[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


สาระการเรียนรู้หมวดวิชา
หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนประกอบด้วย 8 หมวดวิชา คือ กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน
หมวดวิชา ภาษาไทย
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาภาษาไทย ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม


หมวดวิชา คณิตศาสตร์
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์


หมวดวิชา วิทยาศาสตร์
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หมวดวิชา ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
กลุ่มหมวดวิชา ประสบการณ์


หมวดวิชา พัฒนาทักษะ 1 (สุขศึกษาและพลานามัย)

สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาทักษะ 1 ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต


หมวดวิชา พัฒนาทักษะชีวิต 2 (ดนตรี นาฏศิลป์)

สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2 ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
สาระที่ 2 ดนตรี
สาระที่ 3 นาฏศิลป์


หมวดวิชา พัฒนาสังคมและชุมชน
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์


หมวดวิชา พัฒนาอาชีพ
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาอาชีพ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 2 การอาชีพ
สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
การจัดกระบวนการเรียนรู้
      การจัดกระบวนการเรียนรู้ตลอดหนึ่งภาคเรียนนั้น มีกิจกรรมการเรียนรู้อยู่  4 กิจกรรม  ที่ครูจะต้องดำเนินการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ คือ การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องโดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวจะเกิดผลดีกับผู้เรียนได้นั้น ครูต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง ฝึกนิสัยให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ ทำกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในแต่ละสัปดาห์ครูจะต้องกำหนดให้ผู้เรียนแต่ละคนใช้เวลาศึกษาเรียนรู้เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
      1. การพบกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
      2. การทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องโดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมตามที่มอบหมาย อย่างน้อย 15 ชั่วโมง/สัปดาห์
      3. การทำโครงงาน อย่างน้อย 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวมเวลาที่ใช้ในการพบกลุ่ม กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย และการทำโครงงานอย่างน้อย 21 ชั่วโมง/สัปดาห์
      4. การสอนเสริม โดยครูหรือวิทยากรตามที่วางแผนไว้
      5. การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จำนวน 100 ชั่วโมง

สาระสำคัญของกิจกรรม มีดังนี้
  (คลิกเลือกหัวข้อที่ต้องการ)
   การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม
   การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง
   การจัดการเรียนรู้โดยการทำโครงงาน
   การสอนเสริม
   กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) 
   แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
       1) การวัดผลและประเมินผลการเรียนหมวดวิชา (กพช.)
       2) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์   3) การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน   4) การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) 
       5) เกณฑ์การจบหลักสูตรทุกระดับ
       6) การประเมินคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียนระดับชาติ    7) การเทียบโอนผลการเรียน 

1. การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม

       ในทุกสัปดาห์ครูจะต้องจัดให้มีการพบกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันโดยมีครู เป็นผู้อำนวยความสะดวก กระตุ้นเสริมแรง ให้คำปรึกษา และให้ข้อเสนอแนะโดยใช้เวลาในการพบกลุ่มไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เพื่อทำกิจกรรม คือ
       1.1 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรืองานกลุ่มเป็นการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย การจัดการเรียนรู้เช่นนี้ ให้นักศึกษานำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งครูได้มอบหมายให้แต่ละคน ไปศึกษาค้นคว้าไว้ล่วงหน้าแล้ว ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนต่างก็ช่วยกันเรียนและเติมเต็มความรู้ แก่กันและกัน
       1.2 การนำเสนอโครงงาน ผู้เรียนจะนำเสนอความคิด และความก้าวหน้าในการทำโครงงานต่อกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นและครูช่วยกันวิเคราะห์ ซักถาม ให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการต่อยอดทางความคิดและนำไปสู่การพัฒนาโครงงานในสัปดาห์ต่อไป การนำเสนอโครงงานเช่นนี้ จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน
       1.3 การสอบย่อย (Quiz) เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจสาระเนื้อหา โดยครูและสถานศึกษา (กศน.อำเภอ/กศน.เขต) เป็นผู้จัดทำข้อทดสอบย่อย ในลักษณะ ถาม-ตอบ (Quiz) ให้ผู้เรียนตอบคำถาม เป็นข้อเขียนสั้น ๆ ซึ่งสรุปความคิดรวบยอด ที่เป็นความรู้ความเข้าใจของตัวผู้เรียนเอง
       1.4 จัดการเรียนการสอนตามสาระที่ได้วางแผนร่วมกันไว้แล้ว โดยครูเป็นผู้สอนเพิ่มเติมความรู้หรือเนื้อหาสาระที่จำเป็นซึ่งนักศึกษายังไม่เข้าใจและต้องการจะเรียนรู้
       1.5 ฝึกกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากกลุ่ม จากสื่อ โดยครูเป็นผู้กระตุ้นและเสริมแรงให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาการพบกลุ่ม การแสดงออกของผู้เรียนที่มีหลายรูปแบบ เช่น การฟังอย่างตั้งใจในสิ่งที่มีผู้นำเสนอ ช่วยคิดตั้งคำถามให้คิด ร่วมอภิปราย ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
       1.6 วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง เป็นการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน นัดหมายกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้เรียนต้องทำระหว่างสัปดาห์ รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูจะต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าตามแผนการเรียนรู้ที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ เน้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่จะนำเสนอสัปดาห์ต่อไป และกำหนดภารกิจสำหรับผู้เรียนคนอื่น ๆ ด้วย

 

จำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียนตลอดหลักสูตร

       ในแต่ละระดับการศึกษา ได้กำหนดค่าสาระการเรียนรู้ในแต่ละหมวดวิชาเป็นหน่วยกิต โดยกำหนดให้ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง จำแนกได้ดังนี้

ระดับประถมศึกษา 
        ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ประกอบด้วยกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 5 หน่วยกิต รวม 20 หน่วยกิต กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 7 หน่วยกิต รวม 28 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง


ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
        ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ประกอบด้วย กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 6 หน่วยกิต รวม 24 หน่วยกิต กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 8 หน่วยกิต รวม 32 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง


ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
        ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ประกอบด้วย กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 7 หน่วยกิต รวม 28 หน่วยกิต กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ จำนวน 4 หมวดวิชา หมวดวิชาละ 12 หน่วยกิต รวม 48 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง


เวลาเรียน

       การจัดการศึกษา โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ปีการศึกษาหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียน ประมาณภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตรแต่ละระดับการศึกษาไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นในกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน สามารถจบหลักสูตร ก่อน 4 ภาคเรียนได้


การลงทะเบียนเรียน

       การลงทะเบียนเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตรแต่ละระดับการศึกษา ภาคเรียนละไม่เกิน 2 หมวดวิชา ในหลักสูตร นี้ไม่มีการเปิดเรียนภาคฤดูร้อน เนื่องจากเวลาเพียง 1 เดือน ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามหลักสูตรกำหนด


โครงสร้างหลักสูตร

       การจัดโครงสร้างหลักสูตร ตามเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในแต่ละระดับการศึกษาประกอบด้วยกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีแผนภูมิโครงสร้างหลักสูตรดังนี้

         
     
โครงสร้างหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ระดับประถมศึกษา
   
         
   
โครงสร้างหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 
         
 
โครงสร้างหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 
       

สาระการจัดการศึกษานอกโรงเรียน แบบพบกลุ่ม

       การจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ได้ยึดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  โดยมีการปรับสาระการเรียนรู้ในแต่ละระดับการศึกษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนการศึกษานอกระบบ ดังนี้
       1.  สาระการเรียนรู้ที่ต้องเรียนในแต่ละระดับการศึกษา สาระการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียน มี 8 หมวดวิชา ประกอบด้วย กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาคณิตศาสตร์ หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ และหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ และหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 (พลานามัย) หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2 (ดนตรีและนาฏศิลป์) และหมวดวิชาพัฒนาอาชีพ ซึ่งผู้เรียนทุกระดับการศึกษาต้องเรียนให้ครบทั้งกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน และกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์
       2.  กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้นำมวลประสบการณ์และทักษะ ที่ได้จากการเรียนรู้ตามหลักสูตร ไปพัฒนาความรู้ความสามารถของตนตามศักยภาพเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่จัดให้เรียนรู้ในหมวดวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยใช้กระบวนการ คิดเป็น ในการดำเนินกิจกรรมบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม และกระบวนการกลุ่มอันจะส่งผลให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีคุณธรรม และมีความสุข ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นเงื่อนไขที่ผู้เรียนทุกคนต้องทำก่อนการจบหลักสูตร โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมดังกล่าวทุกภาคเรียน หรือภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง โดยสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมหรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มานับรวมเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ทั้งนี้กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
              2.1   กิจกรรมพัฒนาตนเองและครอบครัว เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสิ่งแวดล้อมของครอบครัว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ร่วมในสังคมและชุมชน ได้อย่างมีความสุข
              2.2   กิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

หลักฐานการสมัคร

    ผู้สมัครต้องเตรียมหลักฐานการสมัครให้ถูกต้องครบถ้วน ดังนี้
      1. ใบสมัครเป็นนักศึกษา
      2. รูปถ่าย 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำ และไม่สวมหมวก สวมเสื้อสีขาวมีปก หรือชุดสุภาพ 
         (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน และไม่ใช้รูปถ่ายประเภทโพลาลอยด์ เพื่อใช้ติดใบสมัคร 1 รูป ติดบัตรประจำตัว 1 รูป)
      3. สำเนาทะเบียนบ้านตนเองที่มีชื่อบิดามารดา พร้อมฉบับจริงไปแสดง
      4. สำเนาหนังสือสำคัญแสดงวุฒิ พร้อมฉบับจริงไปแสดง
      5. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมฉบับจริงไปแสดง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า ฯลฯ

การปฏิบัติตนของนักศึกษา

    ผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา
      1. ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
      2. ต้องแต่งกายตามระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา
      3. ต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
      4. ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีระหว่างกันในหมู่คณะ
      5. ต้องไม่ทำอันตรายหรือทำให้เสียหายชำรุด หรือบกพร่องซึ่งทรัพย์สินของสถานศึกษาและผู้อื่น
      6. ต้องไม่เล่นการพนันหรือมีอุปกรณ์การพนันไว้ในครอบครอง และไม่นำพามาในสถานศึกษา
      7. ต้องไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และสิ่งเสพติดในห้องเรียนโดยเฉพาะในสถานที่พบกลุ่ม
      8. ต้องไม่ประพฤติตนขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ
      9. ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่สถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่
    10. ไม่ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายต่อผู้อื่น

การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา


    นักศึกษาจะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาเมื่อ
      1. สำเร็จการศึกษา
      2. ลาออก
      3. ตาย
      4. ออกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา
      5. ไม่ลงทะเบียนเพื่อรักษาสภาพเป็นนักศึกษาเป็นเวลา 6 ภาคเรียนติดต่อกัน
      6. ขาดคุณสมบัติการเป็นนักศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

การย้ายสถานที่พบกลุ่ม และย้ายสถานศึกษา

        1. การย้ายสถานที่พบกลุ่ม
              - ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอย้ายสถานที่พบกลุ่มต่อ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ที่ตนสมัครเป็นนักศึกษาอยู่
              - เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะไปพบกลุ่ม ณ สถานที่พบกลุ่มใหม่ได้
        2. การย้ายสถานศึกษา
              - ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอย้ายสถานศึกษา พร้อมแนบหลักฐานดังนี้
                    1. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สวมเสื้อเชิ้ตขาวไม่มีลวดลายและอักษรปักใด ๆ หรือเครื่องแบบชุดสากล พร้อมเขียน ชื่อ – นามสกุล หลังรูป (ไม่ใช้รูปถ่ายแบบด่วนหรือรูปโพลาลอยด์)
                    2. ใบประกาศนียบัตร หรือใบรบ. ที่เป็นวุฒิก่อนเข้าเรียน ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมนำฉบับจริงมาแสดงด้วย
                    3. สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ฉบับ
                    4. บัตรประจำตัวนักศึกษา
                    5. ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี) ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริงมาแสดงด้วย
              - ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ออกใบระเบียนแสดงผลการเรียนให้นักศึกษา เพื่อนำไปแสดงต่อสถานศึกษาใหม่ที่จะไปเรียน


กำหนดวัน เปิด/ปิด ภาคเรียนและเวลาเรียน


        ในปีการศึกษาหนึ่ง แบ่งการเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียน ดังนี้
        ภาคเรียนที่  1       วันเปิดภาคเรียน    วันที่      16  พฤษภาคม
                                   วันปิดภาคเรียน     วันที่      10  ตุลาคม
        ภาคเรียนที่  2       วันเปิดภาคเรียน    วันที่        1  พฤศจิกายน
                                   วันปิดภาคเรียน     วันที่        1  เมษายน

        หนึ่งภาคเรียนจะมี 20 สัปดาห์ นักศึกษาจะต้องมีเวลาพบกลุ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัดให้มีการพบกลุ่มจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบปลายภาค ระยะเวลาเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน


การยื่นคำร้องขอจบการศึกษา

        เมื่อผู้เรียนสอบผ่านเกณฑ์ที่ครบหมวดวิชาตามหลักสูตรแล้ว จะต้องยื่นคำร้องขอจบการศึกษาและขอรับใบประกาศนียบัตรที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ โดยนำหลักฐานต่อไปนี้ มาประกอบ
        1. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวไม่มีลวดลายและอักษรปักใด ๆ หรือเครื่องแบบชุดสากล พร้อมเขียน ชื่อ – นามสกุล หลังรูป (ไม่ใช้รูปถ่ายด่วนหรือโพลาลอยด์)
        2. ใบประกาศนียบัตร หรือใบรบ. ที่เป็นวุฒิก่อนเข้าเรียน ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมนำฉบับจริง มาแสดงด้วย
        3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
        4. บัตรประจำตัวนักศึกษา
        5. ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี) ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริงมาแสดงด้วย

ศักดิ์ สิทธิ์ และการนำไปใช้

        หลักฐานการเรียนหรือประกาศนียบัตรที่นักศึกษาได้รับจากการเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนนี้ จะมีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับการเรียนในระบบโรงเรียนตามปกติทุกประการ
ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นพื้นฐานปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเองให้ดียิ่งขึ้นหรือผู้ประสงค์จะเรียนต่อไประดับที่สูงขึ้น ก็สามารถนำหลักฐานการเรียนและใบประกาศนียบัตรไปใช้ศึกษาต่อในสถาบัน ต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน

 

 


 
จัดกระบวนการเรียนการสอน
ระดับ ประถม -  ม.ต้น จำนวน ๔๐ คน  ม.ปลาย ๓๖ คน
ณ กศน.ตำบลคลองหิน ม.๑ ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

สภ.อ่าวลึก โดย ดต.ปริญญา ระวิวรรณ์ วิทยากรให้ความรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

 
  

  
กศน.ตำบลคลองหิน
รับสมัคร นักศึกษาใหม่ ๒/๒๕๕๘
หลักฐานการรับสมัคร
๑.สำเนาทะเบียนบ้าน นักศึกษา,มารดา จำนวน ๑ ฉบับ
๒.สำเนาบัตรประชาชน จำนวน ๑ ฉบับ
๓.วุฒิการศึกษา (เดิม) จำนวน ๑ ฉบับ (ฉบับตัวจริง พร้อมสำเนา)
๔.รูปถ่าย ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป
Tel ๐๘๑-๘๙๔๙๘๙๓



การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฏิทินรายภาค

แผนปฏิทินรายภาคเรียน 2/2558  

แผนการสอน

 

ลำดับที่

แผนการสอน

บันทึกหลังการสอน

ใบงาน

1

 ปฐมนิเทศ                            

-

-

2

 กิจกรรมตรวจสุขภาพ

 

 

3

๑.   จัดกิจกรรมเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน

     ๒.  จัดกิจกรรมเรียนรู้วิชาศิลปะ

     ๓.  จัดกิจกรรมเรียนรู้วิชาโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

     ๔.  ชี้แจงการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

 

 

4

๑.      จัดกระบวนการเรียนรู้วิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง (ม.ต้น,ม.ปลาย)

๒.      ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ม.๒ ต.คลองหิน

 

 

5

๑.      นำเสนอผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๒.      จัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง (ม.ต้น)

๓.      จัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวัน (ม.ต้น)

 

 

6

๑.      นำเสนอผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๒.      จัดการเรียนการการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ (ม.ปลาย)

๓.      ชี้แจงกิจกรรมเสริมความรู้ กิจกรรมเข้าค่ายในภาคเรียนที่

๒/๕๘

 

 

7

๑.      จัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย (ม.ต้น,

     ม.ปลาย)

๒.  จัดกระบวนการเรียนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ (ม.ต้น,ม.ปลาย)

๓. ติดตามงานการเรียนรู้ด้วยตนเอง/ความก้าวหน้าโครงงาน

 

 

8

     ๑.  จัดกิจกรรมเรียนการสอนวิชาการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม

 

 

 

๒.      ช่องทางการขยายอาชีพ (ม.ปลาย)

๓.      ติดตามงานการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๔.      ติดตามความก้าวหน้าโครงงานฯ

 

 

     ๑. นำเสนอผลงานการเรียนรู้ด้วยตนเองสัปดาห์ที่ผ่านมา

     ๒.  จัดกระบวนการเรียนรู้วิชาช่องทางการขยายอาชีพ (ม.ปลาย)

     ๓.  ติดตามงานการเรียนรู้ด้วยตนเอง/ความก้าวหน้าโครงงาน

 

 

๑๐

     ๑.  ติดตามรายงาน/โครงงาน/แฟ้มสะสมงาน

๒.จัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาระบบนิเวศ

 

 

๑๑

     ๑. นำเสนอผลงานการเรียนรู้ด้วยตนเองสัปดาห์ที่ผ่านมา

๒.                   จัดกระบวนการเรียนการสอนย้อนรอยถิ่นเมืองดาบ

 

 

๑๒

๑.      ติดตามรายงาน/โครงงาน/แฟ้มสะสมงาน

๒.      จัดการกระบวนการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา พลศึกษา(การดูแลอนามัยตนเอง)

๓.      ตรวจสอบชิ้นงาน/โครงงาน/แฟ้มสะสมงาน

 

 

๑๓

๑.       ติดตามรายงาน/โครงงาน/แฟ้มสะสมงาน

๒.      จัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (ม.ปลาย)

 

 

๑๔

สอบ N-Net

 

 

๑๕

   ๑.   จัดกระบวนการเรียนการสอนิชาคุ้มครองผู้บริโภค (ม.ปลาย)

๒.ติดตามนักศึกษาการเตรียมตัวสอบปลายภาคเรียนที่

๒/๕๘

๓.      ติดตามงาน การเรียนรู้ด้วยตนเอง

 

 

๑๖

 ค่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ ใส่ใจค่านิยม ๑๒ ประการ

 

 

๑๗

 ๑.  จัดกระบวนการเรียนการสอนวิชา การใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน

๒.จัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาการพูดในพิธีการต่างๆ

 

 

๑๘

๑.       ตรวจสอบแฟ้มสะสมงาน

๒.       ส่งชิ้นงาน กิจกรรม กพช.

๔.      ติดตามรายงาน/โครงงาน/แฟ้มสะสมงาน

 

 

๑๙

สรุปเนื้อหา/ปัจฉิมนิเทศ

   

๒๐

สอบปลายภาค

   
       

โครงการทัศนศึกษางานพฤกษาอันดามันกระบี่
วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๙
ณ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรพืชสวนสวน จ.กระบี่
  


 


เข้าชม : 312
 
 
 

  กศน.ตำบลคลองหิน

ที่อยู่ ม.๑ บ้านศาลาพระม่วง ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ๘๑๑๑๐
E-mail  setehayard@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี