[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี | Saraburi | Facebook
 
 ารเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรอบแนวคิด
ปัจจุบันอัตราการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมการดำรงชีวิตเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าอัตราของการเรียนรู้ ทุกประเทศต้องการแรงงานฝีมือที่มีทักษะและพัฒนาแรงงานให้มีทักษะในยุคของการแข่งขันในตลาดแรงงานอาเซียนและตลาดโลก สำนักงาน กศน. จึงต้องเร่งกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ Human capital ตามตัวแบบ KSM model เพื่อสร้างเสริมความรู้ความสามารถเชิงนวัตกรรม (Pro-active innovation)โดยมีเป้าหมาย เพิ่มความรู้สู่มวลชน (Education for Mass) ซึ่งมีประมาณ ๑๘ ล้านคนทั่วประเทศ โดยการกำหนดแผน (Plans) โครงงาน (Projects) กิจกรรมของงาน (Programs) หน่วยปฏิบัติการ (Operational units) และหน่วยงานในพื้นที่ (Units) ทั่วประเทศให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้และประเมินผลความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ของบุคคลที่มีศักยภาพได้ทุกคน ให้มีโอกาสนำผลงานด้านการทำงานมาเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระบบให้ผู้ที่มีศักยภาพ มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถได้มัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภายใน ๘ เดือน ตามระบบทดสอบที่ ICBL : The innovation of competency building by “Learning process” กำหนด
นวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถภาพความสามารถของผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ICBL เป็นนโยบายตามข้อเสนอของรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายการให้โอกาสแก่ผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ได้เปิดโอกาสเสริมเติมเต็มความรู้ สร้างความรู้ความสามารถ และยอมรับความรู้ที่มีอยู่มาประเมินเพื่อให้มีความรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนจำนวนมากของประเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนาสมรรถภาพด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน การคิดวิเคราะห์ และความรู้ต่างๆ จากสื่อที่หลากหลาย อันเป็นพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคล แต่ละครอบครัวให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการยกฐานะของประชาชนวัยแรงงานในการเข้าสู่ตลาดการแข่งขันของสังคมปัจจุบัน และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงได้นำตัวแบบ นโยบาย หลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ หลักสูตร และการนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง

จุดมุ่งหมาย
“สร้างความรู้ความสามารถ เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ในโลกได้อย่างเป็นสุขด้วยกระบวนการของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้มีประสบการณ์จากการทำงาน เกิดความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ สามารถนำไปปรับใช้กับตนเองและสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับการเตรียมประชาชนในระดับผู้ใช้แรงงาน ในชุมชนเมืองและชนบท เข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน และตลาดแรงงานอาเซียน (ASEAN Market)”


เข้าชม : 205
 
 

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  คือ  การจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่นักเรียนมีอยู่  หรือได้รับจาการเข้าร่วมกิจกรรม  กศน.  โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

     การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชน ร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทรต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

     กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชนมี 5 ด้าน คือ
          1. ด้านเศรษฐกิจ          - กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
          2. ด้านการเมือง           - กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
          3. ด้านสังคม               - กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้
          4. ด้านสิ่งแวดล้อม        - กิจกรรมรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
          5. ด้านศิลปวัฒนธรรม    - กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี