น จึงมีบทบาทหน้าทีที่สำคัญในการขับเคลื่อน กศน. ตำบลกล่าวคือ
          ๑. การวางแผนจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้
   ๑.๑ ศึกษาสำรวจชุมชนโดยละเอียดเพื่อจัดทำฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลประชาชนจำแนกตามอายุเพศ อาชีพ ฯลฯ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติชุมชน ข้อมูลด้านอาชีพ รายได้ ข้อมูลทางสังคม ประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
 ๑.๒ จัดทำเวทีประชาคมร่วมกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันจัดทำแผนชุมชน ที่ระบุความต้องการในการพัฒนาชุมชนความต้องการการเรียนรู้ หรือการศึกษาต่อ ฯลฯ ของประชาชนในชุมชน
 ๑.๓ จัดทำโครงการด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มาจากแผนชุมชนเสนอต่อศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเพื่อขอรับการสนับสนุน และประสานงาน ขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
 ๑.๔ ประสานงานแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนอาสาสมัครต่างๆ เพื่อร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยของชุมชนที่รับผิดชอบ
          ๒. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน. ตำบล โดยจำแนกกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
   ๒.๑ การส่งเสริมการรู้หนังสือ
   ๒.๒ การจัดการศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            ๒.๓ การจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรระยะสั้นเพื่อการพัฒนาอาชีพ(วิชาการทำมาหากิน)การพัฒนาทักษะชีวิตและการพัฒนาสังคมและชุมชน
             ๒.๔ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
             ๒.๕ การจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
          ทั้งนี้ครู กศน. ตำบลจะมีบทบาทหลักเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitater) ให้กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้โดยมีกระบวนการทำงานคือ
                 ๑) การวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน ในแต่ละกิจกรรม/หลักสูตรเกี่ยวกับวิธีเรียน เวลาเรียน การใช้สื่อหรือแบบเรียน และการวัดผลประเมินผล
                ๒) ประสานงานเพื่อจัดหาวิทยากร   หรือผู้สอนในแต่ละรายวิชาหรือแต่ละหลักสูตรร่วมกับ กศน. ตำบล และจัดส่งผู้เรียนไปยังแผนที่วางไว้
                ๓) ให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ   รวมทั้งคอยช่วยแก้ไขปัญหาในการเรียนและการสอนตลอด หลักสูตร
               ๔) ประสานงานกับ กศน. อำเภอ เพื่อจัดหาสื่อและวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละหลักสูตร
               ๕) ประสานงาน     กศน. อำเภอ   เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลในแต่ละหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
               ๖) สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ต่อ กศน. อำเภอ
          ๓.การให้บริการการเรียนรู้ใน   กศน. ตำบล โดยเฉพาะกิจกรรมศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน ศูนย์บริการชุมชน ซึ่งนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เช่น
               ๓.๑ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และมุมห้องสมุดชุมชน
               ๓.๒ การให้บริการสื่อการเรียนรู้ต่างๆเช่น โทรทัศน์ รายการวิทยุเพื่อการศึกษา
               ๓.๓ การประสานงานสนับสนุนศูนย์ซ่อมสร้างชุมชน หรือช่างชุมน
          ๔. การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ทั้งด้านสังคม  วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งสนับสนุนการใช้บริการของประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการจัด
 
กิจกรรมขององค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ และส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มหรือชุมชน   เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคและองกรนักศึกษา กศน. เป็นต้น
๕. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรชุมชนผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครรักการอ่าน เป็นต้น


เข้าชม : 315
 
 
นักศึกษา ภาคเรียน 1/2563 ม.ต้น จำนวน 20 คน ม.ปลาย จำนวน 26 คน Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี