[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 การประเมินเทียบระดับการศึกษา

หลักการ

การประเมินเทียบระดับการศึกษาเป็นการประมวลประสบการณ์และความรู้ที่เป็นองค์รวมของบุคคลตามคุณลักษณะที่สำคัญในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม เพื่อรับรองความรู้ความสามารถนั้น ให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้เท่ากับระดับการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การประเมิน

เพื่อให้การดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษามีประสิทธิภาพ จึงแบ่งการประเมินเทียบระดับเป็น มิติ ดังนี้

มิติด้านความรู้ ความคิด มี มาตรฐาน

1. ความสามารถในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และคิดค้น

3. ความสามารถในการแสวงหาความรู้และเทคโนโลยี

4. ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพกายและจิต

5. ความเป็นไทย สากลและพลเมืองดี

6. ความรู้เรื่องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิต

มิติด้านประสบการณ์ มี มาตรฐาน ดังนี้

1. ประสบการณ์ในการพัฒนาอาชีพ

2. ประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและครอบครัว

3. มีประสบการณ์ในการพัฒนาสังคมและชุมชน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. มีสัญชาติไทยหรือเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย

2. ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำในเขตการบริการการเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา

3. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบหรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งประดับเช่นเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ

4. มีพื้นความรู้ในระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าระดับที่ประสงค์จะขอเทียบระดับการศึกษาหนึ่งระดับ

4.1 ระดับประถมศึกษา ไม่จำกัดความรู้พื้นฐาน

4.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สอบได้วุฒิหรือระดับชั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. เดิม)

ประถมศึกษาปีที่ 7 (ป.7)

ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6 )

การศึกษาระดับผู้ใหญ่ปี่ที่ 3

หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษาหรือนาฏศิลป์ชั้นต้นปี่ที่ 3

วุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่าระดับประถมศึกษาปีที่ ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521

หรือนักธรรมชั้นเอก หรือใบรับรอวุฒิการสอบเทียบ ความรู้ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ เพื่อสิทธิบางอย่าง หรือใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ เพื่อสิทธิบางอย่างหรือเป็นผู้ที่เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ ระดับชั้น (เกรด ) การศึกษาปี ที่ หรือ สอบได้ระดับชั้น (เกรด) การศึกษาอย่าน้อยปีที่ 7หรือ ผู้สอบตก ป. ปีการศึกษา 2520 ถือว่าได้ ป. 6

4.3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้วุฒิหรือระดับชั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

สอบได้มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.เดิม) หรือประโยคมัธยมศึกษาปีที่ 3 (มศ.3) หรือมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) หรือการศึกษาใหญ่ระดับที่ หรือการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ หรือ หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเปรียบธรรม ประโยค หรือวุฒิที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 หรือใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เพื่อสิทธิบางอย่างหรือเป็นผู้ที่เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศระดับชั้น(เกรด) การศึกษาปีที่ 10 หรือ สอบได้ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่าน้อยปีที่10 หรือ ผู้สอบตก มศ.ปีการศึกษา 2523 ถือว่าได้ ม. 3

หลักฐานการสมัครเข้ารับการประเมินเทียบระดับการศึกษา

ผู้ขอประเมินเทียบระดับการศึกษา ต้องนำหลักฐานมายืนต่อสถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาในเขตที่ตนเอง มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำดังนี้

1. ใบสมัคร

2. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 3 X 4 ซม. จำนวน ใบ หน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ ไม่สวมหมวก สวมเสื้อขาวมีปกหรือชุดสุภาพ (รูปถ่ายไม่เกิน เดือนไม่ใช้รูปถ่ายโพลาลอยด์ ) ติดใบสมัคร ใบ ติดบัตรประจำตัวนักศึกษา ใบ

3. สำเนาทะเบียนบ้านตนเอง ที่มีชื่อบิดา มารดา พร้อมฉบับจริง ไปแสดง หรือบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อแสดงว่า เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในเขตบริการ กรณีเป็นบุคคลเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้แสดงหลักฐานหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองการเป็นบุคคลต่างด้าวของกระทรวงมหาดไทย

4. หลักฐานที่แสดงพื้นความรู้ ในระดับที่ต่ำกว่า ที่ประสงค์จะขอเทียบระดับการศึกษาหนึ่งระดับ สำหรับผู้ขอเทียบระดับประถมศึกษา ไม่ต้องนำหลักฐานพื้นความรู้เดิมมาแสดง

5. หลักฐานที่แสดงภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ประจำ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านหรือ หนังสือรับรองจากหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน หรือ หนังสือรับรองจากผู้นำท้องถิ่นที่ตนพักอาศัย

6. หลักฐานหนังสือรับรอง แสดงการประกอบอาชีพหรือทำงานจากผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้นำท้องถิ่น

ค่าธรรมเนียม

ระดับประถมศึกษา 1,500.- บาท

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1,500.- บาท

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1,500.- บาท

กำหนดการรับสมัคร เปิดรับสมัครปีละ ครั้ง โดยสำนักงาน กศน. จะเป็นผู้กำหนด

แนวทางการชี้แจงรายละเอียดในขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้

1) การแนะแนวของสถานศึกษา

การประเมินเทียบระดับการศึกษา เป็นการตรวจสอบความรู้ ความคิด ความสามารถและประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายและมีค่าใช้จ่าย ดังนั้น สถานศึกษาจึงควรแนะแนวให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบในเบื้องต้นว่า การประเมินเทียบระดับจะต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้าง มีขั้นตอนกระบวนการและใช้เวลาประเมินเท่าไร เพื่อนำมาเป็นหลักฐานแสดงว่ามีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์สอดคล้องกับมาตรฐานของระดับการศึกษานั้น ๆ ให้ผู้ขอรับการประเมินพิจารณาประเมินตนเองว่าควรสมัครหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ

2) การตัดสินใจสมัคร พร้อมชำระค่าลงทะเบียน

เมื่อผู้เข้าประเมินได้รับฟังการแนะแนวจากสถานศึกษาแล้ว และคิดว่าตนเองมีความรู้และประสบการณ์มากพอที่จะเข้าประเมินเทียบระดับการศึกษาได้จึงควรจะสมัคร โดยเสียค่าธรรมเนียมในการสมัครเข้ารับการประเมินเทียบระดับการศึกษา ระดับละ 1,500 บาท ต่อ ครั้งที่เปิดให้ประเมิน

3) การปฐมนิเทศ

การปฐมนิเทศจัดเป็นขั้นตอนสำคัญที่สถานศึกษาจะต้องชี้แจงทำความเข้าใจเมื่อผู้เข้าประเมินสมัครเข้ารับการประเมินเทียบระดับการศึกษาแล้ว สถานศึกษาจะทำการปฐมนิเทศเพื่อชี้แจงว่าขอบข่ายการประเมินมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แต่ละองค์ประกอบมีมาตรฐานการประเมินอย่างไร ผู้เข้าประเมินต้องนำหลักฐานหรือต้องแสดงความรู้ ความสามารถอย่างไรที่จะสะท้อนว่าบรรลุตามมาตรฐานดังกล่าว เช่น ต้องเตรียมตัวเข้ารับการทดสอบภาคทฤษฎี ด้านความรู้และความคิดอย่างไร ต้องทำแฟ้มประมวลประสบการณ์ ต้องเข้ารับการสัมภาษณ์อย่างไร โดยสถานศึกษาจะแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ และกำหนดวัน เวลาของการประเมินดังกล่าว

4) การจัดทำแฟ้มประมวลประสบการณ์

เมื่อผู้เข้าประเมินผ่านกระบวนการปฐมนิเทศแล้วผู้เข้าประเมินต้องจัดทำแฟ้มประมวลประสบการณ์ โดยการรวบรวม เรียบเรียงข้อมูล ประสบการณ์ พร้อมหลักฐานของตนเองที่มีอยู่แล้วให้เป็นระบบสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของการเทียบระดับการศึกษา หรือดำเนินการตามข้อกำหนดที่สถานศึกษากำหนดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์อาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาสังคมและชุมชน

ทั้งนี้สถานศึกษาต้องแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ส่งแฟ้มให้ผู้เข้าประเมินทราบ พร้อมประสานนัดหมายการนำส่งให้กรรมการประเมินตรวจให้คะแนนแฟ้มด้วย

5) การประเมินความรู้และความคิด

ผู้เข้าประเมินต้องเข้าประเมินความรู้ และความคิด โดยการทดสอบภาคทฤษฎี ซึ่งสถานศึกษาประเมินเทียบระดับการศึกษาทุกแห่งจะประเมินพร้อมกันทั่วประเทศ สถานศึกษาต้องแจ้งวัน เวลาและตารางกำหนดการสอบและนัดหมายให้มาถึงสถานที่ประเมินก่อนเวลาอย่างน้อย 15 นาที และเตรียมอุปกรณ์การเขียน ปากกา ไม้บรรทัด ยางลบ มาให้พร้อม แต่งกายสุภาพ เรียบร้อยและปฏิบัติตนตามระเบียบการประเมินที่สถานศึกษากำหนด ในการนี้ให้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานและวิชาที่ทดสอบด้วย

6) การประเมินประสบการณ์โดยการสัมภาษณ์และอื่น ๆ

ผู้เข้าประเมินต้องนำส่งแฟ้มประสบการณ์และมาเข้ารับการประเมินโดยการสัมภาษณ์ ประเมินการปฏิบัติจริง การสาธิตเป็นรายบุคคลโดยมีคณะกรรมการประเมินอย่างน้อย คน เป็นผู้ประเมิน ผู้เข้าประเมินต้องเข้ามารับการประเมินตามวัน เวลา สถานที่ที่สถานศึกษากำหนด

7) ผลการประเมิน

เมื่อจัดการประเมินให้ครบทุกชุดของเครื่องมือที่ใช้ประเมินแต่ละมิติในระดับนั้น ๆ แล้วสถานศึกษาจะตรวจให้คะแนนและประมวลผลผู้เข้าประเมินที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด สถานศึกษาจะประกาศผลการประเมินโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ประกาศที่สถานศึกษาหรือส่งจดหมายไปให้เป็นรายบุคคล หรือดูจาก website ของสถานศึกษา

7.1 กรณีผ่านการประเมิน

ผู้เข้าประเมินที่ผ่านทั้ง มิติ จะได้รับหลักฐานการประเมินเทียบระดับ ชุดคือ

1. หลักฐานแสดงผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาและ

2. ประกาศนียบัตร

ทั้งนี้ ถือว่าผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษามีมาตรฐานเช่นเดียวกันกับผู้จบการศึกษาในระบบหรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับได้ แต่ผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาจะให้ผลเป็น ผ่าน” และ ไม่ผ่าน” จะไม่มีระดับผลการเรียน (GPA) และผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX)

7.2 กรณีไม่ผ่านการประเมิน

ผู้เข้าประเมินที่ประเมิน ไม่ผ่าน” มาจาก กรณี

กรณีที่ ผู้เข้าประเมินเข้าประเมินไม่ครบทั้ง มิติ หรือไม่ครบทุกชุดของเครื่องมือที่ใช้ประเมิน

กรณีที่ ผลการประเมินด้านความรู้ และความคิด ได้คะแนนรวมทุกมาตรฐานน้อยกว่าร้อยละ 50 และผลการประเมินด้านประสบการณ์ได้คะแนนแต่ละมาตรฐานน้อยกว่าร้อยละ 50

สำหรับผู้ไม่ผ่านการประเมินในมิติที่ ต้องเข้ารับการประเมินใหม่ทุกมาตรฐาน ส่วนมิติที่ ถ้าไม่ผ่านมาตรฐานใด ก็ให้เข้ารับการประเมินใหม่ในมาตรฐานที่ไม่ผ่าน ทั้งนี้ สามารถเก็บผลการประเมินในส่วนที่ผ่านไว้ได้ ปี นับแต่วันที่อนุมัติผลการประเมิน

เครื่องมือและวิธีการประเมิน

เครื่องมือที่ใช้ประเมินเทียบระดับการศึกษาในแต่ละระดับการศึกษาได้จัดสร้างขึ้นตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินเทียบระดับในแต่ละระดับการศึกษา โดยมีรายละเอียดของเครื่องมือและวิธีการ ที่ใช้ประเมินเทียบระดับการศึกษา ดังนี้

1. มิติด้านความรู้และความคิด ประเมินโดยใช้แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบและอัตนัยที่ให้แสดงวิธีทำหรือเขียนแสดงความคิดเห็นในขอบข่ายเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางด้านวิชาสามัญของผู้เข้ารับการประเมินที่ได้จากการศึกษา หาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อ และแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งความรู้พื้นฐานเหล่านี้เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรในภาพรวมของวิชาต่าง ๆ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพ เทคโนโลยี สุขศึกษา พลศึกษา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งจะบูรณาการเป็นแบบทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการสื่อสาร ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และตัดสิน ความสามารถในการแสวงหาความรู้ และการใช้เทคโนโลยี ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย และจิตของตน ความเป็นไทย สากลและพลเมืองดี ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและการดำรงชีพ

2. มิติการประเมินประสบการณ์ มีขอบข่ายการประเมิน ด้าน คือ

2.1 ประสบการณ์ในการพัฒนาอาชีพ

เป็นการประเมินความรู้ ความสามารถและทักษะด้านการงานอาชีพที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์การประกอบอาชีพ อาทิเช่น ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการงานอาชีพ การพัฒนากระบวนการ การทำงาน มีความสามารถในการวางแผนการประกอบอาชีพ การเลือกใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน ตลอดจนมีความสามารถพัฒนาการงานอาชีพไปสู่เป้าหมายได้อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งการมีคุณธรรม จริยธรรมในการงานอาชีพนั้น ๆ

2.2 ประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว

เป็นการประเมินความรู้ ความสามารถและทักษะที่เกิดจากประสบการณ์ของการดำเนินชีวิตที่สะท้อนให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของชีวิต ครอบครัว มีทักษะในการดำเนินชีวิต การมีสุนทรียภาพสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพ ทั้งทางกายและจิตใจ ตลอดจนยึดหลักธรรมศาสนาที่ตนนับถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

2.3 ประสบการณ์ในการพัฒนาสังคมและชุมชน

เป็นการประเมินความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่เกี่ยวกับสังคมรอบ ๆ ตัวและทักษะในการนำความรู้ ความสามารถที่มีมาใช้ในการดำเนินชีวิต ครอบครัว ให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง อบอุ่น ตลอดจนนำศักยภาพของตนเองมาช่วยส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม ทั้งด้านอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งส่งเสริมให้สังคมและชุมชนมีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

วิธีการประเมินมิติด้านประสบการณ์

1. ประเมินจากแฟ้มประมวลประสบการณ์โดยผู้เข้าประเมินนำเสนอข้อมูลหลักฐานที่เป็นร่องรอยแสดงถึงประสบการณ์ด้านการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่แสดงถึงการเป็นผู้มีประสบการณ์ในแต่ละด้านตามที่เสนอในแฟ้มว่าเป็นจริงเพียงใด

การประเมินด้านความรู้และความคิด ทุกระดับการศึกษา

1. รูปแบบการประเมิน ใช้วิธีการทดสอบใน มาตรฐาน

2. กำหนดการทดสอบ ใช้เวลา วัน

เข้าชม : 190
 
 
ศูนย์การเรียนชุมชนช่องไม้ดำ
ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่5 ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 
โทร 063-078-7303  kittikorn476@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี