[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
                                                                   
 

ประวัติตำบลปกาสัย


ส่วนที่ 1

ตำบลปกาสัย

คำขวัญตำบลปกาสัย

        ปกาสัยเมืองเก่าจังหวัดกระบี่ บารมีหลวงปู่สิงห์ อ้างอิงประวัติศาสตร์ แหล่งประกาศอารธรรม เลิศล้ำเหล่าศิลปิน ท้องถิ่นแห่งภูมิปัญญา

วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

        ท้องถิ่นพัฒนาโดยทั่วถึงและเป็นธรรม สังคมมีความปลอดภัยสงบสุขประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ประเพณีวัฒนธรรมรุ่งเรืองสืบไป

พันธกิจองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ ประกอบด้วย ถนน สะพาน                              อาคาร ศาลา สิ่งสาธารณูปโภค

                   2.พัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

3.พัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน

4.ส่งเสริมสุขภาพอนามัย การออกกำลังกาย และการกีฬา

5.การป้องกันและควบคุมโรคต่างๆ

6.ส่งเสริมด้านสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์

7.รณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

8.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานและการเมืองนำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้มี                   ความเข้มแข็ง

9.พัฒนาบุคลากร ระบบงาน เครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ในการปฏิบัติงานให้มี                      ประสิทธิภาพ

10.ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม

11.อนุรักษ์  ฟื้นฟู  ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

                   12. การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว

 

 

1. สภาพทั่วไป

1.1  ที่ตั้งและอาณาเขต

          องค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเหนือคลองทางทิศตะวันออก ประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 54 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 33,750 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้

          ทิศเหนือ         จดตำบลโคกยาง  อำเภอเหนือคลอง

          ทิศใต้            จดตำบลคลองขนาน  อำเภอเหนือคลอง

          ทิศตะวันออก   จดตำบลโคกยาง  อำเภอเหนือคลอง และตำบลเพหลา 

                             อำเภอคลองท่อม

          ทิศตะวันตก     จดตำบลเหนือคลอง  อำเภอเหนือคลอง

1.2 ประมาณ  54  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  33,750 ไร่

1.3 ลักษณะภูมิประเทศ

          ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบค่อนข้างสูง ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของตำบล ส่วนที่ราบต่ำอยู่บริเวณทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออกและทางทิศใต้เหมาะแก่การทำการเกษตร

1.4 ลักษณะภูมิอากาศ

        ภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปีและมี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

2. สภาพทางสังคม

2.1  ด้านประชากร

          ประชากรทั้งหมด 7,767 คน ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ 140.11 คน/ตร.กม.

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลประชากรและครัวเรือน แยกชาย – หญิง รายหมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

 

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านปกาสัย

 

212

236

448

2

บ้านทุ่งประสาน

 

430

465

895

3

บ้านหนองผักฉีด

 

245

234

479

4

บ้านทุ่งสาคร

 

540

535

1075

5

บ้านห้วยไทร

 

409

402

811

6

บ้านคลองเสียด

 

588

634

1231

7

บ้านควนม่วง

 

372

372

744

8

บ้านคลองเสียด(บ้านสีประสาน)

 

406

472

878

9

บ้านเกาะไทร

 

578

628

1206

รวม

 

3780

3987

7767

                                                                         ข้อมูล ณ วันที่ มีนาคม 2558

 

         

ภาพแผนที่ ตำบลปกาสัย

          ในเขตตำบลปกาสัยมีสถานศึกษาสังกัด สพฐ. 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งสาคร, โรงเรียนบ้านทุ่งประสาน, โรงเรียนบ้านเกาะไทร, โรงเรียนวัดธรรมาวุธสรณาราม และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวม 5 แห่ง      2.3. สถาบันและองค์การศาสนา

     -  วัด/สำนักสงฆ์           3 แห่ง

     -  มัสยิด                             1 แห่ง

     -  ศูนย์วัฒนธรรมประจำตำบล 1 แห่ง

     -  ศาลเจ้า 10 แห่ง

     -  ประชากรร้อยละ 94 นับถือศาสนาพุทธ และร้อยละ 6 นับถือศาสนาอิสลาม คริสต์และ        อื่นๆ

2.4. สาธารณสุข

     -  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 2 แห่ง

     -  กองทุนยา                                  9 แห่ง

     -  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ  100

2.5. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

     -  สถานีตำรวจ            -  แห่ง

     -  จุดตรวจตำบล          1 แห่ง

 

3. สภาพเศรษฐกิจ

          การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลปกาสัย ประกอบอาชีพทำสวน ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว และอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้างทั่วไป ค้าขาย รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท ประมง เป็นต้น

4. การบริการพื้นฐาน

4.1 การคมนาคม

          ใช้ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 เริ่มต้นมาจากตัวจังหวัดกระบี่ ผ่านอำเภอเหนือคลอง ผ่านตำบลเหนือคลอง ส่วนการโดยสารประจำทางรับจ้างวิ่งระหว่างกระบี่-เหนือคลอง-บางผึ้ง, กระบี่-เหนือคลอง, กระบี่-คลองท่อม-ลำทับ

 

 

4.2 การโทรคมนาคม

          โทรศัพท์ หมู่ที่ 1, 2, 3,4,5,6,7,8,9

4.3 การไฟฟ้า

          ตำบลปกาสัย ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน ต้องขยายเขตระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะบางพื้นที่

4.4  แหล่งน้ำธรรมชาติ

          ลำน้ำ, ลำห้วย             5 สาย

4.5  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

     -  ฝาย                     1 แห่ง

     -  บ่อน้ำตื้น             138 แห่ง

     -  บ่อโยก                  8 แห่ง

     -  สระน้ำ                  8 แห่ง

     -  บ่อบาดาล               8แห่ง

     -  ประปา                  7 แห่ง

 

5. ศักยภาพในตำบล

5.1.  ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล

       (1) ฝ่ายบริหาร จำนวน  4 คน

            นายสมโภชน์  บุตรเผียน  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

              นายศุภรัตน์  ทองทิพย์    รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

              นายวีระศักดิ์  เอ่งฉ้วน    รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

              นายสำเนียง  ดวงจิตร     เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

 

 

 

 

 

 

        (2)สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย จำนวน  18  คน

              นายชลิต  สุขโข           ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

              นายกิตติศักดิ์  รักขวัญ    รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

              นายฐปกร  เองหิ้น         เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย

              นายชลิต  สุขโข           สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 1

              นายณัฐพล  แก้วอ่อน     สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 1

              นายวิรัช  นกแก้ว                   สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 2

              นายนวพล  ถิ่นปกาสัย    สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 2

              นายประสาน  สังข์คำ     สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 3

              นายพิศาล  ศรีงาม        สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 3

              นายวิชาญ  ชุมศรี         สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 4

              นายวิชัย  นักจร           สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 4

              นายภัยรัตน์  ราชพิบูลย์   สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 5

              นายวันชิต  แก้วเสน       สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 5

              นางรุ่งนภา  ห่อกุล        สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 6

              นายทรงยุทธ  ไทรพิสุทธิ์  สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 6

              นายกิตติศักดิ์  รักขวัญ    สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 7

              นายภิญโญ  เปียกบุตร    สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 7

              นางอุบล  ไชยศรี          สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 8

              นายวุฒิศักดิ์  ผิวดี         สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 8

              นายสมบูรณ์  ไกรบุตร     สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 9        

              นายชาตรี  ชูมณี           สมาชิก สภา อบต. หมู่ที่ 9

 

     (3)จำนวนบุคลากรทั้งหมด 35 คน ดังนี้

              - ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน

              - รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน

              - สำนักงานปลัด จำนวน 11 คน ประกอบด้วย พนักงานส่วนตำบล 7 คน พนักงานจ้างตาม                ภารกิจ 3 คน พนักงานจ้างทั่วไป 1 คน

              - กองคลังจำนวน 8 คน ประกอบด้วย พนักงานส่วนตำบล 4 คน ลูกจ้างประจำ 1คน                       และพนักงานจ้าง 3 คน

              -  กองช่าง จำนวน 11 คน ประกอบด้วย พนักงานส่วนตำบล 3 คน พนักงานจ้าง 5 คน                         พนักงานจ้างทั่วไป 3 คน

-  ส่วนการศึกษา จำนวน 5 คน ประกอบด้วย พนักงานส่วนตำบล 3 คน พนักงานครู 2 คน

(4)ระดับการศึกษาของบุคลากร

-  มัธยม/อาชีวศึกษา        10    คน     

-  ปริญญาตรี                22    คน  

ปริญญาโท                 4     คน

 

5.1.  ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่

        (1) การรวมกลุ่มของประชาชน          

                    -  กลุ่มอาชีพ               20  กลุ่ม

                    -  กลุ่มออมทรัพย์             8  กลุ่ม

        (2)  มวลชนจัดตั้ง

                    -  ลูกเสือชาวบ้าน         238  คน

                    -  อปพร.                     53  คน

                    -  อสม.                    119  คน

                    - ชมรมผู้สูงอายุ            1 ชมรม

(6) ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว

              มีทรัพยากรธรรมชาติ  ได้แก่  ป่าไม้,  ป่าชายเลน,หอยหวานบริเวณเกาะแก้วและเกาะหม้อ  หมู่ที่4 บ้านทุ่งสาคร

                   แหล่งท่องเที่ยว  

                        -หาดหอยหวาน (หาดเกาะหม้อ)

                             - กราบนมัสการหลวงปู่สิงห์ วัดปกาสัย

                             - นมัสการ สรงน้ำ พระพุทธรูปหยกโบราณ (หลวงพ่อศิลา) วัดธรรมาวุธ                     สรณาราม (วัดคลองเสียด)

                             ประเพณีวัฒนธรรม

              -ประเพณีวันสารทเดือนสิบ

              -เทศกาลถือศีลอด  (รอมมะฎอน)

              -ประเพณีถือศีลกินเจ

              -ประเพณีวันสงกรานต์/วันผู้สูงอายุ

              -การแข่งขันกีฬาประเพณีประจำปี

              -ประเพณีลอยกระทง

              -งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่

              -ประเพณีทอดกฐิน- ผ้าป่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่  2

นโยบายการพัฒนา

1. นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น

          1.1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

1.       ก่อสร้าง ปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐาน  เพื่อความปลอดภัยในการสัญจรและความสะดวก

รวดเร็วในการขนถ่ายผลิตผลทางการเกษตร

2.       ขยายเขตไฟฟ้าให้มีใช้ทุกครัวเรือน  รวมทั้งการติดตั้งไฟฟ้าตามสถานที่สาธารณะ

3.       ปรับปรุงแหล่งน้ำสาธารณะ สระน้ำ ขุดบ่อน้ำตื้น รวมถึงการจัดให้มีน้ำประปา เพื่อการ

อุปโภคบริโภคให้เพียงพอ

4.       ปรับปรุงและจัดให้มีอาคาร  สถานที่สาธารณะให้เพียงพอและมีคุณภาพ

1.2. ด้านการพัฒนาสังคม

1.       สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนและผู้มาเยือนโดยการประสานงาน

                   กับสถานีตำรวจภูธรเหนือคลอง ผู้นำท้องถิ่น  อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  เป็นต้น

2.       จัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความปลอดภัย

3.       ต่อต้านยาเสพติดโดยการรณรงค์รวมทั้งจัดการแข่งขันกีฬาเพื่อให้เยาวชนและประชาชนร่วมกิจกรรม

4.       เสริมสร้างสุขภาพของประชาชนให้แข็งแรง โดยการประสานงานร่วมกับสถานีอนามัย

                   อาสาสมัครหมู่บ้าน และสถานศึกษา

5.       ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ  ส่งเสริมงานด้านสาธารณสุข

6.       ส่งเสริมการเล่นกีฬา  การออกกำลังกาย  และการแข่งขันกีฬาทุกประเภท

7.       ให้การสงเคราะห์เด็ก คนชรา  คนพิการและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองและได้รับบริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

8.       ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถบริหารจัดการด้วยตนเอง

 

1.3.ด้านสิ่งแวดล้อม

1.       ส่งเสริมให้มีการจัดสถานที่พักอาศัยสถานที่สาธารณะรวมถึงสภาพแวดล้อมให้สะอาดและเป็นระเบียบ

2.       จัดให้มีการบริการการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพช่วยลดมลพิษทางอากาศ

3.       รณรงค์แก้ปัญหาภาวะแวดล้อม

 

1.4.ด้านการศึกษา

          สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาทั้งระดับก่อนวัยเรียน  อนุบาล  ประถมศึกษา  และการศึกษานอกระบบ

 

 

1.5. ด้านศาสนาและวัฒนธรรม

1.       ส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น และ

                   เผยแพร่  รักษา  สืบทอดวัฒนธรรม  ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติสืบไป

2.        ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาทุกศาสนา

 

1.6. ด้านการบริหาร

1.       ป้องกันและปราบปรามการทุจริต  เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม  การบริหารงานมีความ

โปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้

2.       เน้นการให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว  เท่าเทียมและทั่วถึง

3.       สร้างเสริมความสามัคคีและสมานฉันท์ของคนในตำบล

4.       สนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มและองค์กรต่างๆให้มีบทบาทในการบริหารมากขึ้น

 

2.  ยุทธศาสตร์การพัฒนา/แนวทางการพัฒนา

2.1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1.  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2.  ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

3.  ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

4.  ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.  ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว

2.2. แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น

                1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ ประกอบด้วย ถนน สะพาน                               อาคาร ศาลา สิ่งสาธารณูปโภค

                   2.พัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

3.พัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน

4.ส่งเสริมสุขภาพอนามัย การออกกำลังกาย และการกีฬา

5.การป้องกันและควบคุมโรคต่างๆ

6.ส่งเสริมด้านสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์

7.รณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

8.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานและการเมืองนำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้มี                   ความเข้มแข็ง

9.พัฒนาบุคลากร ระบบงาน เครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ในการปฏิบัติงานให้มี                      ประสิทธิภาพ

 

10.ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม

11.อนุรักษ์  ฟื้นฟู  ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                   12. การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

\

ส่วนที่ 3

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหา/ความต้องการ

วิเคราะห์ศักยภาพตำบล (SWOT)

1. จุดแข็ง (STRENGTH-S)

        - อบต.ปกาสัยมีเขตติดต่อกับ อบต.โคกยาง อบต.คลองขนาน อบต.เหนือคลอง ทำให้มีการกระจายความเจริญจากตำบลสู่หมู่บ้านใกล้เคียง

          -วิถีชีวิตชุมชนเป็นแบบเรียบง่ายและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          -ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพที่มั่นคง โดยเฉพาะการทำสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน

          -มีหน่วยงานราชการ รัฐวิสหกิจ เอกชน ให้การสนับสนุนและพัฒนาในพื้นที่

          -เกษตรกรมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรของแต่ละหมู่บ้าน และกลุ่มอาชีพแต่ละหน่วยงาน

          -มีสถานที่ท่องเที่ยวอนุรักษ์และศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน

          -มีแหล่งเรียนรู้ทาง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. จุดอ่อน (WEAKNESS-W)

          -พืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำในขณะที่ต้นทุนสูง

          -พื้นที่ทางการเกษตรยังขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

          -พื้นที่ทางการเกษตรยังคงได้รับผลกระทบทางธรรมชาติ

          -ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่

          -การขาดการบูรณาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          -ประชาชนที่ด้อยโอกาสยังได้รับการสงเคราะห์ไม่ทั่วถึง

          -ประชาชนยังให้ความร่วมมือกับการทำแผนพัฒนา อบต. น้อย

          -การรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ยังขาดความเข้มแข็ง เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มแม่บ้าน ฯลฯ

3. โอกาส(OPPORUNITIES-O)

          -ประชาชนยังคงได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นที่อยู่ในพื้นที่ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

          -เกษตรได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำจากส่วนราชการ รัฐวิสหกิจ และเอกชน

          -องค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย มีรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีจากการลงทุนด้านเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ เงินภาษีและจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

4. อุปสรรค(THREAT-T)

          -องค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย ไม่มีงบประมาณที่เพียงพอในการพัฒนาทรัพยากรของตำบลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

          -ภัยธรรมชาติซ้ำซาก (ภัยน้ำท่วม , ภัยแล้ง)

          -เกษตรกรได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ

 

          -ประชาชนยังยึดติดกับความคิดแบบดั้งเดิม

          -ภาวะความยากจนและหนี้สินของประชาชนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตกเป็นเหยื่อของนายทุน

 

การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อการประเมินการพัฒนา (SWOT ANALASIS)

 

การวิเคราะห์

สภาพการณ์

จุดแข็ง

1.เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง การดำเนินชีวิตมีความเชื่อมโยงในระบบเครือญาติสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ง่ายและทั่วถึง

2.มีกลุ่มอาชีพที่หลากหลายสามารถพัฒนาฝีมือให้มีมาตรฐานไปสู่การส่งออก

3.ชุมชนมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน

4.มีระบบให้บริการ Internet Tambol ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

5.มีอาณาเขตติดต่อกับ อบต.โคกยาง อบต.คลองขนาน อบต.เหนือคลอง ทำให้มีการกระจายความเจริญจาก อบต.สู่หมู่บ้านใกล้เคียง

6.ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และข้าราชการในพื้นที่ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน

จุดอ่อน W

1.ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่

2.ราคาผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูง

3.กลุ่มอาชีพยังได้รับการสนับสนุนน้อย

4.ยังขาดแคลนน้ำเผื่อการเกษตรของประชาชน

5.ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง

6เด็กเล็กในพื้นที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐาน

โอกาส O

1.มีระบบนิเวศชองป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์สามารถพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาเชิงนิเวศ และสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน

2.มีองค์กรปกคลองส่วนท้องถิ่นคอยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน

อุปสรรค T

1.ขาดงบประมาณในการดำเนินการเพื่อสนองความต้องการของประชาชน

2.ขาดบุคลากรในการปฏิบัติงานเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจจากหน่วยงานอื่น

3.พื้นที่ทำการเกษตรได้รับผลได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

4.ประชาชนขาดเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน

 

 

 

 

 

 

 


 


เข้าชม : 2394
 
 
กศน.ตำบลปกาสัย
หมู่ที่ ๑ บ้านปกาสัย ตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง  จังหวัดกระบี่ 81130
โทรศัพท์ : 075-692174
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี