บทที่ ๑
บทนำ
ความเป็นมา
ด้วยพื้นที่ ตำบลคลองพน มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกหินเพิง และป่าชายเลนปัจจุบันหลายจังหวัดในประเทศไทยรวมทั้งตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ กำลังประสบปัญหาในเรื่องการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ โดยไม่มีการจัดการที่เหมาะสมทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีสภาพเสื่อมโทรมลง ระบบนิเวศน์ถูกทำลาย ป่าชายเลนถูกทำลาย ส่งผลให้ความสมดุลที่มีในธรรมชาติขาดหายไปและนำไปสู่การเกิดการสูญพันธ์ของสัตว์น้ำต่าง ๆ ทั้งนี้ปัญหาสำคัญอยู่ที่การสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักต่อคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
กศน.ตำบลคลองพน ตระหนักดีว่าการอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนในชุมชน และเป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ โดยต้องสร้างจิตสำนึก ความรักและหวงแหนให้เกิดขึ้นกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่เข้าร่วมโครงการที่สนใจ ในพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อประโยชน์ให้ชุมชนต่อไป
๓. วัตถุประสงค์
๑ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า
๒ เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ร่วมกันปลูกป่าชายเลน
ขอบเขตการประเมิน
- ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จำนวน ๒๐ คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาดูแลระบบนิเวศป่าชายเลนในพื้นที่ หมู่ที่ 13 บ้านคลองยี่เหร่ ได้
บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
๑. แนวคิด/ทฤษฏี/นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม/โครงการที่จัด
ป่าไม้ของประเทศไทยถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วตามแรงหนุนเนื่องของประชากรที่เพิ่มขึ้นผนวกกับพลังผลักดันทางเศรษฐกิจระบบทุนนิยมเสรีที่มุ่งค้าขาย โดยใช้ป่าเป็นตัวสำคัญเชิงพาณิชย์ การเช่นนี้ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเนื่องจากต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อยามน้ำหลากก็เกิดน้ำท่วมฉับพลันและมีการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จนเป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นทุกข์ร้อนของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวยิ่งนัก โดยเฉพาะเรื่องป่าไม้เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติเป็นต้นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธี คือ
ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร หรือ การปลูกป่าธรรมชาติ ทรงเสนอแนวทางปฏิบัติว่า
ปลูกต้นไม้ที่ขึ้นอยู่เดิม คือ...ศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้าง แล้วปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษาได้งดปลูกไม้ผิดแผกจากถิ่นเดิม คือ ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ชัดเสียก่อน
การปลูกป่าทดแทน
ในขณะนี้ประเทศไทยเรามีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศประมาณการได้เพียง 80 ล้านไร่เท่านั้น หากจะเพิ่มเนื่องที่ป่าไม้ให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศแล้ว คนไทยจะต้องช่วยกันปลูกป่าถึง 48 ล้านไร่ โดยใช้กล้าไม้ปลูกไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านต้น ใช้เวลาถึง 20 ปี จึงจะเพิ่มป่าไม้ได้ครบเป้าหมายที่กำหนดไว้เท่านั้น
การปลูกป่าทดแทนจึงเป็นแนวทฤษฏีการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมรรควิธีในการปลูกป่าทดแทน เพื่อคืนธรรมชาติสู่แผ่นดินด้วยวิถีทางแบบผสมผสานกันในเชิงปฏิบัติดังพระราชดำริความตอนหนึ่งว่า
การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผนโดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขาในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมมือกันสำรวจต้นน้ำในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปรับปรุงต้นน้ำและพัฒนาอาชีพได้อย่างถูกต้อง
วิธีการปลูกป่าทดแทน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำแนะนำให้มีการปลูกป่าทดแทนตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ที่เหมาะสมกล่าว คือ ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เสื่อมโทรมหรือพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกแผ้วถางจนเป็นภูเขาหัวโล้น แล้วจำต้องปลูกป่าทดแทนเร่งด่วนนั้นควรจะทดลองปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วคลุมแนวร่องน้ำเสียก่อน เพื่อทำให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า เพราะไฟจะเกิดง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น ในปีต่อไปก็ให้ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถัดขึ้นไป ความชุ่มชื้นก็จะแผ่ขยายกว้างต่อไปอีก ต้นไม้จะงอกงามดีตลอดทั้งปี
การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขาจะต้องปลูกต้นไม้หลายๆ ชนิด เพื่อให้ได้ประโยชน์อเนกประสงค์ คือ มีทั้งไม้
ผล ไม้สำหรับก่อสร้าง และไม้สำหรับทำฟืน ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ ซึ่งเมื่อตัดไม้ใช้แล้ว ก็ปลูกทดแทนหมุนเวียนทันที
การปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง
ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้ แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย
1. ให้มีการปลูกป่าที่ยอดเขา เนื่องจากสภาพป่าบนที่เขาสูงทรุดโทรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำตอนล่าง และคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่มีเมล็ดเป็นฝักเพื่อให้เป็นกระบวนการธรรมชาติปลูกต่อไปจนถึงตีนเขา
2. ปลูกป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ หรือเหนืออ่างเก็บน้ำที่ไม่มีความชุ่มชื้นยาวนานพอ
3. ปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำและแหล่งน้ำให้มีน้ำสะอาดบริโภค
4. ปลูกป่าให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่า
5. ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า
แนวพะราชดำริทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวยสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด : Check Dam
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่งทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง กล่าวคือ ปัญหาที่สำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น น้ำ คือ สิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำ หรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจะเรียกขานกันว่า ฝายชะลอความชุ่มชื้น ก็ได้ เช่นกัน Check Dam คือ สิ่งก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลเทลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่างนับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชาอธิบายว่า การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้น จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อยๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย...
Check Dam ตามแนวพระราชดำริ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ
1. Check Dam แบบท้องถิ่นเบื้องต้น เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้ และท่อนไม้ล้มขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่ายๆ ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำซึ่งจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบๆฝายได้เป็นอย่างดี วิธีการนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลยนอกจากใช้แรงงานเท่านั้น
บัดนี้ ในหลายโครงการที่เป็นการปลูกป่าทดแทนตามแนวพระราชดำริได้บรรลุผลสัมฤทธิ์น่าพึงพอใจ อาทิเช่น โครงการปลูกป่าชัยพัฒนาแม่ฟ้าหลวง ที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย และที่หนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงการปลูกสร้างสวนป่าศูนย์ศึกษาการพัฒนาต่างๆ โครงการสวนป่าสิริเจริญวรรษ จังหวัดชลบุรี โครงการปลูกป่าห้วยอนาคต จังหวัดกาญจนบุรี โครงการปลูกป่าเสริมธรรมชิตในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เป็นต้น
1. การปลูกป่า 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง : การรู้จัดใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยพระปรีชาญาณอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนมากที่สุดยาวนานที่สุดและทั่วถึงกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำการปลูกป่าในเชิงผสมผสาน ทั้งด้านเกษตรวนศาสตร์และเศรษฐกิจสังคมไว้เป็นมรรควิธีปลูกป่าแบบลักษณะเบ็ดเสร็จนั้นไว้ด้วย
ลักษณะทั่วไปของป่า 3 อย่าง
พระราชดำริปลูกป่า 3 อย่างนั้น มีพระราชดำรัส ความว่า ...ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม่หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆใหญ่ๆ การที่จะปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์ดังนี้ ในคำวิเคราะห์ของกรมป่าไม้รู้สึกจะไม่ใช่ป่าไม้ แต่ในความหมายของการช่วยเหลือเพื่อต้นน้ำลำธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวยผลไม้ก็ตามหรือเป็นสวนฟืนก็ตามนั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะทำหน้าที่เป็นป่า คือ เป็นต้นไม้และทำหน้าที่เป็นทรัพยากรในด้านสำหรับให้ผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้...
ประโยชน์ที่ได้รับ ในการปลูกป่า 3 อย่างนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชาอธิบายถึงประโยชน์ในการปลูกป่าตามพระราชดำริว่า
การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่นแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย และได้มีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า
การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ...
พระราชดำริเพื่อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ดำเนินการในหลายส่วนราชการ ทั้งกรมป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่ง คือ การปลูกป่าใช้สอย โดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้างและหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์ และสะเดา เป็นต้น
บทที่ ๓
วิธีการดำเนินโครงการ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
- ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จำนวน 49 คน
กลุ่มตัวอย่าง
- กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนทั่วไปในตำบลคลองพนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 49 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีทำการสำรวจและการเป็นตัวแทนจากชุมชนในการมาเข้าร่วมโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
- แบบประเมินความพึงพอใจ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
- ข้อมูลจากแบบสอบถาม
การวิเคราะห์ข้อมูล
- รวบรวมคะแนนที่ได้จากการทำแบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (X) และค่าร้อยละ (Percentage)
รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม
- ฟังบรรยายจากทางวิทยากร
- ดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ตำบลคลองพน
บทที่ ๔
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ตระหนักถึงการอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนในชุมชน และเป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ โดยต้องสร้างจิตสำนึก ความรักและหวงแหนให้เกิดขึ้นกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่เข้าร่วมโครงการที่สนใจ ในพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อประโยชน์ให้ชุมชนต่อไป ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
วัตถุประสงค์
๑ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า
๒ เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ร่วมกันปลูกป่าชายเลน
วิธีการประเมิน
1.ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นการร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ตำบลคลองพน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าโดยมีเกณฑ์การให้ผู้ตอบพิจารณาดังนี้
มากที่สุด หมายถึงระดับคะแนน ๕ คะแนน
มาก หมายถึงระดับคะแนน ๔ คะแนน
ปานกลาง หมายถึงระดับคะแนน ๓ คะแนน
น้อย หมายถึงระดับคะแนน ๒ คะแนน
น้อยที่สุด หมายถึงระดับคะแนน ๑ คะแนน
1. แจกแบบสอบถามให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ตำบลคลองพน
2. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 49 คน
3. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (X) และค่าร้อยละ (Percentage)
4. เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผลค่าเฉลี่ย (X) เป็นดังนี้
๔.๕๐ – ๕.๐๐ หมายถึง ดีมากที่สุด/เหมาะสมมากที่สุด
๓.๕๐ – ๔.๔๙ หมายถึง ดีมาก/เหมาะสมมาก
๒.๕๐ – ๓.๔๙ หมายถึง ปานกลาง
๑.๕๐ – ๒.๔๙ หมายถึง พอใช้
๑.๐๐ – ๑.๔๙ หมายถึง ต้องปรับปรุง
๕. สรุปผลการวิเคราะห์และจัดทำรายงาน
ผลการวิเคราะห์
การสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้ากิจกรรมแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ตำบลคลองพน ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 49 คน วิเคราะห์ผลดังตารางต่อไปนี้
ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป (ต้องการหาค่าร้อยละ)
ตารางที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตัวแปร
|
จำนวน
|
ร้อยละ
|
เพศ
- หญิง
- ชาย
|
23
26
|
46.94
53.06
|
รวม
|
49
|
100
|
อายุ
- ต่ำกว่า ๒๐ ปี
- อายุระหว่าง ๒๐ – ๓๐ ปี
- อายุระหว่าง ๓๑ – ๔๐ ปี
- อายุ ๔1 ปี ขึ้นไป
|
13
11
2
23
|
26.53
22.45
4.08
46.94
|
รวม
|
49
|
100
|
อาชีพ
- เกษตรกร
- รับจ้าง/ลูกจ้าง
- ธุรกิจส่วนตัว
- รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
- อื่น ๆ
|
15
15
-
-
19
|
30.61
30.61
-
-
38.78
|
รวม
|
49
|
๑๐๐
|
จากตารางที่ ๑ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 26 เเละเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 23 ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ อายุ ต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.53 รองลงมาอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 22.45 รองลงมาอายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 4.08 และรองลงมาอายุ 41 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 46.94 ผู้เข้าร่วมโครงการ
ตอนที่ ๒ การดำเนินการจัดกิจกรรมโดยวัดระดับความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ และการนำไปใช้
ตารางที่ ๒ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน
|
33
|
15
|
1
|
0
|
0
|
91.84
|
มากที่สุด
|
๒. ความสามารถในการอธิบายเนื้อหา
|
41
|
6
|
2
|
0
|
0
|
93.47
|
มากที่สุด
|
๓. การเชื่อมโยงเนื้อหา
|
36
|
13
|
0
|
0
|
0
|
94.69
|
มากที่สุด
|
๔. ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษา
|
25
|
22
|
2
|
0
|
0
|
86.94
|
มาก
|
๕. การใช้เวลาในแต่ละเนื้อหาที่กำหนดไว้
|
29
|
19
|
1
|
0
|
0
|
90.20
|
มากที่สุด
|
๖. การตอบข้อซักถามของประชาชน
|
31
|
17
|
1
|
0
|
0
|
91.02
|
มากที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
91.36
|
มากที่สุด
|
จากตารางที่ ๒ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับปานกลางในด้านการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษา เนื้อหาที่กำหนดไว้ คิดเป็นร้อยละ 91.84, 93.47 และ 90.20 ในด้านการใช้เวลา ที่มีความเหมาะสมกับโครงการ เนื่องจากได้มีการวางแผนและประสานสาน มีความพึงพอใจในระดับมาก การตอบข้อซักถามของประชาชน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จำนวน 49 คน ระดับความพึ่งพอใจรวม คิดเป็นร้อยละ91.36
ตารางที่ ๓ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. ความน่าสนใจของกิจกรรม
|
33
|
10
|
6
|
0
|
33
|
91.02
|
มากที่สุด
|
๒. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับนักศึกษา
|
20
|
25
|
2
|
2
|
20
|
85.71
|
มาก
|
๓. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลา
|
39
|
10
|
0
|
0
|
39
|
95.92
|
มากที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
90.88
|
มากที่สุด
|
จากตารางที่ ๓ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านความน่าสนใจของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 91.02 คิดเป็นร้อยละ 85.71 ในด้านกิจกรรมมีความเหมาะสมกับประชาชนทั่วไป มีความพึงพอใจในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 95.52 จากการสำรวจความพึ่งพอใจ รวม 90.88
ตารางที่ ๔ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. สถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม
|
14
|
35
|
0
|
0
|
14
|
85.71
|
มาก
|
๒. ความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์
|
27
|
20
|
2
|
0
|
27
|
90.20
|
มากที่สุด
|
๓. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
|
23
|
24
|
1
|
1
|
23
|
88.16
|
มาก
|
|
|
|
|
|
|
88.03
|
มาก
|
จากตารางที่ ๔ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านสถานที่จัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 85.71 และในด้านความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์มีความพึงพอใจในระดับมากคิด ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม มีพึงพอใจในระดับมาก จากการสำรวจความพึ่งพอใจรวม 88.03
ตารางที่ ๕ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจ
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. ความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียน
|
30
|
19
|
0
|
0
|
0
|
92.24
|
มากที่สุด
|
๒. ความรู้ความเข้าใจหลังการเรียน
|
36
|
13
|
|
0
|
0
|
94.69
|
มากที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
93.47
|
มากที่สุด
|
จากตารางที่ ๕ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจความรู้ก่อนการอบรมในระดับความพึงพอใจความรู้ที่ได้รับหลังการอบรมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 93.47
ตารางที่ ๖ แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้
ประเด็นความคิดเห็น
|
ระดับความคิดเห็น
|
ผลการประเมิน
|
มากที่สุด
|
มาก
|
ปานกลาง
|
น้อย
|
น้อยที่สุด
|
ร้อยละ
|
ผลการประเมิน
|
๑. สามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้
|
29
|
19
|
1
|
0
|
0
|
91.43
|
มากที่สุด
|
๒. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน/ดำรงชีวิตได้
|
41
|
8
|
0
|
0
|
0
|
96.73
|
มากที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
94.08
|
มากที่สุด
|
จากตารางที่ ๖ การแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านความรู้ที่สามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 94.08
ตอนที่ ๓ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
๑. มีการศึกษาและเรียนรู้นอกสถานที่
๒. ควรจัดทำคู่มือรายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ศึกษารายละเอียดหลังสิ้นสุดโครงการ
บทที่ ๕
สรุปและอภิปรายผล
สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
ตารางที่ ๗ สรุปผลการดำเนินโครงการ
ตัวชี้วัด
|
เกณฑ์
|
ผลการดำเนินงาน
|
เป้าหมายการบรรลุ
|
หมายเหตุ
|
บรรลุ
|
ไม่บรรลุ
|
๑.การดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร
|
ร้อยละ 9๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 91.36
|
ü
|
|
|
๒.การดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ
|
ร้อยละ 9๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 90.88
|
ü
|
|
|
๓.การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ
|
ร้อยละ 9๐ มีความพึงพอใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 88.03
|
ü
|
|
|
๔. การดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
|
ร้อยละ 9๐ มีความรู้ความเข้าใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 93.47
|
ü
|
|
|
๕. การดำเนินกิจกรรมในด้านความมั่นใจในการนำรู้ไปใช้
|
ร้อยละ 9๐ มีความมั่นใจระดับมากขึ้นไป
|
ร้อยละ 94.08
|
ü
|
|
|
รวม
|
91.56
|
ü
|
|
|
สรุปผล
๑. การบรรลุเป้าหมายของโครงการ
- เป้าหมายของผู้ร่วมโครงการฯประกอบด้วยประชาชนที่สนใจในจากเป้าหมาย 2๐ คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
๒. การบรรลุวัตถุประสงค์
- ในการดำเนินโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ด้วยดี
ตารางที่ ๘ การบรรลุวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
|
การบรรลุวัตถุประสงค์
|
บรรลุ
|
ไม่บรรลุ
|
๑ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า
|
√
|
|
๒ เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ร่วมกันปลูกป่าชายเลน
|
√
|
|
๓. ผลการจัดกิจกรรม
ตารางที่ ๙ ผลการจัดกิจกรรม
ตัวชี้วัด
|
เกณฑ์
|
ระดับผล
|
การบรรลุ
|
บรรลุ
|
ไม่บรรลุ
|
๑.ประชาชนทั่วไปตำบลคลองพนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ
๒. ร้อยละของประชาชนทั่วไปตำบลคลองพนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันปลูกป่า จำนวน 3๐๐ ต้น ได้ ในจำนวน 49 คน
|
ร้อยละ 9๐
ร้อยละ ๘๐
|
ร้อยละ ๑๐๐
ร้อยละ ๑๐๐
|
√
√
|
|
อภิปรายผล
จากการดำเนินโครงการจากการดำเนินโครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ตำบลคลองพน ให้ความสนใจเป็นอย่างดีและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการ ฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาดูแลระบบนิเวศป่าชายเลนในพื้นที่ หมู่ที่ 13 บ้านคลองยี่เหร่ ได้
ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป
-
เข้าชม : 271 |