[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
 
 
 

 

 

ประวัติและข้อมูลพื้นฐานของตำบลทับปริก

ประวัติความเป็นมา

เมื่อประมาณพ.ศ.2390 มีบุคคลกลุ่มหนึ่งจากเมืองนครศรีธรรมราชนำฝูงควาย(กระบือ)อพยพเดินทางเพื่อหาแหล่งปศุสัตว์จนมาถึงบริเวณลำห้วยซึ่งมีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อว่าต้นปริก เป็นจำนวนมากรวมถึงมีหญ้าและน้ำอุดมสมบูรณ์จึงได้ปลูกทับ (เป็นลักษณะที่พักชั่วคราว)ขึ้นโดยไม่ได้ต้อนฝูงควายอพยพไปยังที่อื่นๆ อีกจึงเกิดเป็นชุมชนเล็กๆขึ้นชื่อว่า “บ้านทับปริก” ประมาณ พ.ศ.2456 ได้จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลโดยมีหมื่นอาจน์เป็นกำนันคนแรกต่อมา พ.ศ. 2539 ได้ยกฐานะเป็น อบต.ประกอบด้วย หมู่บ้าน คือ

 หมู่บ้านในช่อง                   หมู่ บ้านหนองขอน

หมู่ บ้านหนองพูด               หมู่ บ้านห้วยโต้

หมู่ บ้านทับปริก                 หมู่ บ้านคลองใหญ่

หมู่ บ้านวังหิน                   หมู่ บ้านท่าคลอง

 สภาพทั่วไปของตำบล

 ที่ตั้ง

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับปริกตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอเมืองกระบี่ตั้งอยู่เลขที่ 171 หมู่ที่ 6 ตำบลทับปริกอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกระบี่ประมาณ11 กิโลเมตร

เนื้อที่
ตำบลทับปริกมีเนื้อที่ประมาณ 86 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 53,750 ไร่

เขตการปกครองและจำนวนประชากร
ตำบลทับปริกประกอบด้วยหมู่บ้าน 8 หมู่บ้านโดยแยกพื้นที่การปกครองเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อบ้าน

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน

ชื่อผู้นำ

ชาย

หญิง

รวม

 

1.

บ้านในช่อง

431

454

885

316

นางจรรยา พรรณราย

2.

บ้านหนองขอน

400

405

805

257

นายบุญฤกษ์ เต้บำรุง

3.

บ้านหนองพูด

442

460

902

254

นายสมใจ บุญรอด

4.

บ้านห้วยโต้

563

620

1,165

306

นายวิชัย  เพ็ชรรักษ์

5.

บ้านทับปริก

927

945

1,872

515

นายนิมิต ศรีจันทร์

6.

บ้านคลองใหญ่

650

683

1,333

401

นายนิยม เกิดสุข

7.

บ้านวังหิน

351

331

682

218

นายศุภชัย เกิดสุข

8.

บ้านท่าคลอง

757

849

1,606

916

นายประยูร  ลิ้มคำ

รวม

4,521

4,729

9,250

3,183

3,182

 

ประชากรทั้งสิ้น 9,250 คน แยกเป็นชาย 4,521 คน หญิง 4,729 คนมีความหนาแน่นเฉลี่ย 97 คน/ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงเชิงหุบเขาซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อน ทางด้านทิศเหนืออยู่ในเขตป่าถาวรตามมติ ครม. (ป่าพนมเบญจา)ทางด้านทิศตะวันตกอยู่ในเขตป่าไม้ถาวร ตามมติครม.ป่าในช่องตะวันออก)ส่วนด้านตะวันออกและทิศใต้อยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติครม.


อาณาเขตตำบล

ทิศเหนือติดต่อกับตำบลหน้าเขาอำเภอเขาพนมและตำบลคลองหินอำเภออ่าวลึกทิศใต้ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองกระบี่ (ตำบลกระบี่ใหญ่)จังหวัดกระบี่ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลกระบี่น้อยอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลไสไทย,ตำบลเขาครามเขาทองจังหวัดกระบี่

ลักษณะภูมิอากาศ
องค์การบริหารส่วนตำบลทับปริกอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี ประกอบด้วย 2 ฤดูคือ ฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน และฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคมจะมีฝนตกชุกในเดือนมิถุนายน – ตุลาคม

การเดินทาง
จากสามแยกบ้านตลาดเก่า จังหวัดกระบี่ ไปตามถนนศรีตรังระยะทาง 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางตลาดเก่า- บ้านห้วยโต้ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับปริก

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

อาชีพที่สำคัญของตำบลทับปริก คือเกษตรกรรมปศุสัตว์รับจ้างและค้าขาย
เกษตรกรรมโดยทั่วไปพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือยางพาราไม้ผลปาล์มน้ำมัน
ปศุสัตว์ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายที่นิยมเลี้ยงได้แก่สุกรไก่

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน   มี  9  กลุ่ม  คือ

1.กลุ่มผสมปุ๋ยหมักชีวภาพ
2. กลุ่มลานเทปาล์มน้ำมัน
3. กลุ่มผสมปุ๋ยเคมี
4. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
5. กลุ่มแม่บ้าน
6. กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
7. กองทุนหมู่บ้าน
8. กลุ่มไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน

 

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับปริก


ปั้มน้ำมันและก๊าช                       1แห่ง
โรงงานอุตสาหกรรม                     4แห่ง
ตลาดนัด                                   3แห่ง
กลุ่มอาชีพ                                 13แห่ง
กลุ่มออมทรัพย์                           แห่ง
ร้านค้าต่างๆ                               134 แห่ง
ร้านอาหาร                                5 แห่ง
สถานีวิทยุชุมชน                          1 แห่ง

 

สภาพทางสังคม/ศาสนา
การศึกษา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                       3 แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษา                   4 แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน     1 แห่ง
โรงเรียนเอกชน                           1 แห่ง
วัดและสำนักสงฆ์
วัดทับปริก
วัดคลองใหญ่
วัดห้วยโต้
วัดในช่อง
วัดถ้ำเพชร
สำนักสงฆ์ถ้ำเทพประทาน
สาธารณสุข
สถานีอนามัยประจำตำบล              2 แห่ง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
จุดตรวจประจำตำบล 1 แห่ง

 

การบริการพื้นฐาน

การคมนาคม
   -ถนนลาดยาง 5 สาย
   -ถนนคอนกรีต 10 สาย
   -ถนนลูกรัง 13 สาย
การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (เอกชน) 1 แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ 5 เลขหมาย
การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าครบทุกบ้าน 8 หมู่บ้าน
จำนวนประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าคิดเป็น ร้อยละ 94 ของครัวเรือนทั้งหมด
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ฝาย 2 แห่ง
บ่อน้ำตื้น 11 แห่ง
บ่อบาดาล 5 แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้
แหล่งน้ำธรรมชาติ (น้ำตก)

แหล่งท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา น้ำตกห้วยโต้ 1 แห่ง

แหล่งถ้ำ (ภูเขา) 3 แห่ง

 

 

 

 



เข้าชม : 4378