ใบความรู้ที่ 1
การวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ
ศักยภาพ คือ ความสามารถภายในร่างกายที่ซ่อนเร้น และยังไม่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจหรือดำเนินการในสิ่งต่างๆ
การพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างมีกระบวนการโดยมีจุดมุ่งหมายกำหนดไว้
การพัฒนาศักยภาพ คือ การนำเอาความสามารถที่ซ่อนเร้นภายในมาใช้ประโยชน์อย่างมีกระบวนการ
เพื่อให้ได้ผลงานเกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
การวิเคราะห์ คือ การแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมถึงสืบค้นความสัมพันธ์ส่วนย่อยเหล่านั้น
การวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ คือ การแยกแยะส่วนย่อยของความสามารถที่ซ่อนเร้นใยตัวตนนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีกระบวนการ เพื่อผลงานที่ดีที่สุด
คุณค่าและความจำเป็นของการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ
1. ผู้ประกอบการรู้จักตัวเอง, คู่แข่งขัน
2. ผู้ประกอบการสามารถวางกลยุทธ์ทางธุรกิจได้หลายระดับ และแบ่งแยกหน้าที่ได้ชัดเจน เหมาะสมกับความถนัด
3. ผู้ประกอบการสามารถมองหาลู่ทางการลงทุนได้ดีขึ้น
ตัวอย่างการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ
คุณพงษ์ศักดิ์ ชัยศิริ เจ้าของร้านเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนไม้
1. มีใจรักด้านการค้าเฟอร์นิเจอร์ ชอบบริการงานด้านการขาย
2. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง อ่อนน้อมถ่อมตน
3. มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ขายสินค้าเหมาะสมกับราคา ไม่เอาเปรียบลูกค้า
4. มีความรู้ด้านเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนไม้เป็นอย่างดี
5. ทำเลที่ตั้งร้านมีความเหมาะสม
6. มีเงินทุนหมุนเวียนคล่องตัว
7. มีส่วนแบ่งตลาดในท้องถิ่นประมาณ 30%
8. ลูกค้าส่วนใหญ่อาชีพพนักงานบริษัท, ข้าราชการ ระดับรายได้ปานกลาง ในหมู่บ้านจัดสรรบริเวณใกล้เคียงประมาณ 7 หมู่บ้านแถบชานเมือง
9. ในท้องถิ่นมีผู้ประกอบกิจการค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้เช่นเดียวกัน 3 ราย
10. ทิศทางในอาชีพนี้ ยังมีอนาคตอีกยาวไกลจะมีจำนวนหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้นในแถบนี้อีกประมาณ 5 หมู่บ้าน
จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ศักยภาพมีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาอาชีพให้เข้มแข็งมาก หากได้วิเคราะห์แยกแยะศักยภาพของตนเองอย่างรอบด้าน ปัจจัยภายในตัวตนผู้ประกอบการ ปัจจัยภายนอกของผู้ประกอบการ โอกาสและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจการค้า ยิ่งวิเคราะห์ได้มากและถูกต้องแม่นยำมาก จะทำให้ผู้ประกอบการรู้จักตนเอง อาชีพของตนเองได้ดียิ่งขึ้นเหมือนคำกล่าว รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะทั้งร้อยครั้ง
ใบงานที่ 1
การวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ
ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจอาชีพของตนเอง หรืออาชีพที่ตนเองสนใจจากปัจจัยภายในตัวตนของผู้เรียนและปัจจัยภายนอกที่แวดล้อม รวมถึงโอกาสที่ดี อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นเป็นลำดับ เหมือนตัวอย่างใบความรู้ที่ 1
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
ใบความรู้ที่ 2
ตำแหน่งธุรกิจ
สภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์ไม่คงที่ การขึ้นลงของยอดขายผลิตภัณฑ์ขึ้นกับ
ลักษณะและความทันสมัยของผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ตลาดและสภาพการแข่งขันในตลาดว่าจะสามารถตอบสนอง
ความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภคในขณะนั้นมากน้อยเพียงใด
สภาพตลาดที่มีการแข่งขันสูงมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ธุรกิจต้อง
พัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ขายอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทันสมัยอยู่เสมอในสายตาผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์
ใดที่ธุรกิจไม่สามารถปรับกลยุทธ์ตลาดได้ทันก็จะมียอดขายลดต่ำลงและเลิกขายในที่สุด ในทางกรงกันข้าม
ผลิตภัณฑ์ใดที่ได้รับการดูแล ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ตลาดให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาด
ที่เกิดขึ้นก็จะมียอดขายสูงขึ้นตราบเท่าที่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ใดมีคุณภาพดีกว่า หรือตอบสนองความต้องการของ
ผู้บริโภคได้มากกว่าเข้าสู่ตลาด ธุรกิจเรียกยอดขายของผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาและกลยุทธ์
ตลาดวงจรชีวิจผลิตภัณฑ์ อาจจำแนกวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
1. ขั้นแนะนำตลาด (Introduction Stage) เป็นช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ถูกนำเสนอสู่ตลาดเป็นครั้ง
แรก เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จักและอยากทดลองบริโภค จึงเป็นระยะที่ผลิตภัณฑ์มียอดขายค่อย ๆ เพิ่ม
สูงขึ้น อย่างไรก็ดี กิจการยังอาจไม่มีกำไร เพียงแต่ขาดทุนน้อยลงจนกว่าจะมียอดขายมากพอที่จะ
ครอบคลุมต้นทุนผลิตภัณฑ์ได้หมด กิจการจึงจะได้กำไรจากการขายผลิตภัณฑ์
2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth Stage) เป็นระยะที่ผลิตภัณฑ์มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และ
กิจการได้กำไรจากการขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
3. ขั้นอิ่มตัว (Maturity Stage) เป็นระยะที่ผลิตภัณฑ์ยังคงมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นจากระยะเจริญเติบโต
แต่อัตราเพิ่มเริ่มลดลง จนเมื่อยอดขายสูงสุดแล้วก็จะค่อย ๆ มียอดยายลดต่ำลงเช่นเดียวกับกำไรที่ได้
จากการขายผลิตภัณฑ์ก็คอย ๆ ลดต่ำลง
4. ระยะตกต่ำ (Decline Stage) เป็นระยะที่ยอดขายของผลิตภัณฑ์ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจนอาจทำให้
กิจการไม่ได้รับกำไรจากการผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เลย และต้องตัดสินใจเลิกขายไปในที่สุด
จากวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ระยะ จะเห็นได้ ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีชีวิตอยู่ในตลาดได้เพียงระยะเวลาหนึ่ง
เท่านั้น เมื่อกิจการไม่สามารถทำกำไรหรือได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วกิจการก็จะเลิกขาย
ผลิตภัณฑ์และจัดหาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาเสนอขายในตลาดแทนที่ผลิตภัณฑ์เดิมอาจแสดงภาพวงจรชีวิต
ผลิตภัณฑ์ทั่วไปดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงลักษณะของกำไรของยอดขายของผลิตภัณฑ์ในแต่ละช่วงเวลาวงจรชีวิต
อย่างไรก็ดี วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีระยะเวลาสั้น - ยาว อยู่ในตลาดแตกต่างกัน ผลิตภัณฑ์
หลายชนิดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ขายได้เฉพาะในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งสั้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์
ชนิดอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่อาจไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือกลยุทธ์และความ
พยายามทางการตลาดที่กิจการทำไว้มีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับความพยายามของคู่แข่งขันซึ่งมีมากกว่า นอก
จากนี้ยังขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารการตลาดในการพิจารณาปัญหาทางการตลาด และทำการแก้ไ
เข้าชม : 12007
|