[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
บทที่ ๑
บทนำ
ความเป็นมา
   จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป   สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีมีความทันสมัย   ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องผันแปรไป    หากไม่รู้เท่าทันก็จะตกเป็นเหยื่อของบริโภคนิยม ก่อให้เกิดปัญหาความทุกข์ความเดือดร้อน   ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ   การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญา
“เศรษฐกิจพอเพียง”  ที่ใช้หลักการพึ่งตนเองทั้งในด้านจิตใจ หน้าที่การงาน สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ ได้ชี้นาแนวทางในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ
ประชาชน ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ
ในการนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนใช้ชีวิตอย่างพอเพียง กศน.ตำบลคลองพน ตำบลคลองพน จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น           
วัตถุประสงค์
     . เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ
     . เพื่อส่งเสริมความรู้ และทักษะการทำปุ๋ยชีวภาพ

ขอบเขตการประเมิน
     -   ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จำนวน   ๒๐ คน
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ มีความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ และมีทักษะในการทำปุ๋ยชีวภาพสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและเป็นทางเลือกเพื่อประกอบอาชีพได้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
. แนวคิด/ทฤษฏี/นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม/โครงการที่จัด
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสขี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นยํ้าแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ (คณะกรรมการการอำนวยการเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย, 2549)
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจาการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนทั่วไป
“เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy . คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฏีใหม่ . . Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศของโลกพัฒนาดีขึ้น”พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542
 
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจ คือ การพัฒนาที่ตั่งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรมประกอบการวางแผนการตัดสินใจ และการกระทำ เป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสร้างความสมดุล เพื่อความยั่งยืน หรือเป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เพื่ออยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
1.สมดุล คือ การพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกาภิวัตน์กับท้องถิ่น สมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจกับการเงิน สมดุลระหว่างคนกับสังคม และสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
2.ยั่งยืน คือ การเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว จำต้องสมดุลในทุกๆด้าน มีความยืดหยุ่น ปรับตัวทำให้มีภูมิคุ้มกัน เจริญเติบโตทางด้านประมาณและคุณภาพ ทำให้ก้าวทัน และพร้อมรับกระแสโลกาภิวัตน์ (คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549) 5
หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเดินสายกลาง ความพอเพียง การพอดี ความพอประมาณ หรือมัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางสายกลาง ฯลฯ ซึ่งหลายท่านใช้ต่างกันแต่มุ่งไปในความหมายเดียว โดยกล่าวเป็นประเด็นหลักๆของความพอดี ได้แก่
 1 พอดีด้านจิตใจ หากทุกคนมีจิตใจที่เข้มแข็ง สำนึกดีต่อผลประโยชน์ส่วนร่วม สำนึกต่อความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมบนผืนแผ่นดินเดียวกัน ก็จะนำไปสู่ความยั่งยืนร่วมกันได้
2 พอดีด้านสังคมวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าสังคมหรือวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติจะต่างกันก็ตามหากแต่ต่างคนต่างดูและและอนุรักษ์ รวมถึงการผนึกกําลังเกื้อกูลต่อกันในสังคม และวัฒนธรรม ภาพที่แตกต่างกันก็สามารถสร้างความงดงามให้แก่สังคมและวัฒนธรรมได้โดยยั่งยืน
3 พอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความไม่พอดีในทรัพยากรธรรมชาติ ก็จะนำไปสู่สภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่การเอาชนะทรัพยากรธรรมชาติสุดท้ายธรรมชาติก็กลับชนะเราดังเช่นภัยธรรมชาติที่เคยปรากฏแล้ว
4 พอดีด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่พอกินสมควรตามอัตภาพและฐานะของตน
5 พอดีจึงเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จ เพราะทุกสิ่งที่เขาทำไม่พลาดเลย ทะลุเป้าพอดีและได้ประโยชน์สูงสุด ความพอดีจึงเป็นภารกิจที่ประณีตละเอียดอ่อน ต้องใช้สติที่สมบูรณ์ ปัญญาที่แจ่มใส จึงจะบริหารให้เกิดความพอดีได้
6 ความพอดีหรือความเป็นกลางจะบริหารให้เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือการที่จำให้เกิดความรู้ที่เที่ยงตรงได้นั้น ต้องฝึกจิตให้มีระเบียบ นิ่ง สมาธิ จิตที่นิ่งและมีสมาธิจะเป็นบ่อเกิดความรู้ที่เที่ยงตรง เพราะการนิ่ง สงบ เกิดความว่างเปล่า ทำให้เห็นภาวะบวก และภาวะลบอย่างเที่ยงตรงตามความจริง ปัญญาก็จะเกิด ปัญญาจึงวัดจากความสำเร็จโดยสมควรและต้องมีความสุขอันยิ่งใหญ่ด้วย
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2 คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆกันดังนี้
 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.1 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
 
 
 
3.2. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์วสุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
4. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
5. เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดาริ
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมวล กลั่นกรองและให้คำนิยาม ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” สรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงชีวิตอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ในการพัฒนาและบริหารตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศให้ดำเนินไปอย่างรอบคอบ รู้จักความพอเพียงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์
4.1 ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บทที่ ๓
วิธีการดำเนินโครงการ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
-          ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จำนวน   ๒๐ คน
กลุ่มตัวอย่าง
-          กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20  คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีทำการสำรวจและการเป็นตัวแทนจากชุมชนในการมาเข้าร่วมโครงการ
 
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
-          แบบประเมินความพึงพอใจ
 
การเก็บรวบรวมข้อมูล
-          ข้อมูลจากแบบสอบถาม
 
การวิเคราะห์ข้อมูล
-          รวบรวมคะแนนที่ได้จากการทำแบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (X) และค่าร้อยละ (Percentage)
 
รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม
- ฟังบรรยายจากทางวิทยากร
- ดำเนินกิจกรรมตามโครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บทที่ ๔
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมในการจัดกิจกรรมและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและเป็นทางเลือกเพื่อประกอบอาชีพได้ ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
วัตถุประสงค์
       . เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ
       ๒. เพื่อส่งเสริมความรู้ และทักษะการทำปุ๋ยชีวภาพ
วิธีการประเมิน
๑.      ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นการร่วมโครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ  ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าโดยมีเกณฑ์การให้ผู้ตอบพิจารณาดังนี้ 
                        มากที่สุด          หมายถึงระดับคะแนน              ๕       คะแนน
                        มาก               หมายถึงระดับคะแนน              ๔        คะแนน
                        ปานกลาง        หมายถึงระดับคะแนน              ๓        คะแนน
                        น้อย              หมายถึงระดับคะแนน              ๒        คะแนน
                        น้อยที่สุด         หมายถึงระดับคะแนน              ๑        คะแนน
๒.    แจกแบบสอบถามให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ
๓.    ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ    จำนวน  20   คน
๔.      รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (X)  และค่าร้อยละ (Percentage)
๕.      เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผลค่าเฉลี่ย (X) เป็นดังนี้
          ๔.๕๐ – ๕.๐๐    หมายถึง          ดีมากที่สุด/เหมาะสมมากที่สุด
          ๓.๕๐ – ๔.๔๙    หมายถึง          ดีมาก/เหมาะสมมาก
          ๒.๕๐ – ๓.๔๙    หมายถึง          ปานกลาง
          ๑.๕๐ – ๒.๔๙    หมายถึง          พอใช้   
          ๑.๐๐ – ๑.๔๙    หมายถึง          ต้องปรับปรุง    
. สรุปผลการวิเคราะห์และจัดทำรายงาน
ผลการวิเคราะห์
                  การสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้ากิจกรรมแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม  จำนวน  20 คน วิเคราะห์ผลดังตารางต่อไปนี้                 
ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป (ต้องการหาค่าร้อยละ)
ตารางที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
เพศ
   - หญิง
   - ชาย
 
14
6
 
70
30
รวม
20
100
อายุ
 - ต่ำกว่า ๒๐ ปี
- อายุระหว่าง ๒๐ – ๓๐   ปี
 - อายุระหว่าง ๓๑ – ๔๐ ปี
 - อายุ ๔1 ปี ขึ้นไป
 
1
3
5
11
 
5
15
25
55
รวม
20
100
 
ตารางที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ)
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
อาชีพ
- เกษตรกร
- รับจ้าง/ลูกจ้าง
- ธุรกิจส่วนตัว
- รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
- อื่น ๆ
 
15
-
-
-
5
 
75
-
-
-
25
รวม
20
๑๐๐
 
               จากตารางที่ ๑ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 30 เเละเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ อายุ ต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 5 รองลงมาอายุ           20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 15 รองลงมาอายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 25  และรองลงมาอายุ 41 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 55  ผู้เข้าร่วมโครงการ
 
 
 
 
 
 
 
ตอนที่ ๒ การดำเนินการจัดกิจกรรมโดยวัดระดับความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ และการนำไปใช้
ตารางที่ ๒ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร
ประเด็นความคิดเห็น
ระดับความคิดเห็น
ผลการประเมิน
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ร้อยละ
ผลการประเมิน
๑. การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน
3
12
5
0
0
78.00
ปานกลาง
๒. ความสามารถในการอธิบายเนื้อหา
9
8
2
1
0
85.00
มาก
๓. การเชื่อมโยงเนื้อหา
1
16
3
0
0
78.00
ปานกลาง
๔. ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษา
4
9
7
0
0
77.00
ปานกลาง
๕. การใช้เวลาในแต่ละเนื้อหาที่กำหนดไว้
4
15
1
0
0
83.00
มาก
๖. การตอบข้อซักถามของประชาชน
2
16
1
1
0
79.00
ปานกลาง
 
 
 
 
 
 
80.00
ปานกลาง
 
                จากตารางที่ ๒ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับปานกลางในด้านการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน  ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษา เนื้อหาที่กำหนดไว้ คิดเป็นร้อยละ 78.00, 77.00 และ 83.00 ในด้านการใช้เวลา ที่มีความเหมาะสมกับโครงการ เนื่องจากได้มีการวางแผนและประสานสาน   มีความพึงพอใจในระดับมาก การตอบข้อซักถามของประชาชน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จำนวน 20 คน ระดับความพึ่งพอใจรวม คิดเป็นร้อยละ80.00
 
ตารางที่ ๓ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ
ประเด็นความคิดเห็น
ระดับความคิดเห็น
ผลการประเมิน
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ร้อยละ
ผลการประเมิน
๑. ความน่าสนใจของกิจกรรม
6
10
4
0
0
82.00
มาก
๒. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับนักศึกษา
8
10
2
0
0
86.00
มาก
๓. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลา
12
7
1
0
0
91.00
มากที่สุด
 
 
 
 
 
 
86.33
มาก
 
                จากตารางที่ ๓ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ  ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านความน่าสนใจของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 82.00   คิดเป็นร้อยละ ๘6.00  ในด้านกิจกรรมมีความเหมาะสมกับประชาชนทั่วไป  มีความพึงพอใจในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 91.00 จากการสำรวจความพึ่งพอใจ รวม 83.33
 
ตารางที่ ๔ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ
ประเด็นความคิดเห็น
ระดับความคิดเห็น
ผลการประเมิน
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ร้อยละ
ผลการประเมิน
๑. สถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม
16
3
1
0
0
95.00
มากที่สุด
๒. ความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์
14
4
2
0
0
92.00
มากที่สุด
๓. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
6
13
0
1
0
84.00
มาก
 
 
 
 
 
 
90.33
มากที่สุด
จากตารางที่ ๔ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านสถานที่จัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 95.00 และในด้านความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์มีความพึงพอใจในระดับมากคิด  ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม มีพึงพอใจในระดับมาก จากการสำรวจความพึ่งพอใจรวม 90.33
ตารางที่ ๕ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจ
ประเด็นความคิดเห็น
ระดับความคิดเห็น
ผลการประเมิน
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ร้อยละ
ผลการประเมิน
๑. ความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียน
17
3
0
0
0
97.00
มากที่สุด
๒. ความรู้ความเข้าใจหลังการเรียน
16
2
2
0
0
94.00
มากที่สุด
 
 
 
 
 
 
95.50
มากที่สุด
          จากตารางที่ ๕ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจความรู้ก่อนการอบรมในระดับความพึงพอใจความรู้ที่ได้รับหลังการอบรมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 95.50
 
 
 
 
ตารางที่ ๖ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้
ประเด็นความคิดเห็น
ระดับความคิดเห็น
ผลการประเมิน
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ร้อยละ
ผลการประเมิน
๑. สามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้
10
6
4
0
0
86.00
มาก
๒. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน/ดำรงชีวิตได้
15
3
2
0
0
93.00
มากที่สุด
 
 
 
 
 
 
89.50
มาก
จากตารางที่ ๖ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านความรู้ที่สามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน  คิดเป็นร้อยละ   89.50
 
 
ตอนที่ ๓ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
          ๑. มีการศึกษาและเรียนรู้นอกสถานที่
          ๒. ควรจัดทำคู่มือรายละเอียดเนื้อหาของแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้ศึกษารายละเอียดหลังสิ้นสุดโครงการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บทที่ ๕
สรุปและอภิปรายผล
สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
ตารางที่ ๗ สรุปผลการดำเนินโครงการ
ตัวชี้วัด
เกณฑ์
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายการบรรลุ
หมายเหตุ
บรรลุ
ไม่บรรลุ
๑.การดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร
ร้อยละ ๘๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
ร้อยละ 80.00
ü
 
 
๒.การดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ
ร้อยละ ๘๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
ร้อยละ 86.33
ü
 
 
๓.การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ
ร้อยละ ๘๐ มีความพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
ร้อยละ 90.33
ü
 
 
๔. การดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจระดับมากขึ้นไป
ร้อยละ 95.50
ü
 
 
๕. การดำเนินกิจกรรมในด้านความมั่นใจในการนำรู้ไปใช้
ร้อยละ ๘๐ มีความมั่นใจระดับมากขึ้นไป
ร้อยละ 89.50
ü
 
 
 รวม
88.33
ü
 
 
 
สรุปผล      
. การบรรลุเป้าหมายของโครงการ
     - เป้าหมายของผู้ร่วมโครงการฯประกอบด้วยประชาชนที่สนใจในจากเป้าหมาย 2๐ คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
. การบรรลุวัตถุประสงค์
 - ในการดำเนินโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ด้วยดี
 
ตารางที่ ๘ การบรรลุวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
การบรรลุวัตถุประสงค์
บรรลุ
ไม่บรรลุ
. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ      
 
 . เพื่อส่งเสริมความรู้ และทักษะการทำปุ๋ยชีวภาพ
 
 
 
 
 
. ผลการจัดกิจกรรม
ตารางที่ ๙ ผลการจัดกิจกรรม
ตัวชี้วัด
เกณฑ์
ระดับผล
การบรรลุ
บรรลุ
ไม่บรรลุ
.ของประชาชนทั่วไปตำบลคลองพนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ
. ร้อยละของประชาชนทั่วไปตำบลคลองพนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ มีความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถทำปุ๋ยชีวภาพได้ จำนวน 20 คน
ร้อยละ 9๐
 
 
 
 
ร้อยละ ๘๐
ร้อยละ ๑๐๐
 
 
 
 
ร้อยละ ๑๐๐
 
 
 
 
 
 
อภิปรายผล
     จากการดำเนินโครงการจากการดำเนินโครงการ อบรมส่งเสริมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ  ให้ความสนใจเป็นอย่างดีและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการ ฯ มีความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักเกษตรธรรมชาติ และมีทักษะในการทำปุ๋ยชีวภาพสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและเป็นทางเลือกเพื่อประกอบอาชีพได้
 
ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป
 -
 
 


เข้าชม : 161
 
 
กศน. ตำบลคลองพน หมู่ที่ 4 ตำบลคลองพน  อำเภอคลองท่อม  จังหวัดกระบี่
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี