[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

                               ประวัติความเป็นมากศน.ตำบลแหลมสัก

 

            ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแหลมสัก  จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548  ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 2 ตำบลแหลมสัก  อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่  โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายประภาส  ส่งแสง นายกองค์การส่วนบริหารตำบลแหลมสัก

            ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแหลมสัก  ดำเนินการสอนการศึกษาพื้นฐานระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดการศึกษาสายอาชีพในกลุ่มอาชีพต่างๆเช่น  การแปรรูปอาหารทะเล เรียนรู้อาชีพกับศรช.  ยาดมสมุนไพร  สตรีอาสาประชาธิปไตยฯลฯและศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแหลมสัก  ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ   ของศูนย์กศน.อำเภออ่าวลึก

            ต่อมาศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแหลมสักได้ย้ายมายังศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 3 ตำบลแหลมสัก

โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายกมล  บุญธีรเลิศ นายกเทศบาลตำบลแหลมสัก  และต่อมาศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแหลมสักได้ยกระดับเป็น  กศน.ตำบลแหลมสักโดยมีพิธีเปิดกศน.ตำบลแหลมสักในวันที่ 4 มิถุนายน 2553

 

 

ข้อมูลพื้นฐานตำบลแหลมสัก

ตำบลแหลมสักประกอบไปด้วย 6  หมู่บ้านคือ

หมู่ที่ 1 บ้านหินราว              ผู้ใหญ่บ้าน : นายนิพน  หินกอง

หมูที่ 2 บ้านอ่าวน้ำ               ผู้ใหญ่บ้าน : นายดลร้อรัก  คนเรียน

หมู่ที่ 3 บ้านแหลมสัก           กำนันไซอีดี้  โรมินทร์

หมู่ที่ 4 บ้านบ้านสมิหลัง      ผู้ใหญ่บ้าน :  นายศุภกิจ  อ๋องเอื้อ

หมู่ที่ 5 บ้านคลองแรด          ผู้ใหญ่บ้าน : นายสำเริง  สันติพิทักษ์

หมูที่ 6 บ้านในใส                 ผู้ใหญ่บ้าน : นายขุนแผน  ชัยทัศ

ซึ่งตำบลแหลมสักเป็นตำบลที่มีประชากรจำนวนมากจึงมีพื้นที่ทั้งเขตเทศบาลและเขต อบต.

เทศบาลตำบลแหลมสัก

ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลแหลมสัก

     เดิมนั้นพื้นที่ของเทศบาลตำบลแหลมสักเป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยป่าชายเลนและเนินสูงต่ำสลับ มีต้นสักขึ้นเป็นดงสักบริเวณส่วนที่เป็นแหลมยื่นลงทะเลชาวบ้านจึงเรียกที่แห่งนี้ว่า แหลมสัก ต่อมาได้มีประชาชนเข้ามาอาศัยโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมง ขณะนั้นการสัญจรเดินทางระหว่างตำบลแหลมสักกับอำเภออ่าวลึกนั้นมีถนนเฉพาะที่ตั้งอำเภอถึงบ้านคลองโศก ตำบลอ่าวลึกใต้ จากบ้านคลองโศกไปยังตำบลแหลมสักนั้นยังเป็นช่องทางเล็กๆ ในตอนนั้นมีการเดินทางโดยทางเรือซึ่งต้องลงเรือจากตำบลแหลมสักขึ้นฝั่งที่คลองกลาง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงฆ่าสัตว์เทศบาลตำบลอ่าวลึกใต้) ในเวลาต่อมาหน่วยงานราชการอำเภออ่าวลึกพิจารณาเห็นว่าตำบลแหลมสักเป็นตำบลที่กันดาร ห่างไกลจากอำเภอ การคมนาคมไม่สะดวก ราษฎรได้รับความเดือดร้อนและได้รายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ในที่สุดจึงได้ถนนสายอ่าวลึก - แหลมสัก เดิมเป็นถนนลูกรังและได้มีการปรับปรุงในเวลาต่อมาทำให้ตำบลแหลมสักเกิดความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วมีตลาดเกิดขึ้นและมีกิจการด้านการประมงในขณะเดียวกันได้มีประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยหนาแน่นมากขึ้น ปี พ.ศ.2516 นายชัยรัฐ จุลโมกข์ นายอำเภออ่าวลึก และนายอุดม จันทร์เจริญ นายอำเภอคนต่อมา ได้เสนอเรื่องขอจัดตั้งตำบลแหลมสักเป็นสุขาภิบาล กระทั่งวันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งตำบลแหลมสักขึ้นเป็นสุขาภิบาลตำบลแหลมสัก และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแหลมสักเมื่อวันที่ 24 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2542

 

 

 

สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง 

     เทศบาลตำบลแหลมสักตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดยตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดชายฝั่งทะเลอันดามันของอำเภออ่าวลึก มีทะเลล้อมรอบทั้งสามด้านมีพื้นที่บางส่วนยื่นลงไปในทะเลอันดามัน มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภออ่าวลึกประมาณ 17 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองจังหวัดกระบี่ประมาณ 61 กิโลเมตร
เนื้อที่  
     มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 7 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 4,375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2 (บางส่วน), 3 และ 4
ลักษณะภูมิประเทศ
     สภาพพื้นที่โดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขา ที่ราบและเนินสูง ต่ำ มีชายฝั่งทะเลล้อมรอบทั้งสามด้าน คือ ด้านทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
     ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่ริมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ตะวันตกห่างจากทางหลวงสายอ่าวลึก - แหลมสัก ที่ กม.13.500 วัดในแนวตรงระยะ 3500 เมตร ตรงไปทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงสายอ่าวลึก - แหลมสัก ฟากตะวันออกที่ กม.13.500 จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกในแนวเส้นเขตระหว่างหลักเขตที่ 1 กับ 2 ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งมหาสมุทรอินเดียตะวันออก
     ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 4 เลียบริมฝั่งมหาสมุทรอินเดียตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อ้อมปลายแหลมไปทางทิศเหนือถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันตกที่เชิงสะพานปลาด้านเหนือ
     ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 3 เลียบริมฝั่งมหาสมุทรอินเดียตะวันออกไปทิศทางตะวันตกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออกที่เชิงสะพานท่าเทียบเรือเอกชนด้านเหนือ
     ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 5 เลียบฝั่งมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันตกไปทิศเหนือบรรจบหลักเขต

ลักษณะภูมิอากาศ
     ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือตามช่วงฤดูกาล มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.0 - 35.8 องศา


แหล่งน้ำ
     แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำบนดิน (สระน้ำ)

 

ชุมชนที่ 1
ชุมชนทรายทอง
     ลักษณะชุมชนเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่กันอย่างหนาแน่นตามแนวริมชายฝั่งทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง รับจ้าง ค้าขายและอื่นๆ เป็นชุมชนชาวมุสลิม เป็นแหล่งที่มีการผลิตและแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำกะปิ ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว เป็นต้น

                                                                   

 ชุมชนที่ 2
ชุมชนแหลมทอง

     เป็นที่ตั้งของชาวบ้านหัวแหลม มีสภาพพื้นที่เป็นแหลมหินยื่นออกไปในทะเล มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีภูมิทัศน์ที่สวยงามร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารทะเลขึ้นชื่อโดยเฉพาะหอยแครงและหอยพงศ์ซึ่งสามารถหาได้ตลอดทั้งปี บ้านเรือนประชาชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล ประชาชนประกอบอาชีพประมง รับจ้าง ค้าขาย

 

ชุมชนที่ 3
ชุมชนทุ่งสีทอง

     ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจาย เป็นชุมชนที่ประกอบด้วย 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2 บ้านอ่าวน้ำ (บางส่วน) และหมู่ที่ 4 บ้านสมิหลัง เป็นชุมชนที่มีทั้งศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกันและมีศักยภาพในด้านการเกษตรและปศุสัตว์

 

 

ชุมชนที่ 4
ชุมชนทับตะวัน
     เป็นชุมชนซึ่งมีผู้อาศัยนับถือศาสนาอิสลาม เกือบทั้งหมดประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก บ้านเรือนประชาชนตั้งอยู่อาศัยหนาแน่น ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ตั้งสะพานท่าเทียบเรือแหลมสัก คาดว่าในอนาคตอันใกล้ชุมชนทับตะวันและชุมชนใกล้เคียงจะมีเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

ตารางจำแนกจำนวนประชากรภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมสัก

อายุ (ปี)

เพศชาย (คน)

เพศหญิง (คน)

รวม (คน)

น้อยกว่า 1 ปี

2

2

4

1 - 5

154

141

295

6 - 12

223

196

419

13 - 18

197

186

383

19 - 25

218

225

443

26 - 59

817

869

1,740

60 ปีขึ้นไป

187

222

409

รวม

1,852

1,841

3,693



 

ตารางเปรียบเทียบประชากรย้อนหลัง

พ.ศ.

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

ความหนาแน่นของประชากร
(คน/ตร.กม.)

1548

1,787

1,774

3,516

508

2549

1,847

1,851

3,698

528

2550

1,848

1,846

3,694

527

2551

1,836

1,847

3,683

526

2552

1,852

1,841

3,693

527



สถาบันและองค์กรทางศาสนา
     ผู้นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยมีวัด 2 แห่ง ได้แก่ วัดแหลมสักและวัดสถิตโพธาราม  ศาลเจ้า 1 แห่ง ได้แก่ ศาลเจ้าบ้านแหลมสัก
     ผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยมีมัสยิด 3 แห่ง ได้แก่ มัสยิดบ้านต้นบก มัสยิดมิสมาฮุดดีน และมัสยิดสอลาฮุดดีน และบาลาย 1 แห่ง คือ บาหลายทับตะวัน 


การศึกษา
     ศูนย์การศึกษาภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมสัก มีดังนี้

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแหลมสัก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน (วัดสถิตโพธาราม)
โรงเรียนวัดสถิตโพธาราม  
โรงเรียนบ้านแหลมสัก      

จำนวน แห่ง (สังกัดเทศบาล)
จำนวน แห่ง (สังกัดเทศบาล)
จำนวน แห่ง (สังกัด สพฐ.) 
จำนวน แห่ง (สังกัด สพฐ) 

 กศน.ตำบลแหลมสัก             จำนวน แห่ง (สังกัด สำนักงานกศน.จังหวัดกระบี่) 

                          http://www.thaimallplaza.com/shop/laemsak/large_image/2103100209_20090917103454.jpg

 

สาธารณสุข

สถานีอนามัย (สถานีอนามัยบ้านแหลมสัก)
บุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วย
   พยาบาลวิชาชีพ
   เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข
   นักวิชาการสาธารณสุข
   เจ้าหน้าที่บัญชีและการเงิน
   อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในเขตเทศบาล
โรคที่ประชาชนเข้ารับบริการ/รักษา มากที่สุด
1.โรคระบบทางเดินหายใจ
2.โรคระบบไหลเวียนเลือด
3.โรคระบบทางย่อยอาหาร

จำนวน 1 แห่ง

จำนวน คน
จำนวน 1 คน
จำนวน 2 คน
จำนวน 1 คน
จำนวน 53 คน



ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ที่พักสายตรวจประจำตำบล              จำนวน 1 แห่ง
จำนวนเจ้าหน้าที่                              จำนวน 2 นาย

เศรษฐกิจ

อาชีพ
     ประชาชนในเขตเทศบาลแหลมสักประกอบอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ในอนาคตหากมีการพัฒนาด้านการประมงจะทำให้สามารถพัฒนาชุมชนไปสู่แหล่งแปรรูปอาหารทางทะเลที่สำคัญของจังหวัดได้ หากมีการส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่างๆในอนาคตคาดว่าจะช่วยเพิ่มอาชีพและรายได้แก่ประชาชนได้มาก และในบางชุมชนชาวบ้านมีการเลี้ยงแพะซึ่งในเขตเทศบาลมีฟาร์มตัวอย่างการเลี้ยงแพะด้วยทางปาล์มน้ำมันและวัตถุดิบจากพืชต่างๆ

 

หน่วยธุรกิจในเขต อบต.

- สถานีบริการน้ำมัน
- ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง
- ตลาดสด
- คลินิก
- ร้านอาหาร
- ร้านค้าทั่วไป
- บริการไปรษณีย์
- คาร์แคร์
- ฟาร์มไก่
- อู่ซ่อมรถ
- รับซื้อของเก่า
- จำหน่ายอุปกรณ์ประมง
- ซื้อ-ขายสัตว์น้ำ
- บริการทัวร์ต่างประเทศ

จำนวน 10 แห่ง
จำนวน   1 แห่ง
จำนวน   1 แห่ง
จำนวน   1 แห่ง
จำนวน 10 แห่ง
จำนวน 57 แห่ง
จำนวน   1 แห่ง
จำนวน   1 แห่ง
จำนวน   3 แห่ง
จำนวน   4 แห่ง
จำนวน   3 แห่ง
จำนวน   4 แห่ง
จำนวน 10 แห่ง
  จำนวน   1 แห่ง

 

 

 


     ระบบการสื่อสารของเทศบาลตำบลแหลมสักมี ดังนี้

1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
2. จำนวนตู้โทรศัพท์สาธารณะ
3. จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ส่วนบุคคล

จำนวน   1 แห่ง (เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ)
จำนวน 11 เลขหมาย
จำนวน 1,460  เลขหมาย

 อื่นๆ ได้แก่ หอกระจายข่าวที่ตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ ทุกชุมชน ระบบอินเตอร์เน็ต วิทยุสื่อสาร

การไฟฟ้า
    
ประชาชนภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมสักมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือน


การคมนาคม
     เทศบาลตำบลแหลมสักมีถนนสายหลัก คือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4039 (อ่าวลึก - แหลมสัก) เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) โดยเทศบาลตำบลแหลมสักมีถนนที่อยู่ในการดูแลส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต ถนนลาดยางและถนนลูกรัง รายละเอียดตามตาราง

รายละเอียดถนนสายต่างๆ ในเขตเทศบาลตำบลแหลมสัก

 

 

                                  ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสัก

     สภาตำบลแหลมสัก มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท จึงยกฐานะเป็น อบต.แหลมสัก ในปี พ.ศ.2540 โดยอาศัยอำนาจตาม พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
     ในระยะแรก ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสักและกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสักเป็นฝ่ายบริหาร ต่อมาในปี พ.ศ.2548 จึงมีการเลือกตั้งนายก อบต. โดยตรงเป็นครั้งแรก (ตาม พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546)

 

 

 

ข้อมูลหมู่บ้านในตำบลแหลมสัก

หมู่บ้านที่ 1
บ้านหินราว
ข้อมูลทั่วไป : บ้านหินราว ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดยในอดีตมีคนไทยเชื้อสายจีนกลุ่มหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพประมง ต่อมามีผู้คนอพยพมาตั้งหลักแหล่งเป็นการถาวร ฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านติดต่อกับทะเลอันดามัน และมีหินโสโครกเรียงรายเป็นแนวยาวยื่นในทะเล ผู้คนจึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่าหินราวจนกลายเป็นชื่อของหมู่บ้านจนถึงทุกวันนี้
ที่ตั้ง : บ้านหินราว ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแหลมสัก ห่างจากอำเภออ่าวลึก ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดกระบี่ ประมาณ 56 กิโลเมตร มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4039 (อ่าวลึก แหลมสัก) ถึงบ้านคลองแรด เลี้ยวขวาเข้าถนนคอนกรีตตลอดเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านหินราว
อาชีพ : ชาวบ้านหินราว ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้านการปลุกปาล์มน้ำมัน ยางพารา และประมง
ศาสนา : ประชากรมีเชื้อสายไทยจีน นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98 และอิสลาม ร้อยละ 2
อาณาเขต :
ทิศเหนือ  ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน และหมู่ที่ 5 ตำบลแหลมสัก
ทิศใต้  ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน และหมู่ที่ 6 ตำบลแหลมสัก
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลแหลมสัก
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
ผู้ใหญ่บ้าน : นายนิพน  หินกอง

หมู่บ้านที่ 2

บ้านอ่าวน้ำ
ข้อมูลทั่วไป : บ้านอ่าวน้ำ ในอดีต ประมาณ 150 ปีที่ผ่านมา ชาวประมงบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันทั้งเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดพังงา เครื่องมือในการประกอบอาชีพยังไม่ทันสมัย เช่นเรือประมงยังเป็นเรือแจวใช้แรงคนเป็นกำลังสำคัญในการเดินทาง จึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก จำเป็นต้องหาทำเลในการพักพิงชั่วคราว บริเวณดังกล่าวจะต้องเป็นอ่าว ปลอดภัยจากคลื่นลมมรสุมได้ และต้องมีแหล่งน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยเหตุและปัจจัยดังกล่าวซึ่งมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ได้ปักหลักอาศัยอยู่อย่างถาวร บริเวณแห่งนี้ไม่มีน้ำในดินเช่น เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แต่เมื่อได้ขุดลงไปใต้ผิวดินลงไปประมาณ 1 - 3 เมตร จะมีน้ำใช้อุปโภค - บริโภค ตลอดทั้งปี ประกอบกับบริเวณทะเล จะเป็นอ่าวเว้าเข้ามาในแผ่นดิน จึงได้ชื่อว่าบ้านอ่าวน้ำจนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้ง : บ้านอ่าวน้ำ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลแหลมสัก ห่างจากอำเภออ่าวลึก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 16 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดกระบี่ ประมาณ 56 กิโลเมตร มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4039 (อ่าวลึก แหลมสัก) ตัดผ่านทางแยกกิโลเมตรที่ 14  ทางขวาเข้ามือเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านอ่าวน้ำ
อาชีพ : ชาวบ้านอ่าวน้ำส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ประมง และเกษตรกรรม
ศาสนา : ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
อาณาเขต :
ทิศเหนือ  ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลแหลมสัก
ทิศใต้  ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลแหลมสัก
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 ตำบลแหลมสัก
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
ผู้ใหญ่บ้าน : นายดลร้ดรัก  คนเรียน

 

หมู่บ้านที่ 5
บ้านคลองแรด
ข้อมูลทั่วไป : บ้านคลองแรด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ในอดีตมีคนร่ำลือว่าบริเวณคลองแรดในปัจจุบันมีคนพบเห็นสัตว์ชนิดหนึ่งลักษณะคล้าย แรด ลงมากินน้ำ จึงเรียกว่า คลองแรด และเรียกติดต่อกันมาเป็นชื่อหมู่บ้านคลองแรดจนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้ง : บ้านคลองแรดตั้งอยู่ในตำบลแหลมสัก ห่างจากอำเภออ่าวลึก ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 5กิโลเมตร
อาชีพ : ชาวบ้านอ่าวน้ำส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม (ยางพารา ปาล์มน้ำมัน)
ศาสนา : ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อาณาเขต :
ทิศเหนือ  ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลอ่าวลึกใต้
ทิศใต้  ติดต่อกับ  หมู่ที่ 6 ตำบลแหลมสัก
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับป่าชายเลน หมู่ที่ 6 ตำบลแหลมสัก
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับหมู่ที่ 1 ตำบลแหลมสัก
ผู้ใหญ่บ้าน : นายสำเริง  สันติพิทักษ์

หมู่บ้านที่ 6
บ้านในไส
ข้อมูลทั่วไป : บ้านในไส ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ในอดีตเป็นชุมชนเล็กๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่งสลับด้วยหญ้าและต้นอ้อ ซึ่งชาวบ้านเรียกป่าชนิดนี้ว่า ป่าใส หากชาวบ้านจากชุมชนอื่นเข้า จะมีคนถามว่าไปไหน จะตอบว่าไปในไส ต่อมาชุมชนเริ่มเติบโตขึ้น จนเป็นหมู่บ้าน และเรียกชื่อหมู่บ้านว่า บ้านในไส จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้ง : บ้านในไส ตั้งอยู่ในตำบลแหลมสัก ห่างจากอำเภออ่าวลึก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 8 กิโลเมตร
อาชีพ : ชาวบ้านในไส ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และประกอบอาชีพเสริม ทำประมงและรับจ้างทั่วไป
ศาสนา : ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อาณาเขต :
ทิศเหนือ  ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลอ่าวลึกใต้
ทิศใต้  ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลแหลมสัก
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ หมู่ที่ 1, 2 ตำบลแหลมสัก
ผู้ใหญ่บ้าน : นายขุนแผน  ชัยทัศ

 

 

                             จำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน และเพศ และจำนวนครัวเรือน

 

 

หมู่ที่

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

หมู่ที่ บ้านหินราว

154

2

4

236

490

หมู่ที่ บ้านอ่าวน้ำ

7

114

130

244

หมู่ที่ บ้านคลองแรด

208

340

331

671

หมู่ที่ บ้านในไส

231

415

387

802

รวมทั้งหมด

670

1,123

1,084

2,207

 

 

 
     

 

 

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ลาดชัน  มีความลาดชันเล็กน้อยถึงปานกลาง จากตอนกลางของตำบลลาดต่ำลงมา 2 ฝั่งตะวันออกและตะวันตก คิดเป็นร้อยละ 40 ของพื้นที่ตำบล
พื้นที่ราบ  กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีประมาณร้อยละ 1.5 ของพื้นที่ตำบล   พื้นที่ลูกคลื่นลอนลึก  จะอยู่สลับกันไปตามความลาดเทของพื้นที่ตามแนวเหนือใต้ของตำบล และลาดต่ำเขตลุ่มชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้

ทิศเหนือ     ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ทิศใต้  ติดต่อกับ เทศบาลตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน

 

 

 

 
 

ลักษณะภูมิอากาศ
               

     ได้รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี มี 2 ฤดู คือ
     1. ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม เมษายน
     2. ฤดูฝน   เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ธันวาคม
     อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 34 - 36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส

สภาพพื้นที่โดยทั่วไป

ที่ตั้ง  ตำบลแหลมสัก เป็นตำบลหนึ่งในอำเภออ่าวลึก อยู่ห่างจากตัวอำเภออ่าวลึกประมาณ 8 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดกระบี่ ประมาณ 53 กิโลเมตร มีถนนสายสำคัญตัดผ่าน สายอำเภออ่าวลึก - แหลมสัก ทางหลวงหมายเลข 4039
เนื้อที่  องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสัก มีเนื้อที่ 101 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 19,100 ไร่

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

     - วัด/สำนักสงฆ์                        จำนวน       3  แห่ง (วัดป่าศิลาสวัสดิ์, สำนักสงฆ์บ้านหินราว, สำนักสงฆ์บ้านคลองแรด)
     - มัสยิด                                    จำนวน       2  แห่ง (บ้านหินราว, มัสยิดเร่าร่อตุอิสลาม)
     - ศาลเจ้า                                   จำนวน       2  แห่ง (บ้านหินราว, บ้านในไส)

 

 

การศึกษา

   - โรงเรียนประถมศึกษา             จำนวน       3  แห่ง (โรงเรียนบ้านหินราว, โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำ, โรงเรียนบ้านคลองแรด)
     - ศูนย์เด็กเล็กประจำหมู่บ้าน    จำนวน       1  แห่ง (ศูนย์เด็กเล็กมัสยิดเร่าร่อตุ้ลอิสลาม)
     - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน             จำนวน       1  แห่ง (ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หมู่ที่ 2)

 

สาธารณสุข

     - สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน    จำนวน       -  แห่ง
     - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                      จำนวน       1  แห่ง (หมู่ที่ 6)
     - ศูนย์สาธารณะสุขมูลฐานชุมชน        จำนวน       4  แห่ง (หมู่ที่ 1, 2, 5 และ 6)
     - ลานกีฬาหมู่บ้าน                                จำนวน       4  แห่ง (หมู่ที่ 1, 2, 5 และ 6)

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

     - สถานีตำรวจ                                จำนวน       -  แห่ง
     - สถานีดับเพลิง                             จำนวน       -  แห่ง
     - ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน  จำนวน       4  แห่ง (หมู่ที่ 1, 2, 5 และ 6)

อาชีพ

     อาชีพหลักของประชาชนในตำบล ได้แก่ การทำเกษตรกรรม รองลงมา คือ ประมง และรับจ้าง

หน่วยธุรกิจในเขต อบต.

ธนาคาร                                             จำนวน       -  แห่ง
โรงแรม                                             จำนวน       -  แห่ง
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ                             จำนวน       -  แห่ง

การคมนาคม

ถนนสายที่ติดต่อกับอำเภอและจังหวัด
     - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4039 (ถนนเพชรเกษม) เชื่อมโยงระหว่างตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก โดยผ่านตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลอ่าวลึกใต้

 


ถนนสายที่ติดต่อระหว่างตำบล
     - ถนนคอนกรีตสายบ้านคลองแรด บ้านหินราว
     - ถนนคอนกรีตสายบ้านในไส บ้านหินราว
     - ถนนคอนกรีตสายบ้านอ่าวน้ำ
     - ถนนคอนกรีตสายท่าเรือ
     - ถนนคอนกรีตทับโป๊ะ
     - ถนนคอนกรีตคลองเคียน

การโทรคมนาคม

     - ที่ทำการไปรษณีย์                          จำนวน       -  แห่ง
     - โทรศัพท์ประจำหมู่บ้าน                จำนวน       5  แห่ง 
     - หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน       จำนวน       4  แห่ง (หมู่ที่ 1, 2, 5 และ 6)

      การไฟฟ้า

จำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ 4 หมู่บ้าน แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน

        แหล่งน้ำ

แหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติ ได้แก่ คลองมังคุด, คลองโศก, คลองทางข้าง, ห้วยยางหัก, ห้วยวังหิน (บ้านคลองแรด), คลองบ้านทุ่ง (บ้านอ่าวน้ำ), คลองน้ำเค็ม, คลองลานกวาง, คลองพรือ, คลองเข้ขบ, พรุคลองทราย (บ้านหินราว), คลองนาว, คลองหล้าหมาด (บ้านในไส) ส่วนใหญ่แหล่งน้ำเหล่านี้มักจะประสบปัญหาน้ำแห้งขอด หรือมีสภาพตื้นเขินในหน้าแล้ง ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการเกษตรได้ตลอดปี
     - ลำน้ำ/ลำห้วย                               จำนวน       5  สาย
     - บึง/หนอง                                    จำนวน       1  แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
     - ระบบประปาหมู่บ้าน (อบต. ให้บริการ) จำนวน       3  หมู่บ้าน
     - ฝาย                                               จำนวน       2  แห่ง
     - บ่อน้ำตื้น                                      จำนวน     95  แห่ง
     - บ่อโยก                                          จำนวน       4  แห่ง



เข้าชม : 2122
 
 
กศน.ตำบลแหลมสัก หมู่ที่ ๓ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ๘๑๑๑๐ โทร ๐๙๖ ๖๕๓๓๓๐๐ e-mail camel_110150@hotmail.com Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี