[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
สภาพทั่วไป

     ที่ตั้งและอาณาเขต
     ตำบลตลิ่งชันตั้งอยู่ทิศตะวันออกของทะเลอันดามัน  ติดกับทะเลอันดามัน  ห่างจากอำเภอเหนือคลอง  21  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดกระบี่  40  กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด  26  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  16,250  ไร่  มีอาณาเขตและติดต่อกับตำบลและพื้นที่ข้างเคียงดังนี้
     - ทิศเหนือ          ติดต่อกับ    ตำบลคลองเขม้า และตำบลคลองประสงค์  อำเภอเมือง
     - ทิศใต้              ติดต่อกับ    ตำบลเกาะศรีบอยา
     - ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ    ตำบลคลองขนาน
     - ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ    ทะเลอันดามัน

     สภาพภูมิประเทศ
     ตำบลตลิ่งชันมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ  ดินปนทราย  ทางตะวันออกจะมีภูเขาหินปูนสูงสลับต่ำด้านตะวันตกเป็นหาดทรายติดต่อกับทะเลอันดามัน  มีความยาว  13  กิโลเมตร

     สภาพภูมิอากาศ
     ตำบลตลิ่งชันได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  ตะวันออกเฉียงเหนือมีเพียง  2  ฤดู  คือ  ฤดูร้อน  ระหว่างเดือน  มกราคม - พฤษภาคม  และฤดูฝน  ระหว่างเดือน  มิถุนายน - ธันวาคม  ในช่วงฤดูร้อนจะร้อนจัด  เนื่องจากพื้นดินเป็นดินทราย

     หน่วยการปกครอง
    ตำบลตลิ่งชัน  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  6  หมู่บ้าน  คือ
        หมู่ที่  1        บ้านคลองรั้ว        นายศราวุธ   บ่อหนา
        หมู่ที่  2        บ้านตลิ่งชัน         นายบุญนำ  บ่อหนา
        หมู่ที่  3        บ้านคลองยวน      นายประชา  รักษาจิตร
        หมู่ที่  4        บ้านหาดยาว        นายทัศน์พล  คลองยวน (กำนัน ต.ตลิ่งชัน)
        หมู่ที่  5        บ้านปากหรา        นายสามารถ   มาศโอสถ
        หมู่ที่  6        บ้านหลังดา          นายปรีชา  สาโรจน์

     ทรัพยากรธรรมชาติ
     ภูเขา
     ตำบลตลิ่งชันมีภูเขาไม่มากนักส่วนมากจะเป็นภูเขาหินปูน  มีเพียงถ้ำ  มีหินงอก  หินย้อยอนาคตสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลได้  มียอดเขาที่สำคัญ  เช่น  เขายวน  อยู่ในพื้นที่  หมู่ที่  3  บ้านคลองยวน

     แหล่งน้ำ
     ตำบลตลิ่งชันมีแหล่งน้ำผิวดิน  ประกอบด้วยคลอง  5  สาย  ระบบการระบายน้ำตามธรรมชาติส่วนใหญ่ไหลลงมาสู่ทะเล  คลองส่วนใหญ่มีลักษณะตื้นเขิน  คลองที่สำคัญของตำบลตลิ่งชัน  เช่น  คลองน้ำเย็น  คลองจาก  คลองจิก   คลองก้อต้อ   คลองท่าเรือตั้งนิ่ง    เป็นต้น

     สัตว์ป่า
     ในเขตพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน  ปัจจุบันที่สำรวจจะมีสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  เช่น  ลิง  ชะมด  ค่าง  พังพอน  นกเป็ดน้ำ  และสัตว์ปีกจำพวกนกอีกหลายชนิด  และค้างคาวในถ้ำขี้ค้างคาว




มีจำนวนครัวเรือนและจำนวนประชากรจำแนกตามเขตปกครอง  ดังนี้

หมู่บ้าน
ประชากร
จำนวนครัวเรือน
(หลัง)
ชาย
หญิง
รวม
หมู่ที่ 1 544 516 1,060 293
หมูที่ 2 325 336 661 193
หมูที่ 3
536 587 1,123 295
หมูที่ 4
378 385 763 283
หมูที่ 5
463 467 930 197
หมูที่ 6
637 629 1,266 256
รวม
2,883 2,920 5,803 1,517
                                                                                                        ข้อมูล   ณ   เดือน   มกราคม  พ.ศ. 2558

เข้าชม : 318
 
 
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  จังหวัดนครราชสีมา
ถนนสืบศิริ ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมาโทรศัพท์ 0-4424-3350  0-4425-1039  0-4425-5895
โทรสาร  0-4425-8428 
ni_g@hotmail.com  nikorn@korat.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี