[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
- ที่อยู่ : ศาลาเอนกประสงค์ หมู่2 ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ -

 

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

บนพื้นฐานของสถานการณ์สภาวะความเสี่ยงของสังคมไทยและทิศทางการพัฒนาประเทศและโอกาสของ สำนักงาน กศน. ดังที่กล่าวแล้วในส่วนที่ 1 สำนักงาน กศน. จึงกำหนดยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และพันธกิจที่ใช้เป็นหลักยึดและตัวกำกับทิศทางยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ไว้ดังต่อไปนี้

 

วิสัยทัศน์

คนไทยทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย เข้าถึงโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพทั่วถึงเท่าเทียม เป็นพลเมืองดี มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการแข่งขันในระดับสากล

 

เป้าประสงค์

ประชาชนผู้รับบริการ ทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย มีความรู้ความสามารถรอบด้านเพียงพอต่อการดารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีศักยภาพในการผลิตทางเศรษฐกิจ การสร้างสังคมคุณภาพ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

พันธกิจ

สำนักงาน กศน. มีพันธกิจหลัก ดังนี้

          1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

          2. ส่งเสริม สนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อตอบสนองความต้องการทางการศึกษาของประชาชนอย่างหลากหลาย

          3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ และภารกิจ ทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติของหน่วยงาน สถานศึกษา รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

 

ยุทธศาสตร์

 

3 ยุทธศาสตร์ที่หวังผลใน 3 เดือน

          1. การเร่งปฏิรูปการดำเนินการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลทุกระดับในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนาไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบเงื่อนไขระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดย

             1.1) การทบทวนและปรับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและสถานศึกษาทุกประเภท ทุกระดับ ตลอดจนหน่วยจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ ให้ทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ กศน.ตำบลเป็นฐาน (สถานี) เติมเต็มความรู้ โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

             1.2) การประเมิน ทบทวนและปรับกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสอดคล้องกับวิถีชีวิต และสภาพปัญหาความเร่งด่วนของแต่ละชุมชน ตลอดจนพัฒนาทักษะที่จาเป็นในการดารงชีวิต สามารถนาไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง การพัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างแท้จริง โดยยึดหลักประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน

   1.3) กำกับและติดตามให้หน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้นโยบายและแผน ตลอดจนระบบการกระจายอำนาจเป็นกลไกการดำเนินงานที่สำคัญ โดยมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้นโยบายและแผนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการนานโยบายสู่การปฏิบัติที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

             1.4) การกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง โดยยึดหลักความคล่องตัวในการทำงาน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายการศึกษาที่มีคุณภาพ และความต่อเนื่องอย่างยั่งยืนของการเป็นภาคีเครือข่ายซึ่งกันและกัน ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ

             1.5) การเร่งรัดสร้างความเข้าใจกรรมการ กศน.จังหวัด กรรมการสถานศึกษา และกรรมการ กศน.ตำบล ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             1.6) การเร่งรัดพัฒนาครู กศน.ตำบล ทุกคนให้สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          2. การเร่งรัดดำเนินการนาคูปองการศึกษาหรือคูปองการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของประชาชนผู้รับบริการให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นธรรมอย่างแท้จริง

          3. การเร่งรัดปรับปรุงหลักสูตรแกนกลาง และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา/หลักสูตรท้องถิ่น ตลอดจนหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการเรียนการสอน ที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมนาความรู้ และปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ และมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

 

3 ยุทธศาสตร์ที่หวังผลใน 1 ปี

1. การเร่งรัดการกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้สามารถเข้าถึงประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนอย่างทั่วถึง ทุกกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่มีลักษณะเฉพาะทางสังคม - ประชากรอย่างเสมอภาค และเป็นธรรมพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งระบบโดย

             1.1) การใช้แผนและการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการทั้งการออกแบบกิจกรรม การนิเทศ การติดตามผล การปรับปรุง การพัฒนา และการตัดสินใจทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติและสามารถรายงานสรุปความก้าวหน้าเป็นรายไตรมาส และรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้าง ระบบงานกฎหมาย ระบบการบริหารจัดการและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระบบ

             1.2) การนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่หลากหลาย และมีคุณภาพมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดการศึกษา และขยายโอกาสในการเข้าถึงการจัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่หวังผลได้อย่างแท้จริง

             1.3) การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษา และหน่วยจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน และแหล่งวิทยาการชุมชนทุกประเภทในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ และมีการอนุรักษ์ สืบสาน ประยุกต์ใช้ ต่อยอดสร้างสรรค์ และพัฒนา เพื่อความยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้มีความคิดวิเคราะห์ มีเหตุผล และมีจิตวิทยาศาสตร์

             1.4) การปรับรูปแบบกิจกรรมและวิธีการดำเนินการจาก บ้านหนังสืออัจฉริยะไปสู่ บ้านหนังสือชุมชนและขยายการบริการให้กระจายครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงความต้องการทางการศึกษา/การเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่และบริบทเฉพาะของหมู่บ้าน/ชุมชนแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ การเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลและความรู้ของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยเชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่ายกับ กศน.ตำบล/ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

             1.5) การพัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการจัดบริการการศึกษาเพื่อการรู้หนังสือขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

             1.6) การวางระบบการนิเทศการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มุ่งเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความคล่องตัวในการจัดบริการการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการนิเทศจากระดับนโยบายสู่ระดับภูมิภาคระดับจังหวัด ระดับอำเภอ/ระดับสถานศึกษา และระดับหน่วยจัดบริการ อย่างเป็นระบบ

          1.7) การกำหนดแนวทางและดำเนินการในข้อกฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การศึกษาทางเลือก เป็นการศึกษาอีกประเภทหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชนผู้รับบริการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมในการจัดของภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวาง

          2. การกำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีการเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบ และสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อให้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นกลไกหนึ่งที่มีพลังในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในบทบาทที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการนิเทศ กำกับติดตามและรายงานผลอย่างเคร่งครัด และปรับเปลี่ยนได้อย่างทันท่วงทีตามนโยบายและสถานการณ์

3. การเร่งรัด ติดตาม ให้มีการพัฒนาหน่วยงาน สถานศึกษาและหน่วยงานจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทุกแห่งทั่วประเทศ โดยยึดภารกิจหลักเป็นตัวตั้งเพื่อให้มีศักยภาพในการนานโยบายรัฐบาลและนโยบายที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านกาลังคนทุกระดับ และทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานที่จาเป็นต่อการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว

 

จุดเน้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์

1. จุดเน้นด้านประชากรกลุ่มเป้าหมาย

             1.1) มุ่งเน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีความเป็นธรรมให้กับประชากรทุกกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้ด้อย ผู้พลาด และผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งนี้

จำแนกประชากรกลุ่มเป้าหมายไว้ ดังนี้

                   (1) จำแนกตามช่วงอายุ มี 3 กลุ่ม ได้แก่

                        1.1) กลุ่มวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับ แต่อยู่นอกระบบโรงเรียน (อายุ 6-14 ปี)

                        1.2) กลุ่มประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย

                              1.2.1 กลุ่มวันแรงงานอายุ 15-39 ปี เป็นกลุ่มวันแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้เป็นกลุ่มแรก

                              1.2.2 กลุ่มวัยแรงงานอายุ 40-59 ปี เป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้รองลงมา

                        1.3) กลุ่มผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย โดยให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้จากมากไปหาน้อยตามลาดับ ดังนี้

                              1.3.1 กลุ่มอายุ 60-69 ปี

                              1.3.2 กลุ่มอายุ 70-79 ปี

                              1.3.3 กลุ่มอายุ 80-89 ปี

                              1.3.4 กลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป

                   (2) จำแนกตามคุณลักษณะเฉพาะทางสังคม ประชากรที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าสู่โอกาสทางการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

                        2.1) กลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจากัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ จำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ 17 กลุ่มย่อย ดังนี้

                              2.1.1 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นกลุ่มที่มีโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป อันเนื่องมาจาก (1) ข้อจากัดทางร่างกาย/จิตใจ/สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้ (2) ข้อจากัดทางด้านฐานะทางเศรษฐกิจ หรือความยากจนหรือ (3) ข้อจากัดด้านการติดต่อสื่อสารอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางภาษา/วัฒนธรรม มี 3 กลุ่มย่อย ได้แก่

                                      (1) กลุ่มผู้พิการ

                                      (2) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพแรงงานนอกระบบ

                                      (3) กลุ่มชาติพันธุ์ (ชนกลุ่มน้อย)

                              2.1.2 กลุ่มผู้พลาดโอกาส เป็นกลุ่มที่พลาดโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเนื่องมาจาก (1) ความไม่สามารถในการที่จะรับการศึกษา/การเยนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีความประสงค์ที่จะรับการศึกษา การเรียนรู้จนจบหลักสูตรหรือระดับชั้นการศึกษาใดๆ ที่ผ่านมา (2) การย้ายถิ่น/เร่ร่อน หรือ (3) เงื่อนไข ข้อจากัดเกี่ยวกับอายุ มี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่

                                      (1) กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่ออกกลางคันจากระดับการศึกษาภาคบังคับ

                                      (2) กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับแต่ไม่ได้เรียนต่อ

                                      (3) กลุ่มทหารกองประจาการที่ยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับ

                                      (4) กลุ่มเด็ก/เยาวชนเร่ร่อน/ไร้บ้าน

                                      (5) กลุ่มเด็ก/เยาวชน/ลูกกรรมกรก่อสร้าง

                                      (6) กลุ่มเด็ก/เยาวชนที่มีความพร้อมแต่ไม่ต้องการรับการศึกษาในระบบปกติ

                                      (7) กลุ่มผู้สูงอายุ

                              2.1.3 กลุ่มผู้ขาดโอกาส เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อันเนื่องมาจาก (1) การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย/การก่อความไม่สงบบริเวณชายแดน (2) การอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือยากลาบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร (3) การมีถิ่นพานักอยู่ในต่างประเทศ (4) การถูกจาคุก คุมขังหรือจากัดบริเวณตามคำพิพากษา หรือ (5) การไม่มีสิทธิภาพในฐานะพลเมืองไทย มี 7 กลุ่มย่อย ได้แก่

                                      (1) กลุ่มประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบในบริเวณชายแดน

                                      (2) กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกลหรือยากลาบากในการคมนาคมติดต่อสื่อสาร

                                      (3) กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ

                                      (4) กลุ่มผู้ต้องขัง

                                      (5) กลุ่มเด็ก/เยาวชนในสถานพินิจ

                                      (6) กลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติ

                                      (7) กลุ่มบุคคลที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์

                        2.2) กลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจากัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ จาแนกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่

                              2.2.1 กลุ่มบุคคลผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือปราชญ์ชาวบ้าน

                              2.2.2 กลุ่มผู้นาชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

                              2.2.3 กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาในระบบโรงเรียนที่สนใจเติมเต็มความรู้

                              2.2.4 กลุ่มประชาชนทั่วไป

 

2. จุดเน้นด้านผู้จัดบริการและภาคีเครือข่าย

             2.1 ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภท คณะกรรมการ กศน.จังหวัด คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการ กศน.ตำบล และครู กศน.ตำบล ทุกคน ได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

             2.2 มีการประสานเชื่อมโยงการทำงานตามโครงสร้างภายในหน่วยงานกับภาคีเครือข่าย ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยมีเอกภาพในเชิงนโยบาย และเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นเป้าหมายความสำเร็จในการทำงาน

             2.3 กศน.ตำบล ทุกแห่งใช้แผนจุลภาคระดับตำบลเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ สภาพทางกายภาพของชุมชน ปัญหา/ความต้องการทางการศึกษาของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย แต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท แหล่งวิทยากรชุมชน (ทุมมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ และทุกการเงิน) เป็นต้น ทั้งนี้ให้มีการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันทุกรอบปีงบประมาณ

 

3. จุดเน้นด้านผลสัมฤทธิ์

             3.1 ผู้สำเร็จหลักสูตรหรือร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลสัมฤทธิ์ที่มีคุณภาพ ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือกิจกรรมการศึกษา/การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และสามารถนาความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง

   3.2 ผู้สำเร็จหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในการดำเนินชีวิตและมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต


ส่วนที่ 3

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น

ความสำเร็จในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน มุ่งที่ผลลัพธ์หรือกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำคัญ มี 10 ตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้

           1. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับการบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละกลุ่มอายุต่อจานวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

           2. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับการบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบกลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจากัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ และกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจากัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ต่อจานวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

           3. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบในพื้นที่ชนบท/และพื้นที่เมืองต่อจานวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

           4. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยแต่ละกลุ่มอายุต่อจานวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

           5. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มที่มีเงื่อนไขข้อจากัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ และกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไขข้อจากัดในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา/การเรียนรู้ต่อจานวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

 6. สัดส่วนประชาชนนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ชนบท/และพื้นที่เมืองต่อจานวนผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งหมด และจำแนกรายประเภทกิจกรรม

 7. สัดส่วนผู้เรียน/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตร/กิจกรรมที่จบหลักสูตรแต่ละระดับหรือแต่ละกิจกรรมต่อจานวนผู้ลงทะเบียนเรียน/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตร หรือแต่ละกิจกรรมทั้งหมด และจำแนกรายหลักสูตรหรือรายกิจกรรม

           8. ร้อยละของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคะแนนผลการสอบแต่ละภาคเรียนในวิชาคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์/ภาษาอังกฤษ/ภาษาไทย ร้อยละ 55 ขึ้นไปของคะแนนเต็มแต่ละวิชาดังกล่าว

           9. ร้อยละของผู้จบหลักสูตรการศึกษา/การฝึกอบรมทางการศึกษานอกระบบแต่ละหลักสูตรที่สามารถนาความรู้ หรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้นๆ

          10. ร้อยละของผู้รับบริการ/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบ/การศึกษาตามอัธยาศัยที่ยึดถือค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

 

ส่วนที่ 4

ปัจจัยหลักแหล่งความสำเร็จ

 

          1. การยึดหลักวิชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญาคิดเป็น หลักธรรมาภิบาล และผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปทั้งภายในองค์กร ระหว่างองค์กร และการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย

          2. การใช้ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ในการดำเนินงาน ทั้งที่ยึดพื้นที่ ยึดสภาวะแวดล้อม ยึดกลุ่มเป้าหมาย ยึดประเด็นปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือประเด็นการพัฒนา ยึดความสำเร็จ และยึดนโยบายเป็นฐาน

          3. การเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งเครือข่ายเชิงพื้นที่ เครือข่ายเชิงภารกิจและการสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือและความยั่งยืนในการเป็นภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          4. การใช้ กศน.ตำบล เป็นฐานและสถานีปลายทาง ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติงานตลอดเวลา

          5. การใช้กลุ่ม/โซนเป็นกลไกขับเคลื่อนการบริหารนโยบายในระดับพื้นที่ โดยมีประธานคณะกรรมการบริหารในระดับกลุ่ม/โซนทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยเลขาธิการ กศน. โดยมีการกระจายอำนาจ/มอบอำนาจ เพื่อให้สามารถบริหารนโยบายในระดับพื้นที่ ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

          6. การมีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มตามจุดเน้น มาใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. การมีระบบการนิเทศกำกับติดตามและรายงานผล การปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณที่สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          8. การมีกลไก/ระบบที่สามารถเชื่อมโยงการทำงาน กับส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการ เช่น ระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วนหรือนโยบายเฉพาะที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          9. การมีหน่วยงาน/สถานศึกษารับผิดชอบตัวชี้วัดความสำเร็จ ตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นที่ตรงตามภารกิจอย่างชัดเจนที่เชื่อมโยงการกำกับติดตามและรายงานผลตัวชี้วัดทั้งส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

 จำนวนนักศึกษากศน.ตำบลคีรีวง
ประจำภาคเรียน 2/2557

                                                         -ระดับประถมศึกษา                  5    คน
                                                         -ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น       17   คน
                                                         -ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   43   คน
                                                          รวมทั้งสิ้น                             65   คน




เข้าชม : 176
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลายพระยา
 
95  ตำบลปลายพระยา  อำเภอปลายพระยา  จังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ 0-75687-049
โทรสาร  0-75687236  
plaipaya@krabi.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี