[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

ระบอบประชาธิปไตย ( Democracy ) หมายถึง ระบบการปกครองที่ประชาชนเป็นใหญ่ ดังนั้นการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยก็คือ รูปการปกครองที่ยึดถืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

          ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักหรือเป็นกติกาที่กำหนดแนวทางสำหรับการที่รัฐ จะใช้อำนาจปกครองประชาชน และมีหลักการจัดระเบียบการปกครองแต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เครื่องหมายแสดงความ เป็นประชาธิปไตย เพราะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสด็จการก็มีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน การที่จะพิจารณาว่าประเทศใดเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ จึงต้องดูว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือ ไม่

          ลักษณะสำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยสามารถพิจารณาได้จาก รัฐบาล การเลือกตั้งและการปกครองโดยเสียงข้างมาก



รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

          ลักษณะของรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นวาทะของอับราฮัม ลินคอลน์ ( Abraham Lincoln) อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯ

          การที่รัฐบาลใดจะได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยจะต้องมีลักษณะครบทั้ง 3 ประการ คือ

          - รัฐบาลของประชาชน หมายถึง รัฐบาลจะต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองได้ด้วยการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นั่นคือ ประชาชนอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของรัฐบาลซึ่งบ่งชี้ถึงมิติของการปกครองในด้าน ความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

          - รัฐบาลโดยประชาชน หมายถึง ประชาชนหรือพลเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นผู้ปกครองได้ ถ้าหากได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

          - รัฐบาลเพื่อประชาชน หมายถึง รัฐบาลจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อความผาสุกของประชาชน และจะต้องมีการกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี ฯลฯ เพื่อจะได้เป็นหลักประกันว่าผู้ปกครองจะต้องปกครองเพื่อประชาชน หากผันแปรจากจุดหมายนี้ ประชาชนจะได้มีโอกาสเปลี่ยนผู้ปกครองผ่านทางการเลือกตั้ง



การเลือกตั้ง

          ประเทศประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีการเลือกตั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเสนอตัวเข้ารับใช้ส่วนรวมโดยการสมัครรับเลือก ตั้ง และเปิดโอกาสให้พลเมืองใช้สิทธิในการที่จะเลือกบุคคลที่ตนต้องการให้เป็นผู้ ปกครอง หรือเป็นผู้ใช้สิทธิเป็นปากเสียงแทนตนในสภา

          ในระบอบประชาธิปไตยนั้น การมีสิทธิเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวยังไม่เป็นการเพียงพอ ต้องมีหลักประกันในการใช้สิทธิในการใช้สิทธินั้นด้วยว่า สามารถใช้ได้อย่างเสรีเต็มที่และมีโอกาสเลือกสรรตัวบุคคลที่ต้องการจริง ๆ คือ ต้องมีการลงคะแนนแบบลับ ( Secret Ballot)



การปกครองโดยเสียงข้างมาก

          การปกครองโดยเสียงข้างมาก หมายถึง บุคคลที่ประกอบกันขึ้นเป็นรัฐบาล นั้นถ้าหากไม่ได้รับเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรงแล้ว ก็ต้องเป็นคณะบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากเสียงข้างมากของผู้แทนที่ได้รับการ เลือกตั้งเข้ามา โดยการออกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามความเห็นขอบของเสียงข้างมากของผู้แทนในสภา

          ในระบอบประชาธิปไตยมิได้หมายความเพียงการยึดหลักเสียงข้างมากเท่านั้น แต่จะต้องมีหลักประกันสำหรับเสียงข้างน้อยด้วย นั่นคือ สิทธิขั้นพื้นฐานของเสียงข้างน้อยจะต้องได้รับการเคารพ เป็นเสียงข้างมากจะละเมิดหรือก้าวก่ายสิทธิของเสียงข้างน้อยจึงถือเป็นการ ใช้ กฎหมู่

•  นอกจากนี้ความเห็นหรือทัศนะของเสียงข้างน้อยจะต้องได้รับการรับฟัง เพราะในระบอบประชาธิปไตยนั้นต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายหรือผู้ที่มีความคิด เห็นแตกต่างได้เผยแพร่ทัศนะหรือแนวความคิดของเขา

•  ทัศนะหรือความคิดเห็นที่ปราชัยต่อเสียงข้างมากหรือตกเป็นเสียงข้างน้อยนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องสูญหาไปโดยสิ้นเชิง แต่อาจจะกลับมาเป็นทัศนะที่ได้รับการยอมรับหรือเป็นเสียงข้างมากในโอกาสต่อ ไปได้



วิถีชีวิตประชาธิปไตย

          ลักษณะสำคัญของวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย อาจจำแนกได้ดังนี้

          1. เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล โดยไม่ศรัทธาบุคคลใดถึงชั้นปุชนียบุคคล (แต่ก็ต้องกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ) จะต้องไม่เคร่งครัดเรื่องระบบอาวุโส (แต่ก็ต้องให้ความเคารพผู้อาวุโส)  ประชาธิปไตยจะดำเนินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เพราะเหตุผลเท่านั้นที่จะจรรโลงให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้ และประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล

          2. รู้จักการประนีประนอม คือ ยอมรับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ไม่นิยมความรุนแรง ต้องรู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นหรือดึงดันแต่ความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ยอมผ่อนปรนแก้ไข และต้องยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขความคิดเห็นของตนเองเมื่อผู้อื่นมีความคิดเห็น ที่ดีกว่า ปรัชญาประชาธิปไตย โดยพื้นฐานไม่ปรารถนาให้มีการใช้กำลังและการล้มล้างด้วยวิธีการรุนแรง เพราะถ้ามีการใช้กำลังและความรุนแรงแล้ว ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่มีหรือไม่ใช้เหตุผล ซึ่งก็ขัดกับหลักความเชื่อขั้นมูลฐานของประชาธิปไตยที่ถอว่ามนุษย์มีเหตุผล

          3. มีระเบียบวินัย คือ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างสม่ำเสมอ และช่วยทำให้กฎหมายของบ้านเมืองมีความศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ยอมให้ผุ้ใดมา ละเมิดตามอำเภอใจ แต่ถ้ามีความรู้สึกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ไม่เป็นธรรม ก็ต้องหาทางเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนั้น มิใช่ฝ่ายฝืนหรือไม่ยอมรับ  การใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจนละเมิดหรือก้าวก่ายในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม เพราะสังคมที่ไม่มีการจำกัดในเรื่องสิทธิเสรีภาพเลยนั้นหาใช่สังคม ประชาธิปไตยไม่แต่เป็นสังคมอนาธิปไตยที่เปรียบเสมือนไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย ไร้ระเบียบวินัยทางสังคมโดยสิ้นเชิง

          4. มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งเกิดขึ้นจากความรู้สึกของคนในสังคมว่า ตนเป็นเจ้าของประเทศ และประเทศเป็นของคนทุกคน โดยสำนึกว่า การที่ตนได้รับการศึกษา สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพและดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะสังคมอันเป็นส่วนรวมของทุก คน ดังนั้นจึงต้องมีหน้าที่ทำประโยชน์ให้เป็นการตอบแทน นอกจากนี้ลักษณะวิถีชีวิตประชาธิปไตยยังมีอีกหลายประเด็น เช่น ต้องเป็นคนหนักแน่นไม่หูเบา, ต้องไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ , มีทัศนะที่ดีต่อคนอื่น, ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น, เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, มีน้ำใจเป็นนักกีฬาคือรู้แพ้รู้ชนะ เป็นต้น

ประชาธิปไตย

คำอธิบาย: w

วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ

ประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย คือรูปแบบการปกครองซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ภายในรัฐเป็นเจ้าของอำนาจของรัฐ

ทราบแหล่งที่มา

  • "ระลึกไว้ว่า ประชาธิปไตยจะไม่มั่นคงยืนนาน อีกไม่นาน ประชาธิปไตยก็จะทำร้ายตัวเอง หมดกำลังไปเอง และจะสังหารตัวเอง นับจนถึงขณะนี้ยังไม่เคยมีประชาธิปไตยที่ใดที่ยังมิได้ฆ่าตัวตายมาก่อน"

-- จอห์น อดัมส์ จดหมายถึงจอห์น เทย์เลอร์, 15 เมษายน ค.ศ. 1815

  • "On n''exporte pas la démocratie dans un fourgon blindé." (เราไม่สามารถเผยแพร่ประชาธิปไตยได้โดยการใช้ยานเกราะ)

-- Jacques Chirac, attributed by Jean-Pierre Raffarin, when Jacques Chirac addressed Silvio Berlusconi over the invasion of Iraq, 20 o''clock news, TF1, mars 11th 2007

  • "ถ้าหากการเลือกตั้งสามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้แล้วล่ะก็ พวกเขา (นักการเมือง) ก็คงจะล้มล้างมันไปหมดแล้วละ"

-- เคน ลีฟวิงสโตน, นายกเทศมนตรีแห่งลอนดอน (ค.ศ. 2000-2008) ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสืออัตชีวประวัติและแนวคิดทางการเมืองของเขา ISBN 9780006373353

  • "ตราบเท่าที่พวกเขาทำให้คุณถามคำถามผิด ๆ เขาก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องให้คำตอบ"

-- Thomas Pynchon (1973) Gravity''s Rainbow, Viking Press, p. 251. (Considering Hitler''s appointment as Chancellor, the Reichstag Fire, and subsequent March elections, democracy may contain the seeds of its own undoing, and this quotation describes how those events did that.)

  • "ถ้าประชาธิปไตยเป็นข้าวผัดกะเพรา การเลือกตั้งก็คือใบกะเพรา ใบกะเพราจึงไม่เท่ากับข้าวผัดกะเพรา แต่ถ้าไม่ใส่ มันก็ไม่ใช่ล่ะ ... ถ้าบอกว่าข้าวผัดกะเพราเจ้านี้ไม่อร่อยเพราะใส่ถั่วฝักยาวมาทำไม ก็ต้องเอาถั่วฝักยาวออกไม่ใช่เอาใบกะเพราออก ประชาธิปไตยก็เช่นกัน"

-- ปรเมศวร์ มินศิริ ในทวิตเตอร์ [1] [2]

ไม่ทราบแหล่งที่มา

  • "ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่เลวที่สุด หากไม่นับรวมการปกครองอื่น ๆ ที่เคยลองผิดลองถูกมาก่อนหน้านี้"
  • "ประชาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่เป็นรูปแบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุดต่างหาก"

-- เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ ปราศรัยต่อสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหราชอาณาจักร, 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948

  • "ประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน"

-- อับราฮัม ลินคอล์น

  • "ประชาธิปไตยจะนำไปสู่การกดขี่ข่มเหงในที่สุด"

-- เพลโต, อุตมรัฐ

  • "ประชาธิปไตยไม่ใช่อะไรเลยนอกจากการปกครองของฝูงชน ซึ่งกลุ่มคนจำนวน 51% ลิดรอนสิทธิของบุคคล 49%"

-- โธมัส เจฟเฟอร์สัน

  • "การคอร์รัปชันเป็นผลสืบเนื่องอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ของประชาธิปไตย"

-- มหาตมะ คานธี

  • "การปกครองคนหมู่มากโดยคนส่วนน้อย เราเรียกว่าเป็นเผด็จการ ทว่าการปกครองคนส่วนน้อยโดยคนหมู่มาก (ประชาธิปไตย) เราก็เรียกว่าเป็นเผด็จการเช่นกัน เพียงแต่มีความเมตตามากกว่าเท่านั้น

-- เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์

  • "การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่น่าชื่นชมมาก - สำหรับหมา"

-- เอ็ดการ์ เอลเลน โพ

  • "ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม แต่ไร้ประโยชน์ในทางสติปัญญา"

-- แมกซ์ คิซแลนสกี

  • "ผู้ที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ได้ตัดสินอะไร แต่คนที่นับผลคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นผู้ตัดสินทุกอย่าง"

-- โจเซฟ สตาลิน

การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

1. ความหมายของการเลือกตั้ง

          การเลือกตั้ง คือ การที่ราษฎรใช้สิทธิของตนเองลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทน เพื่อทํา หน้าที่แทนตนในการปกครองแต่ละระดับของประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด เป็นต้น

              การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยนั้นต้องเป็นการเลือกตั้งโดยเสรี

กล่าว คือต้องเปิดกว้างให้อิสระในการตัดสินใจทั้งในแง่ของผู้สมัครและผู้ออกเสียง ทั้งนี้ต้องเป็นไปโดยบริสุทธิ์และยุติธรรมไม่มีการชี้นําหรือบังคับให้เลือก

2. ความสําคัญของการเลือกตั้ง

 

            ประชาชน เป็นผู้มีอํานาจในการปกครองประเทศแต่ในสภาพสังคมปัจจุบันยอมเป็นไปไม่ได้ที่ ประชาชนทุกคนจะทําหน้าที่ปกครองประเทศพร้อมๆกัน จึงมีความจําเป็นต้องเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทําหน้าที่แทนตน และประชาชนสามารถเปลี่ยนผู้แทนซึ่งใช้อํานาจแทนตนได้โดยเลือกผู้ที่ตนเห็น ว่าประโยชน์แก่ส่วนรวมตามแนวทางที่ตนต้องการโดยพิจารณาจากนโยบายของผู้สมัคร หรือพรรคของผู้สมัคร

3. การเลือกตั้งผู้แทนในระดับต่าง ๆ

 

           การเลือกตั้งในประเทศไทยมีหลายระดับตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน กล่าวคือ

3.1  ระดับหมู่บ้าน คือ การเลือกผู้ใหญ่บ้านกรรมการหมู่บ้านและสมาชิกสภาท้องถิ่น

3.2  ระดับตําบล  คือกํานันผู้บริหารท้องถิ่น

3.3  ระดับอําเภอ คือสมาชิกสภาเทศบาลและสมาชิกสภาเมืองพัทยา

3.4  ระดับจังหวัด คือ สมาชิกสภาจังหวัด และการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ซึ่งไดแก่การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การเลือกตั้งสมาชิกสภา กทม. และการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต

3.5 ระดับชาติ คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, สมาชิกวุฒิสภา

4. คุณสมบัติของผู้มี สิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง

 

  4.1 คุณสมบัติผู้มี สิทธิเลือกตั้ง สส. สว.

        4.1.1 มีสัญชาติไทย แต่บุคคลที่มีสัญชาติไทย โดยการเปลี่ยนแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

       4.1.2 มีอายุไม่ตํ่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง

       4.1.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

4.2 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

 

      4.2.1 มีสัญชาติไทยแต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

     4.2.2 มีอายุไม่ตํ่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง

     4.2.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง

     4.2.4 คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองกําหนด

         ในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้ง หนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันอันทําให้บุคคลมีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือก ตั้งให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

  4.3 คุณสมบัติผูมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สส.

            4.3.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

       4.3.2 มีอายุไมตํ่ากว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

       4.3.3 สําเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเว้นแต่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา

       4.3.4 เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน

       4.3.5 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย คือ

       (1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับสมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

       (2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น

       (3) เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

       (4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา 

       (5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี

  4.4 คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง สว.

     4.4.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

     4.4.2 มีอายุไม่ตํ่ากว่า 40  ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

     4.4.3 สําเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเทา

     4.4.4 มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 107 (5)

  4.5 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

     4.5.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

     4.5.2 มีอายุไม่ตํ่ากว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้งการเสริมสร้างความ รู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น

     4.5.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

     4.5.4 คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกําหนด

 4.6 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น

     4.6.1 กรณีนายกองค์การบริหารสวนจังหวัด

  (1) มีอายุไม่ตํ่ากว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

  (2) สําเร็จ การศึกษาไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้บริหาร ท้องถิ่นหรือสมาชิกรัฐสภา

  (3) ไม่ เป็นผู้พ้นจากตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการหรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น  เพราะ เหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระ ทํากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

     4.6.2 นายกเทศมนตรี

   (1) มีอายุไม่ตํ่ากว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

   (2) สําเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา

   (3) ไม่เป็นผู้พ้นจากตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นรองผู้บริหารท้อง ถิ่น หรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่กระทํากับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง

   (4) เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งถูกให้พ้นจากตําแหน่ง  เนื่องจากกระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ

    4.6.3  นายกองค์การบริหารส่วนตําบล

   (1) มีอายุไม่ตํ่ากว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

   (2) สําเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าหรือเคย

เป็นสมาชิกสภาตําบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา

   (3) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตําแหน่งสมาชิกสภาตําบล สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  รอง ผู้บริหารท้องถิ่นหรือเลขานุการ หรือที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่นเพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทาง ตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทํากับองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งวิธีการเลือกตั้งในระดับหมู่บ้านอาจทําได้ทั้งวิธีลงคะแนนลับและเปิดเผย   การ เลือกตั้งในระดับอื่นๆจะใช้วิธีลับ ซึ่งมีขั้นตอนสําคัญ คือ จะต้องมีการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหน ด หากไม่มีชื่อหรือชื่อผิดพลาด หรือมีชื่อบุคคลที่ไม่รู้จักในบ้านของตนก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดําเนินการให้ ถูกต้องที่สําคัญบัตรประจําตัวประชาชนต้องเก็บไว้กับตัวอย่าให้ใครยืมหรือ ทําหายเป็นอันขาดการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม ของประชาชนในองค์

5. การใช้ดุลพินิจในการเลือกตั้ง

1) ในการเลือกตั้งต้องคอยติดตามประวัติและข่าวคราวเกี่ยวกับผู้สมัครอยู่เสมอ 

2) ตรวจดูว่ามีสิทธิ์เลือกผู้แทนได้กี่คน 

3) จําหมายเลขผู้สมัครที่ต้องการเลือกให้ได้เมื่อรับบัตรเลือกตั้งแล้วเดินเข้าคูหา 

4) ทําเครื่องหมาย X (กากบาท) ในช่องทําเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งให้ตรงเครื่องหมาย(หมายเลข) ของผู้สมัคร 

5) พับ บัตรเลือกตั้งให้กรรมการหย่อนลงในหีบบัตรต่อหน้าตนเองข้อสําคัญต้องเลือกคน ที่มีความจริงใจและเสียสละเพื่อส่วนรวมมีความรู้ความสามารถและมีอาชีพ สุจริตเป็นหลักเป็นแหล่งแน่นอนไม่ควรเลือกผู้ที่มีเบื้องหลังไม่สุจริต และซื้อขายเสียง

6. ผลเสียของการซื้อขายเสียง

          สํา หรับการซื้อขายเสียง นับเป็นอันตรายอย่างยิ่งของการเลือกตั้งในทุกระดับ เพราะไม่ได้หวังที่จะเข้ามาเพื่อช่วยสังคมส่วนรวมอย่างจริงใจเป็นเพียงทาง ผ่านและผลประโยชน์ของตนหรือเข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ตามวิถีทางของเขาโดยไม่สนใจผลประโยชน์ของชาติและประชาชนคนเหล่านี้จะไม่เห็นใครสําคัญกว่าตนเอง และประโยชน์ของตน  ซึ่งไม่ควรจะให้มีโอกาสเขาจัดการผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างเด็ดขาด

7. การป้องกันการซื้อขายเสียง

        หน ทางป้องกันการซื้อขายเสียงก็อยู่ที่ประชาชนที่จะต้องคํานึงอยู่เสมอว่าอํานา จของประชาชนเป็นอํานาจศักดิ์สิทธิ์จะซื้อขายกันไม่ได้และช่วยกันโดย

  7.1 ไม่รับเงินหรือสิ่งแลกเปลี่ยน

  7.2 ต่อต้านการซื้อเสียงทุกชนิดในการเลือกตั้งทุกระดับ

  7.3 ถ้าพบเห็นการซื้อขายเสียงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีและช่วยเป็นพยานให้กับทางเจ้าหน้าที่

  7.4 แนะนําคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านให้เห็นภัยของการซื้อขายเสียงและ

รวมกันรณรงค์ต่อต้าน

  7.5 ชักชวนกันไปใช้สิทธิให้มาก ๆ

8. การรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

        การ รณรงค์ให้ประชาชนเลือกตั้งให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยสังคม โดยชี้ให้เห็นความสําคัญของการเลือกตั้งแต่การรณรงค์ไม่จําเป็นต้อง รณรงค์เฉพาะช่วงที่จะมีการเลือกตั้งเท่านั้น แต่สามารถทําได้ในทุกโอกาส เช่น 

1) การติดตามข่าวสารของผู้แทนมาเผยแพร่แก่ประชาชน 

2) การติดตามพฤติกรรมแนวความคิด และการตัดสินใจของผู้แทนที่มีต่อนโยบายสาธารณะมาเผยแพร่ 

3) การจับกลุ่มสนทนาปัญหาของบ้านเมือง การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกั ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4) ชม/ฟัง การถ่ายทอดเสียงการประชุมสภาฯ สิ่งเหล่านี้จะทําให้ประชาชนรู้สึกว่าเรื่องการเลือกตั้งเป็นสิ่งใกล้ตัว มีผลกระทบกับประชาชนโดยตรง

9. ประชาชนควรทําอย่างไรเมื่อมีการเลือกตั้ง

         การ ใช้ดุลพินิจในการเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งสําคัญเราคงจะเลือกโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือเกรงใจเพราะเป็นคนรู้จักกันหรือมีคนมาขอร้องให้เลือกไม่ได้อีกแล้ว  และโดยเฉพาะการเลือกตั้งที่เห็นแก่อามิสสินจ้างเป็นการกระทําที่เลวร้าย ประชาชนจึงควรพิจารณาให้ถ่องแท้โดย

  9.1 พิจารณานโยบาย/จุดยืนของพรรคว่าเป็นไปตามแนวทางที่เราต้องการหรือไม่

  9.2  พิจารณาตัวบุคคลผู้สมัครโดยดูประวัติความเป็นมาว่าเป็นคนดีมีจุดยืนเคียงข้างประชาชนและสังคมส่วนร่วมหรือไม่

  9.3 พิจารณาถึงบทบาทในทางสังคมและด้านต่าง ๆ ของผู้สมัครและพรรคที่สังกัดอย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเลือกตั้งทุกคนต้องปฏิบัติในหน้าที่ของพลเมือง 4 ประการ คือ

  (1) ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกครั้ง

  (2) ชักชวนคนอื่นไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยอิสระ    

  (3) สอดส่องดูแลไม่ให้มีการโกงเลือกตั้ง

  (4) หากรู้เห็นว่ามีการโกงเลือกตั้งหรือซื้อขายเสียงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

10. หากประชาชนไม่ไปใช้ สิทธิในการเลือกตั้งจะเสียสิทธิดังต่อไปนี้

      ในการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21  หรือมาตรา 22  หรือ แจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่ง ไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้ตามมาตรา 68วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญให้ผู้นั้นเสียสิทธิดังต่อไปนี้ 

10.1 กรณีส.ส. สว.

         10.1.1 สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น

         10.1.2 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกํานันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่า

ด้วยลักษณะปกครองท้องที่

         10.1.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภาผู้บริหาร ท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น

         10.1.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายวา

ด้วยลักษณะปกครองท้องที่

         10.1.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อใหรัฐสภาพิจารณากฎหมายตามกฎหมาย

ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

         10.1.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น

         10.1.7 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลตากฎหมายประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการเสริมสร้างความรู้เกี่ยว กับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

         10.1.8 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร

ท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

          การ เสียสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้มีกําหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผูนั้นไม่ไปใชสิทธิเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

    10.2 กรณีไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นจะเสียสิทธิดังนี้

         10.2.1 สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารทองถิ่น

         10.2.2 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่า

ด้วยลักษณะปกครองท้องที่

         10.2.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

         10.2.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

         10.2.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น

         10.2.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตาม กฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารทองถิ่น 

 

 




เข้าชม : 2194
 
 
ติดต่อเรา

นางสาวสายทิพย์    อุดี  ครู กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว โทร ๐๘๐-๗๓๑๑๘๒๕

กศน.ตำบลห้วยน้ำขาว ม.๕ ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี