[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

เนื้อหา : Download
หมวดหมู่ : ทดสอบหมวดหมู่
หัวข้อเรื่อง : แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลคลองหิน

อังคาร ที่ 18 เดือน เมษายน พ.ศ.2560


 

 
 
แหล่งเรียนรู้การทำไข่เค็ม

 

ประวัติความเป็นมา :

          ไข่เค็ม เป็นภูมิปัญญาของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ซึ่งคนสมัยก่อนทำไข่เค็มเพื่อเก็บไว้บริโภคในยามที่ขาดแคลน หรือเพื่อยืดอายุการเก็บของไข่ที่เหลือจากการบริโภคสด และถือเป็นภูมิปัญญาที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาช้านาน ต่อมาไข่เค็มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น มีความหลากหลาย ทั้งวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมมีคุณประโยชนที่หลากหลายมีรสชาติที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้ามีการไปจำหน่ายในรูปของไข่เค็มทั้งที่เป็นไข่เค็มสด และไข่เค็มที่ต้มแล้วสามารถนำไปบริโภคได้เลย หรืออาจนำไปทำเป็นไส้ขนมต่างๆ เช่น ขนมเปี๊ยะ ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมบ๊ะจ่าง ตลอดจนนำใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ ได้อีกด้วยในเขตพื้นที่ตำบลเชียงรากใหญ่ผู้ริเริ่มดำเนินการดำเนินการรวมกลุ่มสตรีบ้านศาลาพระม่วง ทำไข่เค็มเมื่อปี พ.ศ. 25๕๕

ปัจจุบัน ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๑ บ้านศาลาพระม่วง ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ได้รวมตัวกันเพื่อสร้างอาชีพ สร้างราย ให้แก่ครอบครัว ชุมชน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางสุมน  สำเภารัตน์ โดยมีนางเทวี  ชนะกุล เป็นที่ปรึกษามีแนวคิดที่จะช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกให้มีรายได้เสริมเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ได้ทำไข่เค็ม เพื่อไว้รับประทานในครัวเรือน และจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง ปรากฏเป็นที่ต้องการของตลาด จึงชักชวนสมาชิกร่วมหุ้นกันเพื่อดำเนินการผลิตไข่เค็ม จวบจนทุกวันนี้

 

 

       ที่ตั้ง  ๑๓๒  หมู่ที่ ๑ บ้านศาลาพระม่วง ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่  ๘๑๑๑๐  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 
 

 

 

 

 

 


ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ กลุ่มอาชีพสตรีบ้านศาลาพระม่วง

นางเทวี  ชนะกุล   มือถือ : 08-8๘๔๑-๑๒๒

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ  โดยตรง ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๑ ตำบลคลองหิน

อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

 

แหล่งเรียนรู้  แพทย์แผนไทย แผนโบราณ

สถานที่ตั้ง (นายประเวศ บุญส่ง) อายุ ๖๕ ปี ที่อยู่ ๒๓/๒ หมู่ที่ ๑ ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

        มือถือ ๐๙๘-๐๑๗๓๐๒๙

       
 
   
 

 

 

 

 

 

 

 


ประวัติความเป็นมา

การแพทย์แผนโบราณ  แพทย์แผนไทย เป็นความรู้ที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ จากในอดีตที่ไม่ มีเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาให้การช่วยเหลือ ชาวบ้านที่เจ็บป่วยจึงต้องหันไปพึ่งพาหมอที่อยู่ตามชุมชนหมู่บ้านในละแวก ใกล้เคียง ซึ่งหมอเหล่านี้ก็มีการนำเอาความรู้มาจากตำราบันทึกประสบการณ์ และการบอกเล่าจากหมอรุ่นเก่า กลายเป็นที่พึ่งพิงสำหรับชาวบ้านมาช้านาน

นายประเวศ บุญส่ง ได้ประกอบอาชีพแพทย์แผนไทย (แผนโบราณ) มาเป็นเวลา ๒๐ ปี ด้วยตัวยาสมุนไพร ประมาณ  ๖๐๐-๗๐๐ ชนิด เครื่องยาส่วนใหญ่ซื้อมาประมาณ ๘๐% และปลูกเอง ๒๐%

ผลงานของแพทย์แผนไทย รักษาโรคทั่วไป องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไทย

ในปี ๒๕๔๕ นายประเวศ บุญส่ง ได้สอบจนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ในสาขาเภสัชกรรม และรับเกียรติบัตรต่างๆ เช่น อสม.ดีเด่นระดับจังหวัด ปี ๒๕๕๓ สาขาการแพทย์ไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ,ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกลุ่มผู้ผลิตหรือจำหน่ายยาแผนไทยแพทย์แผนไทย

ประโยชน์ที่ได้รับ

๑.   ผลการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  

๒.   ใช้ยาปริมาณน้อย

๓.   มีแพทย์ที่ชำนาญการและเชื่อถือได้  

คำอธิบาย: ในภาพอาจจะมี ข้อความ และ สถานที่กลางแจ้ง๔.  วิธีในการรักษาสมารถเชื่อถือได้เพราะใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ 

 

 

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ  โดยตรง ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๑ ตำบลคลองหิน

อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

  

 

 

 


สถานที่ตั้ง  เลขที่ ๒๗ ม.๓ (บ้านป่างาม) ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

ผู้ประกอบการ นายหร่อหลี  สายวารี  มือถือ ๐๘๙-๕๘๗๐๘๐๕  

ประวัติความเป็นมา

“ฝาขัดแตะ”เป็นการนำไม้ไผ่มาผ่าซีก หรือทำประโยชน์ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ในปัจจุบันเริ่มมีผู้สนใจมากการทำฝาขัดแตะเป็นจัดเป็นงานจักรสานที่ต้องอาศัยความประณีตบรรจง เพราะนอกจากจะเป็นของความแข็งแรงทนทานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความสวยงามอีกด้วย

การทำฝาขัดแตะ นายหร่อหลี สายวารี  ได้ใช้ไม้ไผ่โป หรือไผ่โปะ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า (Zchizostachyum brachycladum Kurz) เป็นไม้ไผ่ที่ขึ้นตามธรรมชาติและพบมากทางภาคใต้ โดยเฉพาะแถวจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช ชอบขึ้นบนพื้นที่ราบ ตามป่า ขึ้นเป็นกอๆ หนึ่งมีประมาณ ๓๐ ลำ

การทำนี้ไม้ไผ่ที่นำมาผ่าเป็นซี่ ๆ  ขนาด    เซนติเมตร  ไม้ไผ่ ๑ ท่อน ผ่าออกได้ ๑๒ ซี่ ผ่าด้วยจำเปา หลังจากนั้นใช้มีดมาเหลาข้อออกผ่าเป็น ๒  ซีก  ด้านอยู่ข้างนอกติดผิวมันมีความแข็งแรง  สวยงาม เรียกว่า "หลังไม้ไผ่ " ส่วนอีกซีกอยู่ด้านในเรียกว่า "หน้าไม้ไผ่ " เวลาสานต้องทำทั้งสองส่วนมาผสานสลับกันและเห็นลายชัดเจน ลายที่ใช้คือ
          ๑. ลาย ๒                              ๕. ลายลูกแก้วสีดอก
          ๒. ลาย ๓                              ๖. ลายลูกแก้วดอกเดียว
          ๓. ลายลูกแก้วชิ้นเดียว               ๗. ลายไทย
          ๔. ลายลูกแก้ว ๒ ชิ้น                ๘. ลายปีกเหยี่ยว

ลายที่ใช้นิยม ลายลูกแก้วและลายปีกเหยี่ยว เพรามีความสวยงามแข็งแรงมาก

ประโยชน์ที่ได้รับการประยุกต์ใช้
   
        ๑. ใช้ทำฝาบ้าน  รีสอร์ท  นำไปตกแต่งอาคาร เช่น ผนังห้องประชุม ทำฝ้าเพดาน สามารถทำรายได้ให้กับชุมชนผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่าย แคร่ ซุ้ม ศาลา ฝาสาน ฯลฯ

๒.     ใช้เองในครัวเรือน

๓.     ลดรายจ่าย เสริมสร้างรายได้ สร้างอาชีพ

๔.     เสริมสร้างทักษะ ความคิดสร้างสรรค์

คำอธิบาย: ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ  โดยตรง ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองหิน

อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

 

 

แหล่งเรียนรู้ การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะดีไซด์

 

ที่ตั้ง

     กศน.ตำบลคลองหิน หมู่ที่ ๑ บ้านศาลาพระม่วง ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๙๔๙๘๙๓

 

คำว่าปาเต๊ะ

เป็นภาษามลายู แหล่งกำเนิดของผ้าปาเต๊ะในชวา อินเดีย จีน แต่ละแห่งจะแตกต่างกันเล็กน้อย  โดนเฉพาะที่เกาะชวาการทำผ้าปาเต๊ะจะมีเทคนิคการทำที่สูงมาก โดยเฉพาะลวดลาย การนย้อมสี ตลอดจนเนื้อผ้าอินโดนีเซียที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผ้าปาเต๊ะชั้นสูง เนื่องจากภาคใต้ ส่วนมากนิยมนำผ้าปาเต๊ะเป็นเครื่องแต่งกายประจำท้องถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ อันเป็นจุดประกายให้ทางกลุ่มสนใจ ศึกษา รวบรวมข้อมูล และออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน โดยมุ่งเน้นออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนให้ความนิยมในท้องถิ่นของจังหวัดกระบี่ เน้นให้มีลวดลายที่โดดเด่น สะดุดตา และสวยงามประณีตต่อผู้พบเห็น วัสดุ สี ลูกปัด วัตถุดิบ ที่เลือกใช้ในงานต้องเป็นวัสดุที่คัดสรรอย่างมีคุณภาพ ด้วยลวดลายที่บ่งบอกถึงความงามที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอย่างลงตัว ซึ่งเป็นที่นิยมของสตรีทุกวัย
          กศน.ตำบลคลองหิน ได้จัดทำโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน “หลักสูตรการเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ หลักสูตร ๔๐ ชม. ผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะ เช่น ผ้าถุง ผ้าปาเต๊ะเพ้นท์ลาย เพ้นท์ผ้าปาเต๊ะปักเลื่อม เป็นต้น

ผลงาน

การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ ตัวแทนสำนักงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกระบี่ จัดนิทรรศการ การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะดีไซด์ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ เมษายน ๒๕๕๙  ณ ตลาดนัดคลองผดุงกรุงเกษม กรุงเทพมหานครฯ  และสามารถออกบูธจัดนิทรรศการในการจัดแสดงสินค้างานต่างๆ มากมาย

                        

คำอธิบาย: ในภาพอาจจะมี ข้อความ และ สถานที่กลางแจ้งประโยชน์ที่ได้รับ

๑.     ลดรายจ่าย เสริมสร้างรายได้ สร้างอาชีพ

๒.     ใช้เองในครัวเรือน

๓.     เสริมสร้างทักษะ ความคิดสร้างสรรค์

           

 

 
 

 

 

 

 

 


       
   
  แหล่งเรียนรู้ วิสาหกิจชุมชน “การผสมปุ๋ย”
 

 

 

 


ที่ตั้ง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผสมปุ๋ย 47/4 ม.2 บ้านนบ ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

นายวินิจ  พึ่งหล้า : เบอร์โทรศัพท์ ๐๘-๔๘๔๑-๔๗๔๙

 

ประวัติความเป็นมา

ใช้ปุ๋ยเคมีผสมเอง ทางเลือกที่อยากบอกต่อ  ในภาวะเศรษฐกิจอย่างปัจจุบันนี้ ทุกคนต้องปรับตัวเพื่อรับกับสถานการณ์ที่รายได้ลดลงแต่รายจ่ายยังคงเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก  สำหรับชาวสวนยางพาราแล้ว ปุ๋ยเคมีเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวสวนแต่ละคนต้องจ่ายไปไม่น้อย ในแต่ละปี และในปีที่ผ่านมานี้ปุ๋ย (ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตหลัก อย่างหนึ่ง รองจากค่าแรง) มีราคาแพงมาก ทำให้ต้นทุนของพี่น้องชาวสวนยาง ในส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้นมาก จนบางคนต้องลดปริมาณปุ๋ยลง ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยางพาราลดลง นั่นคือ รายได้ของชาวสวน ลดลงไปด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ

๑.     การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต 

๒.     เลือกสูตรและอัตราการใช้กับพืชเองจากคำแนะนำ คำนวณหาปริมาณและชั่งแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดจากตารางหนังสือคู่มือการผสมปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ 

๓.     ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม/ปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน

๔.    ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เวลาและแรงงานในครัวเรือน ให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภา

คำอธิบาย: ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การผสมปุ๋ยใช้เอง

 
  คำอธิบาย: ในภาพอาจจะมี ข้อความ

 

 

คำอธิบาย: ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การผสมปุ๋ยใช้เอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 
 

แหล่งเรียนรู้ การปลูกต้นแก้วมังกร

 

 

 


          สถานที่ตั้ง 37/9  ม.๕ บ้านช่องไม้ ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

 

นางไหรหนับ อุมาสะ     เบอร์โทร : ๐๘๑-๒๗๒-๔๘๐๔

 

ประวัติความเป็นมา สำหรับผู้ที่รักสุขภาพหลายคน  คงจะต้องลงคะแนนให้กับผลไม้ที่มีรูปร่างสวยงาม  สีสันสดใส   และมีชื่อเรียกที่ไพเราะอย่าง  แก้วมังกร”  ให้เป็นผลไม้ที่มากคุณค่า และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ดูแลรูปร่าง ดูแลสุขภาพด้วย

สรรพคุณ ต้านทานกระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อ และในแก้วมังกรเนื้อแดงนั้น ยังมีสารไลโคปีนที่สามารถต่อต้านมะเร็งได้อีกด้วยด้วยรสชาติที่หวานน้อยประกอบกับคุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกรที่มีมากมายเช่นนี้   จึงทำให้เป็นผลไม้ที่หลายๆ คนชื่นชอบ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รักสุขภาพ กลัวความหวาน กลัวไขมัน ต้องการลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก  รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ช่วยบำรุงผิว  มีส่วนช่วยบำรุงผิวทำให้ผิวสวยเรียบเนียน กระจ่างใสขึ้นและยังลดการเกิดสิวด้วย

2. ดับกระหายได้ดี  ด้วยรสชาติหวานอ่อนๆ ของแก้วมังกร จึงช่วยดับกระหายได้อย่างดีเยี่ยมเลยล่ะ

3. เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีสรรพคุณเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง และยังช่วยต่อต้านโรคภัยต่างๆ

คำอธิบาย: ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ4. ตัวช่วยลดน้ำหนักได้ผล แก้วมังกร เป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงจึงทำให้ช่วยลดน้ำหนักและเป็นตัวช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลคลองหิน “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่”

 

 

 

 

สถานที่ตั้ง ๓ ม.๒ ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

นายสมาน ศุภพรพงศ์  เบอร์โทรศัพท์ : ๐๘๐-๘๗๙๒๗๙๗

 

ประวัติและความเป็นมาของศูนย์ฯ

เนื่องจากในพื้นที่ “บ้านนบ” ไม่มีจุดศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน นายสมาน ศุภพรพงษ์ จึงได้ร่วมกันกับผู้นำชุมชน, อบต.คลองหิน,ประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร หลังจากนั้น คนในชุมชนและภายนอกชุมชนมาใช้บริการ โดยเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ ในชุมชน  มีแนวทางการสอนคนให้ปรับเปลี่ยนแนวคิด บนพื้นฐานของความเป็นจริงของแต่ละบุคคล โดยอาศัยทุน คือ ภูมิปัญญาที่มีอยู่  นำมาปรับใช้เกิดประโยชน์ เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่ โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2551

 

ประโยชน์ที่ได้รับ     

องค์ความรู้ที่อยู่บนพื้นฐาน ของความเป็นจริงและสามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้มาศึกษาได้ 7 องค์ความรู้ คือ การผลิตอาหารสัตว์ 4 กระเพาะ (โดยใช้ใบทางปาล์ม) การเลี้ยงแพะ โดยไม่กินหญ้า การเลี้ยงเป็ด และไก่คอล่อน เตาแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  การปลูกพืชผสมผสานต่างระดับ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ สมุนไพรรักษาโรค การทำนาข้าว การปลูกข้าวไร่ การปลูกพืชตีกลับ และการทำบัญชีครัวเรือน

       
   
 
 

คำอธิบาย: ในภาพอาจจะมี ข้อความ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


       แหล่งเรียนรู้ตำบลคลองหิน

       
 
 
   

 


 

 

 


            

              ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออ่าวลึก

           สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกระบี่

                  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



เข้าชม : 765


ทดสอบหมวดหมู่ 5 อันดับล่าสุด

      แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลคลองหิน 18 / เม.ย. / 2560
      แผนปฏิบัติงาน เดือน ม.ย. 24 / มิ.ย. / 2559
      ใบงาน สุขศึกษา พละศึกษา 24 / มิ.ย. / 2559
      แผน-ผล การปฏิบัติงาน 19 / มี.ค. / 2559
      คู่มือ ใบงาน วิชา ศิลปศึกษา ม.ปลาย 9 / ก.พ. / 2559


 
 

  กศน.ตำบลคลองหิน

ที่อยู่ ม.๑ บ้านศาลาพระม่วง ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ๘๑๑๑๐
E-mail  setehayard@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี