[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี | Saraburi | Facebook
 
ารศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคล ซึ่งมีจุดประสงค์ในชีวิตที่แตกต่างกัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ประชาชน ครู กศน. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
2) การออกแบบการเรียนรู้อาชีพตามลักษณะของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ในรูปแบบการฝึกทักษะอาชีพ การเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี
3) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิต โดยใช้วงจรกระบวนการคิด ทำ จำ แก้ปัญหาและพัฒนา
4) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้และประสบการณ์ทำอาชีพ ภายใต้วัฒนธรรมของชุมชน มีกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและพัฒนาอาชีพ

 

นโยบาย เร่งรัดส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิตให้กับบุคคลและชุมชนเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย 1) กลุ่มผู้ต้องการเรียนรุ้ทักษะอาชีพ แต่อาจไม่นำไปประกอบอาชีพก็ได้
2) กลุ่มผู้เข้ารับการอบรมหรือร่วมกิจกรรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ
3) กลุ่มผู้มีอาชีพเดียวกัน ที่ต้องการพัฒนาอาชีพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
4) กลุ่มที่ต้องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้พัฒนาอาชีพของตน

แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

1) การฝึกทักษะอาชีพ วิเคราะห์ความต้องการของผู้ร่วมกิจกรรมและความต้องการของผู้เรียนโดยฝึกทักษะอาชีพ ในลักษณะการศึกษาอาชีพหลักสูตรระยะสั้นหรือกิจกรรมรูปแบบการสาธิตและการปฏิบัติจริง ที่ต้องสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ
2) การเข้าสู่อาชีพ จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกทักษะอาชีพหรือจัดเป็นกิจกรรมเฉพาะเพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ โดยจัดให้มีกระบวนการแนะแนวอาชีพที่มีประสิทธิภาพ
3) การพัฒนาอาชีพ พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพ โดยจัดให้มีการรวมกลุ่มของผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันเพื่อรวมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสวงหาความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาอาชีพของกลุ่มโดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
4) การพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยี โดยเน้นการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมายสถนประกอบและผู้ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากิจกรรมและศักยภาพของตนเอง เช่น การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพาณิชย์ (E-Commerce) การจัดสร้างระบบฐานข้อมูลหรือการนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์ หรือการนำเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต

ตัวชี้วัด 
เชิงปริมาณ
– จำนวนผู้เข้ารับการอบรมและพัฒนาวิชาชีพ
– จำนวนผู้สำเร็จตามหลักสูตรที่กำหนด
เชิงคุณภาพ
-ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
-ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ

       


เข้าชม : 361
 
 

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  คือ  การจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่นักเรียนมีอยู่  หรือได้รับจาการเข้าร่วมกิจกรรม  กศน.  โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

     การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชน ร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทรต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

     กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชนมี 5 ด้าน คือ
          1. ด้านเศรษฐกิจ          - กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
          2. ด้านการเมือง           - กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
          3. ด้านสังคม               - กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้
          4. ด้านสิ่งแวดล้อม        - กิจกรรมรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
          5. ด้านศิลปวัฒนธรรม    - กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี