[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

รายงานผลการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมา

ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย  การจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๔๕  ซึ่งเป็นการจัดการศึกษานอกระบบที่มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้  ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ  เพื่อให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ  และมีความรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน  รวมทั้งมุ่งใช้กระบวนการการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม  ชุมชน ให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้

 กศน. อำเภอคลองท่อมจึงได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕8   ในการฝึกอบรมอาชีพและ “ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน” เพื่อผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพในการแข่งขัน รองรับการเข้าสู่ระบบการค้าเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และการฝึกอบรม ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมีทักษะและเจตคติที่ดีในการประกอบอาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง และมีศักยภาพในการแข่งขัน รองรับการเข้าสู่ระบบการค้าสากลและการค้าเสรีของประชาคมอาเซียนอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ ความสามารถ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพที่สร้างรายได้จริง  และการพัฒนาสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว ได้นำนโยบายและจุดเน้นข้างต้นไปสู่การปฏิบัติ  โดยให้ความสำคัญ ความสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนในพื้นที่ตำบลห้วยน้ำขาว รวมทั้งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพให้แก่ประชาชนในชุมชนเพื่อให้อาชีพสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง  ประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับศักยภาพของตนเอง  ชุมชน  สังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความรู้  ความเข้าใจ  ฝึกทักษะการประกอบอาชีพ  และฝึกทักษะการบริหารจัดการในอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

- เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในตำบลห้วยน้ำขาว

- เพื่อฝึกทักษะด้านอาชีพให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในตำบลห้วยน้ำขาว

ขอบเขตการประเมิน

-  ประชาชน ม.6 ตำบลห้วยน้ำขาวที่สนใจในการทำขนมและการทำน้ำสมุนไพร 

-  กลุ่มตัวอย่าง  สตรีที่สนใจหมู่ที่ 6  ตำบลห้วยน้ำขาว  จำนวน  61  คน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการทำขนมและการทำน้ำสมุนไพร

 

 

 

 

บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑.  แนวคิด/ทฤษฏี/นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม/โครงการที่จัด

แนวคิดในการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพ

                    ปัจจุบันการจัดตลาดนัดอาชีพ  เป็นการรวมอาชีพต่าง ๆ ที่หลากหลายให้มารวม ณ จุดเดียวกันนอกจากช่องทางงานพิเศษที่กล่าวมา แล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่คนยุคดิจิตอลสามารถทำได้ ใช่แล้วเรากำลังพูดถึงการทำงานบนอินเทอร์เน็ต หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อรวยออนไลน์ก่อนหน้านี้ก็มีหลายคนกังขาว่า ธุรกิจประเภทคลิกแล้วรวยนั้นหลอกลวงหรือไม่ บอกตามตรงว่ามีทั้งจริงและหลอกแต่เมื่อ Google ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอทีกระโดดเข้าร่วมสร้างธุรกิจนี้ โดยแปรสภาพจาก Search Engine ไปสู่การเป็นเอเจนซี่โฆษณาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยการทำ Adword และ Adsense จึงทำให้ฝันของหลายคนกลายเป็นจริงในที่สุด แค่มีคอมพิวเตอร์ (หรือโน้ตบุ๊ก) สักเครื่องที่ต่อเน็ตได้จากนั้นก็ใช้ความรู้ความสามารถในการรังสรรค์ตามไอเดียของเรา เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รายได้เสริมที่ถ้าทำดีๆ ก็อาจสูงกว่ารายได้ประจำได้อยู่เหมือนกัน

                    เอาข้อมูลมาแปรเป็นเงิน : คงเคยได้เห็นประกาศตามเว็บบอร์ด ประเภทรับจ้างพิมพ์งาน รับจ้างทำรายงาน หรือวิทยานิพนธ์ เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีการเปิดหลักสูตรปริญญาตรีสำหรับผู้บริหาร ซึ่งแน่นอนด้วยความเป็นผู้บริหาร การที่จะให้ไปนั่งทำรายงานส่งอาจารย์คงเป็นเรื่องที่ยาก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นลูกค้าชั้นดีของเรา ถ้าผลงานเข้าตาก็จะมีลูกค้าต่อคิวยาวเหยียด รายได้ต่อเดือนที่ได้บางคนรับกันเป็นหมื่น วิธีการทำก็แค่อาศัยข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และหาหนังสือประกอบจากห้องสมุดประชาชน จากนั้นก็นำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนง่ายๆ แค่นี้ก็ได้รายได้งามแล้ว

1.                พ่อ(แม่)ค้าออนไลน์ : มีเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้เราขายของจำนวนมาก ถ้าแบบอินเตอร์หน่อยก็ ebay คนไทยหลายคนได้ดิบได้ดีกับการหาของพื้นบ้านไปขายผ่านอีเบย์ ญาติคนหนึ่งเป็นเจ้าของโรงทอผ้าไหม สมัยที่พ่อแม่ทำก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ขายได้เฉพาะในจังหวัด จนวันหนึ่งลูกชายเรียนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ต่อยอดธุรกิจของพ่อด้วยการ นำผ้าไหมไปโพสต์ขายในอีเบย์ มีลูกค้าต่างชาติสั่งจองจนตอนหลังก็มาเปิดเว็บไซต์ขายกันเป็นถาวรร่ำรวยไป เลย

2.               ซื้อของทางออนไลน์มาขายร้านปกติ : อีกหนึ่งช่องทางที่หลายคนมองข้ามคือการเข้าไปตามเว็บไซต์แล้วก็ซื้อสินค้า แปลกๆ มาขายกันในตลาดปกติ มีพี่ที่รู้จักท่านหนึ่งเคยสั่งซื้อมีดโกนหนวดจากอีเบย์มาขาย ต้นทุนถูกกว่าที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้าประมาณ 5 เท่า พี่เขาเลยได้ไอเดียมาทำกำไรต่อ จนตอนหลังก็เลยยึดเป็นอาชีพในการไปเสาะแสวงหาสินค้ามาขาย

3.               ขายโฆษณา : น่าจะเป็นพื้นฐานดั่งเดิมที่หลายคนใช้หารายได้ โดยหลักการก็คือเปิดเว็บไซต์แล้วรอให้คนมาซื้อโฆษณา แต่เป็นอะไรที่ดูได้เงินยาก เพราะถ้าเว็บคุณไม่ดังจริง ก็คงหาคนยอมจ่ายเงินลงโฆษณากับคุณได้ยาก แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะหากคุณมีไอเดียแปลกและแตกต่างพอ ก็อาจได้รับการตอบรับจากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอเมริกาที่ชอบอะไรดูดีมีระดับ คุณอาจพบว่าพวกนี้ยอมจ่ายเงินกับเรื่องไร้สาระ

4.               รวยด้วยคลิก : วิธีในฝันที่ตอนนี้หลายคนกำลังตั้งหน้าตั้งตาทำ ตั้งแต่การทำบล็อกแล้วติด Adsense พอมีคนเข้าเว็บแล้วคลิกดูโฆษณาเจ้าของเว็บก็ได้เงิน หรือการนำรูปภาพ โปรแกรม ไปฝากในเว็บพวกฝากไฟล์อย่าง Ziddu.com พอมีคนมาดาวน์โหลดคนที่เอาไปฝากก็จะได้ตังค์ อีกมากมายสารพัดวิธีที่คนก็คิดมาให้เราทำ มีทั้งที่ได้เงินจริง และที่หลอกลวง แต่เหนืออื่นใดจำไว้เลยว่า ของฟรีไม่มีในโลก

5.               ขายเว็บ : คงเคยได้ยินข่าวการซื้อขายเว็บดังๆ ด้วยเงินมหาศาล เชื่อไหมครับว่าเว็บดังๆ หลายเว็บที่เรารู้จัก อย่าง hotmail.com เว็บอีเมล์ชื่อดัง ไมโครซอฟต์ก็ไปซื้อมาจากเจ้าของเว็บเดิมที่เป็นนักศึกษาอินเดีย หรือ Youtube.com ก่อนที่ Google จะเป็นเจ้าของ ก็มีเจ้าของเดิมทำจนดัง Google ถึงไปซื้อมา ลองนึกดูว่าถ้าคุณสามารถปลุกปั้นจนเว็บของคุณไดรับความสนใจจากทุกคน ก็มีโอกาสที่บริษัทยักษ์ใหญ่จะยอมเสียเงินก้อนโตแลกกับการให้คุณขายเว็บให้ กับเขา

 

6.               รับทำจ้างเว็บ : แนวทางนี้อาจต้องอาศัยวิชาความรู้ แต่ก็ไม่ได้ยากอะไร หากคุณขยันหาความรู้ก็จะพบว่ามีเครื่องมือช่วยให้การสร้างเว็บง่ายราวกับ ปลอกกล้วยเข้าปาก แต่ถึงจะง่าย ก็ยังมีคนจำนวนมากไม่รู้วิธีการ หรือบางคนรู้แต่ไม่อยากเสียเวลาทำ ช่องว่างตรงนี้เองทำให้อาชีพรับจ้างทำเว็บสร้างรายได้ให้กับใครอีกหลายคน

7.               รับจ้างเขียนบทความ : อาชีพใหม่ล่าสุด รับกระแสหารายได้ผ่านบล็อก เหตุเพราะมีคนอยากได้เงิน แต่เขียนไม่เก่ง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีฝีไม้ลายมือในการเขียนระดับเทพ เก่งภาษาอังกฤษเป็นกรด อาชีพนี้เปิดต้อนรับคุณ เพียงแต่คุณต้องมีเว็บและช่องทางในการโปรโมตตัวเอง ยิ่งถ้ามีประสบการณ์ในการหารายได้ออนไลน์เก๋าๆ ด้วยก็จะช่วยเพิ่มเครดิตให้ลูกค้าเชื่อถือคุณได้มากยิ่งขึ้น

8.               รับจ้างโปรโมตเว็บ : อีกอาชีพที่ต่อจากข้อที่ 8 โดยเป็นอาชีพที่เหมาะกับคนที่อาจเขียนบทความไม่เก่ง แต่รู้เรื่อง SEO (Search Engine Optimize) ในภาคปฏิบัติจริง อาชีพกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดทีเดียว เพราะมีคนจำนวนมากที่ทำเว็บเขียนข้อมูลไว้เพียบ แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรเว็บถึงจะดังเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ปัจจุบันมีคนทำอาชีพนี้พอสมควร บางคนถึงขนาดเปิดเป็น

 ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพ

ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพที่สำคัญมี 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพ ของซุปเปอร์ ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพของกินซ์เบอร์ก และทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพ ของไทด์แมนและโอฮารา (Ginzberg 1951; Super 1957; Tiedman and O’ Hara 1963) ซุปเปอร์ (Super 1957, 99-108) ได้ศึกษาการเลือกอาชีพและสรุปรวบรวมตั้งเป็น ทฤษฎีการเลือกอาชีพขึ้น โดยใช้ชื่อทฤษฎีว่าทฤษฎีการพัฒนาอาชีพ” (theory of vocational development) ซุปเปอร์ใช้คำว่าการพัฒนากินความหมายกว้าง ซึ่งรวมถึง ความชอบ การเลือก การพิจารณาตัดสินใจ และการเข้าประกอบอาชีพ และเกี่ยวข้องกับ ประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

ความรู้รากฐานเบื้องต้นของทฤษฎีมีอยู่ 12 ประการ คือ

๑. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual differences) ทฤษฎีของความ แตกต่างระหว่างบุคคลเป็นหลักสำคัญ ทั้งด้านที่เกี่ยวกับการศึกษา และจิตวิทยาทางอาชีพ เพราะบุคคลย่อมแตกต่างกันทั้งในด้านความสามารถ ความสนใจ และบุคลิกภาพ ดังนั้น การเลือกอาชีพของบุคคลก็ควรต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

๒. ความสามารถหลาย ๆ อย่างในตัวบุคคล (multipotentiality) บุคคลแต่ละคนมี ขีดความสามารถประจำตัวของแต่ละบุคคล ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในงานอย่างใด อย่างหนึ่งหรือพอใจในงานอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่จะนำเอาคนหนึ่งไปเปรียบกับอีกคน หนึ่งไม่ได้ ทุกคนจะมีความสามารถเฉพาะตัว แต่มีคนละอย่าง

๓. กระสวนของความสามารถในอาชีพ (occupational ability patterns) อาชีพแต่ ละอาชีพมีกระสวนของความสามารถเฉพาะของแต่ละอาชีพ เช่น ความสามารถ ความสนใจ และบุคลิกภาพ นั่นคือ อาชีพหนึ่ง ๆ ก็ต้องการบุคคลที่มีความสามารถ ความสนใจ และบุคลิกภาพต่างไปจากอีกอาชีพหนึ่ง

4. การเลียนแบบบทบาทของรูปแบบ (identification and role of models) บุคคล ส่วนมากจะเลียนแบบบิดามารดาหรือบุคคลอื่น ในด้านการประกอบอาชีพ วัยรุ่นจะสนใจ โดยการเลียนแบบอาชีพจากผู้ใหญ่ ดังนั้นผู้ใหญ่ก็ควรจะเป็นรูปแบบที่ดีให้แก่เด็ก

5. ความต่อเนื่องของการตัดสินใจเลือกจะต้องจัดให้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง (continuous process) ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่บุคคลอาศัยอยู่ หรือ ทำงานอยู่ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และประสบการณ์ ดังนั้น การเลือกและการ ตัดสินใจก็ต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไป

     6. ช่วงของชีวิต (life stage) กระบวนการเลือกอาชีพเป็นกระบวนการต่อเนื่องตาม ช่วงชีวิตของบุคคล ซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ ดังต่อไปนี้

6.1 ขั้นของการเจริญเติบโต (growth stage) เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 14 เป็น ระยะที่เด็กกำลังเจริญเติบโต

6.2 ขั้นของการสำรวจ (exploration stage) ระหว่างอายุ 14-25 ปี เป็นช่วงที่ บุคคลพยายามทำความเข้าใจตนเอง ทดลองสวมบทบาทของผู้ใหญ่ เช่น การหาคู่ การหา อาชีพ และการหาตำแหน่งในสังคม

6.3 ขั้นของการสร้างหลักฐาน (establishment stage) ระหว่างอายุ 25-45 ปี เป็นช่วงที่บุคคลคิดมีครอบครัว มีบทบาทในสังคม มีอาชีพแน่นอน มีงานทำมั่นคง และมี บ้านอยู่อาศัย

6.4 ขั้นของชีวิตมั่นคง (maintenance stage) ระหว่างอายุ 45-65 ปี เป็นช่วง ที่เห็นความสำคัญของครอบครัว พยายามที่จะมีหน้าตา หาความก้าวหน้าในการทำงาน

6.5 ขั้นของความเสื่อม (decline stage) ตั้งแต่อายุ 65 ปี ถึงตาย เป็นช่วงที่ ทำงานน้อยและ มีความรับผิดชอบน้อย และมีบทบาทในสังคมน้อย

7. กระสวนของอาชีพ (career patterns) กระสวนของอาชีพขึ้นอยู่กับระดับสังคม เศรษฐกิจ และโอกาส ซึ่งกระสวนของอาชีพนี้ได้แก่ระดับสูงต่ำของอาชีพ ความถี่ในการ เปลี่ยนงานอาชีพบางอย่างทำให้เปลี่ยนงานบ่อย แต่อาชีพบางอย่างก็ไม่ต้องเปลี่ยนงาน บ่อย ๆ

8. การพัฒนาอาชีพควรได้รับการแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนา อาชีพอย่างเหมาะสม โดยการให้ทดลองฝึกงานบ้างตามโอกาสอันควร

9. การพัฒนาอาชีพเป็นผลของการมีปฎิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม (development of the result of interaction) สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูจากบ้าน การได้รับการศึกษาจากโรงเรียน และจากสังคม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยประเมินแปลความหมายข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและทดลองวางแผนเกี่ยวกับอาชีพ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจตนเอง ซึ่ง นับว่าเป็นการสร้างความคิดเกี่ยวกับตนเอง เช่น รู้จักความสนใจ รู้จักความถนัด และ ความสามารถของตนเอง ที่จะเป็นไปได้จริง

10. การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการประกอบอาชีพ (the dynamics of career patterns) กระบวนการประกอบอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับระดับสังคม เศรษฐกิจ ของบิดามารดา สติปัญญา ความสามารถ และความสนใจ ของบุคคลซึ่งไม่คงที่ เช่นเดียวกับการพัฒนา ของบุคคลตามช่วงของการเจริญเติบโต (the growth stage) และระยะต้นของช่วงการ สำรวจ (the early exploration stage) บุคคลจะมีความเข้าใจเพียงเล็กน้อยต่อกระบวนการ พัฒนาอาชีพแต่ความเข้าใจอันเล็กน้อยนี้ จะมีประโยชน์สำหรับกระบวนการประกอบอาชีพ ในช่วงของการเจริญเติบโตระยะสุดท้ายของการสำรวจ (late exploratory stage) การสร้าง หลักฐาน (establishment stage) และขั้นของชีวิตที่มั่นคง (maintenance stage)

11. ความพอใจในงานขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล ตำแหน่ง และ บทบาทของบุคคล (job satisfaction: individual differences, status and role) บุคคลจะ พึงพอใจในงาน ถ้างานนั้นไปกับวิถีชีวิต ความสามารถ และการได้สวมบทบาทตามบุคคล นั้นต้องการ ระดับของความพอใจขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนาความคิดเกี่ยวกับตนเอง ของบุคคล

12. งานคือวิถีทางของชีวิต (work is a way of life) งานเป็นวิถีทางแห่งชีวิตของ บุคคล ได้ค้นพบทางออกที่ใช้แสดงความสามารถ ความสนใจ บุคลิกภาพ ค่านิยมของ บุคคลนั้น ๆ และความสามารถกระทำได้ตามบทบาทที่บุคคลนั้นเลือกสรรแล้ว นอกจากนั้น ซุปเปอร์ (Super 1957, 185-190) ยังได้เสนอหลักเกี่ยวกับการ พัฒนาทางอาชีพไว้ ดังนี้

1) การพัฒนาทางอาชีพ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มสนใจเลือกอาชีพ ไปจนถึงประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงเป็นระยะเวลานาน

2) การพัฒนาทางอาชีพ เป็นขั้นตอน และมีระเบียบแบบแผน

3) บุคคลจะมองเห็นความจริงเกี่ยวกับการเลือกอาชีพมากขึ้น เมื่อมีอายุ เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่

4) ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง เริ่มตั้งแต่ก่อนวัยรุ่น และ เข้าใจชัดแจ้ง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

5) วิถีและอัตราการเคลื่อนไหวของแต่ละบุคคลจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับ หนึ่ง มีความสัมพันธ์กับติปัญญา สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของบิดามารดา ความต้องการค่านิยม ความสนใจ ทักษะ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

6) แขนงอาชีพที่แต่ละบุคคลเลือกเกี่ยวกับความสนใจ ค่านิยม และความ ต้องการเลียนแบบบิดามารดา หรือสังคมที่อาศัยอยู่ ระดับคุณภาพของการศึกษา

7) ความพอใจในงานและชีวิตขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของความสามารถ ความสนใจ ค่านิยม และบุคลิกภาพในงานอาชีพ

8) บุคคลจะเลียนแบบจากบิดามารดาโดยทางอ้อม ซึ่งมีบทบาทต่อการเลือก อาชีพด้วย

9) การพัฒนาทางอาชีพดำเนินไปตลอดเวลา

10) คุณสมบัติของบุคคลหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับอาชีพหนึ่ง

ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพของ กินซ์เบอร์ก (Ginzberg 1974, 37-40) แบ่ง ช่วงการเลือกอาชีพของบุคคลออกเป็น 3 ระยะ คือ

1) ระยะเพ้อฝัน (fantasy period) คือระยะที่เด็กมีอายุ 0-10 ปี เป็นช่วงวัยเด็ก ตอนต้นถึง 10 ปี เป็นระยะที่เด็กคิดฝันเอาเองว่า โตขึ้นจะประกอบอาชีพอะไร โดย ความคิดนี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากโทรทัศน์ ผู้ปกครอง และสื่อต่าง ๆ เช่น เด็กอาจเพ้อฝัน จะเป็นทหาร ตำรวจ แพทย์ พยาบาล วิศวกร โดยที่มิได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าจะเป็นไปได้ หรือไม่ แต่เป็นสิ่งที่ฝัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเอง

2) ระยะการเปลี่ยนแปลง (tentative period) คือระยะที่เด็กมีอายุระหว่าง 11- 17 ปี เป็นระยะเวลาการเลือกอาชีพแต่ก็ยังไม่ตกลงใจแน่นอน เริ่มจากการที่เด็กสังเกต พบว่า มีกิจกรรมบางชนิดที่เขาสนใจ และชอบมากกว่ากิจกรรมอื่น ต่อมาก็เริ่มรู้สึกว่าเขา ทำกิจกรรมที่สนใจได้ดีกว่ากิจกรรมชนิดอื่น การเลือกอาชีพในระยะนี้ การตัดสินใจ เกี่ยวกับการเลือกที่ยึดองค์ประกอบเกี่ยวกับตนเองเช่นคำนึงถึงความสนใจ ความสามารถ ความถนัด ค่านิยมของตนเอง ช่วงนี้แบ่งระยะการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 4 ขั้นย่อยคือ

(1) ขั้นความสนใจ (interest stage) เป็นช่วงของเด็กวัยระหว่างอายุ 11- 12 ปี เด็กจะเลือกอาชีพตามความสนใจ ซึ่งส่วนมากจะสัมพันธ์กับความปรารถนาในระยะ เพ้อฝัน อาจตั้งคำถามว่า สนใจอาชีพอะไร หรืออยากทำงานอะไร

(2) ขั้นคำนึงถึงความสามารถ (capacity stage) เป็นช่วงของเด็กอายุ ระหว่าง 13-14 ปี จะเลือกอาชีพโดยคำนึงถึงความสามารถ โดยการประเมินความสามารถ ตนเองว่าสามารถทำอะไรได้ดีกว่าผู้อื่นบ้าง เพราะเริ่มเรียนรู้ว่าการเลือกที่อาศัยความ สนใจอย่างเดียวอาจผิดพลาดได้

(3) ขั้นคำนึงถึงค่านิยม (value stage) เป็นช่วงของเด็ก อายุระหว่าง 15- 16 ปี ซึ่งจะเริ่มรู้ถึงค่านิยม และสังเกตว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเขา สิ่งที่เขาต้องการคือ เงิน เกียรติยศ โอกาสในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ ค่านิยมเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับ การเลือกอาชีพของเขา

(4) ขั้นหัวเลี้ยวหัวต่อ (transition stage) เด็กอายุ 17 ปี จะเริ่มรู้จัก พิจารณาจากข้อเท็จจริง มีการนำเอาความสนใจ ความสามารถและค่านิยมของตนเองมา พิจารณาเลือกอาชีพ มีการวางแผนบ้าง แต่ยังไม่เป็นการตัดสินใจที่แน่นอน

3) ระยะพิจารณาตามสภาพความเป็นจริง (realistic period) เป็นระยะของเด็กที่ มีอายุระหว่าง 17-20 ปี ซึ่งเป็นระยะที่เด็กพิจารณาตนเองและอาชีพประกอบกัน เพื่อใช้ใน การตัดสินใจเลือกอาชีพจะเป็นการพิจารณาตามสภาพความเป็นจริง ระยะนี้เป็นระยะ แสวงหาข้อเท็จจริงจากอาชีพต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพให้เป็นไป อย่างถูกต้อง โดยคำนึงถึงโอกาสข้อจำกัดและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ระยะนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ย่อย คือ

(1) ขั้นสำรวจอาชีพ (exploration) เป็นขั้นที่บุคคลจะสำรวจว่าอาชีพใดจะ เหมาะกับเขาบ้าง เด็กจะมีการประเมินตนเอง ในพฤติกรรมทางอาชีพของเขาอย่าง ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น

(2) ขั้นรวมตัวของความคิดที่จะเลือกอาชีพ (specification) เด็กจะตัดสินใจ เลือกอาชีพที่เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ไม่ใช่เป็นการคิดกว้าง ๆ ลอย ๆ เท่านั้นว่าจะประกอบ อาชีพใด เช่น ไม่ใช่บอกเพียงแค่จะเรียนวิชาทางการศึกษา แต่จะเน้นชัดไปว่าเป็นสาขา อะไร เช่น สาขาเกษตรกรรม เป็นต้น

ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพ (theory of career development) ของ ไทด์แมน และ โอฮารา (Tiedman and O’ Hara’s อ้างถึงใน สมคิด พรมจุ้ยและคณะ 2540, 10-12) ทฤษฎีนี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากทฤษฎีของซุปเปอร์ และกินซ์เบอร์ก ไทด์แมน และโอฮารา ได้แบ่งขั้นตอนต่าง ๆ ตามทฤษฎีเช่นเดียวกับ 2 ทฤษฎีแรก เพียงแต่ได้ เพิ่มเติมให้ละเอียด ให้ชัดเจน และเน้นเรื่องของการตัดสินใจ ว่าสิ่งสำคัญสำหรับพัฒนาการ ด้านอาชีพ ทำให้บางครั้งทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า A decision making and adjustment theory of vocational development ไทด์แมน และโอฮารา มองเรื่องของพัฒนาการอาชีพว่าเป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ การทำงานเป็นวิธีการแสดงออกทางบุคลิกภาพ และเป็นการปรับตัวทางสังคม

การแสดงออกทางบุคลิกภาพนี้ หมายถึง การที่บุคคลแต่ละคนได้แสดงออกซึ่ง ความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง (ที่ทำให้เขาแตกต่างออกไปจากผู้อื่น) ส่วนการปรับตัว ทางสังคม เป็นการที่บุคคลพยายามปรับตัวเองเข้ากับผู้อื่น เพื่อเขาจะได้เป็นที่ยอมรับใน สังคม ไทด์แมน ได้ย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและอาชีพ ที่จะเห็นได้ชัดเจน จากการที่บุคคลต้องผ่านกระบวนการตัดสินใจ เขาได้ย้ำเรื่องของการตัดสินใจว่าเป็น หัวใจของพัฒนาการทางอาชีพ การตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นในด้านของการเรียน การทำงาน หรือกิจกรรมประจำวัน ล้วนมีส่วนเสริมสร้างที่จะทำให้เป็นรูปแบบของพัฒนาอาชีพของ บุคคลผู้นั้น เขาได้แบ่งขั้นตอนการตัดสินใจออกเป็น 2 ระยะ

1) ระยะคาดการณ์ล่วงหน้า (period of anticipation) แบ่งเป็นขั้นย่อย ๆ 4 ขั้น คือ

(1) ขั้นการสำรวจ (exploration) เกิดเมื่อบุคคลพิจารณามองเห็นทางเลือก หลายทาง จึงเริ่มสำรวจทางเลือกเหล่านั้น

(2) ขั้นเห็นรูปแบบทางเลือกเด่นชัดขึ้น (crystallization) บุคคลเริ่มมองเห็นว่า ทางเลือกใดที่เป็นไปได้ และตัดทางเลือกที่เป็นไปไม่ได้ทิ้งไป

(3) ขั้นการเลือก (choice) เลือกอาชีพที่ชอบมากกว่าอาชีพอื่น และจัดอันดับ อาชีพที่ต้องการ

(4) ขั้นเจาะจงตัวเลือก (specification) เมื่อเลือกอาชีพที่สนใจแล้ว ก็จะไปหา ข้อมูลรายละเอียดของอาชีพนั้น ๆ เช่น ลักษณะงาน การฝึกอบรม การหาแหล่งงาน เป็นต้น

2) ระยะการดำเนินงานตามแผนการปรับตัว (period of implementation and adjustment) มี 3 ขั้นย่อย คือ

(1) ขั้นอุปมาน (induction stage) บุคคลก้าวเข้าสู่งานอาชีพที่ได้วางเป้าหมาย เลือกไว้ และอาจต้องปรับตัวโดยปฏิบัติตามกลุ่มอาชีพที่เขาปฏิบัติกัน

(2) ขั้นหัวเลี้ยวหัวต่อ (transition) เป็นขั้นที่บุคคลพยายามปรับ หรือผสมผสาน เป้าหมายของกลุ่มเข้ากับเป้าหมายของตนเอง อาจเป็นการประนีประนอม หรือคล้อยตาม เพื่อกลายเป็นสมาชิกของกลุ่มไปในที่สุด

(3) ขั้นการอนุรักษ์ (maintenance) เป็นขั้นที่บุคคลหาความสมดุล มั่นคงใน งานเกิดความพึงพอใจว่างานนั้นเหมาะกับเขา

ในกรณีที่บุคคลไม่สามารถผสมผสานเป้าหมายของกลุ่ม เข้ากับเป้าหมายส่วนตัว หรือเขาอาจไม่พอใจกับการเลือกอาชีพของเขา เขาอาจแสวงหาอาชีพใหม่ และเริ่ม กระบวนการตัดสินใจใหม่อีกครั้งก็ได้ ซึ่งการตัดสินใจครั้งที่สองก็อาจนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์ได้เช่นกัน

ไทด์แมน และโอฮารา เชื่อว่ากระบวนการพัฒนาในแต่ละขั้นเป็นสิ่งที่ย้อนกลับใหม่ ได้ เช่น บุคคลซึ่งที่อยู่ในขั้นเจาะจงตัวเลือก อาจย้อนกลับไปอยู่ในขั้นการเลือกใหม่ ก็ได้ เท่า ๆ กับที่จะไปอยู่ในขั้นอุปมาน ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าในเรื่องของการตัดสินใจ นั้น คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ สิ่งเดิมที่เคยตัดสินใจไปแล้วอาจนำมาพิจารณา ใหม่ ถ้ามีตัวแปรใหม่เกิดขึ้นแต่โดยทั่ว ๆ ไป แล้วบุคคลมักจะดำเนินตามขั้นตอน ตั้งแต่เริ่ม ตัดสินใจไม่ถูก ไปจนกระทั่งถึงตัดสินใจได้ และดำเนินการตามแผนที่วางไว้ในที่สุด

 

จากทฤษฎีของไทด์แมน และโอฮารา ทำให้มองเห็นว่า พัฒนาการทางอาชีพนั้น เป็นกระบวนการตัดสินใจที่สลับซับซ้อน เกิดในช่วงเวลายาวนานตลอดชีวิตของบุคคลก็ว่า ได้ และการตัดสินใจแต่ละครั้งก็มีผลต่อเนื่องไปถึงการตัดสินใจอื่น ๆ ที่ตามมา ในบางครั้ง การตัดสินใจก็อาจจะไม่ได้เกิดตามขั้นตอนลงมาทีละเรื่อง ในชีวิตจริงของเรา บ่อยครั้งจะ พบว่ามีหลายสิ่งที่เราจำเป็นต้องเลือกตัดสินใจในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ยากสำหรับ บุคคลหลายคนที่จะต้องเลือกตัดสินใจในตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา เพราะการเลือกแต่ละ ครั้งนั้น ผลที่ตามมาจะมีอิทธิพลต่ออนาคตของบุคคลเสมอ หน้าที่ของผู้ให้บริการแนะแนว จึงควรตระหนักในความสำคัญของการตัดสินใจโดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับอาชีพที่เด็กต้องการ ประกอบในอนาคต และพยายามช่วยบุคคลให้มีอิสรภาพในการตัดสินใจให้มากที่สุด เพื่อ ผลประโยชน์และความพึงพอใจและเพื่อชีวิตในอนาคตที่สมบูรณ์ของบุคคลผู้นั้นเอง

สำเนาว์ ขจรศิลป์ (2529, 35) ได้สรุปผลการวิจัยของ นอเรล กรเตอร์ อิงแลน เดอร์ แอนเดอร์สัน และโอลเชล ไว้ว่า ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองทางด้านอาชีพของ บุคคลได้พัฒนาจากความเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและจิตใจ การสังเกตลักษณะของ งานต่าง ๆ สภาพสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ เมื่อบุคคลมีประสบการณ์และความรู้ เกี่ยวกับงานหรืออาชีพต่าง ๆ มากขึ้น บุคคลจะมีความรู้สึกนึกคิด เกี่ยวกับตนเองทางด้าน อาชีพที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้บุคคลมีการพัฒนาการ ทางด้านอาชีพ การรับรู้เกี่ยวกับความสามารถ และความคิด จะทำให้บุคคลเลือกอาชีพที่ สอดคล้องกับความสามารถ และความถนัดของตนเอง นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการ เลือกอาชีพมาก บุคคลที่มีความรู้สึกนึกคิดต่อตัวเองที่ตรงกับความเป็นจริงย่อมจะทำให้ เข้าใจถึงค่านิยม และความต้องการในด้านต่าง ๆ ของตนเองได้ดี ซึ่งจะช่วยให้บุคคลเลือกอาชีพที่เหมาะสม หรือเป็นอาชีพที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองในด้าน ต่าง ๆ

ความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ

ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ได้กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพไว้ใน เว็บไซต์ http:22dnfe5.nfe.go.th/ilp/42033/ ในชุดวิชาการศึกษาช่องทางการประกอบ อาชีพ ดังนี้

ประเภทและลักษณะของอาชีพ

อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่ สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไป

การแบ่งประเภทของอาชีพ สามารถจัดแบ่งตามลักษณะได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบ่งตามเนื้อหาวิชาของอาชีพ และแบ่งตามลักษณะของการประกอบอาชีพ

1. การแบ่งอาชีพตามเนื้อหาวิชาของอาชีพ สามารถจัดกลุ่มอาชีพตามเนื้อหาวิชา ได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้

1) อาชีพเกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพหลัก และเป็นอาชีพสำคัญของประเทศ ปัจจุบันประชากรของไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ยังประกอบอาชีพนี้อยู่ อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพเกี่ยวเนื่องกับการผลิต และการจัดจำหน่ายสินค้าและ บริการทางด้านการเกษตร ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรนอกจากใช้ในการบริโภค เป็นส่วนใหญ่แล้วยังใช้เป็นวัตถุดิบใน การผลิตทางอุตสาหกรรมอีกด้วย อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยง สัตว์ ฯลฯ

2) อาชีพอุตสาหกรรม การทำอุตสาหกรรม หมายถึง การผลิตสินค้าอัน เนื่องมาจากการนำเอาวัสดุ หรือสินค้าบางชนิดมาแปรสภาพให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้มาก ขึ้น กระบวนการประกอบการอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ในขั้นตอนของกระบวนการผลิต มีปัจจัยมากมายนับตั้งแต่แรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ เงินทุน ที่ดิน อาคาร รวมทั้งการบริหารจัดการ การประกอบอาชีพอุตสาหกรรมแบ่งตามขนาด ได้ดังนี้

(1) อุตสาหกรรมในครอบครัว เป็นอุตสาหกรรมที่ทำกันในครัวเรือน หรือ ภายในบ้าน ใช้แรงงานคนในครอบครัวเป็นหลัก บางทีอาจใช้เครื่องจักรขนาดเล็กช่วยใน การผลิต ใช้วัตถุดิบ วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาเป็นปัจจัยในการผลิตอุตสาหกรรมใน ครัวเรือน ได้แก่ การทอผ้า การจักสาน การทำร่ม การทำอิฐมอญ ฯลฯ ลักษณะการ ดำเนินงาน ไม่เป็นระบบเท่าใดนัก รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีการลงทุนไม่มากนัก

(2) อุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างคนงานมากกว่า 50 คน ใช้เงินทุนดำเนินการไม่เกิน 10 ล้านบาท อุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้แก่ โรงกลึง อู่ ซ่อมรถ โรงงานทำขนมปัง โรงสีข้าว เป็นต้นในการดำเนินงานของอุตสาหกรรม ขนาด ย่อมมีขบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ใช้แรงงานที่มีฝีมือไม่มากนัก

(3) อุตสาหกรรมขนาดกลาง เป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 200 คน ใช้เงินทุนดำเนินการมากกว่า 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้าน บาท อุตสาหกรรมขนาดกลางได้แก่ อุตสาหกรรมทอกระสอบ อุตสาหกรรม เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น การดำเนินงานของอุตสาหกรรมขนาดกลางต้องมีการจัดการที่ดี แรงงานที่ใช้ ต้องมีทักษะ ความรู้ ความสามารถในกระบวนการผลิตเป็นอย่างดี เพื่อที่จะ ได้สินค้าที่มีคุณภาพระดับเดียวกัน

(4) อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมที่มีคนงานมากกว่า 200 คน ขึ้นไป เงินทุน ในการดำเนินการมากกว่า 200 ล้านบาท อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก เป็นต้น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มี ระบบการจัดการที่ดี ใช้คนที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะด้าน หลายสาขา เช่น วิศวกรรม อิเล็กทรอนิกส์ ในการดำเนินงานผลิตมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ใช้เครื่องจักร คนงาน เงินทุนจำนวนมากขึ้น มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและผลิตสินค้าได้ทีละมาก ๆ มีการ ว่าจ้างบุคคลระดับผู้บริหารที่มีความสามารถ

3) อาชีพพาณิชยกรรมและอาชีพบริการ

(1) อาชีพพาณิชยกรรม เป็นการประกอบอาชีพที่เป็นการแลกเปลี่ยน ระหว่างสินค้ากับเงิน ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นการซื้อมาและขายไป ผู้ประกอบอาชีพทาง พาณิชยกรรมจึงจัด เป็นคนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตและนำมาขายต่อให้แก่ ผู้บริโภค ประกอบด้วย การค้าส่งและการค้าปลีก โดยอาจจัดจำหน่าย ในรูปของการขาย ตรงหรือขายอ้อม

(2) อาชีพบริการ หมายถึง อาชีพที่ทำให้เกิดความพอใจแก่ผู้ซื้อ การบริการ อาจเป็นสินค้า ที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ การบริการที่มีตัวตน ได้แก่ บริการขนส่ง บริการทางการเงิน ส่วนบริการที่ไม่มีตัวตน ได้แก่ บริการท่องเที่ยว บริการรักษาพยาบาล เป็นต้น

อาชีพพาณิชยกรรม จึงเป็นตัวกลางในการขายสินค้า หรือบริการต่าง ๆ นับตั้งแต่การนำ วัตถุดิบจากผู้ผลิตทางด้านเกษตรกรรม ตลอดจนสินค้าสำเร็จรูป จากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งคหกรรม ศิลปกรรม หัตถกรรม ไปให้ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค อาชีพพาณิชยกรรมจึงเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ทุกอาชีพ ในการประกอบอาชีพ พาณิชยกรรม หรือบริการ ผู้ประกอบอาชีพจะต้องมีความสามารถในการจัดหา มีความคิดริเริ่ม และมีคุณธรรม จึงจะทำให้การประกอบอาชีพเจริญก้าวหน้า

4) อาชีพคหกรรม การประกอบอาชีพคหกรรม ได้แก่ อาชีพที่เกี่ยวกับการ ประกอบอาหาร ขนม การตัดเย็บ การเสริมสวย ตัดผม เป็นต้น

5) อาชีพหัตถกรรม การประกอบอาชีพหัตถกรรม ได้แก่ อาชีพที่เกี่ยวกับงาน ช่าง โดยการใช้มือในการผลิตชิ้นงานเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ อาชีพจักสาน แกะสลัก ทอผ้าด้วยมือ ทอเสื่อ เป็นต้น

6) อาชีพศิลปกรรม การประกอบอาชีพศิลปกรรม ได้แก่ อาชีพเกี่ยวข้องกับการ แสดงออกในลักษณะต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การปั้น การดนตรี ละคร การโฆษณา ถ่ายภาพ เป็นต้น

การแบ่งอาชีพตามลักษณะของการประกอบอาชีพ

นอกจากจะจัดกลุ่มอาชีพเป็น 6 ประเภทแล้ว เรายังสามารถจัดกลุ่มอาชีพตาม ลักษณะการประกอบอาชีพเป็น 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง

1. อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมี ความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่าย เอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่าง รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อม รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถใน เรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และ ประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง

2. อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้ รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้าง ประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า "นายจ้าง" หรือ ผู้ว่าจ้าง บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า "ลูกจ้าง" หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่าย ให้แก่ ผู้รับจ้างเรียกว่า "ค่าจ้าง" การประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการ รับจ้างทำงานในสถานประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างในลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทำได้ อัตราค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับการกำหนด ของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้าง การทำงานผู้รับจ้างจะ ทำอยู่ภายในโรงงาน ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มี ข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง กับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ ทำงานตามที่นายจ้าง กำหนด แต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลาย อย่างที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ความรู้ ความ ชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี มีความ กระตือรือร้น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรับกฎเกณฑ์และเชื่อฟังคำสั่ง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง สุขภาพอนามัยที่ดี อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลายอาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ อาชีพได้ตามความถนัด ความ ต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระ หรือ อาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะทำให้ เกิดรายได้มาสู่ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

การส่งเสริมอาชีพสำหรับบุคคล

การส่งเสริมอาชีพ หมายถึง การดำเนินการที่มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต อัน ได้แก่ การเพื่อพูนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการแก้ไขปัญหาด้าน ปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการอาชีพเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่

ในการส่งเสริมอาชีพนั้น ผู้ประกอบอาชีพจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ตนเองว่า มี ความสนใจอาชีพใด มีความถนัดด้านใด และตลาดมีความต้องการอาชีพใด เราจำเป็นที่ จะต้องมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับงานอาชีพ ซึ่ง สำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ได้จัดทำข้อมูลออกเผยแพร่ในเว็บไซต์ http://dnfe5. nfe.go.th/ilp/42033/ ในชุดวิชา การศึกษาช่องทางการประกอบอาชีพ โดยศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนี้

1 . การวิเคราะห์งานอาชีพ

การวิเคราะห์เปรียบเทียบอาชีพ จะช่วยให้ผู้ที่ศึกษา วิเคราะห์มีความรู้ ความ เข้าใจในอาชีพที่สนใจในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกอาชีพ ได้เหมาะสมกับตนเอง และมีความเป็นไปได้ในการนำไปประกอบอาชีพ

ประเด็นสำคัญในการศึกษาวิเคราะห์อาชีพ ในการศึกษาวิเคราะห์อาชีพ มี ประเด็น หรือหัวข้อสำคัญ ๆ ที่ควรนำมาพิจารณาดังนี้

1) ลักษณะ ประเภท รูปแบบของอาชีพ เป็นการศึกษาถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะ การดำเนินงานของอาชีพที่ศึกษา เช่น ทำคนเดียว ทำเป็นกลุ่ม ทำในรูปบริษัท ห้างร้าน เครือข่าย สาขา แฟรนไชน์ เป็นต้น

2) ปัจจัยดำเนินการ เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ ทั้งปัจจัยใน การผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องมือ เงินทุน ปัจจัยในการดำเนินงาน ได้แก่ การ จัดการ การบริหาร ฯลฯ

3) กระบวนการผลิต ขั้นตอนการผลิต เป็นการศึกษาถึงขั้นตอนของการ ประกอบอาชีพเกี่ยวกับความรู้และเทคนิคที่จำเป็น ความยุ่งยากซับซ้อน ระยะเวลา ฯลฯ

4) การจัดการผลผลิต เป็นการศึกษาถึงวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับผลผลิตที่ ได้จาก การประกอบการอาชีพ ตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การจำหน่าย การบรรจุ ตลอดจนตลาดที่จำหน่ายผลผลิต

5) ความต้องการของผู้บริโภค เป็นการศึกษาถึงความต้องการ ความพอใจ ของผู้บริโภค ที่มีต่อ สินค้าที่ผลิต ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ ราคา

6) ผลตอบแทน เป็นการศึกษาถึงความพึงพอใจในการประกอบอาชีพ ตลอดจนรายได้ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพนั้น

7) ปัญหาและอุปสรรค เป็นการศึกษาถึงข้อจำกัด การแข่งขัน เงื่อนไข ผลกระทบตลอดจนแนวทางแก้ไขที่เป็นอยู่

8) ความมั่นคงในการประกอบอาชีพ เป็นการศึกษาถึงแนวโน้ม ความเป็นไป ได้ โอกาสการขยายขอบข่ายของอาชีพในอนาคต

2. ขั้นตอนการศึกษาวิเคราะห์อาชีพ

เพื่อให้การศึกษา/วิเคราะห์อาชีพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึง ประเด็นสำคัญ ควรประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1) รวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการ สถานประกอบการ ทั้งจากการออกไป รวบรวมโดยตรงหรือรวบรวมจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่มีการจัดทำไว้ โดยข้อมูลที่ รวบรวมควรประกอบ ด้วยชื่อของผู้ประกอบการ หรือสถานประกอบการ สถานที่หรือที่ตั้ง ซึ่งสามารถติดต่อได้ หรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2) กำหนดหัวข้อ หรือประเด็นคำถามที่ต้องการได้รับคำตอบตามที่กำหนดให้ ชัดเจนหรือ ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการจะทราบ

3) ติดต่อประสานงาน ขอความร่วมมือในการขอข้อมูล หรือรายละเอียดต่างๆ จากผู้ประกอบการ สถานประกอบการ ผู้รู้ หรือแหล่งวิทยาการ โดยการออกไป สัมภาษณ์ ด้วยตนเอง หรืออาจใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากเอกสารต่าง ๆ ที่มีอยู่

4) นำเอาข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบในด้านต่างๆของแต่ละ อาชีพ

3. การวิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับงานอาชีพ

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพ คือ ตัวผู้ ประกอบอาชีพจะต้องมีความสนใจ ความถนัด ความสามารถ ทักษะทางอาชีพ รวมทั้ง คุณสมบัติที่พึงมีในการประกอบอาชีพนั้น ๆ ดังนั้นผู้ที่ตัดสินใจประกอบอาชีพอย่างใด อย่างหนึ่งจึงต้อง สำรวจ วิเคราะห์ตนเองให้รู้จักและเข้าใจตนเอง โดยพิจารณาด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

1) ด้านความสนใจ ความชอบ ความต้องการ ควรจะพิจารณาว่าตนเองมีความ สนใจ ความชอบ ความต้องการที่จะประกอบอาชีพใดบ้าง เพราะเหตุใด

2) ด้านความรู้ ความสามารถ ความถนัด ควรจะพิจารณาว่าอาชีพที่สนใจจะทำ นั้น ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความถนัด ทักษะทางอาชีพนั้น ๆ หรือไม่ ถ้ายังไม่มีหรือ ยังขาดอยู่ จะสามารถหาความรู้หรือทักษะเพิ่มเติมได้อย่างไร หรือจะแก้ปัญหาโดยหา ผู้ร่วมงานที่มีความรู้นั้น ๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

3) ด้านคุณลักษณะที่พึงมีในการประกอบอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากลักษณะ นิสัย ที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการในแต่ละอาชีพจะมีความแตกต่างกัน เช่น ผู้ประกอบอาชีพ

4. คุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ

จากการศึกษาวิจัยพบว่า คุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลที่จะประสบความสำเร็จใน การประกอบอาชีพนั้น ประกอบด้วย

1) ความขยันอดทน ทำงานประเภทหนักเอาเบาสู้ ไม่ท้อถอยในการทำงาน

2) ประหยัด

3) ฉลาดมีไหวพริบ

4) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

5) รู้เท่าทันคน เหตุการณ์ และมองเห็นการณ์ไกล

6) ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม

7) มีมนุษยสัมพันธ์ดี

8) มีสุขภาพดี

9) มีความสามารถและความถนัดในงานอาชีพ

10) มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพที่ทำ รักงานที่ทำ

11) ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ

12) ใฝ่หาความรู้ แสวงหาแนวทางใหม่ในการทำงาน

การตัดสินใจเลือกอาชีพ

การตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพสำหรับคนๆ หนึ่ง ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ มันเป็น ขบวนการที่ต้องทำให้ตัวของเราเองเหมาะกับโลกของงาน ซึ่งต้องมีการค้นหาตัวเองให้ เหมาะสมกับงาน ต้องถามตัวเองว่า ตัวเราต้องการอะไร มีความสามารถมากน้อยแค่ไหน มีอะไรที่จะทำได้

1. องค์ประกอบในการตัดสินใจเลือกอาชีพ

การตัดสินใจเลือกอาชีพ คือ การนำข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ที่เกี่ยวกับอาชีพที่จะ เลือก มาพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือก ประกอบการ ให้เหมาะสมกับสภาพขีดความสามารถของตนเองให้มากที่สุด มีปัญหา อุปสรรคน้อยที่สุด การตัดสินใจเลือกอาชีพ มีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้

1.1 ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ซึ่งจะพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน คือ

. ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพที่ ตนเองมีอยู่ เช่น เงินทุน ที่ดิน อาคารสถานที่ แรงงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ ความรู้ ทักษะต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการประกอบอาชีพมีหรือไม่ อย่างไร

. ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและสังคม เช่น ผู้ที่จะมาใช้บริการ (ตลาด) ส่วนแบ่งของตลาด ทำเล การคมนาคม ทรัพยากรที่จะเอื้อที่มีในท้องถิ่น แหล่งความรู้ ตลอดจนผลที่จะเกิดขึ้นต่อ ชุมชน

. ข้อมูลทางวิชาการ ได้แก่ ความรู้ทางเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นต่ออาชีพ นั้นๆ เช่น การตรวจซ่อมแก้ไข เทคนิคการบริการลูกค้า ทักษะงานอาชีพต่าง ๆ ฯลฯ

1.2 ความถนัด โดยทั่วไปคนเราจะมีความถนัดในเชิงช่าง แต่ละคนจะแตกต่าง กันไป เช่น ความถนัดในการทำอาหาร ถนัดในการประดิษฐ์ ฯลฯ ผู้ที่มีความถนัดจะช่วย ให้การทำงานนั้น เป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว คล่องแคล่ว รวมทั้งยังช่วยให้มองเห็น ลู่ทางในการพัฒนาอาชีพ นั้น ๆ ให้รุดหน้าได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความถนัด

1.3 เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ เป็นความรู้สึกภายในของแต่ละคนที่มีต่องานอาชีพ ได้แก่ ความรัก ความศรัทธา ความภูมิใจ ความจริงใจ ฯลฯ ความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้จะ เป็นแรงผลักดันให้คนเกิดความมานะอดทน มุ่งมั่น ขยัน กล้าสู้ กล้าเสี่ยง ทำให้ประสบ ความสำเร็จในการประกอบอาชีพได้ การที่จะตัดสินใจเลือกอาชีพ ประกอบการต้องนำเอา ข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์โดยมี แนวทางในการพิจารณา คือ

1) วิเคราะห์สภาพที่เป็นอยู่ หมายถึง สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนั้นเกี่ยวกับเรื่อง ต่าง ๆ ต้องวิเคราะห์ตามสภาพจริงที่เป็นอยู่

2) วิเคราะห์ทางออก หมายถึง แนวทางในการดำเนินงานที่ผู้วิเคราะห์เห็น ว่า ในกรณีที่สภาพที่เป็นอยู่นั้นไม่เป็นไปตามความต้องการ หรือตามที่กำหนด แต่อาจ มีแนวทางการดำเนินงาน หรือทางออกอื่น ๆ ที่จะทำให้เป็นไปตามที่ต้องการได้อีก หลายวิธี ซึ่งต้องตัดสินใจเลือกทางออก หรือวิธีการที่เหมาะสมเป็นไปได้มากที่สุด

3) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ หมายถึง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพที่เป็นอยู่กับทางออก แนวทางที่จะดำเนินการนั้น เป็นสิ่งที่สามารถจะทำให้เกิดขึ้น หรือเป็นไปได้จริงหรือไม่ตามทางออกที่คิดไว้

4) ตัดสินใจเลือก เป็นการสรุป ตัดสินใจเลือกอาชีพหลังจากที่มีการ วิเคราะห์ เปรียบเทียบอย่างละเอียด รอบคอบแล้ว

2. การวิเคราะห์ความพร้อมและความเป็นไปได้ของอาชีพที่ตัดสินใจเลือก เมื่อตัดสินใจว่าจะประกอบอาชีพใดแล้ว เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และเชื่อมั่นว่า อาชีพที่เลือกนั้น จะสามารถดำเนินการได้ตลอดรอดฝั่ง มีความจำเป็นต้องมีการ วิเคราะห์ความพร้อม และความเป็นไปได้ของอาชีพที่ตัดสินใจเลือก โดยมีขั้นตอน การวิเคราะห์ดังนี้

ที่มา: ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย [Online]. Available URL:http://dnfe5. nfe.go.th/ilp/42033/

สรุป

จากทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพ พบว่าพัฒนาการทางอาชีพเป็นกระบวนการที่ ต่อเนื่องมีขั้นตอน และระเบียบแบบแผน ซึ่งพัฒนามาจากความเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย และจิตใจของบุคคล ประกอบกับประสบการณ์ที่บุคคลได้รับจากครอบครัวและจากการศึกษา นอกจากนี้สภาพแวดล้อมของสังคมและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มี ผลกระทบต่อพัฒนาการทางอาชีพอีกประการหนึ่งด้วย ดังนั้นทฤษฏีดังกล่าวสามารถ นำมาพิจารณาในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบุคลิกของผู้เรียนได้ เราได้แบ่งประเภทของอาชีพตามลักษณะได้ 2 ลักษณะ คือ แบ่งตามเนื้อหาวิชา ของอาชีพ ได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม อาชีพอุตสาหกรรม อาชีพพาณิชยกรรมและบริการ อาชีพคหกรรม อาชีพหัตถกรรม และอาชีพศิลปกรรม การแบ่งตามลักษณะของการ ประกอบอาชีพ ได้แก่ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง ในการส่งเสริมอาชีพเป็นการดำเนินการเพื่อมุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ผู้ ประกอบอาชีพต้องวิเคราะห์ตนเองว่า มีความสนใจอาชีพใด มีความถนัดด้านใด และความ ต้องการของตลาดแรงงาน เราจำเป็นต้องศึกษาถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะการ ดำเนินการ กระบวรการผลิต การจัดการผลผลิต ความต้องการของผู้บริโภค ผลตอบแทน ปัญหาและอุปสรรค ความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และขั้นตอนในการวิเคราะห์อาชีพ ควรประกอบด้วยการรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการ การตั้งคำถาม ประสานขอข้อมูล นำเอาไปเปรียบเทียบในด้านต่างๆ ของแต่ละอาชีพ การวิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับงาน อาชีพ พิจารณาถึงความสนใจ ความชอบ ความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะที่พึงมีในการ ประกอบอาชีพนั้น ๆ ส่วนการตัดสินใจเลือกอาชีพมีองค์ประกอบ คือ พิจารณาข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง สภาพแวดล้อมและสังคม ข้อมูลทางวิชาการ พิจารณาความถนัด และเจต คติต่องานอาชีพนั้น ๆ และวิเคราะห์ความพร้อมของตนเองด้วย

          ๒.  ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารประกอบการอบรม หัวข้อ

สมุนไพรไทย
           คำว่า สมุนไพร ตามพระราชบัญญัติหมายความถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้มีการผสมปรุงหรือแปรสภาพ (ยกเว้นการทำให้แห้ง)เช่น พืชก็ยังคงเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆเช่น การหั่น การบด การกลั่น การสกัดแยกรวมทั้งการผสมกับสารอื่นๆ แต่ในทางการค้า   สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบ ต่างๆ เช่น ถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กลง บดให้เป็นผง อัดให้เป็นแท่ง
หรือปอกเปลือกออก เป็นต้น เมื่อพูดถึงสมุนไพร คนทั่วๆ ไปมักจะนึกถึงเฉพาะพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางยา ทั้งนี้เพราะ สัตว์ และแร่มีการใช้น้อยจะใช้เฉพาะในโรคบางชนิดเท่านั้น

ประวัติของการใช้สมุนไพร

              สมุนไพร คือ ของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ มนุษย์เรารู้จักใช้สมุนไพรในด้านการบำบัดรักษาโรค นับแต่ยุคนีแอนเดอร์ทัลในประเทศอิรักปัจจุบันที่หลุมฝังศพพบว่ามีการใช้สมุนไพรหลายพันปีมาแล้วที่ชาวอินเดียแดงในเม็กซิโก ใช้ต้นตะบองเพชร(Peyate) เป็นยาฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผลปัจจุบันพบว่าตะบองเพชรมีฤทธิ์กล่อมประสาทประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ที่ชาวสุเมเรียนได้เข้ามาตั้งรกราก ณ บริเวณแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก ใช้สมุนไพร เช่น ฝิ่น ชะเอม ไทม์ และมัสตาร์ด และต่อมาชาวบาบิโลเนียน ใช้สมุนไพรเพิ่มเติมจากชาวสุเมเรียน ได้แก่ใบมะขามแขกหญ้าฝรั่น ลูกผักชี อบเชย และกระเทียมในยุคต่อมาอียิปต์โบราณมี อิมโฮเทปแพทย์ผู้มีชื่อเสียงซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรคของอียิปต์ มีตำราสมุนไพรที่เก่าแก่คือ Papytus Ebers ซึ่งเขียนเมื่อ 1,600 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวเยอรมันนี ชื่อ Georg Ebersในตำรานี้ได้กล่าวถึงตำราสมุนไพรมากกว่า 800 ตำรับ และสมุนไพรมากกว่า 700 ชนิด เช่น ว่านหางจระเข้ เวอร์มวูด(warmwood) เปปเปอร์มินต์ เฮนเบน(henbane)
มดยอบ, hemp dagbane ละหุ่ง mandrake เป็นต้นรูปแบบในการเตรียมยาในสมัยนั้น ได้แก่ การต้ม การชง ทำเป็นผง กลั่นเป็นเม็ด ทำเป็นยาพอกเป็นขี้ผึ้งนอกจากนี้ยังพบว่าชาติต่างๆ ในแถบยุโรปและแอฟริกามีหลักฐานการใช้สมุนไพร ตามลำดับก่อนหลังของการเริ่มใช้สมุนไพร คือหลังจากสมุนไพรได้เจริญรุ่งเรืองในอียิปต์แล้ว ก็ได้มีการสืบทอดกันมา เช่น กรีก โรมันอาหรับ อิรัก เยอรมัน โปรตุเกส สวีเดนและโปแลนด์ส่วนในแถบเอเซีย ตามบันทึกประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้สมุนไพรที่อินเดียก่อน แล้วสืบทอดมาที่จีน มะละกา และประเทศไทย

 

 

ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย
         ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่ มากมายเป็นแสนๆ ชนิดทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบ
ในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิดถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ รากฐานของวิชาสมุนไพรไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่เพราะตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อพยพถิ่นฐานมาจากบริเวณเทือกเขา อัลไตน์ประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบันจึงมีส่วนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ตลอดจนการบำบัดรักษาโรคจากประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้อาศัยคัมภีร์อายุรเวทของอินเดียเป็นบรรทัดฐาน คือ การวินิจฉัยโรค
ชื่อสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมีเค้าชื่อของภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ไม่น้อยเช่นคำว่า มะลิ (ภาษาสันสกฤตว่า มัลลิ) เป็นต้น มีผู้ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ใช้สมุนไพรในประเทศเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท
(สมุนไพรเหล่านี้ได้มาจากทั้งในประเทศ และนำเข้าจากนอกประเทศโดยเฉพาะจีน เกาหลี และอินเดีย) ทั้งนี้เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลายทำให้ต้องมีการรณรงค์ให้มีการปลูกเป็นสวนสมุนไพรขึ้น ในปีพุทธศักราช 1800
ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งนับเป็นยุคทองของสมุนไพรไทย สวนป่าสมุนไพรของพระองค์ใหญ่โตมากอยู่บนยอดเขาคีรีมาศ อ.คีรีมาส จ.สุโขทัย มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ซึ่งปัจจุบันยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ เป็นป่าสงวนเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของผู้ที่สนใจต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่าสมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหารประจำ ครอบครัว ชาติจะเจริญมั่นคงได้ก็ด้วยครอบครัวเล็กๆ ที่มีความมั่นคงแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจ จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ สวนสมุนไพรขึ้นในประเทศในปีพุทธศักราช 2522 โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมศึกษาค้นคว้าในเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการทางชีววิทยา ทางการแพทย์ การบำบัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพืชที่เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดโครงการพระราช ดำริสวนป่าสมุนไพรขึ้นมากมายหลายแหล่ง อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเพื่อหาสาระสำคัญของสมุนไพรที่มีพิษทางเภสัชมาสกัดเป็นยาแทนยาสังเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบันคนไทยไม่เพียงแต่ใช้พืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคเท่านั้นแต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นมีรากฐานมานานนับร้อยนับพันปี อารยธรรมต่างๆ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงถึงชาติ แสดงถึงเผ่าพันธุ์ และความเป็นผู้ที่เจริญแล้วสิ่งหนึ่งที่แสดงออกมาได้เป็นอย่างดีก็คือ ศิลปะที่ผสมผสานและผูกพันอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยนั่นเอง ศิลปะดังกล่าวนี้รวมไปถึงเรื่องการกินอยู่ด้วยอาทิเช่น การจัดตั้งสำรับ และการประกอบจัดอาหารก็ไม่เพียงเพื่อความอร่อยลิ้นอย่างวิเศษเพียงประการเดียว ยังมีความสวยงามในการจัดแต่งเป็นองค์ประกอบของอาหารให้งามตายิ่งขึ้นไปอีกจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เครื่องดื่มของไทยนั้นจะแฝงไว้ด้วยเจตนารมณ์ให้ ผู้ดื่มได้ซึมซับทั้งรสชาติและคุณประโยชน์ไปพร้อมๆ กันอย่างชาญฉลาดหากจะสืบสาวถึงความเป็นมาของเครื่องดื่มสมุนไพรก็มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล มีน้ำชนิดหนึ่งเรียกว่า "อัชบาล" หรือ น้ำปานะ ซึ่งพระสงฆ์สามารถฉันน้ำชนิดนี้ได้ตลอดทั้งวันแทนการขบเคี้ยวอาหาร หลังมื้อ เพลตามบัญญัติของพุทธศาสนา น้ำปานะนี้ใช้สมุนไพร หรือพืชผลชนิดที่มีความเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า กระทือ ตะไคร้ เป็นต้นต้มในน้ำร้อนและผสมน้ำตาลทรายแดงให้พอมีรสปะแล่มๆ ซึ่งต่อมานิยมดื่มกันแพร่หลายมาถึงฆราวาสด้วย

 

 

 

 

สมุนไพร 

       หมาย ถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
         1. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฎอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
         2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอก จากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง
สมุนไพร หมายถึง

พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยาส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ
"พืชสมุนไพร"

       นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทาง ยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณ ค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น "พืชสมุนไพร" หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

ลำต้น หมายถึง อวัยวะของพืชที่เจริญมาจากส่วนของเอ็มบริโอ  ที่อยู่เหนือรากแรกเกิดภายในเมล็ด โดยเจริญมาจากส่วนของลำต้นเหนือใบเลี้ยง(epicotyl) ซึ่งมียอดแรกเกิด (plumule) เจริญแบ่งเซลล์ไปเรื่อยๆ ทำให้ลำต้นเจริญสูงขึ้นและเกิดใบใหม่ รวมทั้งส่วนของลำต้นใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl)ด้วย ลำต้นส่วนใหญ่เจริญขึ้นสู่อากาศในทิศทางตรงข้ามกับแรงดึงดูดของโลก หน้าที่หลักของลำต้น ได้แก่ สร้างใบ ค้ำกิ่งก้านสาขาให้ใบได้รับแสง เป็นทางลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากใบไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืชและสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากนี้ลำต้นยังทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์แสง เป็นต้น ลำต้นของไม้ต้น คือ ส่วนที่ตั้งตรงแข็งแรง ทำหน้าที่ชูกิ่งก้านและใบ ประกอบด้วย


      1. เปลือกนอก (outer bark) อยู่นอกสุดของลำต้นและเป็นส่วนที่ตายแล้วส่วนใหญ่มีลักษณะแข็ง
ลักษณะของเปลือกชั้นนอกพอแยกออกได้ดังนี้
- เปลือกเรียบ (smooth bark) เปลือกบางไม่แตก
- เปลือกแตกแบบรอยไถ (fissured bark) เปลือกแตกตามยาวของลำต้นและเป็นร่องลึก
- เปลือกแตกแบบสี่เหลี่ยม (cracked bark) เป็นการแตกที่มีทั้งตามยาวและตามขวาง
ทำให้เปลือกแตกเป็นรูสี่เหลี่ยม
- เปลือกแตกเป็นสะเก็ด (scaly or flaky bark) เป็นเปลือกที่แตกแล้วจะหลุดไปเหลือเป็นรอยแผลที่ลำต้น
- เปลือกแตกเป็นแผ่นห้อยลง (peeling bark) เปลือกแตก เป็นแผ่นม้วนห้อยติด กับลำต้นระยะหนึ่งแล้วหลุด
       2. เปลือกชั้นใน (inner bark) อยู่ถัดจากเปลือกชั้นนอกเข้าไป มักมีสีขาว น้ำตาลแดง หรือเขียว เป็นส่วนที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อถูกตัดมักจะมียางไหลซึมออกมา หน้าที่สำคัญของเปลือกในคือ เป็นทางเดินของอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ
      3. กระพี้ (sapwood) อยู่ถัดจากเปลือกชั้นในเข้าไปเป็นวง มักมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน วงจะหนาหรือบางขึ้นอยู่กับนิดและอายุของไม้ หน้าที่สำคัญ คือ เป็นทางเดินของน้ำและแร่ธาตุ
      4. แก่น (heartwood) อยู่ถัดกระพี้เข้าไป เป็นส่วนที่ตายแล้ว มีประโยชน์ทำให้ลำต้นแข็งแรง
ราก หมายถึง อวัยวะของพืชที่เจริญมาจากรากแรกเกิด ของเอ็มบริโอภายในเมล็ด
กติรากเจริญลงไปในดินในทิศทางตามแรงดึงดูดของโลก รากไม่มีข้อและปล้อง ส่วนมากไม่มีสีเขียว
รากทำหน้าที่ยึด พยุงและค้ำจุนลำต้นให้ติดกับพื้นดิน ดูดน้ำและธาตุอาหาร และเป็นทางผ่านของน้ำและ
ธาตุอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของลำต้นและใบ นอกจากนี้รากยังเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะไปทำหน้าที่พิเศษ
อื่นๆ เช่น เก็บสะสมอาหาร ยึดเกาะ สังเคราะห์แสง เป็นต้น

ชนิดของราก     

รากของพืชแม้จะมีรูปร่างและจุดกำเนิดแตกต่างกัน แต่ก็มีหน้าที่คล้ายกันดังได้กล่าวมาแล้ว

การจำแนกรากออกเป็นชนิดต่าง ๆ นั้น มีได้หลายแบบ แล้วแต่ว่าจะยึดลักษณะใดเป็นเกณฑ์ ในการจำแนกรากโดยอาศัยจุดกำเนิดของรากเป็นเกณฑ์ แบ่งรากได้ 3 ชนิด ดังนี้

 


          1.รากแก้ว (tap root) หรือรากปฐมภูมิ
(primary root) เป็นรากที่เกิดโดยตรงมาจากรากแรกเกิดของเอ็มบริโอ เป็นรากขนาดใหญ่
ทำหน้าที่เป็นรากหลักของพืช รากนี้จะพุ่งตรงลงสู่ดินเรื่อย ๆ โคนของรากโตและจะเรียวเล็กลงทางตอน ปลาย
พบในพืชใบเลี้ยงคู่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนรากแก้วของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีอายุสั้น ซึ่งจะเจริญในช่วงแรกแล้วสลายไป
          2.รากแขนง (lateral root) หรือรากทุติยภูมิ(secondary root) เป็นรากที่เกิดมาจากรากแก้ว มักจะงอกเอียงลงในดินหรือเกือบขนานไปกับผิวดิน รากประเภทนี้รวมถึงรากที่แตกแขนงออกไปอีก และมีขนาดเล็กลดหลั่นไปตามลำดับ
         3.รากพิเศษ (adventitious root) เป็นรากที่ไม่ได้เกิดมาจากรากแรกเกิดหรือรากแขนงของรากแก้ว แต่เกิดมาจากส่วนต่าง ๆ ของพืช รากอาจจะงอกออกจากโคนต้น ข้อ กิ่งและใบของพืช รากเหล่านี้อาจจำแนกย่อยลงไปอีก แล้วแต่รูปร่างลักษณะและหน้าที่ เช่น รากกล้วยไม้ อ้อย ไทร ข้าวโพด โกงกาง

ใบ หมายถึง อวัยวะของพืชที่เกิดจากข้อของลำต้นหรือกิ่ง มีลักษณะแบน ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง คายน้ำและหายใจแต่ใบบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษอื่นๆใบประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
      1. แผ่นใบ (leaf blade) มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างและขนาดแตกต่างกันแผ่นใบประกอบด้วยเส้นกลางใบ (midrib)
เส้นใบ (vein) ปลายใบ (apex) โคนใบ (base) และขอบใบ (margin)
      2. ก้านใบ (petiole) คือส่วนที่เชื่อมระหว่างแผ่นใบแต่ละกิ่ง
      3. หูใบ (stipule) เป็นรยางค์ที่อยู่โคนก้านใบ พืชบางชนิดหูใบอาจลดรูปหรือไม่ปรากฏ

ชนิดของใบ

ใบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
       1.ใบเดี่ยว (simple leaf) คือใบที่มีแผ่นใบและก้านใบอันเดียว
       2.ใบประกอบ (compound leaves) คือใบที่ประกอบด้วยใบย่อยหลายใบ ใบประกอบแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ

 


               2.1 ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยออกสองข้างของแกนกลาง มีทั้งใบประกอบ ขนนกปลายคี่ และใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มีการแตกออกเป็นใบประกอบ แบขนนกสองชั้น(bipinnatey compound leaves) ซึ่งแกนกลางแตก แขนงออกเป็นแกนกลางที่สองแล้วจึงมีใบย่อยและใบประกอบแบบขนนกสามชั้นเป็นใบที่มีแกนกลางที่สองแตกออกเป็นแกนกลางที่สามแล้วจึงมีใบย่อย
               2.2 ใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmately compound leaves) เป็นใบประกอบที่มีก้านใบย่อยออกจากตำแหน่งเดียวกัน ที่ปลายก้านใบ ดอกส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืช เป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้
และลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ
                     1.ก้านดอก        2.กลีบรอง      3.กลีบดอก     4.เกสรตัวผู้     5.เกสรตัวเมีย

ผล

              ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ
                  1.ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน
                  2.ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า
                  3.ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด
            มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ
                  1.ผลเนื้อ
                  2.ผลแห้งชนิดแตก
                  3.ผลแห้งชนิดไม่แตก

 

 


น้ำกระเจี๊ยบ
ส่วนผสม
- กระเจี๊ยบแห้ง 1/2 ถ้วย - น้ำตาลทราย 2 ถ้วย - เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ - น้ำสะอาด 5 ถ้วย
วิธีทำ

           1.ล้างกระเจี๊ยบ 1 ครั้งให้สะอาดพักไว้

           2.ใส่น้ำลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด ใส่ กระเจี๊ยบต้มจนออกสีแดง และเนื้อกระ เจี๊ยบนุ่ม กรองเอาแต่น้ำ ขึ้นตั้งไฟต่อ
          3.ใส่น้ำตาล เกลือป่น เคี่ยวไฟอ่อน จนน้ำตาลละลายหมด ยกลง ทิ้งไว้ให้ เย็น เทใส่ขวดแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็ง ดื่มก็ได้


น้ำใบบัวบก
ส่วนผสม
- ใบบัวบก 2 ถ้วย -
-น้ำสะอาด 2 ถ้วย -
-น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย - น้ำแข็ง
วิธีทำ
นำใบบัวบกที่สด ๆ ใหม่ ๆ ล้างน้ำให้ สะอาด แช่ด่างทับทิม 15-20 นาที ใส่ เครื่องปั่น เติมน้ำพอควร กรองด้วยผ้าขาว บาง เติมน้ำเชื่อม พอหวาน ชิมรสตามใจ ชอบ จะได้น้ำใบบัวบกสีเขียวใส น่ารับ ประทาน เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด รสหอมหวานชื่นใจ ดื่มแก้อาการกระหาย น้ำ

น้ำกล้วยหอม

ส่วนผสม
- กล้วยหอมหั่นท่อนสั้น 1 ถ้วย
- นมสด 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
- เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
- น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
- น้ำแข็งบด 1 ถ้วย


วิธีทำ
1.ใส่กล้วยหอม นมสด น้ำเชื่อม เกลือ ป่น น้ำแข็ง และน้ำต้มลงในโถปั่น ปั่น ให้เข้ากันดี
2.เทใส่แก้วทรงสูง เสริ์ฟพร้อมหลอด ดูดและไม้คน หรือแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง

น้ำมะนาว
ส่วนผสม
- น้ำมะนาว 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- น้ำสะอาด 1 ถ้วย

วิธีทำ 1.ทำน้ำเชื่อม โดยผสมน้ำตาลและน้ำ ตั้งไฟให้ละลาย ทิ้งไว้ให้พออุ่น ๆ
2.ใส่น้ำมะนาว เกลือ ลงในน้ำเชื่อม คนให้ เกลือละลาย
3.ตักเสิร์ฟแบบอุ่นหรือเย็นก็ได้ โดยใส่น้ำแข็งลงในแก้ว เทน้ำมะนาวใส่ แต่งด้วยมะนาวฝาน และสะระแหน่

น้ำข้าวโพด

ส่วนผสม
- เมล็ดข้าวโพดสวีท 1 ถ้วย
- น้ำต้มสุก
- เกลือป่น
- น้ำมะนาว
- น้ำเชื่อม
วิธีทำ
เลือกข้าวโพดพันธุ์ซุปเปอร์สวีทแท้ ๆ ที่ยังอ่อนอยู่และเก็บมาสด ๆ นำฝักข้าว โพดลวกน้ำแกะเมล็ดข้าวโพดออก ใส่ เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก ปั่นให้ละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบาง เอากากออก เติม เกลือป่น เติมน้ำมะนาว ปรับพีเอชให้ได้ ประมาณ 6.5-6.8 เติมน้ำเชื่อม ชิมรส ดูตามใจชอบ กรองด้วยผ้าขาวบางอีก ครั้งหนึ่ง ใช้ดื่มได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ประวัติ ขนม ทองม้วน


         ทองม้วน เป็นขนมไทยแต่โบราณมีประวัติที่ยาวนานพอสมควร เริ่มต้นจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างกลุ่มทวีปทางตะวันออกและตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เข้ามา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมานั่นคือ ขนมและของหวาน ซึ่งส่วนมากขนมต่างๆมากมาย รวมทั้ง "ทองม้วน" ต่างมีต้นกำเนิดจากการรับเอาวัฒนธรรมของประเทศ โปรตุเกส มาดัดแปลง เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ วัตถุดิบ ข้าวของเครื่องใช้ เอกลักษณ์ รสนิยม และอุปนิสัยในการบริโภคอาหารของประเทศไทยเราเองครั้งในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ "เดอโลลีเยร์" ได้ทำบันทึกรายงานถึงระดับความมีหน้ามีตา และรสนิยมการบริโภคขนมหวานของชาวโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งราชสำนักสยามถึงกับต้องเกณฑ์ขนมหวานจาก หมู่บ้านโปรตุเกส เข้าไปในพระราชวัง เนื่องในโอกาสฉลองวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังความตอนหนึ่งว่า

"พวกเข้ารีตบางครัว ต้องถูกเกณฑ์ให้ทำของหวานแก่พระเจ้าแผ่นดิน ในวันนักขัตฤกษ์ ในวันชนิดนี้พระเจ้ากรุงสยามก็มีรับสั่งให้พวกเข้ารีตนี้ ทำของหวานเป็นอันมาก อ้างว่าสำหรับงานนี้งานนั้น เป็นต้นว่า สำหรับพิธีล้างศีรษะช้าง ซึ่งถือว่าเป็นพระองค์หนึ่ง หรือสำนักงานไหว้พระพุทธบาทดังนี้"อาจด้วยเป็นพระราชประสงค์ที่มีรับสั่งตรงมาจากราชสำนักสยาม ทำให้ มาดามดอนญา มาเรีย กิอูมาร์ เดอ ปินา ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ฟอลคอน ซึ่งรับหน้าที่แม่บ้านหัวเรือใหญ่จัดอาหารเลี้ยงรับรองราชอาคันตุกะต่าง ประเทศที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยามากมาย จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวทองกีบม้า (เพียนมาจากชื่อ "กิอูมาร์") ดำรงค์ตำแหน่งวิเศสกลาง ถือศักดินา 400 เป็นผู้กำกับการพนักงานของหวานในพระราชวังอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ชาวตะวันตกอีกผู้หนึ่งที่บันทึกการเดินทางเกี่ยวกับเรื่องของ ท้าวทองกีบม้าว่า"ข้าพเจ้าได้เห็นท่านผู้หญิงของฟอลคอนในปี พ.ศ.2262 เวลานี้ท่านได้รับเกียรติเป็นต้นห้องเครื่องหวานของพระเจ้าแผ่นดิน ท่านเกิดในกรุงสยามในตระกุลอันมีเกียรติ และในเวลานั้นท่านเป็นที่ยกย่องนับถือแก่คนทั่วไป"ช่วงชีวิตหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" เป็นผู้ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา จนเป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง "ท้าวทองกีบม้า" ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ทองม้วน ขนมฝรั่ง ขนมไข่เต่า ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง ขนมผิงและอื่นๆ ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่กับเธอ และบุคคลเหล่านั้น จึงได้นำวิชา่ความรู้ในการทำขนมต่างๆมาถ่ายทอดให้กับคนไทยรุ่นสู่รุ่น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

 

 

 

 


ปัจจุบัน
ขนมทองม้วนถูก ดัดแปลงไปเยอะมาก มีหลากหลายสูตร หลากหลายรส เช่น ใส่ผักชี ใส่หมูหยอง เป็นต้น รวมทั้งการบรรจุภัณฑ์ จากเมื่อก่อน หลายคนคงยังจำได้ว่า มักจะพบเห็นทองม้วนใส่ไว้ในปี๊บสังกะสี ปัจจุบันมีแพคใส่ห่อ ใส่กล่องอย่างสวยงามน่ารับประทานสูตรและส่วนผสมในการทำทองม้วนของแต่ละที่ อาจจะมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน แล้วแต่ที่มาและประวัติขนมทองม้วน ของแต่ละเจ้า วันนี้เรามาดูส่วนผสมของ ขนมทองม้วน สูตรเฉพาะของที่นี่กัน


      เครื่องปรุง ส่วนผสม สูตรในการทำทองม้วน โดยแบ่งเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ
ส่วนผสมของ ขนมทองม้วน ประกอบไปด้วย
1. แป้งข้าวเจ้า 1/2 ขีด หรือ 50 กรัม
2. แป้งมัน 3 ขีด
3. แป้งว่าว 1 ขีด
4. น้ำตาลทราย 1 ขีด
5. น้ำตาลปี๊บ 1 ขีด
6. กะทิ 3 ถ้วยครึ่ง (ถ้วยตวง)
7. ไข่ไก่ 1 ฟอง
8. เกลือป่น 1 ช้อนชา
9. นมข้มหวาน 2 ช้อนโต๊ะ

         สูตรและส่วนผสมในการทำทองม้วนของแต่ละที่ อาจจะมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน แล้วแต่ที่มา และประวัติขนมทองม้วน ของแต่ละเจ้า วันนี้เรามาดูส่วนผสมของ ขนมทองม้วน สูตรเฉพาะของที่นี่กัน
เครื่องปรุง ส่วนผสม สูตรในการทำทองม้วน โดยแบ่งเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ

 

 

 

 

 

 


ส่วนผสมของ ขนมทองม้วน ประกอบไปด้วย
1. แป้งข้าวเจ้า 1/2 ขีด หรือ 50 กรัม
2. แป้งมัน 3 ขีด
3. แป้งว่าว 1 ขีด
4. น้ำตาลทราย 1 ขีด
5. น้ำตาลปี๊บ 1 ขีด
6. กะทิ 3 ถ้วยครึ่ง (ถ้วยตวง)
7. ไข่ไก่ 1 ฟอง
8. เกลือป่น 1 ช้อนชา
9. นมข้มหวาน 2 ช้อนโต๊ะ

 

ซาลาเปา พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "ชื่อขนมชนิดหนึ่งของจีน ทำด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม"
     ซาลาเปา เป็น อาหารจีนชนิดหนึ่งทำมาจากแป้งสาลีและยีสต์ และนำมานึ่ง ซาลาเปาจะมีไส้อยู่ภายในโดยอาจจะเป็นเนื้อหรือผัก ซาลาเปาที่นิยมนำมารับประทานได้แก่ ซาลาเปาไส้หมู และ ซาลาเปาไส้ครีม สำหรับอาหารที่มีลักษณะคล้ายซาลาเปา ที่ไม่มีไส้จะเรียกว่า หมั่นโถว นอกจากนี้ซาลาเปายังคงเป็นส่วนหนึ่งในชุดอาหารติ่มซำ ในวัฒนธรรมจีน ซาลาเปาสามารถนำมารับประทานได้ในทุกมื้ออาหาร ซึ่งนิยมมากในมื้ออาหารเช้า

     ซาลาเปาทำไมถึงมีจุดสีแดง

     ที่ต้องแต้มจุดสีแดงตรงกลางลูกซาลาเปา เพราะว่าคนจีนเชื่อว่าสีขาวล้วนซึ่งเป็นสีของแป้งซาลาเปานั้นไม่เป็นมงคล เพราะสีขาวล้วนเป็นสีของการไว้ทุกข์ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้จึงมีการแต้มจุดสีแดงซึ่งเป็นสีของความมงคลตามความ เชื่อของจีนนั้นลงไปบนลูกซาลาเปา


ความเป็นมาของ ซาลาเปา และหมั่นโถว

       ย้อน หลังไปประมาณปี พ.ศ. ๗๖๘ เมื่อพระเจ้าเล่าเสี้ยน (โอรสพระเจ้าเล่าปี่) เสวยราชย์ ณ อาณาจักรจ๊กก๊ก (ก๊กหนึ่งในสามก๊ก) หรืออาณาจักรเสฉวน ยงคี,จูโพ และ โกเตง ผู้ครองสามเมืองทางใต้ของอาณาจักรจ๊กก๊ก เป็นกบฏ ไปคบคิดกับ "เบ้งเฮ๊ก" เจ้าเมืองมันอ๋อง ยกทัพมาตีชายแดนทางใต้ของอาณาจักรเสฉวน ดังนั้น "ขงเบ้ง" จึงต้องยกทัพไปปราบปรามในการไปทำศึกครั้งนี้ ขงเบ้งต้องการทรมาน ให้ "เบ้ง เฮ็ก" ยอมศิโรราบแต่โดยดี ไม่คิดกลับใจมารุกรานอาณาจักรเสฉวนอีก

     เมื่อจับเบ้งเฮ็กได้จึงปล่อยไปถึง ๖ ครั้ง พอครั้งที่ ๗ เมื่อจับเบ้งเฮ็กได้อีก เบ้งเฮ็กก็ยอมศิโรราบให้กับขงเบ้งเมื่อได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดแล้ว ขงเบ้งก็ยกทัพกลับเสฉวน เบ้งเฮ็กและชาวเมืองก็ตามมาส่ง พอถึงแม่น้ำลกซุย (หลูซุ่ยหรือแม่น้ำจินซาเจียงในปัจจุบัน) ก็เกิดอาเพศ สำนวนสามก๊กเขียนว่า "ในแม่น้ำนั้นมืดเป็นหมอกจะข้ามไปนั้นขัดสน" ขงเบ้งจึงถามเบ้งเฮ็กว่า "เหตุผลทั้งนี้เป็นประการใด" เบ้งเฮ็กจึงตอบว่า
"อัน แม่น้ำนี้มีปีศาจสำแดงฤทธิ์ แต่ก่อนมาก็เคยเป็นอยู่ ขอให้ท่านเอาศีรษะคนสี่สิบเก้าศีรษะ กับม้าเผือกกระบือดำมาเซ่นบวงสรวงจึงจะหาย"ขงเบ้งจึงว่า "เราทำศึกกับท่านจนสำเร็จการ แผ่นดินราบคาบถึงเพียงนี้ คนแก่คนหนึ่งก็มิตายเพราะมือเรา บัดนี้กลับมาถึงแม่น้ำลกซุยจะเข้าแดนเมืองอยู่แล้ว จะมาฆ่าคนเสียนั้นไม่ชอบ"ขงเบ้งจึงให้หาชาวบ้านมาสืบถามได้ความว่า เมื่อตนเองยกทัพข้ามแม่น้ำนี้ไป ก็เกิดเหตุทุกวัน คือเวลาพลบค่ำไปจนสว่าง จะมีเสียงปีศาจร้องอื้ออึง มีหมอกควันเป็นอันมากขงเบ้งจึงว่า "เหตุทั้งนี้เพราะโทษของตัวเราเอง เมื่อครั้งเราให้ม้าต้ายคุมทหารพันหนึ่งยกมานั้น ทหารทั้งปวงก็ตายอยู่ในแม่น้ำนี้สิ้น แล้วเมื่อทำศึกอยู่นั้น ทหารเบ้งเฮ็กก็ล้มตายอยู่ในที่นี้เป็นอันมาก ปีศาจทั้งปวงผูกเวรเราจึงบันดาลให้เป็นเหตุต่างๆ เราจะคิดอ่านทำการคำนับให้หายเป็นปรกติจงได้"

    
ขงเบ้งจึงสั่งให้ทหารฆ่าม้าเผือกกระบือดำ แล้วเอาแป้งมาปั้นเป็นศีรษะคนสี่สิบเก้าศีรษะ พอเวลากลางคืนก็ยกออกไปตั้งไว้ริมน้ำ จุดธูปเทียนและประทีปสี่สิบเก้า แล้วแต่งหนังสืออ่านบวงสรวงเป็นใจความว่า"บัดนี้พระเจ้าเล่าเสี้ยนครองราช สมบัติได้สามปี มีรับสั่งใช้เราผู้เป็นมหาอุปราชให้ยกทหารมาปราบปรามข้าศึกต่างประเทศ เราก็ตั้งใจสนองพระคุณความสัตย์ตั้งใจมา กับเราหวังจะทำนุบำรุงพระเจ้าเล่าเสี้ยน ยังไม่ทันสำเร็จท่านตายเสียก็มีบ้าง ท่านทั้งปวงจงกลับไปเมืองกับเราเถิด ลูกหลานจะได้เซ่นคำนับตามธรรมเนียม เราจะกราบทูลพระจ้าเล่าเสี้ยน ให้พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่สมัครพรรคพวกพี่น้องท่านให้ถึงขนาด ฝ่ายทหารเบ้งเฮ็กซึ่งตายอยู่ในที่นี้ก็ดี ให้เร่งหาความชอบอย่ามาวนเวียนทำให้เราลำบากเลย จงคิดถึงพระเจ้าเล่าเสี้ยนซึ่งครองราชสมบัติเป็นธรรมประเพณีกษัตริย์แต่ก่อน แลเห็นแก่เราผู้มีความสัตย์ จงรับเครื่องเซ่นเราแล้วกลับไปอยู่ถิ่นฐานเถิด"เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้ว ขงเบ้งก็จุดประทัดตีม้าล่อแล้วร้องไห้รักทหารซึ่งตายนั้นเป็นอันมาก แลพายุและคลื่นละลอกซึ่งเกิดนั้นก็สงบเป็นปรกติ ขงเบ้งจึงยกทัพกลับไปเมืองเสฉวนได้ สมัยนั้นชนพื้นเมืองทางใต้ของอาณาจักรเสฉวน เรียกพวกของตนเองว่า พวก "หนานหมาน หรือหนันหมัน"

         แป้งปั้นแทนศีรษะคนแล้วนำไปนึ่ง ถูกเรียกว่า "หม่านโถว" แปลว่า "หัวของชาวหนานหมาน" และเนื่องจากคำเรียกในภาษาจีนดั้งเดิมฟังดูโหดร้ายเกินไป ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้ตัวอักษรที่บ่งชี้ว่าเป็นอาหารแทนตัวอักษร ที่หมายถึงพวกหนานหมัน อย่างเช่นในอดีต

         คำว่า "หม่านโถว" นานเข้าก็แผลงเป็น "หมั่นโถว " และทำตกทอดกันมาจนแพร่หลายไปทั่ว โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ได้กลายมาเป็นอาหารที่ชาวจีนเหนือนิยมรับประทานกันเป็นอาหารเช้าหรืออาหาร ว่าง คนจีนทางภาคเหนือนิยมเรียก "เปาจึ"หรือ"ซาลาเปา"

ส่วนผสม แป้ง

ส่วนที่1ประกอบด้วย

 แป้งสาลี 

(ใช้ แป้งชนิดเดียวกับแป้งเค้ก แต่ที่เมืองไทยใช้แป้งตราบัวแดง,ตรากิเลนเหลือง การเลือกซื้อแป้งอย่าดูที่ยี่ห้อนะ เพราะบางที่ไม่มีขายให้ดูที่ คุณสมบัติ ของแป้งค่ะส่วนแป้งที่เขียนว่า self-raising flour เป็นที่มีผงฟูผสมอยู่ค่ะ ที่เมืองไทยไม่นิยมใช้ค่ะเพราะสูตรส่วนใหญ่.จะใช้แป้งธรรมดาที่ไม่ผสมผงฟู

แต่ถ้าจะใช้ต้องดูปริมาณ%ของผงฟู ข้างกล่องแป้งว่ามีอยู่เท่าไหร่ แล้วนำมาลดผงฟูในสูตรลงค่ะ)

มาต่อส่วนผสมที่1กันต่อค่ะ แป้งสาลี  350 กรัมยีสต์แห้ง (DRIED YEAST) 2ช้อนโต๊ะน้ำอุ่นๆ 250-300 กรัมน้ำตาลทราย 125 กรัมเกลือป่น 1/2 ช้อนชา

ส่วนผสม ส่วนที่2 ประกอบด้วย

แป้งสาลี 150 กรัม...,ผงฟู 1ช้อนโต๊ะ,...เนยขาว 50 กรัม...

(ดั้งเดิมใช้น้ำมันหมูเจียวใหม่ๆหรือจะใช้น้ำมันพืชก็ได้ปริมาณที่ใช้เท่ากัน)

 

 

 

วิธีทำ                                   

1 ร่อนแป้งสาลี 1-2 ครั้งใส่อ่างผสม เติมยีสต์ผสมให้เข้าด้วยกัน

2แล้วทำแป้งเป็นบ่อตรงกลางพักไว้

 

  3ผสมน้ำอุ่น,น้ำตาลทราย,เกลือป่น คนให้ละลายแล้วเทลงในแป้งที่ทำเป็นบ่อไว้ค่อยๆนวดผสมแป้งให้เข้ากัน

ลักษณะแป้งจะเหลวๆแบบนี้น่ะอย่าตกใจค่ะ จากนั้นปิดฝาพักแป้งไว้ให้ขึ้นฟู ประมาณ40-50นาที

(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิห้องด้วยนะ ถ้าอากาศเย็นจะขึ้นช้าหน่อยก็แก้ได้โดยการวางอ่างแป้งบนอ่างน้ำอุ่น)

     เมื่อแป้งขึ้นฟูดี(เป็น2เท่า) นำแป้งส่วนที่2 ร่อนกับผงฟู 1ครั้งเติมลงในแป้งส่วนที่1ที่ขึ้นฟูแล้วค่ะ

คราวนี้จะต้องนวดแป้งแล้วค่ะนวดพอแป้งเข้ากัน เติมเนยขาว นวดต่อจนเนื้อแป้งเนียนนุ่มและไม่ติดมือ

(ถ้ามีเครื่องนวดแป้งก็สบายหน่อย แต่ถ้าไม่มีก็ต้องเสียเหงื่อกันเล็กน้อยถึงปานกลางค่ะ)

 

แป้งที่ได้ค่ะ

นำมาตัดเป็นก้อนๆละ ประมาณ 25-30 กรัม ส่วนนี้ได้ประมาณ 30-35 ลูก

แล้วคลึงให้ผิวเรียบเนียน ทำจนหมดทุกลูก ให้เรียงตามลำดับก่อน-หลังค่ะ 

เมื่อหมดแล้วจึงนำลูกที่1มาแผ่เป็นแผ่นแบนๆ ใส่ไส้ค่ะ ห่อจับจีบให้สวยงาม

เรียงตามลำดับน่ะค่ะ...เพราะแป้งจะขึ้นฟูตามระยะเวลาที่วางทิ้งไว้ค่ะ

 

วางบนกระดาษขาว คลุมผ้าขาวบางที่ชุบน้ำบิดหมาดๆเพื่อไม่ให้แป้งแห้งวางพักไว้จนขึ้นฟูเป็น 2 เท่า

10 นึ่งในรังถึงที่น้ำเดือดพล่าน (ในรังถึงควรใส่น้ำ 3/4 ของก้นรังถึง)

11 เวลานึ่งประมาณ 15นาที.....เปิดรังถึงก่อนน่ะค่ะแล้วจึงยกลง

 

12 นี่คือผลงานค่ะ ซาลาเปาจานนี้ถ่ายเมื่อวันเช้งเม้งปีนี้ค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  3

วิธีการดำเนินการ

 

๑.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 

-  ประชากร ม.6 ตำบลห้วยน้ำขาว ที่สนใจในเขตตำบลห้วยน้ำขาว 

-  กลุ่มตัวอย่าง  ประชาชนที่สนใจหมู่ที่ 6  ตำบลห้วยน้ำขาว  จำนวน  61  คน

๒.  เครื่องมือที่ใช้

          เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักศึกษา  เกี่ยวกับการจัดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลห้วยน้ำขาว  กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ จำนวน 1 ฉบับ ลักษณะของแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้

                   ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

                   ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามการดำเนินการจัดกิจกรรมโดยวัดระดับความพึงพอใจ ความรู้ความ

เข้าใจ  และการนำไปใช้

                   ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

๓.  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ แล้วเก็บคืนหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม

๔.  การวิเคราะห์ข้อมูล

1.1   ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

1.2   นำผลวิเคราะห์ทางสถิติมาแปลผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ประกอบด้วย

-                   ต่ำกว่าร้อยละ 50  มีความพึงพอใจในระดับ  น้อยที่สุด

-                   ร้อยละ 50 - 69  มีความพึงพอใจในระดับ  น้อย

-                   ร้อยละ 70 - 79  มีความพึงพอใจในระดับ  ปานกลาง

-                   ร้อยละ 80 - 89  มีความพึงพอใจในระดับ  มาก

-                   ร้อยละ 90 - 100  มีความพึงพอใจในระดับ  มากที่สุด

๕.  สถิติที่ใช้

                   วิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมโดยใช้สถิติ ความถี่   ร้อยละ   และคะแนนเฉลี่ย ( )

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

               จากการดำเนินงานการจัดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลห้วยน้ำขาว  กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ  ในวันที่ ๑7  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕8     โรงเรียนบ้านควนใต้  หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยน้ำขาว     อำเภอคลองท่อม  จังหวัดกระบี่  ของ กศน. ตำบลห้วยน้ำขาว  สามารถประเมินผลโครงการได้ดังนี้

 

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป (ต้องการหาค่าร้อยละ)

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไป

ตัวแปร

จำนวน

ร้อยละ

เพศ

   - หญิง

   - ชาย

 

53

8

 

87

13

รวม

61

100.00

อายุ

   - ต่ำกว่า ๑๕ ปี

   -  อายุระหว่าง  ๑๖ – 3๙   ปี

   -  อายุระหว่าง  ๔๐ ๕๙   ปี

   -  อายุ  ๖0 ปี ขึ้นไป

 

 

22

27

12

 

 

36

๔4

20

รวม

61

100.00

ระดับการศึกษา

   - ประถมศึกษา

   - มัธยมศึกษาตอนต้น

   - มัธยมศึกษาตอนปลาย

   - ปริญญาตรี

   - สูงกว่าปริญญาตรี

 

30

18

 

 

49

6

15

30

รวม

61

100.00

จากตารางแสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง  ( ร้อยละ87 )  เพศชาย   ( ร้อยละ 13 )    มีอายุระหว่าง  ๑๖-3๙ ปี จำนวน 22 คน (ร้อยละ 36)  อายุระหว่าง  ๔๐-๕๙ ปี    จำนวน 27 คน  (ร้อยละ ๔4)  อายุ 60ปีขึ้นไป  (ร้อยละ 20) และศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา จำนวน 30 คน        ( ร้อยละ๔9 ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๙ คน (ร้อยละ 15) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน ๔ คน (ร้อยละ 6)  ระดับปริญญาตรี จำนวน 18 คน (ร้อยละ 30)

 

 

 

 

 

ตารางที่ 2 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน

51

10

-

-

-

83.60

มากที่สุด

2. ความสามารถในการอธิบายเนื้อหา

49

15

-

-

-

80.32

มากที่สุด

3. การเชื่อมโยงเนื้อหา

54

7

-

-

-

88.52

มากที่สุด

4. ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษา

50

11

-

-

-

81.96

มากที่สุด

5. การใช้เวลาในแต่ละเนื้อหาที่กำหนดไว้

50

11

-

-

-

81.96

มากที่สุด

6. การตอบข้อซักถามของนักศึกษา

52

9

-

-

-

85.24

มากที่สุด

รวม

306

63

-

-

-

83.60

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากรผลการประเมินรวมทุกประเด็น คิดเป็นร้อยละ 83.60  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจการเชื่อมโยงเนื้อหา  คิดเป็นร้อยละ 88.52  และรองลงมา การตอบข้อซักถามของนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 85.24  รองลงมา การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน  คิดเป็นร้อยละ 83.60  รองลงมา  ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษาและการใช้เวลาในแต่ละเนื้อหาที่กำหนดไว้  คิดเป็นร้อยละ 81.96  และความสามารถในการอธิบายเนื้อหา คิดเป็นร้อยละ 80.32

 

ตารางที่ 3 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. ความน่าสนใจของกิจกรรม

52

5

4

-

-

85.24

มากที่สุด

2. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับนักศึกษา

59

2

-

-

-

96.72

มากที่สุด

3. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลา

58

3

-

-

-

95.08

มากที่สุด

รวม

169

10

4

-

-

92.35

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการผลการประเมินรวมทุกประเด็น คิดเป็นร้อยละ  92.35  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกิจกรรมมีความเหมาะสมกับนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 96.72   รองลงมาความน่าสนใจของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 85.24  และกิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลา คิดเป็นร้อยละ 95.25

 

 

 

 

   

ตารางที่ 4 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. สถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม

55

6

-

-

-

90.16

มากที่สุด

2. ความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์

50

11

-

-

-

81.96

มาก

3. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม

58

3

-

-

-

95.08

มากที่สุด

รวม

163

20

-

-

-

89.06

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นใน    การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการผลการประเมินรวมทุกประเด็น  คิดเป็นร้อยละ  89.06    ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระยะเวลาในการจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 95.08  รองลงมาระยะเวลาในการจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 95.08  และความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 81.96

ตารางที่ 5 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจ

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. ความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียน

-

-

-

55

6

90.16

น้อย

2. ความรู้ความเข้าใจหลังการเรียน

57

4

-

-

-

93.44

มากที่สุด

รวม

112

10

-

-

-

91.8

มาก

จากตารางแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจผลการประเมินรวมทุกประเด็น คิดเป็นร้อยละ  91.8  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจความรู้ความเข้าใจหลังการเรียน คิดเป็นร้อยละ 91.8  รองลงมาความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียน คิดเป็นร้อยละ 90.16

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 6 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. สามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้

52

9

-

-

-

91.85

มากที่สุด

2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน/ดำรงชีวิตได้

58

3

-

-

-

98.52

มากที่สุด

รวม

110

12

-

-

-

95.18

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้ผลการประเมินรวมทุกประเด็น คิดเป็นร้อยละ  95.18  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน/ดำรงชีวิตได้ คิดเป็นร้อยละ 98.52  รองลงมาสามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ 91.85

 

ตอนที่  3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีอาชีพของคนในชุมชน ควรจัดเป็นกิจกรรมต่อเนื่องและมีความหลากหลายแตกต่างหลาย ๆ อาชีพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 5

สรุปและอภิปรายผล

ตารางที่ ๗ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ตัวชี้วัด

เกณฑ์

ผลการดำเนินงาน

เป้าหมายการบรรลุ

หมายเหตุ

บรรลุ

ไม่บรรลุ

๑.การดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร

ร้อยละ ๘๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

83.60

 

ü

 

 

๒.การดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ

ร้อยละ ๘๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

92.35

ü

 

 

๓.การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ

ร้อยละ ๘๐มึความพึงพอใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

89.06

ü

 

 

๔. การดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ ๘๐มึความรู้ความเข้าใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

91.8

ü

 

 

๕. การดำเนินกิจกรรมในด้านความมั่นใจในการนำรู้ไปใช้

ร้อยละ ๘๐มึความมั่นใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

95.18

ü

 

 

สรุป

จากตารางสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลห้วยน้ำขาว กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรมในด้านความมั่นใจในการนำรู้ไปใช้ คิดเป็นร้อยละ 95.18  รองลงมาการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ คิดเป็นร้อยละ 92.35  รองลงมา   การดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ 91.8  รองลงมา การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ คิดเป็นร้อยละ 89.06  และการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร  คิดเป็นร้อยละ 83.60 

อภิปรายผล

จากผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลห้วยน้ำขาว  กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีอาชีพของคนในชุมชน ควรจัดเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง

 

 




เข้าชม : 472
 
 
ติดต่อเรา

นางสาวสายทิพย์    อุดี  ครู กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว โทร ๐๘๐-๗๓๑๑๘๒๕

กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว ม.๕ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี