[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี | Saraburi | Facebook
 
การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต และการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับประถมศึกษา 2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3. ระดับมะยมศึกษาตอนปลาย โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนทั้งนี้ ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน การลงทะเบียนเรียนรายวิชา 1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต 2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 17 หน่วยกิต 3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 23 หน่วยกิต เป็นการวัดผลและประเมินผลการเรียนหมวดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในด้านความรู้ ทักษะการเรียนรู้ คุณธรรมและจริยธรรม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยแบ่งการประเมินเป็น 3 ระยะ คือ 1. การวัดผลและประเมินผลก่อนเรียน เป็นการประเมินพื้นฐานของนักศึกษาให้ได้ข้อมูลไปจัดกลุ่มนักศึกษา เตรียมความพร้อม และเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ แก่นักศึกษา ทำได้ 2 แบบ คือ (1) แบบเป็นทางการ ด้วยการสอบข้อเขียน หรือปฏิบัติ หรือกรอกข้อมูล (2) แบบไม่เป็นทางการ เช่น สัมภาษณ์ สอบถาม พูดคุย 2. การวัดผลและประเมินผลระหว่างเรียน เป็นการวัดและประเมินผลด้านความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมของนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง และหลากหลาย ควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยกำหนดคะแนนระหว่างภาคเรียน 60 % คะแนนปลายภาคเรียน 40% ที่มาของคะแนนระหว่างภาคเรียน ได้จาก (1) การมาพบกลุ่ม-การมาเรียนของนักศึกษา-การมีส่วนร่วมกับ กศน.พญาไท (2) จากรายงาน-ผลงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (3) การทดสอบย่อย (4) โครงงาน มีคะแนน 3 ส่วนคือ - เอกสารโครงงาน - ผลงาน-ชิ้นงาน - การรายงานผลการทำรายงานเป็นระยะ 3. การวัดผลและประเมินผลปลายภาคเรียน และการตัดสินผลการเรียน เป็นการวัดผลเพื่อตัดสินผลการเรียน โดยใช้ข้อสอบและตารางสอบที่ กศน.กำหนด นักศึกษาจะต้องสอบได้ 50% ของคะแนนสอบปลายภาค นำผลการเรียนระหว่างภาคมารวมกับคะแนนปลายภาคได้ 50 คะแนนขึ้นไป ถือว่าสอบผ่าน ในกรณีที่สอบปลายภาคได้ไม่ถึง 50% ถึงแม้จะนำผลการเรียนระหว่างภาคมารวมกันแล้วคะแนนเกินกว่า 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน

เข้าชม : 359
 
 

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  คือ  การจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่นักเรียนมีอยู่  หรือได้รับจาการเข้าร่วมกิจกรรม  กศน.  โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

     การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชน ร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทรต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

     กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชนมี 5 ด้าน คือ
          1. ด้านเศรษฐกิจ          - กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
          2. ด้านการเมือง           - กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
          3. ด้านสังคม               - กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้
          4. ด้านสิ่งแวดล้อม        - กิจกรรมรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
          5. ด้านศิลปวัฒนธรรม    - กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี