[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

ปรัชญา กศน. ตำบลห้วยน้ำขาว กศน. อำเภอคลองท่อม

ความรู้ดี  สร้างสรรค์เด่น  มองเห็นคุณธรรม  สำนึกความพอเพียง

 

วิสัยทัศน์

จัดและส่งเสริมภาคีเครือข่ายจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชาชนอำเภอคลองท่อม อย่างทั่วถึงโดยเน้นการเสริมสร้าง ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมประชาอาเชี่ยนได้อย่างมีความสุข ภายในปี 2562

 

พันธกิจ

1.      จัดและส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ทุกกลุ่ม   ทุกช่วงวัย อย่างมีคุณภาพ และมีโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

2.      จัดการศึกษาด้านอาชีพในเชิงรุก ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

3.      ส่งเสริม การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมการศึกษานอก ระบบและการศึกษา  

ตามอัธยาศัย เพื่อตอบสนองความต้องการทางการศึกษาของประชาชนอย่างหลากหลาย

4.  พัฒนาให้ กศน.ตำบลเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมและเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

 

เอกลักษณ์

จัดการศึกษาหลากหลาย กลุ่มเป้าหมายไม่จำกัด เด่นชัดเศรษฐกิจพอเพียง

อัตลักษณ์

ใฝ่เรียนรู้  เชิดชูคุณธรรม  น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

 

เป้าหมายและความสำเร็จ

ผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความรู้ความสามารถด้านวิชาการ และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์และ ดำรงชีวิต อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม

 

 

 

นโยบายและจุเน้นสำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ 2561

วิสัยทัศน์

คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ ๒๑

พันธกิจ

          ๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัย และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

          ๒. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนและแหล่ง
การเรียนรู้อื่น ในรูปแบบต่างๆ

          ๓. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

          ๔. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผล
ในทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน

          ๕. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล         

เป้าประสงค์

          ๑. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาส
ทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องและการศึกษา
ตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามสภาพ ปัญหา และความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

            ๒. ประชาชนได้รับการยกระดับการศึกษา สร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองอันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม

          ๓. ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถคิด วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์

๔. ประชาชนได้รับการสร้างและส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่านเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

          ๕. ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน

          ๖. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนา เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชน

          ๗. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาสื่อและการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตามความต้องการของประชาชน และชุมชนในรูปแบบที่หลากหลาย

          ๘. บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

          ๙. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

ตัวชี้วัด

๑. จำนวนผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย
ตามสิทธิที่กำหนดไว้

          ๒. จำนวนของคนไทยกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการ

          ๓. ร้อยละผู้จบหลักสูตร/กิจกรรมการศึกษานอกระบบสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ได้

ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร/กิจกรรมที่กำหนด

. จำนวนผู้รับบริการในพื้นที่เป้าหมายได้รับการส่งเสริมด้านการรู้หนังสือและการพัฒนาทักษะชีวิต

          ๕. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็นตามจุดมุ่งหมายของกิจกรรม

. จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับบริการติวเข้มเต็มความรู้

. ร้อยละของนักเรียน/นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาที่ได้รับบริการติวเข้มเต็มความรู้เพิ่มสูงขึ้น

          ๘. จำนวนแหล่งเรียนรู้ในระดับตำบลที่มีความพร้อมในการให้บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          ๙. จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอาชีพ เห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ

๑๐. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาอาชีพตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

๑๑. จำนวนรายการโทรทัศน์/ CD/แอพพลิเคชั่น ในการให้ความรู้ด้านการเกษตร

๑๒. จำนวนประชาชนที่ได้รับการอบรมให้มีความรู้ ในอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพบริบท และความต้องการของพื้นที่/ชุมชน

๑๓. จำนวนทำเนียบศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงของตำบล และจำนวนกลุ่มเกษตรชุมชนดีเด่น

๑๔. จำนวนประชาชนได้รับการอบรมตามหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ (ระยะสั้น) สำหรับประชาชนในศูนย์อาเซียนศึกษา กศน.

๑๕. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ (ระยะสั้น) มีความรู้ในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้

๑๖. จำนวนครู กศน. ต้นแบบการสอนเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสามารถเป็นวิทยากรแกนนำได้

๑๗. ร้อยละของครู กศน. ทั่วประเทศ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน

๑๘. มีการพัฒนาอุปกรณ์การผลิตและการเผยแพร่ข่าวโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสำหรับศูนย์ข่าวโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ๑ ระบบ

๑๙. จำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการโทรทัศน์ได้รับการอบรมให้มีความรู้และทักษะใน
การปฏิบัติงานเพื่อรองรับการปฏิบัติงานในสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัล

๒๐. ร้อยละของตำบล/แขวง มีปริมาณขยะลดลง

๒๑. ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านเกณฑ์การอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด

๒๒. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทักษะอาชีพ สามารถมีงานทำหรือนำไปประกอบอาชีพได้

๒๓. จำนวนผู้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดของโครงการสร้างเครือข่ายดิจิทัลชุมชนระดับตำบล

๒๔. ร้อยละการอ่านของคนไทยเพิ่มขึ้น

          ๒๕. จำนวนองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          ๒๖. จำนวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่เข้าถึงบริการการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในรูปแบบต่าง ๆ

          ๒๗. จำนวน/ประเภทของสื่อ ที่มีการจัดทำ/พัฒนาและนำไปใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

          ๒๘. จำนวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่เข้าถึงบริการความรู้นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านช่องทางสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีการสื่อสาร

          ๒๙. จำนวนบุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

            ๓๐. ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดที่มีระบบประกันคุณภาพภายในและมีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง

          ๓๑. ร้อยละของหน่วยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่มีการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนและการบริหารจัดการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยขององค์การ

          ๓๒. ร้อยละของหน่วยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่สามารถดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม

ตามบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า/ตามแผนที่กำหนดไว้

          ๓๓. ร้อยละของคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของการดำเนินงานของหน่วยงาน

๓๔. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)

๓๕. จำนวนระบบฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาของประเทศที่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน

๓๖. ร้อยละของกำลังแรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า


 

นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

 

 


๑. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

          ๑. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของ รัชกาลที่ ๑๐

                   ๑.๑ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเป็นพลเมืองดี เคารพความคิดของผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างและหลากหลายทางความคิดและอุดมการณ์ รวมทั้งสังคมพหุวัฒนธรรม

                   ๑.๒ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะ และอุดมการณ์ความยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ รวมทั้งการมีจิตอาสา ผ่านกิจกรรมลูกเสือ กศน. และกิจกรรมอื่นๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับบุคลากรในองค์กร

๒. พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตพื้นที่พิเศษ
๒.๑ เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ชายแดน

                             ๒.๑.๑ พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มี
ความสอดคล้องกับบริบทของสังคม วัฒนธรรม และพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่

                             ๒.๑.๒ เร่งจัดทำแผนและมาตรการด้านความปลอดภัยที่ชัดเจนสำหรับหน่วยงานและสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ โดยบูรณาการแผนและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่

                             ๒.๑.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ
ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายตรงกับความต้องการของผู้เรียน อาทิ การเพิ่มพูนประสบการณ์ การเปิดโลกทัศน์ การยึดมั่นในหลักคุณธรรมและสถาบันหลักของชาติ

                             ๒.๑.๔ สนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรทุกระดับทุกประเภทให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๒.๒ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพประชาชน สร้างงานและพัฒนาอาชีพที่เป็นไป
ตามบริบทและความต้องการของประชาชนในพื้นที่

๒. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

          ๑. ขับเคลื่อน กศน. สู่ “Smart ONIE” ในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

                   ๑.๑ พัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของครูและบุคลากร และขยายผล
ไปยังการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของประชาชนในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เช่น
Boot Camp หลักสูตรภาษาอังกฤษ การจัดหลักสูตรภาษาเพื่ออาชีพ

                   ๑.๒ พัฒนาทักษะการใช้ Social Media เพื่อการจัดการเรียนการสอน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา

                   ๑.๓ พัฒนาระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการศึกษา กับระบบฐานข้อมูลกลางของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลของประชาชนอย่างเป็นระบบ

                   ๑.๔ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งระบบ
E- office ระบบการจัดทำแผน ระบบการรายงานผลการดำเนินงาน

          ๒. พัฒนากำลังคนให้เป็น “Smart Digital Persons (SDPs)” ที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ

                   ๒.๑ พัฒนาความรู้และทักษะด้าน Digital ให้กับครูและบุคลากร กศน.ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอน

                   ๒.๒ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้าน Digital เพื่อให้ประชาชน มีความรู้พื้นฐานด้าน Digital และความรู้เรื่องกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สำหรับการใช้ประโยชน์
ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการพัฒนาและการเข้าสู่อาชีพ

                   ๒.๓ สร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานให้กับประชาชน เกี่ยวกับการทำธุรกิจและการค้าออนไลน์ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

๓. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ

          ๑. เตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ (Smart Aging Society)

                   ๑.๑ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้กับประชาชนเพื่อสร้างตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) มีความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัย รวมทั้งเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน

๑.๒ พัฒนาการจัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับประชาชนในการเตรียมความพร้อม
เข้าสู่วัยสูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ

๑.๓ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสาหรับผู้สูงอายุภายใต้แนวคิด “Active Aging” การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาทักษะชีวิต ให้สามารถดูแลตนเองทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต และรู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

                    ๑.๔ สร้างความตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านต่างๆ ในชุมชน เช่น ด้านอาชีพ กีฬา ศาสนาและวัฒนธรรม

          ๒. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer : เกษตรกรปราดเปรื่อง)

                   ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมที่เหมาะกับบริบทของพื้นที่และความต้องการของชุมชน รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร และสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ โดยตระหนักถึงคุณภาพของผลผลิตความปลอดภัย
ต่อระบบนิเวศน์ ชุมชน และผู้บริโภค

          ๓. ส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ “สะเต็มศึกษา” (STEM Education) สำหรับนักศึกษาและประชาชน โดยบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พัฒนาทักษะชีวิตสู่การประกอบอาชีพ

           ๔. เพิ่มอัตราการอ่านของประชาชน โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่างๆ เช่น อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ห้องสมุดประชาชน บ้านหนังสือชุมชน ห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชาวตลาด ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้ประชาชนมีความสามารถในระดับอ่านคล่อง เข้าใจความ คิดวิเคราะห์พื้นฐาน และสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันเหตุการณ์ รวมทั้งนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติจริง

 

 

          ๕. ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน สู่ “วิสาหกิจชุมชน : ชุมชนพึ่งตนเอง ทำได้ ขายเป็น”

                   ๕.๑ ส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน และความต้องการของตลาด รวมทั้งสร้างเครือข่ายการรวมกลุ่มในลักษณะวิสาหกิจชุมชน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้

                   ๕.๒ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การทำช่องทางเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนให้เป็นระบบครบวงจร

          ๖. จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

                   ๖.๑ พัฒนาบุคลากรและแกนนำเกษตรกรในการเผยแพร่และจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม

                   ๖.๒ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบระดับตำบลด้านเกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมให้กับชุมชน

๖.๓ ส่งเสริมให้มีการบูรณาการระหว่าง ศฝช. และ กศน.อำเภอ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมให้กับประชาชน

๔. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

          ๑. ส่งเสริมการนำระบบคูปองการศึกษา มาใช้เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ

          ๒. สร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ E-learning MOOC ที่ใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการสร้างและขยายโอกาสในการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้สะดวก รวดเร็ว ตรงตามความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ

          ๓. เพิ่มอัตราการรู้หนังสือและยกระดับการรู้หนังสือของประชาชน

                   ๓.๑ เร่งจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มอัตราการรู้หนังสือ และคงสภาพการรู้หนังสือ ให้ประชาชนสามารถอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น โดยใช้สื่อและกระบวนการที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย

๓.๒ ยกระดับการรู้หนังสือของประชาชน โดยจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ
ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน

          ๔. ยกระดับการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายทหารกองประจำการให้จบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

          ๕. พลิกโฉม กศน. ตำบล สู่ “กศน.ตำบล 4 G

                   ๕.๑ พัฒนาครู กศน. และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ : Good Teacher ให้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้กับผู้รับบริการ มีความเป็น “ครูมืออาชีพมีจิตบริการ มีความรอบรู้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการความรู้ที่ดี รวมทั้งเป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

                   ๕.๒ พัฒนา กศน.ตำบล ให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง : Good Place Best Check-In มีความพร้อมในการให้บริการการศึกษาและการเรียนรู้ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะที่ง่ายต่อการเข้าถึง และสะดวกต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ดึงดูดความสนใจ และมีความปลอดภัยสำหรับผู้รับบริการ

                        ๕.๓ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใน กศน.ตำบล : Good Activities ให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามาจัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน

                   ๕.๔ เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของชุมชน : Good Partnership เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ

๕. ยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          ๑. ส่งเสริมให้มีการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ

          ๒. สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสังคมสีเขียว การกำจัดขยะและมลพิษในเขตชุมชน

          ๓. ส่งเสริมให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากร
ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

๖. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ

          ๑. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

          ๒. ส่งเสริมการใช้ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-office) ในการบริหารจัดการ เช่น ระบบการลา ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการขอใช้รถราชการ ระบบการขอใช้ห้องประชุม เป็นต้น

          ๓. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานตำแหน่ง ให้ตรงกับ
สายงานหรือความชำนาญ

ภารกิจต่อเนื่อง

           ๑. ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้

               ๑.๑ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                   ๑) สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยดำเนินการให้ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ
ค่าเล่าเรียนอย่างทั่วถึงและเพียงพอเพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

                   ๒) จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผลการเรียน ผ่านการเรียนแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง การพบกลุ่ม การเรียนแบบชั้นเรียน และการจัดการศึกษาทางไกล

                        ๓) จัดให้มีการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
ที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๔) ส่งเสริมให้ผู้เรียนต้องเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคี ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และส่งเสริม
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และ
ยุวกาชาด กิจกรรมจิตอาสา การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำกิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆนอกหลักสูตร มาใช้เพิ่มชั่วโมงกิจกรรมให้ผู้เรียนจบตามหลักสูตรได้

                   ๕) จัดการศึกษาเพื่อเพิ่มอัตราการรู้หนังสือให้คนไทยให้สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยใช้หลักสูตรการรู้หนังสือไทย พุทธศักราช ๒๕๕๗ ของสำนักงาน กศน. และสื่อที่เหมาะสมกับสภาพและพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย 

               ๑.๒ การศึกษาต่อเนื่อง

                   ๑) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ และอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและศักยภาพของแต่ละพื้นที่

                   ๒) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมการศึกษา
ในรูปแบบต่างๆ อาทิ ค่ายพัฒนาทักษะชีวิต  การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม การส่งเสริมความสามารถพิเศษต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคม
ได้อย่างมีความสุข มีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน

                   ๓) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม  การเรียนทางไกล การประชุม สัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การจัดกิจกรรมจิตอาสา การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการดำเนินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี การบำเพ็ญประโยชน์ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ๔) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกและวินัยในชุมชน เช่น การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน การจัดกิจกรรมจิตอาสา
ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล

                   ๕) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับคนพิการอย่างมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล และมีทักษะการดำรงชีวิตตลอดจนสามารถประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้
เต็มศักยภาพอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสร้างความ
ตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้ด้อยโอกาสให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

               ๑.๓ การศึกษาตามอัธยาศัย

                   ๑) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในระดับตำบล เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ และจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในชุมชนได้อย่างทั่วถึง

                   ๒) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาความสามารถ
ในการอ่านและศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย

                   ๓) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น พัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ รวมทั้งเสริมสร้างความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์
เพื่อสนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลาย

                   ๔) จัดสร้างและพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตลอดชีวิตของประชาชนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น  โดยจัดสร้างและพัฒนานิทรรศการ  พัฒนาสื่อที่สร้างแรงบันดาลใจสูง และจัดกิจกรรมการศึกษาที่เน้นการเสริมสร้างความรู้  สอดแทรกวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์ 
การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และปลูกฝังเจตคติทางวิทยาศาสตร์  โดยบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์  อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บริบทของของชุมชน ประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาคและระดับโลก  เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ มีความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์  มีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ ๒๑  มีความสามารถในการปรับตัวรองรับการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต  การพัฒนาอาชีพ  การรักษาสิ่งแวดล้อม  การบรรเทาและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ

           ๒. ด้านหลักสูตร สื่อ รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล งานบริการทางวิชาการ และการประกันคุณภาพการศึกษา

               ๒.๑ ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่หลากหลาย ทันสมัย รวมทั้งหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน

               ๒.๒ พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลให้มีความทันสมัยด้วยระบบห้องเรียนและการควบคุมการสอบออนไลน์

               ๒.๓ พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ๒.๔ ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

               ๒.๕ พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการนำแบบทดสอบกลาง และระบบการสอบอิเล็กทรอนิกส์
(
e-Exam) มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ๒.๖ ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัย พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และเผยแพร่รูปแบบการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้มีการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวางและมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทอย่างต่อเนื่อง

               ๒.๗ พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน เพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง และจัดให้มีระบบสถานศึกษาพี่เลี้ยงเข้าไปสนับสนุนอย่างใกล้ชิด สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

           ๓. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

               ๓.๑ ผลิตและพัฒนารายการวิทยุและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้มีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองให้
รู้เท่า
ทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เช่น รายการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำ รายการติวเข้ม
เติมเต็มความรู้
ฯลฯ เผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และทางอินเทอร์เน็ต

               ๓.๒ พัฒนาช่องทางการเผยแพร่การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้ครู กศน. นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (
Do It Yourself : DIY)

 

               ๓.๓ พัฒนาสถานีวิทยุศึกษา และสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยขยายเครือข่ายการรับฟังให้สามารถรับฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และเพิ่มช่องทางให้สามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ทั้งระบบ Ku - Band , C - Band และทางอินเทอร์เน็ต พร้อมที่จะรองรับการพัฒนาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสาธารณะ (Free ETV)

               ๓.๔ พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทางทั้งทางอินเทอร์เน็ต และรูปแบบอื่น ๆ  เช่น Application บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Tablet, DVD, CD, VCD และ MP3 เป็นต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้บริการเพื่อเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ

               ๓.๕ สำรวจ วิจัย ติดตามประเมินผลด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และนำผลมาใช้ในการพัฒนางานให้มีความถูกต้อง ทันสมัยและสามารถส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
ได้อย่างแท้จริง

           ๔. ด้านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์

               ๔.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์

               ๔.๒ จัดทำฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน. ที่สนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผน การติดตามประเมินผลและ
การพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ๔.๓ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

               ๔.๔ พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวงให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ๔.๕ จัดและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูง
ถิ่นทุรกันดาร และพื้นที่ชายขอบ

              ๕. ด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่บริเวณชายแดน

               ๕.๑ พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   ๑) จัดและพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งอัตลักษณ์และความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่

                   ๒) พัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง

                   ๓) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดให้มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากรและนักศึกษา กศน. ตลอดจนผู้มาใช้บริการอย่างทั่วถึง

               ๕.๒ พัฒนาการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

                        ๑) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนการศึกษาตามยุทธศาสตร์และบริบทของแต่ละจังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

                        ๒) จัดทำหลักสูตรการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ โดยเน้นสาขาที่เป็นความต้องการของตลาด ให้เกิดการพัฒนาอาชีพได้ตรงตามความต้องการของพื้นที่

 

                   ๕.๓ จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงชายแดนของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน (ศฝช.)

                   ๑) พัฒนาศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน ให้เป็นศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนต้นแบบด้านเกษตรกรรม เป็นศูนย์สาธิตการประกอบอาชีพ ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประชาชนตามแนวชายแดนด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย

                   ๒) มุ่งจัดและพัฒนาการศึกษาอาชีพ โดยใช้วิธีการหลากหลาย ใช้รูปแบบเชิงรุกเพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดมหกรรมอาชีพ การประสานความร่วมมือกับเครือข่าย การจัดอบรมแกนนำด้านอาชีพ
ที่เน้นเรื่องเกษตรธรรมชาติที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนชายแดน ให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน

           ๖. ด้านบุคลากร ระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

               ๖.๑ การพัฒนาบุคลากร

                   ๑) พัฒนาบุคลากรทุกระดับ ทุกประเภทให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อน
และระหว่างการดำรงตำแหน่งเพื่อให้มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและบริหารจัดการ
การดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะโดยเน้นการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์

                        ๒) พัฒนาหัวหน้า กศน. ตำบล/แขวง ให้มีสมรรถนะสูงขึ้นในการบริหารจัดการ กศน. ตำบล/แขวง และการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเป็นนักจัดการความรู้และผู้อำนวย
ความสะดวกในการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

                   ๓) พัฒนาครู กศน. และผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดรูปแบบการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
โดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการวิจัยเบื้องต้น

                   ๔) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กศน. ตำบล/แขวง เพื่อการมีส่วนร่วมใน
การบริหารการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ กศน. ตำบล/แขวง อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๕) พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการการศึกษาและการเรียนรู้ ให้มีความรู้ ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพในการจัดบริการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน

 

 

                   ๖) พัฒนาอาสาสมัคร กศน. ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๗) เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
ในทุกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร และภาคีเครือข่ายในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง

               ๖.๒ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง

                   ๑) จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา

                   ๒) บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน

                   ๓) แสวงหาภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม การศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งระดมทรัพยากรเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
ให้มีความพร้อมสำหรับดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน

               ๖.๓ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ

                   ๑) เร่งผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต

                   ๒) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณ โดยพัฒนาระบบการกำกับ ควบคุม และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

                   ๓) พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศอย่างเป็นระบบเพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร การวางแผน การปฏิบัติงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลมาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) รวมทั้งจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๔) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน. ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๕) ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนพร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของหน่วยงานและสถานศึกษา

                   ๖) สร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

               ๖.๔ การกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผล

                   ๑) สร้างกลไกการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เชื่อมโยงกับหน่วยงาน สถานศึกษา และภาคีเครือข่ายทั้งระบบ

                   ๒) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ พัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตามและรายงานผลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ให้สามารถตอบสนองการดำเนินงานตามนโยบายในแต่ละเรื่อง
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๓) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๔) พัฒนากลไกการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน สถานศึกษา เพื่อการรายงานผลตามตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี
ของสำนักงาน กศน. ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนด

                   ๕) ให้มีการเชื่อมโยงระบบการนิเทศในทุกระดับ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ส่วนกลาง ภูมิภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด อำเภอ/เขต และตำบล/แขวง เพื่อความเป็นเอกภาพในการใช้ข้อมูล และการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

 

 

-----------------------------------------------------

 

 



เข้าชม : 664
 
 
ติดต่อเรา

นางสาวสายทิพย์    อุดี  ครู กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว โทร ๐๘๐-๗๓๑๑๘๒๕

กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว ม.๕ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี