[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

เนื้อหา : Download
หมวดหมู่ : ทดสอบหมวดหมู่
หัวข้อเรื่อง : ใบความรู้วิชาโครงงาน

จันทร์ ที่ 29 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2558


ใบความรู้

ความหมายของโครงงาน

 

      โครงงานหมายถึง  กิจกรรมหรืองานที่ส่งสนับสนุนให้นักเรียนได้เลือกศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานตามที่ตนเองมีความถนัด มีความพร้อมและสนใจ แล้วลงมือปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดของงานที่จะทำไว้ล่วงหน้าอย่างมีขั้นตอนพร้อมทั้งคาดการณ์ ผลที่จะเกิดขึ้นได้โดยรับคำแนะนำปรึกษาจากครู อาจารย์ในโรงเรียนของตน

 

ความสำคัญของโครงงาน

        ในการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมเสริมตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 ( ฉบับปรับปรุง 2533) มีดังนี้

1.  ด้านนักเรียน

1.1 ช่วยสร้างความหวังใหม่ในการริเริ่มงานที่จะนำไปสู่งานอาชีพ การศึกษาต่อในวิชาที่ตนเองถนัดและสนใจ

1.2 สร้างเสริมประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงด้วยชีวิตจริง ส่งผลให้เกิดความเข้าใจอย่างซาบซึ้งในโครงงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา

1.3 ได้มีโอกาสทดสอบความถนัดของตนเอง และการแก้ปัญหาในงานที่ตนเองสนใจ และมีความพร้อม ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินต่อไป

1.4 ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้สร้างเกียรติประวัติในโครงงานที่ได้ริเริ่มสร้างสรรค์

      1.5 ก่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีงามต่อกันในระหว่างเพื่อนร่วมงานเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม

1.6 ก่อให้เกิดความรู้ทางวิชาการที่กว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับความสนใจในการศึกษาตามหลักสูตร และตรงกับจุดหมายที่กำหนดไว้

 

2. ด้านโรงเรียนและครูอาจารย์

2.1 เกิดการประสานงานทางวิชาการที่ผสมผสานหรือบูรณาการเกิดขึ้นในโรงเรียนตรงกับหลักสูตรมัธยมศึกษา และแนวการพิจารณาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

2.2 เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่า การเรียนการสอนในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการฝึกปฏิบัติจริงในโครงงานของนักเรียนมากกว่าที่จะเรียนอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น

2.3 เกิดศูนย์รวมสื่อการเรียนการสอน หรือศูนย์วัสดุอุปกรณ์การสอนสำหรับในหมวดวิชาต่างๆในโรงเรียนไดใช้ร่วมกัน ส่งผลให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกใช้สื่อการสอนอย่างแท้จริงและหลากหลาย

2.4 เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน โรงเรียนครูอาจารย์ที่มีโอกาสปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ตรงกัน

 

3. ด้านท้องถิ่น

3.1 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ ผลงานในเชิงปฏิบัติโครงงานของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จไปสู่ท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นกับโรงเรียนมีความเข้าใจและประสานสัมพันธ์กันดี

3.2 ช่วยลดปัญหาวัยรุ่นในท้องถิ่นเกี่ยวกับความประพฤติ จรรยามารยาท และศีลธรรม เพราะนักเรียนที่มีโครงงานมักจะเป็นนักเรียนที่มีความประพฤติดี มุ่งมั่นและสนใจศึกษาเล่าเรียน

3.3 ทำให้ประชาชนในท้องถิ่น มีพื้นฐานทางการศึกษาดี โดยเฉพาะงานอาชีพหลากหลาย และพัฒนาการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เยาวชนของชาติมีนิสัยรักการทำงาน ไม่เป็นคนหยิบหย่ง และช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยดี

                                                        

ขอบข่ายของโครงงาน

          ขอบข่ายของโครงงาน การดำเนินงานโดยมีนักเรียนเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ และครูอาจารย์เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา สรุปได้ดังนี้คือ

          1. เป็นกิจกรรมการศึกษาที่ให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติด้วยตนเอง โดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์ และกิจกรรมต่างๆ ที่ได้พบเห็นมาแล้ว

          2. นักเรียนทุกคนเป็นผู้พิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือกลุ่ม จำนวน 2-4 คน ต่อกลุ่ม โดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากกว่าก็ได้

          3.  นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจและความพร้อม

          4.  นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงานแผนปฏิบัติงาน และแปรผลรายงานต่อครูอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนด

          5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

 
โครงงานประเภทต่างๆ

          การแบ่งประเภทของโครงงานมีหลายวิธี เช่น แบ่งตามหมวดวิชาการงานและอาชีพในโรงเรียน เช่น โครงงานเกษตรกรรม โครงงานคหกรรม โครงงานอุตสาหกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์   เป็นต้น และจากขอบข่ายโครงงานดังกล่าว จะเห็นได้ว่านักเรียนเป็นผู้ดำเนินงาน โดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน และนักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทั้งด้านการเสนอโครงงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตลอดจนทำแผนปฏิบัติการ และรายงานผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทำให้สามารถแยกประเภทของโครงงานได้ 4 ประเภท ดังนี้คือ

 

 

ประเภทของโครงงานได้ 4 ประเภท ดังนี้คือ

          1. ประเภทพัฒนาผลงาน

          2. ประเภทศึกษา ค้นคว้า ทดลอง

          3. ประเภทสิ่งประดิษฐ์

4. ประเภทสำรวจข้อมูล

1. ประเภทพัฒนาผลงาน

          โครงงานนี้เป็นโครงงานที่เกิดจากการได้ศึกษาเนื้อหาทางวิชาการและอาชีพ หรือวิชาสามัญต่างๆ แล้วนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทางทฤษฎีหรือหลักวิชาดังกล่าว เช่น เมื่อได้ศึกษาเรื่องสมุนไพร ก็อาจทำโครงงานการใช้ยาปราบศัตรูพืชด้วยพืชสมุนไพร กำจัดเพลี้ย หนอน ฯลฯ เมื่อได้ศึกษาเรื่องถนอมอาหาร ก็อาจทำโครงงานแปรรูปผลผลิต เช่น การทำผักดอง ทำไส้กรอก ฯลฯ เมื่อได้ศึกษาเรื่องการเลี้ยงปลา ก็อาจทำโครงงานการเลี้ยงปลาสวยงาม การทำตู้ปลาจำหน่าย ฯลฯ เมื่อได้ศึกษาเรื่องการปลูกผักกางมุ้งก็อาจทำโครงงานปลูกผักกาดหัว ผักคะน้า ผักกาดขาว และผักบุ้งจีนเป็นต้น

 

 

2. โครงงานประเภทศึกษาค้นคว้า ทดลอง

          โครงงานนี้เป็นโครงงานที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพื่อยืนยันทฤษฎีหรือหลักการที่ได้ศึกษามาแล้ว หรือต้องการทราบแนวทาง เพิ่มคุณค่าและการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น

          - การศึกษาสูตรอาหารไก่ตอน

          - การทดลองปลูกพืชในน้ำยา หรือโดยไม่ใช้ดิน

- การศึกษาสีย้อมผ้าจากพืชสมุนไพร

          - การใช้ฮอร์โมนกับกิ่งกุหลาบ

- การใช้ฮอร์โมนในการผสมเทียมปลาดุก

3. โครงงานประเภทสร้างสิ่งประดิษฐ์

          โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เกิดขึ้นหลังจากได้ศึกษาทฤษฎี หรือพบเห็นผลงานของผู้อื่นมาแล้ว เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาต่อไป จึงประดิษฐ์คิดค้นให้สามารถใช้ประโยชน์ ได้ดียิ่งขึ้น หรือเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย  เช่น

          - การประดิษฐ์หัวฉีดพ่นน้ำในแปลงปลูกผัก

          - การประดิษฐ์ของชำร่วย

          - การประดิษฐ์เครื่องบำบัดน้ำเสีย

          - การประดิษฐ์เครื่องเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

          - การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ

4. โครงงานประเภทสำรวจข้อมูล

          โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ได้ศึกษาและสำรวจข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงหรือส่งเสริมให้ผลผลิตหรือผลงานมีคุณภาพ หรือคุณค่ามากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น เช่น

- การสำรวจราคาพืชผักในตลาดท้องถิ่น

- การสำรวจราคาปลาสวยงามในตลาดท้องถิ่น

- การสำรวจความต้องการปลาสวยงามในตลาดท้องถิ่น

- การสำรวจความต้องการพืชผักต่างๆ ในตลาดท้องถิ่น

- การสำรวจแหล่งวิชาการและสถานประกอบการในท้องถิ่น

- การสำรวจแหล่งความรู้ของเกษตรกรในท้องถิ่น

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนวิชา ง43221  โครงงาน

          การจัดการเรียนการสอนวิชาโครงงานนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกโครงงานเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคลตามความสนใจ ความถนัด และความเหมาะสม อาจเลือกทำโครงงานได้หลายลักษณะ ดังนี้

- เลือกทำโครงงานใหญ่ เพียง 1 โครงงาน ตลอดภาคเรียน

- เลือกทำมากกว่า 1 โครงงาน ตลอดภาคเรียน

          การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกทำโครงงานได้หลายลักษณะนี้ เพราะหลักสูตรมิได้กำหนดจำนวนชิ้นงานให้กับผู้เรียน แต่กำหนดขอบข่ายและกรอบของกระบวนการทำงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถคิดงานได้หลายลักษณะ

 
ลักษณะโครงงานที่นักเรียนปฏิบัติ

1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามโครงงานแล้ว ได้ผลผลิตเป็นชิ้นงาน

2. นำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลิตชิ้นงาน

3. นำชิ้นงานที่ผลิตได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

 

ใบความรู้

แบบขออนุมัติโครงงาน

รายวิชา  โครงงาน 

 

 

ชื่อหัวข้อโครงงาน  ..............................................................................................................................

กลุ่มที่.......................      ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น     

1.    วัตถุประสงค์/คุณประโยชน์

1. เพื่อ...........................................................................................................................

2. เพื่อ...........................................................................................................................

3. เพื่อ...........................................................................................................................

4. เพื่อ..........................................................................................................................

2.    คุณลักษณะของชิ้นงาน  ...............................................................................................................

                                              ..............................................................................................................        

3.    งบประมาณโครงงาน     ...............................................................................................................

                                             ...............................................................................................................

                                             ...............................................................................................................

4.  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ขั้นตอน

วิธีการ

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

1.ขั้นเตรียมข้อมูล

 

 

 

 

 

2.ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์

1...........................................................

2...........................................................

3...........................................................

4...........................................................

5……………………………………..

6..........................................................

 

1……………………………………..

2……………………………………..

3……………………………………..

4……………………………………..

5……………………………………..

6……………………………………..

7……………………………………...

8……………………………………...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอน

วิธีการ

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

3.ขั้นดำเนินการ

 

 

 

 

 

 

4.ขั้นประเมินผล

 

 

 

 

 

 

5. ขั้นนำเสนอโครงงาน

1...........................................................

2..........................................................

3...........................................................

4...........................................................

5...........................................................

6...........................................................

 

1. ระหว่างปฏิบัติโครงงาน…………...

………………………………………

2. โครงงานสิ้นสุด..............................

.............................................................

3. ปรับปรุงพัฒนางาน.........................

............................................................

 

1.  รวบรวมข้อมูล

2.  จัดทำเอกสาร

3.  เตรียมนำเสนอ

4.  ปรับปรุงผลงาน

 

 

 

 

 

5.  แหล่งข้อมูล  

1...................................................................................................................................

2..................................................................................................................................

ข้อเสนอแนะ.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                                ลงชื่อ..................................................ผู้เสนอโครงงาน

                                                                          (..................................................)

 

                          อนุมัติ                            ไม่อนุมัติ

                                                                                               

                                                                   ลงชื่อ.........................................................

                                                                                ( นางนันท์ณภัส  บำรุงผล )

                                 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างชื่อโครงงาน(ได้รับการอนุเคราะห์มาจากงานเกษตร)

 

ลำดับที่

ชื่อโครงงาน

ประเภทโครงงาน

พัฒนา

ผลงาน

ค้นคว้า

ทดลอง

สร้างสิ่ง

ประดิษฐ์

สำรวจ

ข้อมูล

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21     

 

ปลูกผักกางมุ้ง                                                   

เลี้ยงผึ้ง 

เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์      

เลี้ยงปลานิล     

เลี้ยงไก่สวยงาม  

เลี้ยงกระต่าย    

เลี้ยงปลากัดไทย 

ปลูกไม้ประดับในภาชนะในภาชนะชนิดต่างๆปลูกดาวเรือง    

ปลูกผักสวนครัว 

การสำรวจปริมาณการเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่น

ปลูกพืชในน้ำยา 

การศึกษาสูตรอาหารไก่ตอน       

การเลี้ยงปลาสวยงาม                                        

การเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม         

การใช้ฮอร์โมนกับกุหลาบ

การใช้ฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุก   

การศึกษาสีย้อมผ้าจากพืชสมุนไพร

การเลี้ยงไก่กระทง        

การประดิษฐ์หัวฉีดพ่นน้ำในแปลงผัก

การประดิษฐ์ของชำร่วย

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

 

 

 

 

 

1

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

1

 

 

 

 

 

 

1

1

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

 

ลำดับที่

ชื่อโครงงาน

ประเภทโครงงาน

พัฒนา

ผลงาน

ค้นคว้า

ทดลอง

สร้างสิ่ง

ประดิษฐ์

สำรวจ

ข้อมูล

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

 

40

41

42

43

การประดิษฐ์เครื่องบำบัดน้ำเสีย   

การประดิษฐ์เครื่องเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ  

การประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุ       

การประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำในตู้ปลา        

การประดิษฐ์เครื่องรับวิทยุ                  

ขยายพันธุ์พืช โดยการปักชำ       

เพาะเมล็ดพันธุ์พืช                  

เพาะเห็ดฟาง    

การสำรวจราคาพืชผักในตลาดท้องถิ่น      

การปลูกไม้ประดับในอาคาร       

เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ 

การสำรวจความต้องการพืชผักในตลาดท้องถิ่นการผลิตกล้าไม้  

เลี้ยงปลาทับทิมในบ่อซีเมนต์       

ปลูกกล้วยน้ำว้า 

การสำรวจราคาปลาสวยงามในตลาดท้องถิ่น

ทำก้อนเชื้อเห็ด  

การสำรวจความต้องการปลาสวยงามในตลาดท้องถิ่น 

ทำกล้วยตาก    

การผลิตเครื่องดื่ม         

การเก็บอาหาร โดยอัดขวดกระป๋อง         

การทำแป้งจากกล้วยต่างๆ         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

1

1

 

1

1

 

 

 

 

1

1

1

1

1

 

1

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

1

1

1

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

 

 

1

 

 

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

ลำดับที่

ชื่อโครงงาน

ประเภทโครงงาน

พัฒนา

ผลงาน

ค้นคว้า

ทดลอง

สร้างสิ่ง

ประดิษฐ์

สำรวจ

ข้อมูล

44

45

46

47

48

49

ประดิษฐ์ของตกแต่งบ้านจากวัสดุท้องถิ่น   

การปลูกปาล์มกระถาง   

เพาะถั่วงอก     

เลี้ยงนกกระทา  

เลี้ยงตะพาบน้ำไต้หวัน    

การปลูกกล้วยไม้

 

1

1

1

1

1

 

1

1

 

 

หมายเหตุ (ถ้านักเรียนเห็นว่าโครงงานทที่นักเรียน และครูเสนอไว้ 50 โครงงานยังไม่เพียงพอก็อาจจะเสนออีกจำนวนเท่าใดก็ได้)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใบความรู้

 

   การนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์

 

          การนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ อาจทำได้ในแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงในรูป

นิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปล่า

ไม่ว่าการนำเสนอผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญคือ มีความชัดเจน เข้าใจง่าย

และมีความถูกต้องในเนื้อหา

 

          การแสดงผลงานจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงาน เรียกได้ว่า

เป็นงานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการแสดงผลิตผลของงาน  ความคิด  และ

ความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไป และเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ

ถึงผลงานนั้น ๆ มีผู้กล่าวว่าการวางแผนออกแบบเพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่า ๆ กับ

การทำโครงงานนั่นเอง  ผลงานที่ทำขึ้นจะดียอดเยี่ยมเพียงใด  แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดี

ก็เท่ากับไม่ได้แสดงความดียอดเยี่ยมของผลงานนั่นเอง

 

        ประเด็นสำคัญที่ควรจัดให้ครอบคลุม

          การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงในรูปนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการ

จัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบ

หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปล่า  ไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรจัดทำให้

ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

          1.  ชื่อโครงงาน

          2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน

          3.  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

          4.  ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน

          5.  วิธีดำเนินการ

          6.  การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง

          7.  ผลการสังเกตและข้อมูลเด่น ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน

          ข้อคำนึงถึงในการจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์   ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

          1.  ความปลอดภัยของการจัดแสดง

          2.  ความเหมาะสมกับเนื้อที่ที่จัดแสดง

          3.  คำอธิบายที่เขียนแสดง  ควรเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญและสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น  โดยใช้

ข้อความกะทัดรัด  ชัดเจน  และเข้าใจง่าย

          4.  ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชม  โดยใช้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจ  ใช้สีที่สดใสเน้นจุดสำคัญ

หรือใช้วัสดุต่าง ๆ ในการจัดแสดง

          5.  ใช้ตาราง และรูปภาพประกอบ  โดยจัดวางอย่างเหมาะสม

          6.  สิ่งที่แสดงทุกอย่างและการเขียนข้อความต้องถูกต้อง  ไม่มีการสะกดผิด  หรืออธิบาย

หลักการที่ผิด

          7.  ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์  สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

 

          ข้อคำนึงถึงในการอธิบายหรือรายงานปากเปล่า  ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

          1.  ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบายเป็นอย่างดี

          2.  คำนึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับระดับผู้ฟัง  ควรให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย

          3.  ควรรายงานอย่างตรงไปตรงมา  ไม่อ้อมค้อม

          4.  พยายามหลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน  แต่อาจจดหัวข้อสำคัญ ๆ ไว้เพื่อช่วยให้การรายงาน

เป็นไปตามขั้นตอน

          5.  อย่าท่องจำรายงาน  เพราะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ

          6.  ขณะที่รายงาน ควรมองตรงไปยังผู้ฟัง

          7.  เตรียมตัวตอบคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ

          8.  ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้ถาม

          9.  หากติดขัดในการอธิบาย  ควรยอมรับโดยดี  อย่ากลบเกลื่อนหรือหาทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่น

         10.  ควรรายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

         11.  ควรใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการรายงานด้วย  เช่น  แผ่นโปร่งใส  หรือสไลด์

เป็นต้น

 

 




เข้าชม : 1022


ทดสอบหมวดหมู่ 5 อันดับล่าสุด

      ตารางสอบ 5 / ก.พ. / 2559
      แผนการสอน ภาคเรียนที่ 2/58 ม.ต้น 16 / ธ.ค. / 2558
      แผนการสอน ภาคเรียนที่ 2/58 ม.ปลาย 16 / ธ.ค. / 2558
      แบบการเขียน กพช. 16 / ธ.ค. / 2558
      ใความรู้คณิตศาสตร์ 13 / ก.ค. / 2558


 
ติดต่อเรา

นางสาวสายทิพย์    อุดี  ครู กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว โทร ๐๘๐-๗๓๑๑๘๒๕

กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว ม.๕ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี