[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี | Saraburi | Facebook
 

 กศน.ตำบลเขาเขน

ที่อยู่ :  เลขที่ – หมู่ที่ ๓  ตำบลเขาเขน อำเภอปลายพระยา จังหวัด กระบี่ รหัสไปรษณีย์ ๘๑๑๖๐

เบอร์โทรศัพท์  ๐๘๑ ๙๗๘ ๕๕๔๕ E-mail ติดต่อ  PHALUW_2514@hotmail.com

สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลายพระยา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

 @ ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

ประวัติสถานศึกษา :  กศน.ตำบลเขาเขน เดิมคือศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเขาเขน ใช้ศาลาเอนกประสงค์บ้านตัวอย่าง หมู่ที่ ๓ ตำบลเขาเขน อำเภอปลายพระยา  จังหวัดกระบี่  เป็นสถานที่ในการจัดการกิจกรรม

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ต่อมาในปี พ.. 2553 กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ราคาถูกราคาถูกสำหรับประชาชนเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงานและการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน/สังคม เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรม กศน.ตำบลทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนมีคณะกรรมการ กศน.ตำบลที่เป็นคนในชุมชน ให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตาม ดูแลและร่วม ประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล  

                      กศน.ตำบลเขาเขน จึงได้ทำพิธีเปิด กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ราคาถูก เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2554  กศน.ตำบลเขาเขน มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนตำบลเขาเขน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีครู กศน.ตำบลเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา กศน.ตำบลเขาเขน ให้เป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษา 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้กับประชากรวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ และไม่อยู่ในระบบโรงเรียน ในระดับระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอน ปลาย มุ่งเน้นจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาวิชาการ เช่น กิจกรรมการเรียน ปรับพื้นฐาน กิจกรรมสอนเสริม กิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ กิจกรรมการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมลูกเสือและกิจกรรมอาสายุวกาชาด กิจกรรมด้านกีฬาและส่งเสริมสุขภาพตลอดถึงการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่ การศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำใน 5 กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพพาณิชยกรรมและบริการ กลุ่มอาชีพความคิดสร้างสรรค์และกลุ้มอาชีพเฉพาะทาง จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย  โดยจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างชุมชนนักปฏิบัติและรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดีและการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน และการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเซียนและหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐานและสะดวกต่อการใช้งาน เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อเนื่องของสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน รวมถึงเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตำบลเขาเขน

 สภาพของชุมชน

           ตำบลเขาเขนเดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งมีการปกครองขึ้นอยู่กับตำบลอีปัน อำเภอไทรขึง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้บ้านเขาเขน และบ้านปากน้ำเป็นตำบลเขาเขน และตำบลเขาเขน ในสมัยขุนพลพญาพิบาล ซึ่งเป็นกำนันตำบลอีปันในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดโดยโอนตำบลเขาเขนให้มาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภออ่าวลึก จ. กระบี่ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๖ กระทรวงมหาดไทย ได้แบ่งเขตตำบลเขาเขน  จังหวัดกระบี่ และกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๙

   เนื้อที่

  ตำบลเขาเขนมีพื้นที่ ประมาณ ๑๑๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๕,๒๐๐ ไร่

 อาณาเขต

ทิศเหนือ            จดตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนมจังหวัดสุราษฏร์ธานี

ทิศใต้                 จด ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา และตำบลเขาใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ทิศตะวันออก    จดตำบลเขาเขน

ทิศตะวันตก      จดตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่

 สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ

      ๑ สภาพภูมิอากาศ

                    สภาพภูมิอากาศของตำบลเขาเขน มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฝนตกชุกในระหว่างเดือน มิถุนายน ถึงเดือน ตุลาคม เพราะมีลมมรสุม ตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ดังนั้นจึงมีเพียง ๒ ฤดู เท่านั้น คือ ฤดูฝน เริ่มจากเดือน พฤษภาคม – ธันวาคม  ฤดูร้อนเริ่มจากเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน

อุณภูมิเฉลี่ย ๑๖.๙-๓๗.๓ องศาเซลเซียส

 เขตการปกครอง

    ตำบลเขาเขน แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๖ หมู่บ้าน คือ

   หมู่ที่ ๑  บ้านช่องแบก

                  ช่องแบกเป็นหมู่บ้านที่มีเส้นทาง ติดต่อกับหมู่บ้านอื่น โดยเดินผ่านช่องเขา ซึ่งค่อนข้างแคบ เดินยาก  เมื่อถึงบริเวณดังกล่าวจึงไม่สามารถใช้ม้าหรือเกวียนบรรทุกของได้เต็มที่นั่ง ต้องขนลงแบกผ่านไปก่อนจึงขนขึ้นม้าหรือเกวียนใหม่ บริเวณดังกล่าวจึงเรียกบ้านช่องแบก แต่ ชาวบ้านบางคนก็เล่าว่าที่ได้ชื่อบ้านช่องแบกเพราะมาจากบริเวณหมู่บ้านที่มีต้นตะแบกนา ชาวใต้นิยมพุดสั้นๆ จากชาวบ้านช่องตะแบก จึงเหลือเพียงบ้านช่องแบก

  หมู่ที่ ๒  บ้านนาเทา

                  นาเทาเป็นหมู่บ้าน ที่ประกอบอาชีพทำนา เพราะดินดีและมีนาดี ในพื้นนาของชาวบ้านจะมีต้นเทาอยู่เป็นจำนวนมาก เทา เป็นสาหร่าย น้ำจืดชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นเส้นละเอียด สีเขียว ลอยอยู่ในแอ่งน้ำที่พื้นนา ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านของตนว่า บ้านนาเทา แม้ปัจจุบันบ้านนาเทา จะไม่มีนาแล้ว กลายเป็นสวนปาล์มไปทั้งหมด แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกหมู่บ้านของตนว่าบ้านนาเทา

   หมู่ที่ ๓  บ้านตัวอย่าง

              บ้านตัวอย่างเป็นหมู่บ้านที่สหกรณ์นิคมปลายพระยาจัดสรรขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านที่ยากจนได้อาศัยเป็นพื้นที่ทำกิน โดยปลูกปาล์มและพืชเกษตรอื่นๆ ครอบครัวละ ๒๔ ไร่ หมู่บ้านนี้เรียกว่า หมู่บ้านตัวอย่าง

   หมู่ที่ ๔  บ้านถ้ำรอบ

            ถ้ำรอบเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ภุเขาและภูเขานั้นมี โพรงถ้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณบ้านที่อยู่ใกล้เขานั้นว่าบ้านถ้ำรอบ

  หมู่ที่ ๕  บ้านควนเศียร

            บ้านควนเศียรตั้งขึ้นตามชื่อต้นยางที่มีจำนวนมาก ปัจจุบันไม่มีแล้วเนื่องจากชาวบ้านบุกป่า เพื่อทำสวนปาล์ม แต่ยังเรียกหมู่บ้านของตนว่าบ้านควนเศียร

 หมู่ที่ ๖   บ้านคลองปัญญา

             บ้านคลองปัญญาเป็นหมู่บ้านซึ่งเดิมมีคลองเล็กๆ มากมาย ต่อมามีผู้มาขูดเป็นคลองใหญ่เพื่อให้ชาวบ้าน ได้ใช้ร่วมกันทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงเรียกคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า คลองปัญญา ตามชื่อของผู้ริเริ่ม

ประชากร

   ตำบลเขาเขนมีประชากรทั้งสิ้น ๖,๑๘๑ คน  แยกเป็นชาย ๓,๑๓๕ คน หญิง ๓,๐๔๖  คน

มีความหนาแน่น ๕๓.๒๘ คน / ตารางกิโลเมตร  ประชากรสามารถแยกเป็นรายหมู่บ้าน ได้ดังนี้

 ข้อมูลทางสังคม

                สภาพสังคมในตำบลเขาเขน เป็นสังคมแบบกึ่งชนบท มีปะชากรส่วนหนึ่งเป็นคนพื้นแพเดิมและส่วนหนึ่ง ได้อพยพมาจากจังหวัดอื่น ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นสังคมที่สงบมีความสามัคคี การเมืองมีความเป็นเอกภาพ

ข้อมูลศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

                ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลเขาเขนนับถือศาสนาพุทธ และอีกประมาณ ร้อยละ ๑ นับถือศาสนา อิสลาม โดยมีโดยมีศาสนสถานในตำบลเขาเขนประกอบด้วย วัด/ สำนักสงฆ์ ๕ แห่ง และมัสยิด ๑ แห่ง ดังนี้

             ๑. วัดช่องแบก

        ๒. วัดบ้านตัวอย่าง

        ๓. สำนักสงฆ์เขาหัวสิงห์

       ๔. วัดนิคมราษฎรพัฒนา

       ๕. สำนักสงฆ์บ้านถ้ำรอบ

       ๖.  มัสยิดบ้านตัวอย่าง

    ส่วนด้านประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ตำบลเขาเขนมีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ลิเกป่า รำกลองยาว หนังตะลุง มโนราห์ เป็นต้น

ด้านสาธารณสุข 

ในด้านสารณสุขในตำบลเขาเขนนั้นมีสถานีอนามัยจำนวน ๓ แห่ง คือ

    ๑. สถานีอนามัยบ้านช่องแบก

    ๒. สถานีอนามัยบ้านตัวอย่าง

    ๓. สถานีอนามัยบ้านคลองปัญญา

     ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

     ในตำบลเขาเขน มีจุดตรวจให้บริการประชาชน จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๓ บ้านตัวอย่าง และนอกเหนือจากจุดตรวจแล้วยังมีที่พักสายตรวจอีกจำนวน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่๑,๒,๔ และ๖ ซึ่งมีสมาชิกรักษาความสงบในหมู่บ้าน (สรบ.)ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน

    มวลชนจัดตั้ง

  ๑. ลูกเสือชาวบ้าน   จำนวน ๘๕   คน

  ๒. สรบ.                   จำนวน  ๖๐   คน

  สภาพสิ่งแวดล้อม

   ๑. คุณภาพแหล่งน้ำ

    สภาพแหล่งน้ำ โดยทั่วไป ประชาชนยังสามารถใช้อุปโภค – บริโภค ได้ และเนื่องจากพื้นที่ในตำบลเขาเขนเป็นพื้นที่ด้านการเกษตร ประกอบกับไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดังนั้นปัญหามลพิษทางน้ำจึงไม่มี

๒. คุณภาพอากาศ

    เนื่องจากในตำบลเขาเขน ยังเป็นสังคมกึ่งชนบท ประชากรส่วนใหญ่ทำการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่มี ดังนั้นปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศไม่มี

๓. คุณภาพดิน

    สำหรับปัญหาเรื่องคุณภาพดิน  เป็นปัญหาเรื่องการปลูกพืชซ้ำซาก ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน และไม่มีการปรับสภาพดินที่เหมาะสม ซึ่งเป็นปัญหาในอนาคต

  ศักยภาพของชุมชน

การรวมกลุ่มของประชาชน

 แยกประเภทกลุ่ม

- กลุ่มอาชีพ             ๑๖  กลุ่ม

- กลุ่มออมทรัพย์        ๙  กลุ่ม

   จุดเด่นของพื้นที่ เอื้อต่อการพัฒนา

  ๑. ด้านทรัพยากร

       ตำบลเขาเขนยังมีทรัพยากรเพียงพอที่จะนำเข้าสู่ภาคการผลิตหรือเพื่อการพัฒนาต่อไป ในทิศทางที่มีความสมดุล ดังนั้นตำบลเขาเขนจึงมีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาในอนาคตต่อไป

๒. ด้านคมนาคม

      ตำบลเขาเขนนั้นเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมซึ่งเป็นทางผ่านไปสู่อำเภออ่าวลึก อำเภอปลายพระยา และอำเภอเขาพนม ดังนั้นตำบลเขาเขนจึงเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสม ที่จะรองรับการพัฒนาและการขยายตัวของชุมชนหรือส่งเสริมการพัฒนาด้านอื่นๆ

  ๓. การรวมกลุ่ม

   ในตำบลเขาเขน เป็นการรวมกลุ่มที่มีการเสียสละ มีความสามัคคี สมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ได้จัดตั้งขึ้นเป็นอย่างดี

   ศักยภาพ ปัญหา

       สภาพโดยทั่วไปของตำบลเขาเขน เป็นชุมชนกึ่งชนบท ทรัพยากรที่มีอยู่สามารถที่จะพัฒนาให้มีความเจริญไปในทิศทางที่สมดุล โดยต้องมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการสร้างโอกาสให้ทุกภาคีมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างเต็มที่ และควรมีการเสริมสร้างความอบอุ่น ความเข้มแข็งของชุมชนและครอบครัว สำหรับการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจ และสังคมควร

เข้าชม : 864
 
 

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  คือ  การจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่นักเรียนมีอยู่  หรือได้รับจาการเข้าร่วมกิจกรรม  กศน.  โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

     การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชน ร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทรต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

     กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชนมี 5 ด้าน คือ
          1. ด้านเศรษฐกิจ          - กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
          2. ด้านการเมือง           - กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
          3. ด้านสังคม               - กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้
          4. ด้านสิ่งแวดล้อม        - กิจกรรมรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
          5. ด้านศิลปวัฒนธรรม    - กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี