[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

เนื้อหา : Download
หมวดหมู่ : ทดสอบหมวดหมู่
หัวข้อเรื่อง : ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙

ศุกร์ ที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558


 

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดําเนินงาน สํานักงาน กศน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙

------------------------------------------------------------------------------------------

ปรัชญา

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ปรัชญาคิดเป็น” 

วิสัยทัศน์

 กศน. ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับคนไทยอย่างเสมอภาค เท่าเทียม ทั่วถึง และมีคุณภาพ  

พันธกิจ

๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้   ตลอดชีวิต

๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชน ในการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

๓. ส่งเสริมและพัฒนาการนําเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๔. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผล ในทุกรูปแบบ

๕. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการเพื่อมุ่งจัดการศึกษาที่มีคุณภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วม
เป้าประสงค์

๑. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษาได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

๒. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยที่เป็นไปตามสภาพ ปัญหา และความต้องการของแต่ละกลุ่ม

๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและปรัชญาคิดเป็น อาทิหมู่บ้านตามรอยพระยุคลบาท หมู่บ้านแห่งการอ่าน บ้านหนังสือชุมชน แหล่งการเรียนรู้ชุมชน

๔. ประชาชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตและ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมี กศน.ตําบล ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่นใน ชุมชนเป็นกลไกในการจัดการเรียนรู้

๕. ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์

๖. ชุมชนมีการจัดการความรู้ของชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

๗. ชุมชนและทุกภาคส่วน ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดําเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๘. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาและนําสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและ   การสื่อสาร มาใช้ในการเพิ่มโอกาสและยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้

๙. บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง

๑๐. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

ตัวชี้วัด

๑. จํานวนกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษาที่ได้รับบริการการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๒. จํานวนของคนไทยกลุ่มเป้าหมายต่างๆ (กลุ่มเป้าหมายทั่วไป กลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มคน ไทยทั่วไป เป็นต้น) ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการ

๓  ร้อยละของผู้เรียนและผู้รับบริการที่มีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร/ กิจกรรม

 ๔. ร้อยละของผู้ไม่รู้หนังสือที่ผ่านการประเมินการรู้หนังสือตามหลักสูตรส่งเสริมการรู้หนังสือ

๕.  ร้อยละของชุมชนที่มีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้อันเป็นผลเนื่องจากการเข้าร่วม กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๖. ร้อยละของชุมชนที่ใช้แหล่งการเรียนรู้ชุมชนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

๗.  จํานวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการศึกษาอบรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษและภาษากลุ่ม ประเทศอาเซียน

๘. ร้อยละของผู้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษากลุ่มประเทศอาเซียน และอาเซียนศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร

๙.  จํานวนกิจกรรม/หลักสูตรที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นกระบวนการ/สาระในการเรียนรู้

๑๐.  จํานวนองค์กรภาคส่วนต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดําเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๑๑. จํานวน/ประเภทของสื่อ และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีการจัดทํา/พัฒนาและนําไปใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

๑๒. จํานวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ เข้าถึงบริการความรู้นอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยผ่านช่องทางส ื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีการสื่อสาร

๑๓. จํานวนบุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการ ปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๑๔.  ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดที่มีระบบประกันคุณภาพภายในและมีการจัดทํารายงานการประเมินตนเอง

๑๕. ร้อยละของสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.

๑๖. ร้อยละของหน่วยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดทําฐานข้อมูลชุมชนและการบริหารจัดการ เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานการศึกษานอก ระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยขององค์การ

๑๗. ร้อยละของหน่วยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่สามารถดําเนินงานโครงการ/กิจกรรมตาม บทบาทภารกิจที่รับผิดชอบได้สําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างโปร่งใสตรวจสอบได้โดยใช้ทรัพยากร อย่างประหยัด/ตามแผนที่กําหนดไว้

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดําเนินงาน

  ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพการศึกษา

จุดเน้นการดําเนินงาน

๑.๑ เร่งลดจํานวนผู้ไม่รู้หนังสือ

๑.๒ มุ่งเน้นจัดการศึกษานอกระบบให้กับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ อาทิ ประชาชนวัยแรงงานท ี่ไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กออกกลางคัน พื้นที่ชายขอบ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เร่ร่อน กลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ชายแดนใต้ แรงงานต่างด้าว ที่สอดคล้องกับ สภาพ ความต้องการ และความจําเป็น ของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

๑.๓ ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้ โดยการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี     เพื่อการศึกษา การพัฒนาระบบ ICT การพัฒนาบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง การพัฒนารูปแบบการ จัดการเรียนรู้การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา การประเมินเทียบระดับการศึกษา การพัฒนาระบบการสะสมและเทียบโอนผลการเรียน และให้ความสําคัญกับการวิจัยเพื่อการพัฒนางาน ในรูปแบบต่างๆ

๑.๔ ใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและเหมาะสมเป็นเครื่องมือ ในการสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษา อาทิการจัดการศึกษานอกระบบผ่านทีวีสาธารณะ (ติวเข้ม เติมเต็มความรู้) ETV วิทยุกระจายเสียง Social Media ในรูปแบบต่างๆ Application บน Smart Phone สื่อ Off line ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลาย มีความถูกต้องและสอดคล้องกับ ความจําเป็นและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย เสนอผ่านช่องทางดังกล่าว

๑.๕ สร้างค่านิยมอาชีวศึกษา เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาโดยขยายโครงการ เรียนร่วมหลักสูตร อาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.” (ทวิศึกษา กศน.) ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด

๑.๖ มุ่งเน้นการฝึกหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในวิชาช่างพื้นฐาน (ช่างไม้ช่างปูน ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างประปา ช่างไฟฟ้า ฯลฯ) และวิชาชีพระยะสั้นอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่ และส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาชีพ ในอันที่จะประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ได้จริง          ๑.๗ ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อกระดับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพแรงงาน ในจังหวัดที่มี พื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสร้างโอกาสและศักยภาพ ในการสร้างงานและการพัฒนาอาชีพที่เป็นไปตาม ความต้องการและบริบทของพื้นที่พิเศษ

  ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างอุดมการณ์รักชาติศาสน์กษัตริย์และสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์

จุดเน้นการดําเนินงาน

 ๒.๑ ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริหรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากพระราชวงศ์

๒.๒ ส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๒.๓ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การสร้างจิตสาธารณะ การต้านยาเสพติด ในรูปแบบกิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด กิจกรรมค่าย การแข่งขันกีฬา

๒.๔ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์และข้อมูลความเป็นมาของชุมชนเพื่อสร้างสํานึก การรักถิ่นและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

๒.๕ เร่งสร้างความรู้ความตระหนัก และปลูกจิตสํานึกด้านคุณธรรม จริยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนความรู้เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร ทุกระดับทุกประเภท

 ยุทธศาสตร์ที่ ๓ จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต

 จุดเน้นการดําเนินงาน

 ๓.๑ มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดชุมชนรักการอ่าน สร้างการอ่าน เสริมการเรียนรู้ในรูปแบบ หมู่บ้าน/ชุมชนแห่งการอ่าน อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน บ้านหนังสือชุมชน

๓.๒ มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว อาทิหลักสูตรครอบครัว ศึกษา ค่ายครอบครัว การจัดกระบวนการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุ Book-start การส่งเสริมการอ่านสําหรับ เด็กปฐมวัย บ้านหลังเรียน

๓.๓ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนในรูปแบบกลุ่มสนใจในเรื่องต่างๆ อาทิ การจัดการขยะ การประหยัดพลังงาน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การใช้กระบวนการเรียนรู้ ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพอนามัย ความรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ความสามัคคี ปรองดอง ความพอเพียง

 ๓.๔ ดําเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านอาเซียนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ทําหน้าที่ รวบรวม และจัดทําฐานข้อมูลพื้นฐานของศูนย์อาเซียนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สังเคราะห์ แนวทางการการดําเนินการของศูนย์อาเซียนในแต่ละพื้นที่ และจัดทําข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการ พัฒนามาตรฐานศูนย์ฯ

๓.๕ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนในเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัย สร้างสรรค์ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนและความจําเป็นเร่งด่วนต่างๆ ของแต่ละชุมชน รวมทั้งมีการบูรณาการความรู้ในชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆ ของ กศน. และใช้ ทุนทางสังคมของแต่ละชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้โดยใช้กศน.ตําบล/แขวง ที่ดําเนินการอยู่แล้วให้เกิด ประโยชน์สูงสุด

 ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้

จุดเน้นการดําเนินงาน

 ๔.๑ จัดและพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ที่หลากหลายและ ตอบสนองปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งอัตลักษณ์และความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่

๔.๒ พัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาที่เป็นไปตามบริบท และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ อาทิการสอนภาษาไทยให้กับกลุ่มเปาหมายประชาชนในพื้นที่ การสอนมลายูถิ่นให้กับข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่

 ๔.๓ จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่ เป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่

๔.๔ จัดและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เปิดโลกทัศน์สร้างเสริมสุขภาพ สร้างความมีวินัย ความรัก ความสามัคคีและความสมานฉันท์ การยึดมั่นในหลักคุณธรรมและสถาบันหลัก ของชาติให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง

 ยุทธศาสตร์ที่ ๕ พัฒนา กศน.ตําบลให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการจัดและส่งเสริมการจัด การศึกษาเพื่อสร้างและกระจายโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน

จุดเน้นการดําเนินงาน

๕.๑ ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน.ตําบล/แขวง โดยเน้นการประสานเชื่อมโยงระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และภาคีเครือข่ายอื่น ที่ดําเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ เพื่อการทํางานร่วมกัน การส่งต่อ ผู้เรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในอันที่จะเสริมสร้างสมรรถนะสําหรับการให้บริการทาง การศึกษาที่ สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

 ๕.๒ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กศน.ตําบล ให้มีความพร้อมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้มีความพร้อมในการให้บริการการศึกษาและการ เรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนและชุมชน และสร้างโอกาสในการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

๕.๓ พัฒนากระบวนการดําเนินงานใน กศน.ตําบล โดยให้ความสําคัญกับการใช้วงจรคุณภาพ เดมมิ่ง (PDCA) เพื่อการวางแผน การปฏิบัติงาน การติดตามประเมินผล และการนําผลมาพัฒนาการ ดําเนินงาน กศน.ตําบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง  

 กลไกการขับเคลื่อน

 ๑. ระดับตําบล

 ๑.๑ จัดทําแผนพัฒนา กศน.ตําบล ในรูปแบบ Micro Planning เพื่อการขับเคลื่อนงานในระดับ ตําบล

๑.๒ ใช้แผนปฏิบัติการ กศน.ตําบลเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานในสถานศึกษาและเป็น กรอบแนวทางในการติดตามประเมินผล

 ๑.๓ ใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กศน. โดย กศน.ตําบล ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งเรียนรู้ชุมชน เป็นหน่วยจัดและให้บริการ

๑.๔ ใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) ในกระบวนการดําเนินงาน

  ๒. ระดับสถานศึกษา

  ๒.๑ จัดทําแผนพัฒนา กศน.อําเภอ และแผนปฏิบัติการ กศน.อําเภอ โดยใช้ข้อมูลจากแผนพัฒนา กศน.ตําบล และ แผนปฏิบัติการ กศน.ตําบล

๒.๒ ใช้ข้อมูลแผนพัฒนา กศน.ตําบล และ แผนปฏิบัติการ กศน.ตําบล ในสังกัดของ กศน.อําเภอ เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการการดําเนินงาน

 ๒.๓ สถานศึกษาขึ้นตรงจัดทําแผนพัฒนาสถานศึกษาตามบทบาทภารกิจที่สอดคล้องกับบริบทของ พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินงานของหน่วยงาน สถานศึกษา

 ๓. ระดับจังหวัด

 ๓.๑ จัดทําแผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการ กศน.ระดับจังหวัด โดยใช้ข้อมูลจากแผนพัฒนา กศน. อําเภอ และ แผนปฏิบัติการ กศน.อําเภอ

๓.๒ บริหารและกํากับติดตามให้เป็นไปตามแผน

  ๔. ระดับสํานัก

 ๔.๑ จัดทํานโยบายและจุดเน้นการดําเนินงาน

 ๔.๒ การสื่อสารทิศทางองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจในการดําเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นให้กับ บุคลากรทุกระดับ ทุกประเภท

๔.๓ ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การดําเนินงาน

๔.๔ จัดทํามาตรฐาน และตัวบ่งชี้ การดําเนินงานเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการนิเทศ ติดตาม และ ประเมินผล

๔.๕ ปรับปรุงแก้ไข กฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติและข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ ให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 ๔.๖ จัดทําคู่มือแนวทางการดําเนินงานในแต่ละกิจกรรม

 ๔.๗ ระดมสรรพกําลังทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัด การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 



เข้าชม : 458


ทดสอบหมวดหมู่ 5 อันดับล่าสุด

      แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลคลองหิน 18 / เม.ย. / 2560
      แผนปฏิบัติงาน เดือน ม.ย. 24 / มิ.ย. / 2559
      ใบงาน สุขศึกษา พละศึกษา 24 / มิ.ย. / 2559
      แผน-ผล การปฏิบัติงาน 19 / มี.ค. / 2559
      คู่มือ ใบงาน วิชา ศิลปศึกษา ม.ปลาย 9 / ก.พ. / 2559




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
 

  กศน.ตำบลคลองหิน

ที่อยู่ ม.๑ บ้านศาลาพระม่วง ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ๘๑๑๑๐
E-mail  setehayard@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี