เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคน หัวไม่ดี แต่เรียนเก่ง? ตัวเราเองก็พอฟัดพอเหวี่ยงกะเพื่อนคนนี้ แต่เขามักจะได้คะแนนสอบ หรือเกรดดีกว่าเราเสมอๆ มันมีความลับอะไรซ่อนอยู่ในกอไผ่? วันนี้นายติวฟรีจะมาแฉให้หมดเปลือกเลยว่า ความลับนั้นคืออะไร ด้วยเทคนิคสั้นๆ 7 ข้อนี้ เกิดมาหัวไม่ดีก็สามารถเรียนเก่งได้ หากเราปฎิบัติตามเคล็ดลับสั้นๆ 7 วิธีนี้ เรียนเก่งได้ไม่ยาก เกรดดีๆอยู่แค่เอื้อมแล้ว
1. นอนให้เพียงพอ
เป็นการเริ่มต้นข้อแรกสำหรับวิธีเรียนเก่งที่เรานำมาแนะนำกันวันนี้ เราต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง/วัน ดังนั้นเราจึงต้องรู้ว่าหากเราต้องตื่นตอนเช้าต้องเข้าโมงไม่เกินกี่โมง แต่ทั่วๆ ไปโดยเฉลี่ยแล้วจะไม่เกิน 5 ทุ่ม เพราะหากเราพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้สมองไม่โลดแล่นและหากเราเข้านอนและตื่นตรงเวลาทุกวันจะทำให้เกิดความเคยชินและไม่อ่อนเพลีย สมองสามารถทำงานได้เต็มที่ ส่วนอีกอย่างก็สำคัญมาก ๆ ก็คือ ต้องทานอาหารเช้าทุกวัน เพื่อร่างกายจะได้มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน
2. การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในห้องเรียน
แนะนำว่าใหเลือกที่นั่งด้านหน้าและใกล้คุณครูให้มากที่สุดเป็นดีเพราะหากเรานั่งด้านหลังอาจจะโดนเพื่อน ๆชวนคุย รบกวนสมาธิได้ หรือ หาก นั่งข้างหน้าต่าง หรือ ข้างประตู อาจทำให้เราสนใจสิ่งต่าง ๆด้านนอกมากกว่าบทเรียนในห้องเรียน และหากมีข้อสงสัย “อย่าอาย” ที่จะถามอาจารย์ เพื่อที่จะได้คำตอบในสิ่งที่เราไม่รู้ได้อย่างถูกต้อง
3. ตาดู หูฟัง มือเขียน
กล่าวคืออันดับแรกเราต้องมีสมาธิในการฟังเสียก่อน หลังจากนั้นก็ทำความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์พูด เสร็จแล้วก็จดสิ่งที่เราเข้าใจลงไปในสมุด กันลืม แต่ไม่ควรฟังไปเขียนไป เพราะเราจะไม่มีเวลาทำความเข้าใจ และไม่รู้ว่าไอ้สิ่งที่เราจดมานั้นหมายความว่าอย่างไรวิธีเรียนเก่งวิธีนี้ ได้ผลแน่นอน รับรอง
4. การเตรียมตัวสำหรับชั่วโมงต่อไป
เป็นวิธีเรียนเก่งที่ได้มาจากเจ้าของเกียตนิยมอันดับหนึ่งมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศ อันดับแรก ในจดโน้ตหัวข้อที่เรายังไม่เข้าใจในคาบนี้เก็บไว้ถามอาจารย์ในคาบหน้า เสร็จแล้วเขียนเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ว่าวันนี้เรียนอะไรไปบ้างเผื่อที่จะสามารถกลับไปทบทวนบทเรียนที่เรียนมาในวันนี้ที่บ้านได้ และต้องตัดความไม่สบายใจ หรือ เรื่องที่ค้างคาใจในชั่วโมงก่อนหน้านี้ให้หมด
5.จุดประสงค์ของหลักสูตร
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าหลักสูตรในชั่วเรียนนั้น ๆ มีจุดประสงค์เพื่ออะไรเราจะได้รู้ว่าเราควรเรียนอะไร เพื่อนบรรลุจุดประสงค์ของหลักสูตรนั้น ๆ
6. จับประเด็น
ควรสังเกตว่าอาจารย์เน้น หรือย้ำคำไหนเป็นพิเศษ ตรงไหนที่อาจารย์ย้ำมากกว่าหนึ่งรอบ และหัวข้อไหนที่อาจารย์บอกว่าจะออกสอบให้บันทึกไว้เพื่อจะได้กลับเป็นทบทวนเป็นพิเศษและอย่าลืมสังเกตแบบฝึกหัดที่อาจารย์ให้มาทำที่บ้าน เพราะนั่นก็คือแนวข้อสอบเช่นกัน
7. อย่ามีอคติกับผู้สอน
เพราะจะทำให้ เราไม่อยากเรียนวิชานั้น ๆ จะรู้สึกว่าการเรียนในชั่วโมงนั้นน่าเบื่อหน่าย ซึ่งจะทำให้มีผลต่อคะแน และความเข้าใจของเราเอง เราควรปรับใจเพื่อทำให้การเรียนของเราออกมาสมบูรณ์ที่สุด
เข้าชม : 1316
|