[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


รายงานผลโครงการทักษะฃีวิต  กศน.ตำบลห้วยนำ้ขาว


บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมา

ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย  การจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๔๕  ซึ่งเป็นการจัดการศึกษานอกระบบที่มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้  ความสามารถและทักษะชีวิตในการจัดการศึกษา  เพื่อพัฒนาประชาชนกลุ่มเป้าหมาย  และมีความรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน  รวมทั้งมุ่งใช้กระบวนการการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม  ชุมชน ให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้

 กศน. อำเภอคลองท่อมจึงได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕8   ในการจัดการศึกษานอกระบบ  กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต  การจัดการฝึกอบรม  เพื่อพัฒนาคนให้มีภูมิคุ้มกัน และมีศักยภาพพร้อมในโลกของการแข่งขัน รองรับการเข้าสู่ระบบการค้าเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และการฝึกอบรม ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องมีทักษะและเจตคติที่ดีในการดำรงชีวิต สามารถนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน และมีศักยภาพในการแข่งขัน รองรับการเข้าสู่ระบบการค้าสากลและการค้าเสรีของประชาคมอาเซียน เพื่อให้ผู้เรียนมีภูมิป้องกันและนำความรู้ ความสามารถ เจตคติที่ดีและพัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต

กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว ได้นำนโยบายข้างต้นไปสู่การปฏิบัติ  โดยให้ความสำคัญกับ        การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  เพื่อความสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนในพื้นที่ตำบลห้วยน้ำขาว รวมทั้งจัดการศึกษานอกระบบ กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่ประชาชนในชุมชนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับศักยภาพของตนเอง  ชุมชน  สังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความรู้  ความเข้าใจมีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต  และฝึกทักษะการบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

- เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี เหมาะสม ในตำบลห้วยน้ำขาว

- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในตำบลห้วยน้ำขาว

ขอบเขตการประเมิน

-  ประชาชนตำบลห้วยน้ำขาวที่สนใจในการอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  จำนวน  32  คน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี เหมาะสม และตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในตำบลห้วยน้ำขาว

 

บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑.  แนวคิด/ทฤษฏี/นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม/โครงการที่จัด

แนวคิดในการจัดกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

        โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมี อาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สถิติในปี พ.ศ. 2554 รายงานโดย กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีอัตราป่วย 107.02 และอัตราป่วยตาย 0.10 ซึ่งหมายความว่า ในประชากรทุก 100,000 คน จะมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 107.02 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 0.1 คน

การติดต่อ

             ไวรัสเดงกี่ที่  เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจำนวน ภายในตัวของยุงลาย ยุงลายจึงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และกล่าวได้ว่าโรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน ยุงลายที่เป็นพาหะนี้มีชื่อว่า Aedes aegypti ยุงชนิดนี้ออกหากินเวลากลางวัน ยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือด ออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป ยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประเทศไทยจึงเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูง โดยพบการระบาดมากที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนน้อยที่สุด

อาการ

              อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด กล่าวคือ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่แตกต่างกันที่ ไข้จะสูงกว่ามาก โดยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีหน้าแดง และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า หากทำการทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัด (Touniquet test) จะพบจุดเลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออกผิดปกติอื่นๆ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจพบอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง อาจถึงกับช็อกและเสียชีวิตได้ โดยอาการนำของภาวะช็อกมักเริ่มจากการมีไข้ลดลง ดังนั้นหากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงตามด้วยอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบแจ้งแพทย์หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
              ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มักพบว่า มีอาการในระยะเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากผู้ปกครองละเลยการพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยเด็กจะเสียชีวิตเนื่องจากการรักษาที่ล่าช้าได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสงสัยไว้ก่อนว่าบุตรหลานที่มีอาการไข้สูงในฤดูฝนอาจ เป็นโรคไข้เลือดออก และควรรีบพาบุตรหลานไปรับการรักษา

 

การรักษา

           เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ การรักษาโรคนี้จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสำคัญ กล่าวคือมีการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะช็อก
           ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่คือ พาราเซตามอลชนิดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (4 กรัม) ส่วนขนาดยาที่ใช้ในเด็กคือ พาราเซตามอลชนิดน้ำ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง หรือ 2.6 กรัม ยาพาราเซตามอลนี้เป็นยารับประทานตามอาการ ดังนั้น หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที
           ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็กมีจำหน่ายในหลายความแรงได้แก่ 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา (1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร), 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา, และ 60 มิลลิกรัมต่อ 0.6 มิลลิลิตร ส่วนใหญ่เป็นยาน้ำเชื่อมที่ต้องรินใส่ช้อนเพื่อป้อนเด็ก ในกรณีทารก การป้อนยาทำได้ค่อนข้างยากจึงมีผลิตภัณฑ์ยาที่ทำจำหน่ายโดยบรรจุในขวดพร้อม หลอดหยด เวลาใช้ก็เพียงแต่ใช้หลอดหยดดูดยาออกจากขวดและนำไปป้อนเด็กได้เลย ด้วยเหตุที่ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็กมีหลายความแรงจึงควรอ่าน ฉลากและวิธีใช้ให้ดีก่อนนำไปป้อนเด็ก กล่าวคือ หากเด็กหนัก 10 กิโลกรัม และมียาน้ำความแรง 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ก็ควรป้อนยาเด็กครั้งละ 1 ช้อนชาหรือ 5 มิลลิลิตร และป้อนซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมงแต่ไม่ควรป้อนยาเกินวันละ 5 ครั้ง หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที
           แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เป็นยาลดไข้เช่นกัน แต่ยาทั้งสองชนิดนี้ห้ามนำมาใช้ในโรคไข้เลือดออก เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้จะยิ่งส่งเสริมการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนอาจ เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้
ในส่วนการป้องกันภาวะช็อกนั้น กระทำได้โดยการชดเชยน้ำให้ร่างกายเพื่อไม่ให้ปริมาตรเลือดลดต่ำลงจนทำให้ ความดันโลหิตตก แพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำตามความรุนแรงของอาการ โดยอาจให้ผู้ป่วยดื่มเพียงสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอ็ส หรือผู้ป่วยบางรายอาจได้รับน้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนเกิดภาวะเสียเลือดอาจต้องได้รับ เลือดเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามจะต้องเฝ้าระวังภาวะช็อกดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นเนื่องจาก ภาวะนี้มีความอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

การป้องกัน

                แม้ว่าในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ ดังนั้นคำตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจำนวนลดลงซึ่งทำได้โดยการ ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกำจัดยุงลายทั้งลูกน้ำและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ทั้งนี้การป้องกันทำได้ 3 ลักษณะ คือ

1. การป้องกันทางกายภาพ ได้แก่
 ; ;  ปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาปิด เช่น มีผาปิดปากโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือถ้าไม่มีฝาปิด ก็วางคว่ำลงหากยังไม่ต้องการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นที่วางไข่ของยุงลาย
 ; ;  เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้สดบ่อยๆ อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน
 ; ;  ปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะเก็บน้ำ เช่น โอ่ง ตุ่ม ภาชนะละ 2-4 ตัว รวมถึงอ่างบัวและตู้ปลาก็ควรมีปลากินลูกน้ำเพื่อคอยควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลาย เช่นกัน
 ; ;  ใส่เกลือลงน้ำในจานรองขาตู้กับข้าว เพื่อควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยใส่เกลือ 2 ช้อนชา ต่อความจุ 250 มิลลิลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำได้นานกว่า 7 วัน

2. การป้องกันทางเคมี ได้แก่

 ; ;  เติมทรายทีมีฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย เหมาะสมกับภาชนะที่ไม่สามารถใส่ปลากินลูกน้ำได้
 ; ;  การพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพง และเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพื่อป้องกันความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ควรเลือกฉีดในเวลาที่มีคนอยู่น้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดว่าเป็น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น
 ; ;  การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงในบ้านเรือน ที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออกฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (DEET, diethyltoluamide) เป็นต้น เมื่อก่อนมียาฆ่ายุงด้วย มีชื่อว่า ดีดีที แต่สารนี้ถูกยกเลิกการใช้ไปแล้วเนื่องจากเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและตกค้างใน สิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลานานมาก อย่างไรก็ตาม สารเคมีไม่ว่าจากยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง ก็มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์ ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท สะดวก ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นห้ามฉีดลงบนผิวหนัง และควรปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุข้างกระป๋องอย่างเคร่งครัด

3. การปฏิบัติตัว ได้แก่

 ; ;  นอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน
 ; ;  หากไม่สามารถนอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดได้ ควรใช้ยากันยุงชนิดทาผิวซึ่งมีสารสำคัญที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันตะไคร้หอม (oil of citronella), น้ำมันยูคาลิปตัส (oil of eucalyptus) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่ามาทาหรือหยดใส่ผิวหนังใช้เป็นยากันยุง แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่า DEET

เอกสารอ้างอิง

1.      Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook. 20th ed. Ohio: Lexi-Comp, Inc; 2011,27-9.

2.      Sunthornsaj N, Fun LW, Evangelista LF, et al. MIMS Thailand. 105th ed. Bangkok: TIMS Thailand Ltd; 2006.118-33.

3.      World Health Organization. Dengue hemorrhagic fever: diagnosis, treatment, prevention and control,1997:84. Available from: http://www.who.int/csr/resources/publications/dengue/Denguepublication/en/. Accessed May10, 2012.

4.      World Health Organization Regional Office for South-East Asia. Guidelines for treatment of Dengue Fever/Dengue Hemorrhagic Fever in Small Hospitals,1999:28. Available from: http://www.searo.who.int/linkfiles/dengue_guideline-dengue.pdf. Accessed May 10, 2012.

5.      กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินผลตามตัวชิ้วัดงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับ จังหวัด ปี 2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: 2543.1-12.

6.      กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2554. Available at: http://dhf.ddc.moph.go.th/2554.htm. Accessed June,5,2012.

7.      คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. ไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever). Available at: http://www.tm.mahidol.ac.th/tmho/dengue.htm. Accessed May 10, 2012.

8.      สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่ว ไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2548.8-33.

9.      หรรษา ไชยวานิช. ผลิตภัณฑ์วัตถุมีพิษที่ใช้ในอาคารบ้านเรือน. Available at: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=66. Accessed May16, 2012.

ส่วนบนของฟอร์ม

ส่วนล่างของฟอร์ม

อาการไข้เลือดออก ไข้เลือดออก การรักษาไข้เลือดออกและป้องกัน
             ไข้เลือดออก โรคที่มาพร้อมกับฝนและน้ำขัง ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกปีนี้แล้วกว่า 2 หมื่นคน และพบผู้ป่วยร้อยละ 60 เสียชีวิต เป็นเด็กวัย 6-12 ปี มารู้จักกับไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก การรักษาและป้องกันไข้เลือดออกกันค่ะ

รู้จักและรับมือไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เดงกี (Dengue) ซึ่งเชื้อไวรัสเดงกีนี้มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี       

             1, เดงกี 2, เดงกี 3, และเดงกี 4 โดยมีพาหะนำโรคคือยุงลาย ในบ้านเราจะพบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ตลอดทั้งปีแต่พบมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกบ่อยที่ทำให้เกิดน้ำขัง ซึ่งเอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงลาย และไข้เลือดออกถือเป็นโรคระบาดประจำภูมิภาคของบ้านเรา



โรคไข้เลือดออก 3 ระยะ และวิธีสังเกตอาการไข้เลือดออก
                แม้ว่าเด็กจะได้รับเชื้อไวรัสเดงกี แต่กว่า 85-90% จะไม่แสดงอาการไข้เลือดออก หากไม่ได้ตรวจเลือดเพื่อพิสูจน์ก็จะไม่รู้ว่าได้รับเชื้อไข้เลือดออกมาแล้ว อาจจะมี 10-15% ที่แสดงอาการไข้เลือดออกที่มีตั้งแต่รุนแรงน้อยไปถึงอาการไข้เลือดออกที่รุนแรงมาก ซึ่งระดับอาการไข้เลือดออกมี 3 ระยะด้วยกัน

              1. อาการไข้เลือดออกระยะไข้สูง : อาการไข้เลือดออกระยะ นี้ จะพบว่ามีอาการไข้สูงลอย คือ มีอาการไข้สูง ที่แม้กินยาลดไข้ หรือเช็ดตัวแล้วไข้ก็ยังไม่ลด จะเป็นประมาณ 2-7 วัน ซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละราย และเนื้อตัวและใบหน้ามักจะแดงกว่าปกติ บางคนอาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ หรือมีผื่นขึ้น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เช่น มีจุด หรือมีเลือดกำเดาออก

                2. อาการไข้เลือดออกระยะวิกฤติ : หลังจากที่มีอาการไข้เลือดออกระยะ ไข้สูงระยะหนึ่งแล้ว ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว และจะมีการรั่วของพลาสมา (Plasma) หรือน้ำเหลืองออกนอกเส้นเลือด ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจะมีความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน ในกรณีที่รุนแรงจะมีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือดเป็นจำนวนมาก และถ้าให้สารน้ำโดยการกินหรือน้ำเกลือทางเส้นเลือดทดแทนไม่ทัน ผู้ป่วยจะเกิดการช็อกคือความดันโลหิตต่ำ แต่ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะสามารถผ่านอาการไข้เลือดออกระยะวิกฤตนี้ไปได้โดยปลอดภัย

               3. อาการไข้เลือดออกระยะพักฟื้น : อาการไข้เลือดออกระยะ นี้ เป็นระยะที่มีการดูดกลับของพลาสมาเข้าสู่กระแสเลือด และมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น โดยจะเจริญอาหารมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ที่มักจะไม่อยากกินอาหาร ชีพจรเต้นช้าลงจากช่วงระยะวิกฤตที่มักจะเต้นเร็วกว่าปกติ ในบางรายจะพบผื่นขึ้นตามร่างกาย ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เรียกว่าผื่นในระยะพักฟื้น และปัสสาวะจะออกมากขึ้น เมื่อเทียบกับอาการไข้เลือดออกระยะวิกฤติ ซึ่งถือว่ากำลังกลับสู่ภาวะปกติ คุณหมอจะหยุดการให้สารน้ำทางเส้นเลือด เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำเกินได้


    การดูแลและรักษาไข้เลือดออกสำหรับเด็ก

สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น ปัจจุบันไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการ

§  อาการไข้เลือดออกระยะที่ลูกมีไข้สูงลอย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีการดูแลเช็ดตัว หรือให้กินยาลดไข้ (พาราเซตามอลเท่านั้น) ระวังอย่าให้มากเกินความจำเป็น เพราะการเป็นไข้เลือดออกนั้น มีภาวะตับอักเสบอยู่ ตับต้องทำงานหนักในการเม็ตตาโบริซึ่มยา อาจทำให้มีภาวะตับวาย หรือตับอักเสบรุนแรงได้ ถือเป็นระยะสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการ การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้การดูแลสุขภาพของลูกอย่างใกล้ชิด

§  เมื่อมีอาการไข้เลือดออก ห้ามกินยาแอสไพรินหรือยาในกลุ่มลดไข้สูง เนื่องจากมีผลทำให้เลือดออกง่ายขึ้นเพราะยากลุ่มนี้มีผลต่อการทำงานของเกล็ด เลือดซึ่งเป็นกลไกสำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย ในบางรายอาจทำให้เกล็ดเลือดต่ำลง หรือทำงานผิดปกติ เลือดจะออกไม่หยุด และเสียชีวิตได้

§  ควรให้ลูกกินอาหารตามปกติและพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเลือกอาหารอ่อนๆ ที่ดูดซึมง่าย เช่น ข้าวต้ม นม น้ำหวาน น้ำผลไม้ เป็นต้น ถ้าลูกยังทานได้ดี วิ่งเล่นได้ ก็สามารถปฐมพยาบาลที่บ้านได้ แต่หากลูกกินไม่ได้ แล้วมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึมลง หรือมีอาการเลือดออกด้วย ก็ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

§  ควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดแหล่งเพาะพันธ์เจ้ายุงลายพาหะตัวร้าย โดยการขจัดแหล่งน้ำขังที่อาจจะมีอยู่ในบริเวณบ้าน เช่น แจกันดอกไม้ บ่อเลี้ยงปลา และยุงลายมักออกหากินในเวลากลางวัน

§  หากในบ้านมีพื้นที่น้ำขัง หรือมีการใช้สอยส่วนใดที่จำเป็นต้องมีน้ำ เช่น บ่อน้ำเล็กๆ ในสวน ควรใส่ผงยากำจัดยุงลายลงในน้ำเพื่อกำจัดยุงลายตั้งแต่เป็นลูกน้ำ

      • ฉีดพ้นยากันยุงหากสังเกตว่ามียุงมากผิดปกติ โดยเฉพาะฤดูฝนและฤดูหนาว

§  ควรติดตั้งมุ้งลวดที่ประตูหน้าต่าง และควรปิดประตูหน้าต่างทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงเข้าบ้าน

      • นอนในมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัด

§  เมื่อต้องอยู่อยู่คาดว่าจะไปในสถานที่ที่มียุง ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีแขนขายาวและมีความหนาพอสมควรเพื่อป้องกันยุง หรือทายากันยุงป้องกันด้วยวิธีง่ายๆ เหล่านี้ เราก็สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้แล้วและหากสงสัยว่าลูกมีอาการไข้เลือดออกควรไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
                 
โรคติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ที่กำลังเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพในคนไทย ในปัจจุบันนี้ไม่มีวิธีรักษา โรคให้หายขาด แต่ในวันนี้ข้าพเจ้าจะแนะนำวิธีที่ข้าพเจ้าบังเอิญค้นพบ เมื่อท่านปฏิบัติตามข้อแนะนำซึ่งปฏิบัติได้ง่ายๆ จะมีผลทำให้ร่างกายของคนป่วยแข็งแรงขึ้น จนหายเป็นปกติได้ ภายใน1-3วันเท่านั้นเอง  ข้าพเจ้าขอแนะนำเป็นวิทยาทานให้ทดลองนำไปปฏิบัติดู รายละเอียดดังนี้

                  หลักการ:   เชื้อไวรัสไข้เลือดออก จะถูกร่างกายของเราทำลายได้โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีความสมบูรณ์ มากพอดังนั้นในเวลาที่เรากำลังติดเชื้อฯ แล้วไม่สบายจึงควรงดรับประทานอาหารหมู่แป้ง      (ข้าว,ก๊วยเตี๋ยว,ขนมต่างๆ) และเครื่องดื่มทุกชนิดรวมทั้งน้ำเปล่า แต่ควรรับประทานอาหารหมู่โปรตีนให้มากที่สุด ในที่นี้ข้าพเข้าต้องการแนะนำท่านเลือกรับประทานนมถั่วเหลืองปริมาณมาก กับไข่แดง จะเป็นอาหารที่ดีมากๆในยามที่เราไม่สบายครับ
วิธีการรับประทาน:  แบ่งเป็นเด็กกับผู้ใหญ่  จำนวนนมถั่วเหลือง(กล่องใหญ๋)/1วัน        ไข่แดงสุก/1วัน
                         -ในเด็กทุกวัย                             3 - 5                                 1-3ฟอง
                         -ในผู้ใหญ๋  น.น.ตัวหาร10 คือจำนวนกล่องที่ควรทาน    1-3ฟอง ตัวอย่าง ผู้ใหญ่มีน้ำหนัก  70ก.ก.  มากกว่า  7  กล่อง     1-3 ฟอง      เด็กเล็ก-ใหญ่       3 – 5
ผลการปฏิบัติ: หายเป็นปกติภายใน1-3วัน ข้อสำคัญอีกข้อคือในระหว่างไม่สบายควรระมัดระวังมากๆ คือควรอย่าให้ยุงมาเพิ่มเชื้อไวรัสให้อีก

 

 

บทที่  3

วิธีการดำเนินการ

 

๑.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 

 -  ประชาชนตำบลห้วยน้ำขาวที่สนใจในการอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  จำนวน  32  คน

๒.  เครื่องมือที่ใช้

          เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักศึกษา  เกี่ยวกับการจัดโครงการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 1  ฉบับ ลักษณะของแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้

                   ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

                   ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามการดำเนินการจัดกิจกรรมโดยวัดระดับความพึงพอใจ ความรู้ความ

เข้าใจ  และการนำไปใช้

                   ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

๓.  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ แล้วเก็บคืนหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม

๔.  การวิเคราะห์ข้อมูล

1.1   ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

1.2   นำผลวิเคราะห์ทางสถิติมาแปลผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ประกอบด้วย

-                   ต่ำกว่าร้อยละ 50  มีความพึงพอใจในระดับ  น้อยที่สุด

-                   ร้อยละ 50 - 69  มีความพึงพอใจในระดับ  น้อย

-                   ร้อยละ 70 - 79  มีความพึงพอใจในระดับ  ปานกลาง

-                   ร้อยละ 80 - 89  มีความพึงพอใจในระดับ  มาก

-                   ร้อยละ 90 - 100  มีความพึงพอใจในระดับ  มากที่สุด

๕.  สถิติที่ใช้

                   วิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมโดยใช้สถิติ ความถี่   ร้อยละ   และคะแนนเฉลี่ย ( )

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

               จากการดำเนินงานการจัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลห้วยน้ำขาว        ในวันที่ ๑9  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕8     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนา   หมู่ที่ 7            ตำบลห้วยน้ำขาว  อำเภอคลองท่อม  จังหวัดกระบี่  ของ กศน. ตำบลห้วยน้ำขาว  สามารถประเมินผลโครงการได้ดังนี้

 

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป (ต้องการหาค่าร้อยละ)

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไป

ตัวแปร

จำนวน

ร้อยละ

เพศ

   - หญิง

   - ชาย

 

30

2

 

94

6

รวม

32

100.00

อายุ

   - ต่ำกว่า ๑๕ ปี

   -  อายุระหว่าง  ๑๖ – 3๙   ปี

   -  อายุระหว่าง  ๔๐ ๕๙   ปี

   -  อายุ  ๖0 ปี ขึ้นไป

 

 

19

13

 

 

 

59

๔1

 

รวม

32

100.00

ระดับการศึกษา

   - ประถมศึกษา

   - มัธยมศึกษาตอนต้น

   - มัธยมศึกษาตอนปลาย

   - ปริญญาตรี

   - สูงกว่าปริญญาตรี

 

9

1๔

 

 

28

44

28

 

รวม

32

100.00

จากตารางแสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง  ( ร้อยละ94 )  เพศชาย   ( ร้อยละ 6 )  มีอายุระหว่าง  ๑๖-3๙ ปี จำนวน 19 คน (ร้อยละ 59)  อายุระหว่าง  ๔๐-๕๙ ปี จำนวน 13 คน  (ร้อยละ ๔1)  และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน 1๔ คน (ร้อยละ 44)  ศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา จำนวน 9 คน   ( ร้อยละ 28 ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๙ คน (ร้อยละ 28)

 

 

 

 

 

ตารางที่ 2 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน

30

2

-

-

-

93.75

มากที่สุด

2. ความสามารถในการอธิบายเนื้อหา

28

4

-

-

-

87

มากที่สุด

3. การเชื่อมโยงเนื้อหา

32

-

-

-

-

100

มากที่สุด

4. ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษา

29

3

-

-

-

90.62

มากที่สุด

5. การใช้เวลาในแต่ละเนื้อหาที่กำหนดไว้

29

3

-

-

-

90.62

มากที่สุด

6. การตอบข้อซักถามของนักศึกษา

31

1

-

-

-

96.87

มากที่สุด

รวม

179

13

-

-

-

93.14

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากรผลการประเมินรวมทุกประเด็น คิดเป็นร้อยละ 93.14  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจการเชื่อมโยงเนื้อหา  คิดเป็นร้อยละ 90.62  และรองลงมา การตอบข้อซักถามของนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 96.87  รองลงมา การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน  คิดเป็นร้อยละ 93.75  รองลงมา  ความครบถ้วนของเนื้อหาในการศึกษาและการใช้เวลาในแต่ละเนื้อหาที่กำหนดไว้  คิดเป็นร้อยละ 90.62  และความสามารถในการอธิบายเนื้อหา คิดเป็นร้อยละ 87

 

ตารางที่ 3 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. ความน่าสนใจของกิจกรรม

29

3

-

-

-

90.62

มากที่สุด

2. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับนักศึกษา

28

4

-

-

-

87.5

มากที่สุด

3. กิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลา

30

2

-

-

-

93.75

มากที่สุด

รวม

169

10

4

-

-

90.62

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการผลการประเมินรวมทุกประเด็น คิดเป็นร้อยละ  90.62  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกิจกรรมมีความเหมาะสมกับนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 93.75   รองลงมาความน่าสนใจของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90.62  และกิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลา คิดเป็นร้อยละ 93.75

 

 

 

 

   

ตารางที่ 4 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. สถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม

32

-

-

-

-

100

มากที่สุด

2. ความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์

30

2

-

-

-

93.75

มาก

3. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม

30

2

-

-

-

93.75

มากที่สุด

รวม

92

4

-

-

-

95.83

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นใน    การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการผลการประเมินรวมทุกประเด็น  คิดเป็นร้อยละ  95.83    ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในสถานที่การจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100  รองลงมาระยะเวลาในการจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 93.75  และความพร้อมของสื่อ/คู่มือ/โสตทัศนูปกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 93.75

ตารางที่ 5 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจ

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. ความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียน

-

-

-

30

2

93.75

น้อย

2. ความรู้ความเข้าใจหลังการเรียน

30

2

-

-

-

93.75

มากที่สุด

รวม

30

2

-

30

2

93.75

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจผลการประเมินรวมทุกประเด็น คิดเป็นร้อยละ  93.75  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจความรู้ความเข้าใจหลังการเรียน คิดเป็นร้อยละ 93.75  รองลงมาความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียน คิดเป็นร้อยละ 93.75

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 6 แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้

 

ประเด็นความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น

ผลการประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ร้อยละ

ผลการประเมิน

1. สามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้

32

-

-

-

-

100

มากที่สุด

2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน/ดำรงชีวิตได้

32

-

-

-

-

100

มากที่สุด

รวม

64

-

-

-

-

100

มากที่สุด

จากตารางแสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในด้านการนำความรู้ไปใช้ผลการประเมินรวมทุกประเด็น คิดเป็นร้อยละ  100  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน/ดำรงชีวิตได้ คิดเป็นร้อยละ 100  รองลงมาสามารถเผยแพร่/ถ่ายทอดความรู้ได้ คิดเป็นร้อยละ 100

 

ตอนที่  3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 5

สรุปและอภิปรายผล

ตารางที่ ๗ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ตัวชี้วัด

เกณฑ์

ผลการดำเนินงาน

เป้าหมายการบรรลุ

หมายเหตุ

บรรลุ

ไม่บรรลุ

๑.การดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร

ร้อยละ ๘๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

83.14

 

ü

 

 

๒.การดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ

ร้อยละ ๘๐ มีพึงพอใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

90.62

ü

 

 

๓.การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ

ร้อยละ ๘๐มึความพึงพอใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

95.83

ü

 

 

๔. การดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ ๘๐มึความรู้ความเข้าใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

93.85

ü

 

 

๕. การดำเนินกิจกรรมในด้านความมั่นใจในการนำรู้ไปใช้

ร้อยละ ๘๐มึความมั่นใจระดับมากขึ้นไป

ร้อยละ

100

ü

 

 

สรุป

จากตารางสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลห้วยน้ำขาว กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรมในด้านความมั่นใจในการนำรู้ไปใช้ คิดเป็นร้อยละ 100  รองลงมาการดำเนินกิจกรรมในด้านกระบวนการ คิดเป็นร้อยละ 90.62  รองลงมา   การดำเนินกิจกรรมในด้านความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ 93.85  รองลงมา การดำเนินกิจกรรมในด้านการบริหารจัดการ คิดเป็นร้อยละ 95.83  และการดำเนินกิจกรรมในด้านวิทยากร  คิดเป็นร้อยละ 83.14 

อภิปรายผล

จากผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลห้วยน้ำขาว  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ให้กับคนในชุมชน ควรจัดเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง

 

 




เข้าชม : 530
 
 
ติดต่อเรา

นางสาวสายทิพย์    อุดี  ครู กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว โทร ๐๘๐-๗๓๑๑๘๒๕

กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว ม.๕ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี