[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
     
   
     
 

การอ่านเพื่อมุ่งพัฒนาสู่อาเซียน

 
     
 

      “การอ่านเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากระบวนการคิด และภูมิปัญญา นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพคน สังคมและประเทศ แต่นิสัยคนไทยยังไม่ค่อยรักการอ่าน ซึ่งผลสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย พบว่าการหนังสือเฉลี่ยเพียงปีละ 5 เล่ม ต่อคน นับว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเช่น ประเทศมาเลเซีย มีสถิติการถ่านหนังสือปีละ 40 เล่มต่อคน หรือประเทศสิงคโปร์ เฉลี่ยปีละ 70 เล่มต่อคน แม้แต่เวียดนาม ที่มีการอ่านหนังสือปีละ 60 เล่มต่อคน (ข้อมูลจากการดูรายการ ช่วยคิดช่วยทำ ทางช่อง 3 วันที่ 30 มี.ค. 55)

     ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังขาดนิสัยรักการอ่านเป็นอย่างมาก แต่นิสัยคนไทยมักมีค่านิยมของการอ่าน เพื่อความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน แต่ไม่ค่อยอ่านหนังสือประเภทที่จะสามารถสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ หรือแม้กระทั่งการอ่านภาษาอังกฤษ คนไทยก็ยังไม่สนใจอ่าน ซึ่งหนังสือที่คนมักชอบอ่าน เช่น เรื่องย่อละคร หนังสือพิมพ์กีฬา หรือค่านิยมของเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น เล่น Internet , facebook เป็นต้น จนทำให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ มี High Relationship Technology แต่ Low Relationship persons ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลให้คนไทยที่เคยอยู่ในสังคมแบบมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันเริ่มจะจางหายไปจากสังคมลงไปเรื่อยๆในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน (ASEAN) ในปี 2558 ในฐานะห้องสมุดเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทและมีความสำคัญในการส่งเสริมและให้บริการการเรียนรู้ สนับสนุนประชาชนทางด้านการศึกษา ช่วยพัฒนาประชาชนให้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจะต้องมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนห้องสมุดให้ทันกับยุคสมัย ก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึง การพัฒนาบุคลากรห้องสมุดเพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งคนเป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นผู้ปฏิบัติงาน ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของ ประชากร การให้บริการวิชาการแก่มหาวิทยาลัย และองค์กรอื่น ๆ เพื่อให้สามารถที่จะแสวงหาความรู้ และข้อมูลสารสนเทศ ในการสร้างองค์ความรู้และผลิตบุคลากร ที่มีคุณภาพ ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย

             ดังนั้นห้องสมุดควรเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้บุคลากร มีใจรักการอ่าน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สังคมการเรียนรู้ในองค์กร ผ่านกระบวนการส่งเสริมให้เกิดการรักการอ่าน การแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของการยกระดับกระบวนการคิดในการพัฒนาตนเอง ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดจำเป็นต้องเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่งรากฐานของการอ่าน อันนำไปสู่ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้อย่างยั่งยืนซึ่งกิจกรรมส่งเสริมการอ่านก็เป็นโครงการหนึ่งที่อาเซียนให้ความสำคัญ ด้วยการพยายามร่วมมือกันมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1967 ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ และการสร้างความเข้าใจความเป็นประชาคมอาเซียน ด้วยการนำเทคโนโลยีสื่อสารมาปรับใช้ในกิจกรรมการอ่าน เช่น ประเทศสิงคโปร์ส่งเสริมการอ่านของพลเมืองในประเทศโดยให้สามารถดาวน์โหลดเรื่องสั้นอ่านบนมือถือได้ ซึ่งสะดวกและรวดเร็ว โดยจะเน้นจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อให้พลเมือง ในทุกกลุ่มอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น คนขับแท็กซี่ ช่างผม ครู มาตั้งกลุ่มการอ่าน หรือชมรมการอ่าน ในหมู่ที่ทำอาชีพเดียวกัน และเน้นการว่างแผนพัฒนาระบบห้องสมุดให้เป็นห้องสมุด ดิจิตอลหรือประเทศสมาชิกอื่น ๆ ก็ให้ความสำคัญกับกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมการอ่าน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม ลาว

               จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้เห็นว่าห้องสมุด เกือบทุกประเทศในประเทศสมาชิกาประชาคมอาเซียนให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยมีความเชื่อมั่นว่าการอ่านจะทำให้คนมีคุณภาพ มีความเท่าเทียมกัน ช่วยยกระดับชีวิตของคนอ่าน รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และสร้างชาติบ้านเมืองให้พัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ดังนั้นห้องสมุดเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาประชาชนคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน โดยจะต้องเริ่มที่การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดก่อน ด้วยการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ นโยบายของห้องสมุดโดยมีการกำหนดเป้าหมาย เช่น การส่งเสริมพฤติกรรมการอ่าน ส่งเสริมความสนใจเฉพาะด้าน ความเท่าทันเรื่องข้อมูลข่าวสาร การ ปลูกจิตสำนึกและชี้ให้เห็นความสำคัญของการอ่าน และยกระดับไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ของคนในองค์กร และขยายไปถึงชุมชนต่าง ๆ หรือ การพัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดดิจิตอล ที่ประชาชน เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เป็นการอำนวยความสะดวกให้คนเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นซึ่งกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อเตรียมพร้อมรับความเป็นประชาคมอาเซียนในความคิดเห็นของผู้เขียน เช่น
   1.ด้านข้อมูลพื้นฐานประเทศอาเซียน เช่น การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี ศิลปะ ระบบการศึกษา เทคโนโลยี ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจัดโครงการส่งเสริมการอ่าน ด้วยการให้แต่ละคนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนในประเด็นดังกล่าว แล้วนำมาแลกเปลี่ยนให้เพื่อนร่วมงานฟังโดยอาศัยเวทีการประชุมประจำสัปดาห์ วันละ 15 นาที ซึ่งเป็นการฝึกให้บุคลากรห้องสมุดได้กล้าแสดงออก มีทักษะการนำเสนอ แสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจทำเป็นทีม (2-3 คน)เพื่อจะได้ความคิดที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
       2.ด้านภาษาและการสื่อสาร ควรศึกษาเรื่อง ภาษาถิ่น คำทักทายของแต่ละประเทศ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน
       3.สำหรับการอ่านภาษาอังกฤษ ขั้นแรกทุกคนควรจะฝึกตนเองด้วยการหัดอ่านภาษาอังกฤษ จากหนังสือพิมพ์ หรือ หนังสือที่เราสนใจ ที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบ ซึ่งเทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษให้เข้าใจได้เร็วขึ้นนั้น เราควรมีความรู้เรื่องนั้น ๆ ทีเป็นภาษาไทยก่อนแล้วเราจึงจะสามารถสรุปความหรือทำความเข้าใจได้เร็ว ซึ่งการอ่านภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องแปลทุกตัวอักษร ฝึกอ่านทุกๆ วัน ๆ ละประโยค 2 ประโยค แล้วจะได้ไปเองค่ะ
     4.การสื่อสารภาษาอังกฤษ ปัจจุบันมีหนังสือมากมายที่เขียนประโยคภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสาร เราควรอ่านอย่างสม่ำเสมอ แล้วจะเกิดการเรียนรู้ไปเอง(เทคนิคที่ผู้เขียนปฏิบัติ)

ห้องสมุดเป็นองค์กรสำคัญในการเป็นองค์กรที่เปิดประตูสู่โลกแห่งการสร้างประสบการณ์ด้านการอ่าน ของคนไทย ซึ่งรากฐานของการอ่าน อันนำไปสู่ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้อย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือนโยบายในการส่งเสริมการอ่านทั้งบุคลากรห้องสมุดและขยายไปสู่สังคมภายนอกเพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับผู้อ่านกลุ่มต่าง ๆ ได้มากขึ้น

 
     
   
 

บ้านหนังสือกศน.ตำบลตลิ่งชัน

 

 
   

ที่

ชื่อบ้าน

ที่ตั้ง

ผู้รับผิดชอบ

1

บ้านปากหรา

ศาลาประชาคม หมู่ที่ 5

นายสามารถ  มาศโอสถ

2

บ้านตลิ่งชัน

บ้านผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน)

นายบุญนำ  บ่อหนา

3

บ้านแหลมหิน

ท่าเทียบเรือแหลมหิน หมู่ที่ 1

นายสุรศักดิ์    เวลาดี

 

 



เข้าชม : 199
 
 
กศน.ตำบลตลิ่งชัน ตำบลตลิ่งชัน  อำเภอเหนือคลอง  จังหวัดกระบี่ Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี