บทที่ ๑
บทนำ
ความเป็นมา
ด้วยโรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกมาได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
ในปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา อำเภอคลองท่อม เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม กันยายน ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากกลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบายของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหา ของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตัวเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไขเลือดออกเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไขเลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจิงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
๓. วัตถุประสงค์
๑ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
๒ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ขอบเขตการประเมิน
- ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จำนวน 3๐ คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี เหมาะสม และเกิดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
๑. แนวคิด/ทฤษฏี/นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม/โครงการที่จัด
ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี กล่าวว่าโรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue Hemorrhagic Fever : DHF) นับเป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่พบใหม่(Emerging disease)เมื่อ 45 ปีที่แล้ว โดยพบระบาดครั้งแรกที่ฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ.2497ต่อมาพบระบาดในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2501 และหลังจากนั้นได้ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี และอาจมีความรุนแรงมีภาวะช็อกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุที่ทาให้เสียชีวิตได้ โรคนี้จึงแตกต่างจากไข้เดงกี(Dengue Fever:DF)ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานเกิน 200 ปี ว่าเป็นโรคที่ไม่รุนแรง สาเหตุของโรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue Hemorrhagic Fever : DHF) เกิดจากการติดเชื้อที่นาโดยยุงลาย(Aedes aegypti) ที่มีความสำคัญมากที่สุดโดยพิจารณาทางด้านสาธารณสุขในแต่ละปีพบผู้ป่วยจานวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในทางการแพทย์ผู้ป่วยเดงกีที่รุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นผลจากการรั่วของพลาสม่า ทาให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ปัจจัยสำคัญที่ทาให้มีการแพร่ระบาดและมีการขยายพื้นที่เกิดโรคออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่การเพิ่มขึ้นของชุมชนเมือง การเคลื่อนไหวของประชากร มียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะที่มนุษย์ทาขึ้นเพื่อเก็บกักน้า การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ ทาให้การเดินทางเพิ่มขึ้นทั้งในและระหว่างประเทศ ทาให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อไปได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสเดงกีที่มีอยู่ในพื้นที่ก็มีความสำคัญต่อการเกิดโรคโดยปัจจัยเสี่ยงที่ทาให้เกิดโรคแบบ DHFที่สำคัญคือการที่ในพื้นที่มีเชื้อเดงกีชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน(hyperendemicity with multiple serotypes) หรือมีการระบาดทีละชนิดตามกันในเวลาที่เหมาะสม(sequential infection)เด็กมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เคยติดเชื้อมาแล้วครั้งหนึ่งและเป็นเด็กที่มีภาวะโภชนาการดี การศึกษาทางระบาดวิทยาที่แสดงว่าการติดเชื้อซ้า (secondary infection)ด้วยชนิดที่ต่างจากการติดเชื้อครั้งแรก (primary infection)เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเพราะส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ80-90 ของผู้ป่วยที่เป็น DHF มีการติดเชื้อซ้า
อาการของโรคไข้เลือดออกเดงกี
อาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออก
1.ไข้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และสูงลอยประมาณ 2-7 วัน
2.อาการเลือดออก อย่างน้อยมี tourniquet test positive ร่วมกับอาการเลือดออกอื่นๆ เช่น จุดเลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกาเดา อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
3.ตับโต
4.ภาวะช็อก
อาการเปลี่ยนแปลงที่พบจากห้องปฏิบัติการ
1.เกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 เซล/ลบ.มม.
2.เลือดข้นขึ้นกว่าเดิมมากกว่า 20%
การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี
สมเกียรติ บุญญะบัญชา(2546) ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของยุงลายในประเทศไทย กล่าวว่าเชื้อไวรัสจะแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยมียุงลายเป็นตัวนาที่สาคัญ ถึงแม้จะมียุงลายหลายชนิดที่สามารถแพร่เชื้อได้ แต่ที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยาของโรค DF/DHF คือAedes aegypti ซึ่งเป็นยุงที่อยู่ใกล้ชิดคนมาก ยุงตัวเมียจะดูดเลือดของคนที่มีเชื้อเดงกีอยู่ในกระแสเลือด(ช่วงที่มีไข้สูง)เชื้อจะเพิ่มจานวนในตัวยุง (ประมาณ 8-10 วัน)เพิ่มจานวนในผนังเซลกระเพาะและเข้าต่อมน้าลายพร้อมปล่อยสู่คนที่ถูกกัดได้ตลอดอายุของยุงตัวเมียซึ่งอยู่ได้นาน 30-45 วันการแพร่เชื้อต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ถ้ามียุงและคนที่มีเชื้อเดงกีอยู่ในชุมชนที่มีความหนาแน่นและไม่ได้ระวังป้องกันยุงมากัด ยุงลายมีขนาดค่อนข้างเล็ก สีขาวสลับดาพบทั่วไปในเขตร้อนแหล่งเพาะพันธุ์คือภาชนะขังน้าที่คนทาขึ้นและมีน้าขังเกิน 7 วัน โดยเป็นน้าที่นิ่งและใส ยุงลายตัวเมียหลังดูดเลือดคนแล้วจะวางไข่ตามผนังภาชนะเหนือระดับน้าเล็กน้อย อาศัยความชื้นจากน้าที่ขังอยู่และความมืด ไข่จะฟักเป็นลูกน้าภายใน 2 วันจากลูกน้า(larvae) เป็นตัวโม่ง(pupa) 6 - 8 วัน ตัวโม่งเป็นยุง 1-2 วัน ออกหากินและผสมพันธุ์โดยทั่วไปเข้าใจว่ายุงออกหากินเวลากลางวัน แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปยุงลายจะหากินได้ทุกเวลาที่มีแสงสว่างแม้เป็นกลางคืนที่เปิดไฟทากิจกรรมเช่นโรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียนภาคค่าที่ขาดการดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมปล่อยให้มียุงชุกชมและไม่มีระบบป้องกันยุงที่ดีเพียงพอ แต่ส่วนมากพบอยู่ตามที่พักอาศัยบ้านเรือน ทั้งภายในและรอบบริเวณบ้านระยะบินหากินจากแหล่งที่เพาะพันธุ์ ไม่เกิน 50 เมตร โดยจะพบยุงลายชุกชุมมากในฤดูฝนเนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมกับการเป็นตัวลูกน้าของไข่ที่วางไว้ตามผนังภาชนะที่สามารถทนความแห้งแล้งได้เป็นเวลา นานถึง 1 ปี
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมายถึงการช่วยกันควบคุมและกาจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงโดยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพและเคมีทั้งการกระทาด้วยตนเอง กับคนในบ้านการร่วมกับเพื่อนบ้าน ร่วมกับเจ้าหน้าที่และการแนะนาผู้อื่นในการกาจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นตัวนาเชื้อโรค ซึ่งเป็นวิธีการ ควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกที่ได้รับการยอมรับว่าได้ผลดี
การควบคุมยุงลายและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ยุงลายแบ่งเป็น 2 ชนิดที่สำคัญ คือยุงลายบ้านและยุงลายสวน ยุงลายบ้าน วางไข่ตามภาชนะ โอ่งน้าดื่ม น้าใช้ บ่อซีเมนต์ในห้องน้า ห้องส้วม ถ้วยหล่อขาตู้กันมด จานรองกระถางต้นไม้ แจกันดอกไม้ที่ใช้น้า อ่างล้างเท้า และตามเศษภาชนะที่ทิ้งไว้น้าขัง โอ่งแตก กระถางใส่น้าเลี้ยงสัตว์ กะลา ที่ปลูกพลูด่างตามอาคาร ฯลฯ
ยุงลายสวน วางไข่ตามกาบใบของพืชที่ขังน้าได้เช่นกาบกล้วย กาบมะพร้าว พลับพลึง บอน โพรงไม้ กระบอกไม้ที่มีน้าขัง ฯลฯ การวางไข่เป็นฟองเดี่ยวรวมเป็นกลุ่มตามผนังภาชนะ ครั้งละประมาณ 100 ฟอง ไข่ที่ได้รับความชื้น หรือมีน้าท่วมไข่ และฟักแตกเป็นตัวลูกน้าได้ภายใน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ที่สาคัญในระยะที่เป็นตัวโม่งพบว่ามันไม่กินอาหาร จึงใช้ทรายเคมีที่ใส่ในน้าไม่ได้ผล เมื่อเป็นตัวยุงบินได้จะพร้อมผสมพันธุ์ได้ใน 1-2 ชั่วโมง โดยตัวผู้จะมีชีวิตสั้นเพียง 6-7 วัน แต่ตัวเมียอยู่ได้ นาน 30-45 วันโดยผสมพันธุ์เพียง ครั้งเดียวก็วางไข่ได้ตลอดชีวิตโดยวางไข่หลังผสมพันธุ์ ภายใน 24 ชั่วโมง ต้องหากินเลือดมาเลี้ยงการเจริญของไข่
มาตรการในการควบคุมยุงลาย
มาตรการในการควบคุมโรคล่วงหน้าเป็นวิธีการที่มักได้ผลดี ดังนั้นประชาชน ควรรู้วิธีและสามารถทาการกาจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ตามระยะวงชีวิตของยุงลาย ตามระยะดังนี้
ระยะไข่ ไข่ของยุงลายมีขนาดเล็กมาก ทนต่อความแห้งแล้งและสารเคมีการกาจัดไข่ทาด้วยวิธีง่ายๆโดยการขัดล้างผิวภาชนะ
ระยะลูกน้าและตัวโม่ง การควบคุมกาจัดระยะนี้เป็นเหมือนเป้านิ่งทาได้ง่าย โดยการลดหรือทาลายภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่
1.ปิดภาชนะเก็บน้าให้มิดชิดด้วยฝาปิด โดยใช้ผ้า ไนล่อน มุ้ง หรือพลาสติกปิดแล้วมัดปากก่อน 1 ชั้นแล้วค่อยปิดฝา
2.ภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ เช่นบ่อซีเมนต์ ใช้ทรายอะเบท ในอัตรา 10 กรัมต่อน้า 100 ลิตร หรือใส่ปลาหางนกยูงตัวผู้ 2-10 ตัว แล้วแต่ขนาดบ่อ
3.คว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ประโยชน์หรือหาสิ่งปกคลุมให้มิดชิด
4.เก็บทาลายเศษวัสดุเหลือใช้ทั้งนอกบ้านและภายในบ้านเช่น ไห โอ่งแตก กะลามะพร้าวยางรถยนต์เก่า กระป๋อง ขวดฯลฯ
5.เปลี่ยนถ่ายน้าที่จาเป็นต้องมีในภาชนะทุก 7 วัน เช่น อ่างราดส้วม ถังอาบน้าในห้องน้า แจกัน
ระยะยุงตัวเต็มวัย การใช้สารเคมีกาจัดยุง ใช้กับดักยุง และการป้องกันไม่ให้ยุงกัด
การใช้วิธีการต่างๆ โดยไม่ใช้สารเคมีเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายซื้อสารเคมี แต่ทั้งนี้ต้องอาศัย การมีส่วนร่วมของชุมชนภาคเอกชน และการประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบทุกฝ่ายทำงานประสานกัน
นโยบายกระทรวงสาธารณสุข
โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2554 ) ได้กำหนดให้ทุกพื้นที่มีมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยเน้นการควบคุมก่อนเกิดโรคและเมื่อเกิดโรคขึ้นต้องควบคุมการระบาดให้โรคสงบลงโดยต้องดาเนินการควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง กำหนดให้มีอัตราป่วยได้ไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน หากเกินหรือควบคุมไม่ได้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบพื้นที่อาจได้รับมาตรการลงโทษทางวินัย จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องร่วมกันหาวิธีการ แนวทางการป้องกันก่อนเกิดโรคและมาตรการควบคุมการระบาดที่มีประสิทธิภาพทันเหตุการณ์เมื่อเกิดโรคขึ้น
ปัจจุบันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เน้นวิธีการควบคุมลูกน้ายุงลายเพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกโดยการใช้มาตรการ 3ร.5ป.โดยนามาใช้เป็นแนวทางป้องกันก่อนการระบาด
3 ร. โดยมีรายละเอียดดังนี้
ร1 โรงเรือน คือ ประชาชนต้องดูแลบ้านเรือนตนเอง ตลอดจนจัดสภาพสิ่งแวดล้อมให้ปลอดลูกน้ายุงลายทาพร้อมกันทุกบ้านให้ทั่วถึงและโดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านงบประมาณ วัสดุเวชภัณฑ์ในการกาจัดยุงและลูกน้า
ร 2 โรงเรียนหรือ ศูนย์เด็กเล็ก ต้องปลอดลูกน้าและยุงลายโดย
1. จัดอาคาร ห้องเรียนให้โปร่งโล่งลมระบายไม่เป็นที่เกาะพักของยุงหรือจัดให้บุห้องด้วยมุ้งลวด
2. จัดกิจกรรมการเรียนและการสอนให้มีเนื้อหาเรื่องโรคไข้เลือดออกการกาจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้า ควรจัดให้นักเรียนรับผิดชอบดูแลห้อง/อาคารเรียน /ห้องน้าให้ปลอดลูกน้ายุงลาย
3. โรงเรียนจัดกิกรรมส่งเสริมพฤติกรรมนักเรียน โดยกำหนดการรณรงค์การแข่งขันตอบปัญหา การประกวดห้องเรียน/อาคารปลอดลูกน้ายุงลาย
ร 3 โรงพยาบาล ต้องไม่มีลูกน้ายุงลายเพราะเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วย
5 ป. โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ป ปิด คือการควบคุมการวางไข่ของยุงลายโดยการปิดภาชนะที่ใส่น้าใช้น้าดื่มทุกชนิดไม่ให้ยุงลงไปวางไข่ได้ และสามารถป้องกันยุงที่เป็นตัวเต็มวัยออกมาจากภาชนะได้อีกด้วย การปิดภาชนะโดยการกักเก็บน้าจนเต็มแล้วใช้ฝาโอ่งที่มิดชิดปิดทับหรือรองด้วยพลาสติกอีกชั้นผูกปากให้แน่น เหมาะสาหรับภาชนะที่เก็บน้าไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
2. ป เปลี่ยน คือการเปลี่ยนถ่ายน้าทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรการเป็นตัวของลูกน้ายุงลายที่จะวางไข่และเป็นตัวได้ภายใน 7 วัน และควรขัดล้างภาชนะที่ถ่ายน้าด้วยแปรงทุกครั้งเพื่อเอาไข่ยุงที่วางไว้ออกไปด้วยเพราะยุงจะวางไข่ที่ผิวด้านในภาชนะ
3. ป ปล่อย คือการปล่อยปลากินลูกน้าเช่นปลากัด ปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้าอื่นๆ เพื่อช่วยกาจัดลูกน้าโดยวิธีธรรมชาติ เหมาะกับแหล่งน้านิ่ง น้าใส เช่น ถังอาบน้ารวมในห้องน้า ภาชนะเก็บน้าใบใหญ่ที่หาฝาปิดยาก และร่องน้าที่มักมีน้าขังแต่น้าไม่เน่าเสียก็เป็นที่เพาะพันธุ์ยุงที่ควรปล่อยปลาได้
4. ป ปรับ คือ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น คว่ำกะลา ยางรถยนต์ หรือภาชนะที่ไม่ได้ใช้งาน
5 ป. ปฏิบัติ คือ เจ้าของบ้านต้องลงมือปฏิบัติเอง จนเป็นนิสัย ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดโดยเฉพาะเวลากลางวัน เช่น กางมุ้งเวลานอน จุดยากันยุงหรือทายากันยุง
บทที่ ๓
วิธีการดำเนินโครงการ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
- ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จำนวน 30 คน
กลุ่มตัวอย่าง
- กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีทำการสำรวจและการเป็นตัวแทนจากชุมชนในการมาเข้าร่วมโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
- แบบประเมินความพึงพอใจ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
- ข้อมูลจากแบบสอบถาม
การวิเคราะห์ข้อมูล
- รวบรวมคะแนนที่ได้จากการทำแบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (X) และค่าร้อยละ (Percentage)
รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม
- ฟังบรรยายจากทางวิทยากร
- ดำเนินกิจกรรมตามโครงการควบคุ้มโรคไข้เลือดออก
บทที่ ๔
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหา ของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตัวเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไขเลือดออกเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการไป ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
วัตถุประสงค์
๑ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
๒ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
วิธีการประเมิน
1.ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นการร่วมโครงการควบคุ้มโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าโดยมีเกณฑ์การให้ผู้ตอบพิจารณาดังนี้
มากที่สุด หมายถึงระดับคะแนน ๕ คะแนน
มาก หมายถึงระดับคะแนน ๔ คะแนน
ปานกลาง หมายถึงระดับคะแนน ๓ คะแนน
น้อย หมายถึงระดับคะแนน ๒ คะแนน
น้อยที่สุด หมายถึงระดับคะแนน ๑ คะแนน
1. แจกแบบสอบถามให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการควบคุ้มโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน
3. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (X) และค่าร้อยละ (Percentage)
4. เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผลค่าเฉลี่ย (X) เป็นดังนี้
๔.๕๐ – ๕.๐๐ หมายถึง ดีมากที่สุด/เหมาะสมมากที่สุด
๓.๕๐ – ๔.๔๙ หมายถึง ดีมาก/เหมาะสมมาก
๒.๕๐ – ๓.๔๙ หมายถึง ปานกลาง
๑.๕๐ – ๒.๔๙ หมายถึง พอใช้
๑.๐๐ – ๑.๔๙ หมายถึง ต้องปรับปรุง
๕. สรุปผลการวิเคราะห์และจัดทำรายงาน
ผลการวิเคราะห์
การสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้ากิจกรรมแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการควบคุ้มโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 30 คน วิเคราะห์ผลดังตารางต่อไปนี้
ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป (ต้องการหาค่าร้อยละ)
ตารางที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตัวแปร
|
จำนวน
|
ร้อยละ
|
เพศ
- หญิง
- ชาย
|
29
1
|
96.67
3.33
|
รวม
|
30
|
100
|
อายุ
- ต่ำกว่า ๒๐ ปี
- อายุระหว่าง ๒๐ – ๓๐ ปี
- อายุระหว่าง ๓๑ – ๔๐ ปี
- อายุ ๔1 ปี ขึ้นไป
|
8
4
6
12
|
26.67
13.33
20
40
|
รวม
|
30
|
100
|
อาชีพ
- เกษตรกร
- รับจ้าง/ลูกจ้าง
- ธุรกิจส่วนตัว
- รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
- อื่น ๆ
|
15
3
-
-
12
|
50
10
-
-
40
|
รวม
|
30
|
๑๐๐
|
จากตารางที่ ๑ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 1 เเละเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 29 ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ อายุ ต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.67 รองลงมาอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 13.33 รองลงมาอายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 20 และรองลงมาอายุ 41 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 40 ผู้เข้าร่วมโครงการ
ตอนที่ ๒ การดำเนินการจัดกิจกรรมโดยวัดระดับความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ และการนำไปใช้
ตารางที่ ๒ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน
|
12
|
18
|
0
|
0
|
0
|
88.00
|
มาก
|
๒. ความสามารถในการอธิบายเนื้อหา
|
15
|
9
|
6
|
0
|
0
|
74.00
|
ปานกลาง
|
๓. การเชื่อมโยงเนื้อหา
|
9
|
21
|
0
|
0
|
0
|
86.00
|
มาก
|
๔. ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษา
|
8
|
22
|
0
|
0
|
0
|
85.33
|
มาก
|
๕. การใช้เวลาในแต่ละเนื้อหาที่กำหนดไว้
|
7
|
20
|
3
|
0
|
0
|
76.67
|
ปานกลาง
|
๖. การตอบข้อซักถามของประชาชน
|
5
|
21
|
2
|
2
|
0
|
72.67
|
ปานกลาง
|
|
|
|
|
|
|
80.44
|
มาก
|
จากตารางที่ ๒ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับปานกลางในด้านการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษา เนื้อหาที่กำหนดไว้ คิดเป็นร้อยละ 88.00, 85.33 ในด้านการใช้เวลา ที่มีความเหมาะสมกับโครงการ เนื่องจากได้มีการวางแผนและประสานสาน มีความพึงพอใจในระดับมาก การตอบข้อซักถามของประชาชน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จำนวน 30 คน ระดับความพึ่งพอใจรวม คิดเป็นร้อยละ 80.44
ตารางที่ ๓ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. ความน่าสนใจของกิจกรรม
|
2
|
27
|
1
|
0
|
0
|
80.67
|
มาก
|
๒. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับนักศึกษา
|
7
|
19
|
4
|
0
|
0
|
82.00
|
มาก
|
๓. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลา
|
5
|
20
|
5
|
0
|
0
|
80.00
|
ปานกลาง
|
|
|
|
|
|
|
80.89
|
มาก
|
จากตารางที่ ๓ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านความน่าสนใจของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 80.67 คิดเป็นร้อยละ 82.00 ในด้านกิจกรรมมีความเหมาะสมกับประชาชนทั่วไป มีความพึงพอใจในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 80.00 จากการสำรวจความพึ่งพอใจ รวม 80.89
ตารางที่ ๔ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. สถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม
|
11
|
19
|
0
|
0
|
|
87.33
|
มาก
|
๒. ความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์
|
20
|
7
|
3
|
0
|
|
91.33
|
มากที่สุด
|
๓. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
|
19
|
9
|
2
|
0
|
|
91.33
|
มากที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
90.00
|
มาก
|
จากตารางที่ ๔ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านสถานที่จัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 87..33 และในด้านความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์มีความพึงพอใจในระดับมากคิด ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม91.33 มีพึงพอใจในระดับมากที่สุด จากการสำรวจความพึ่งพอใจรวม 90.00
ตารางที่ ๕ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจ
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. ความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียน
|
25
|
5
|
0
|
0
|
0
|
96.67
|
มากที่สุด
|
๒. ความรู้ความเข้าใจหลังการเรียน
|
28
|
2
|
0
|
0
|
0
|
98.67
|
มากที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
97.67
|
มากที่สุด
|
จากตารางที่ ๕ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจความรู้ก่อนการอบรมในระดับความพึงพอใจความรู้ที่ได้รับหลังการอบรมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 97.67
ตารางที่ ๖ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. สามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้
|
12
|
14
|
4
|
0
|
0
|
85.33
|
มาก
|
๒. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน/ดำรงชีวิตได้
|
18
|
12
|
0
|
0
|
0
|
92.00
|
มากที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
88.67
|
มาก
|
จากตารางที่ ๖ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านความรู้ที่สามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 88.67
ตอนที่ ๓ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
๑. มีการอบรมและเรียนรู้สถานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
๒. ควรจัดทำคู่มือรายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันเกี่ยวกับการไข้เลือดออกเพื่อให้ผู้เข้าร่วม โครงการได้ศึกษารายละเอียดหลังสิ้นสุดโครงการ
บทที่ ๕
สรุปและอภิปรายผล
สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
ตารางที่ ๗ สรุปผลการดำเนินโครงการ
ตัวชี้วัด
|
เกณฑ์
|
ผลการดำเนินงาน
|
เป้าหมายการบรรลุ
|
หมายเหตุ
|
บรรลุ
|
ไม่บรรลุ
|
๑.การดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร
|
ร้อยละ 9๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 80.44
|
ü
|
|
|
๒.การดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ
|
ร้อยละ 9๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 80.89
|
ü
|
|
|
๓.การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ
|
ร้อยละ 9๐ มีความพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 90.00
|
ü
|
|
|
๔. การดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
|
ร้อยละ 9๐ มีความรู้ความเข้าใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 94.67
|
ü
|
|
|
๕. การดำเนินกิจกรรมในด้านความมั่นใจในการนำรู้ไปใช้
|
ร้อยละ 9๐ มีความมั่นใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 88.67
|
ü
|
|
|
รวม
|
86.93
|
ü
|
|
|
สรุปผล
๑. การบรรลุเป้าหมายของโครงการ
- เป้าหมายของผู้ร่วมโครงการฯประกอบด้วยประชาชนที่สนใจในจากเป้าหมาย 3๐ คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
๒. การบรรลุวัตถุประสงค์
- ในการดำเนินโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ด้วยดี
ตารางที่ ๘ การบรรลุวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
|
การบรรลุวัตถุประสงค์
|
บรรลุ
|
ไม่บรรลุ
|
๑ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
|
√
|
|
๒ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
|
√
|
|
๓. ผลการจัดกิจกรรม
ตารางที่ ๙ ผลการจัดกิจกรรม
ตัวชี้วัด
|
เกณฑ์
|
ระดับผล
|
การบรรลุ
|
บรรลุ
|
ไม่บรรลุ
|
๑.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูก เหมาะสม และเกิดตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
๒. ร้อยละ ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และสมารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้
|
ร้อยละ 9๐
ร้อยละ 95
|
ร้อยละ ๑๐๐
ร้อยละ ๑๐๐
|
√
√
|
|
อภิปรายผล
จากการดำเนินโครงการจากการดำเนินโครงการควบคุ้มโรคไข้เลือดออก ให้ความสนใจเป็นอย่างดีและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสมได้
ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป
-
เข้าชม : 191 |