[x] ปิดหน้าต่างนี้
 







 




 


 


                                                                       กิจกรรมอาสาสมัคร กศน.ตำบลคลองยา

๑.กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่
๒.กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ณ บ้านหนังสือชุมชน  / ณ รพ.สต.
๓.กิจกรรมประชาสัมพันธ์งาน กศน.ตำบล

 


  

อาสาสมัคร กศน.

1. ความเป็นมาและความสำคัญ

 

      พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 มาตรา 9 วรรค 3 กำหนด ให้ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งเป็นผู้เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เรียนและผู้จัดการเรียนรู้ มีการดำเนินการที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง มาตรา 10 วรรค 2 การ จัดการศึกษา การพัฒนาวิชาการ และบุคลากร การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการยกย่องประกาศเกียรติคุณสำหรับผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย และวรรค 3 สิทธิ ประโยชน์ตามความเหมาะสมให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน สำนักงาน กศน. ในฐานะเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชน โดยมุ่งเน้นให้บุคคลมีความรู้ ประสบการณ์ และความพร้อมในการที่จะสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนใน ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่อยู่นอกระบบ ให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและทั่งถึง เพื่อพัฒนากำลังคน และสังคมของประเทศ

 

     กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2. ความหมาย

       อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรียกชื่อโดยย่อว่า อาสาสมัคร กศน. (Non-Formal and Informal Education Voluteer: NIEV)
     อาสา สมัคร กศน. หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและสมัครใจทำงานเพื่อสังคมในด้านการศึกษา โดยไม่รับค่าตอบแทนในหมวดเงินเดือนและได้รับการฝึกอบรมก่อนได้รับการแต่ง ตั้งให้เป็นอาสาสมัคร กศน. 

3. วัตถุประสงค์การมีอาสาสมัคร กศน.

 

1) เพื่อ ให้คนที่มีความรู้ความสามารถและจิตอาสาในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์เฉพาะด้าน ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
2) เพื่อช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านทางการศึกษา ในชุมชน
3) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน

4.วิธีดำเนินการ

 

วิธีดำเนินในการสรรหา คัดเลือก อบรมและแต่งตั้งอาสาสมัคร กศน. มี 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 กศน.อำเภอ/เขต ร่วมกับชุมชนดำเนินการสรรหาและคัดเลือก อาสาสมัคร กศน. ดังนี้

1) คุณสมบัติทั่วไปของ อาสาสมัคร กศน

 

1.1) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
1.2) เป็นผู้ที่สมัครใจและเสียสละเพื่อช่วยงานการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน
1.3) เป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในหมู่บ้านหรือชุมชน
1.4) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและสามารถอ่านออกเขียนได้
1.5) เป็น บุคคลที่กรรมการหมู่บ้านหรือประชาชนรับรองว่าเป็นผู้ที่มีความประพฤติอยู่ใน กรอบศีลธรรมอันดี ได้รับความไว้วางใจและยกย่องจากประชาชน

 

ในกรณีที่คุณสมบัติไม่ครบตามข้อ 1.1) ถึงข้อ1.5) ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร โดยยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก

2) คุณลักษณะของอาสาสมัคร กศน.

 


2.1) มีจิตบริการ คือมีความพร้อมและเต็มใจที่จะดำเนินการช่วยเหลือหรือเป็นธุระให้งานต่าง ๆเสร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
2.2) ให้ บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ คือทำงานด้วยความรวดเร็ว เสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ มีความรอบคอบในการทำงาน ไม่สร้างปัญหาภายหลัง หรือต้องให้ผู้รับบริการกลับมาร้องเรียนหรือขอแก้ไขในเรื่องเดิมอีก
2.3) ให้ความสำคัญแก่ผู้พลาดโอกาส ขาดโอกาส และด้อยโอกาส โดยการให้ความช่วยเหลือ ดูแลด้วยความห่วงใย จริงใจ
2.4) พร้อมรับการตรวจสอบจากทุกฝ่าย  คือการทำงานด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ โปร่งใส มีเหตุผลและพร้อมรับการตรวจสอบในทุกกรณี
2.5) รักษา เอกลักษณ์ของความเป็นไทย คือการแสดงออกถึงวัฒนธรรมและบุคลิกที่ดีงามของความเป็นไทย มีจิตใจโอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส และทำงานด้วยความอดทนและอดกลั้น

 

 

3) การคัดเลือกอาสาสมัคร   ในการคัดเลือกอาสาสมัคร กศน. ให้กำหนดตามจำนวนหลังคาเลือนในชุมชน โดยจำนวนไม่เกิน 50 หลังคาเรือนให้มีอาสาสมัคร กศน.ได้ไม่เกิน 1 คน สำหรับในพื้นที่ที่มีจำนวนหลังคาเรือนเกิน 50 หลังคาเรือน ให้อยู่ในดุลยพินิจ ของ กศน.อำเภอ/เขต และให้รายงานต่อ สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ทราบ

 

ขั้นตอนที่ 2 สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร จัดให้อาสาสมัคร กศน. เข้ารับการฝึกอบรม ในเนื้อหาสาระ ดังต่อไปนี้

 

1) การสร้างพลังจิตอาสาในชุมชน
2) งาน กศน. กับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
3) กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการทำงาน
4) แผนปฏิบัติงานรายเดือน : 30 วัน สู่ความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 3 ผอ.สำนัก งาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร เสนอรายชื่ออาสาสมัครให้แก่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ให้ความเห็นชอบ ก่อนการแต่งตั้ง

ขั้นตอนที่ 4 สำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ขึ้นทะเบียนอาสาสมัคร กศน. ที่ผ่านการอบรม และออกบัตรประจำตัวให้แก่อาสาสมัคร กศน.

 

ขั้นตอนที่ 5 กศน.อำเภอ/เขต แต่งตั้งอาสาสมัคร กศน. ที่ผ่านการอบรม และคณะกรรมการ       ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ให้ความเห็นชอบ

5. บทบาทหน้าที่

5.1 บทบาทของ สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร

 

1) กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การดำเนินงานของอาสาสมัคร กศน. ของแต่ละจังหวัด/กรุงเทพมหานคร
2) ให้คำแนะนำหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ในการบริหารจัดการและพัฒนาอาสาสมัคร กศน.
3) ผู้ อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร เสนอความเห็นชอบในการแต่งตั้ง อาสาสมัคร กศน.ตามที่สถานศึกษากำหนดต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
 4) เสนอ เพิกถอนการเป็นอาสาสมัคร กศน. ที่มีความประพฤติเสียหาย ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
5) จัดให้ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นอาสาสมัคร กศน. ของ กศน.อำเภอ/เขต เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ สำนักงาน กศน. กำหนด
6) ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ผ่านการอบรมเป็นอาสาสมัคร กศน. และออกบัตรประจำตัวตามแบบที่ สำนักงาน กศน. กำหนด
7) จัดทำรายงานการปฏิบัติงานของ อาสาสมัคร กศน. เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เป็นประจำปีงบประมาณ

5.2 บทบาทของ กศน.อำเภอ/เขต

 

1) กำหนดจำนวนอาสาสมัคร กศน. อำเภอ/เขต และรายงานสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
2) กศน.อำเภอ/เขต ร่วมกับชุมชนดำเนินการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติ เพื่อเข้ารับการอบรมและรายงานสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
3) แต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติครบหรือผู้ที่ได้รับการยกเว้นเป็นอาสาสมัคร กศน.
4) มอบหมายภารกิจหน้าที่ให้กับอาสาสมัคร กศน. และกำกับติดตามผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร กศน.
5) ส่งเสริม สนับสนุน และเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงานแก่อาสาสมัคร กศน.
6) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร กศน. ให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/เขต และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

5.3 บทบาทหน้าที่ของ ครู กศน.

 

1) ร่วมกับ อาสาสมัคร กศน.สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับ
      1.1) จัดรวมกลุ่มเป้าหมาย 50 หลังคาเรือน
      1.2) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย/ชุมชน
      1.3) วิเคราะห์ข้อมูล และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
2) ร่วม กับอาสาสมัคร กศน. จัดทำแผนงาน/โครงการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย/ชุมชน(แผนชุมชน) แผนงาน/โครงการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แผนงาน/โครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไป และแผนงาน/โครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
3) ร่วม กับอาสาสมัคร กศน. ปฏิบัติงานจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้สอดคล้องกับความต้อง การของกลุ่มเป้าหมาย  การปฏิบัติงานมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมกลุ่มเป้าหมายให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการและกิจกรรม
ขั้นตอนที่ ดำเนินการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรม กศน. ให้ดียิ่งขึ้น

 

4) ร่วมกับ อาสาสมัคร กศน. นิเทศ เยี่ยมเยียน กลุ่มเป้าหมาย
5) ร่วมกับ อาสาสมัคร กศน. ในการประเมินโครงการ/กิจกรรม

5.4 บทบาทหน้าที่ และจรรยาบรรณ ของ อาสาสมัคร กศน.

 

5.4.1 บทบาทหน้าที่  ของ อาสาสมัคร กศน.

1) เสนอความต้องการในการเรียนรู้ของประชาชน โดยประสานกับ ครู กศน. ตำบล
2) ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร เผยแพร่ข้อมูล เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ประชาชน
3) ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรม กศน.
4) ร่วมกับ ครู กศน. ตำบล ในการติดตามผล การจัดกิจกรรม กศน. ในชุมชน
5) ส่งเสริม สนับสนุน การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของประชาชนในชุมชน          

 

5.4.2จรรยาบรรณ ของ อาสาสมัคร กศน

 

1) เป็นผู้มีอุดมการณ์ ถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
2) เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
3) มีความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต สามัคคีและศรัทธาในการปฏิบัติงาน
4) เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

6. สิทธิประโยชน์ ของอาสาสมัคร กศน.

 

1) สิทธิ ในการเข้าร่วมโครงการและรับบริการจากกิจกรรมต่าง ๆของหน่วยงาน/สถานศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. ทุกรูปแบบ สำหรับตนเองและครอบครัว(ครอบครัว หมายถึง สามีหรือภรรยาและบุตร) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2) สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน มีดังนี้

 

2.1) การจ้างดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของงาน กศน. (ไม่ใช่ภารกิจของครู กศน.) หรืองานที่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
2.2) การเป็นวิทยากรสอนวิชาชีพ/สอนเสริม
2.3) การเข้ารับการอบรม สัมมนา ที่ สำนักงาน กศน. ดำเนินการ
2.4) การได้รับการคัดเลือกไปศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ

3) มีสิทธิแต่งเครื่องแต่งกายตามที่กำหนด
4) มีสิทธิได้รับประกาศเกียรติคุณ จากสำนักงาน กศน. กรณีมีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ตามเกณฑ์การคัดเลือก ที่  กำหนด
5) มีสิทธิได้รับข่าวสารข้อมูล กิจกรรม/โครงการ กศน.
6) มีสิทธิในการออกเสียงคัดเลือกกรรมการเครือข่ายอาสาสมัคร กศน. ในระดับต่าง ๆ
7) มีสิทธิสมัครในการเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัคร กศน. ในระดับต่าง ๆ
8) มีสิทธิได้รับการจารึกชื่อในทำเนียบอาสาสมัคร กศน.
9) มี สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2497

7. การกำหนดค่าตอบแทนอาสาสมัคร กศน.

 

1) มี สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
2) สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมประเภทบุคคลภายนอก
3) การจ้างดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ

อาสาสมัคร กศน.ตำบลคลองยา
โดย กศน.ตำบลคลองยา มีอาสาสมัคร กศน.ตำบล  ทั้งหมด 30 คน  เฉลี่ยหมู่บ้านละ 5 คน

 

 



เข้าชม : 6482
 
 
กศน.ตำบลคลองยา
หมู่ที่ 6 (บ้านคลองไร่) ซอย 17 ตำบลคลองยา  อำเภออ่าวลึก  จังหวัดกระบี่ โทร.089-8868836
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออ่าวลึก

หมู่ที่ 2 ตำบลอ่าวลึกใต้  อำเภออ่าวลึก  จังหวัดกระบี่ โทร 075-634582 โทรสาร 075-681718
ni_g@hotmail.com  nikorn@korat.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี