แคลเซียมเพื่อคนทุกวัย
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เพราะมีการรับประทานกันอย่างแพร่หลายแคลเซียมถือเป็นแร่ธาตุหลักที่ร่างกายสะสมไว้มากที่สุดเนื่องจากเป็นส่วนประก่อบหลักของกระดูกและฟันแต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีปัญหาได้รับแคลเยมไม่เพียงพอเนื่องจากอาหารไทยแท้ๆ ที่ให้แคลเชียมสูงมักหาไม่ค่อยได้หนำชำยังมีตัวขัดขวางการดูดซึมที่คอยสกัดดาวรุ่งรวมทั้งพฤติกรรมไม่ชอบดื่มนม ส่งผลให้ปริมาณแคลเซียมที่คนไทยควรได้รับจากอาหารต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการ
วัยไหนบ้างควรเสริมแคลเซียม
คนไทยทุกวัยควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย โดยวัยเด็กต้องการแคลเซียมเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต วัยผู้ใหญ่ต้องการแคลเซียมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ขณะที่วัยสูงอายุต้องการแคลเซียมเพื่อลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
กลไกการควบคุมแคลเซียม
ร่างกายของเราจะนำแคลเซียมไปใช้เกี่ยวกับการสื่อสารในเซลล์ การบีบตัวของกล้ามเนื้อ และสะสมไว้ในกระดูก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกายตลอดชีวิตเนื่องจากแร่ธาตุแคลเซียมมีความสำคัญต่อหลายระบบในร่างกายดังนั้นร่างกายจึงสร้างกลไกการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อควบคุมระดับแคลเซียมในกระดูก โดยมีฮอร์โมนพาราไทรอยด์และแคลซิโทนินคอยรักษาระดับแร่ธาตุแคลเซียมในเลือดให้เพียงพอเมื่อแคลเซียมในเลือดขาดก็จะมีเซลล์สลายกระดูกดึงแคลเซียมในกระดูกมาใส่ในกระแสเลือด ลดการขับแคลเซียมออกทางไต และเพิ่มการดูดซึมจากทางเดินอาหารโดยผ่านการทำงานของวิตามินดีแต่เมื่อแคลเซียมในเลือดเริ่มเยอะ ก็จะเอาแคลเซียมไปฝากไว้ในกระดูก ส่งสัญญาณบอกไตว่าขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะบ้าง รวมถึงลดการนำเข้าจากอาหาร ดังนั้นจึงแทบไม่ต้องกังวลว่าระดับแคลเซียมจะพุ่งกระฉูดจนเกิดเป็นหินงอกหินย้อยตามอวัยวะต่างๆ เพราะว่าร่างกายคนเรามีกลไกควบคุมระดับแคลเซียมนั่นเอง
ความหนาแน่นของมวลกระดูกในแต่ละวัย
ความหนาแน่นของกระดูกคนเราจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากวัยเด็กจนถึงจุดสูงสุดที่ช่วงอายุ 20 กว่าๆโดยผู้หญิงที่อายุ 20 ต้นๆ ผู้ชายอายุ 20 กลางๆ ถึงปลาย จะเป็นช่วงอายุที่เนื้อกระดูกภายในแน่นที่สุดเมื่ออายุถึง 30 ปี ก็ถือว่าหมดโปรโมชั่น หมดเวลาที่จะสะสมแคลเซียมไว้ในธนาคารกระดูก จนอายุแตะเลข 4 เมื่อไร ความหนาแน่นกระดูกจะลดลงปีละ 0.5-1 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจน ของผู้หญิงหมดลงและวัยทองมาเยือน อัตราความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ทดลองเล่นสล็อตฟรี พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อภาวะขาดแคลเซียม
สำหรับพฤติกรมที่สุ่มเสี่ยง เช่น ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเลย ไม่ออกกำลังกายแบบที่มีแรงกระแทกเล็กน้อยตรงหัวกระดูก ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ ตลอดจนไม่ดื่มนม หากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้ให้รีบปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือเลือกรับประทานแคลเซียมเม็ดเสริม โดยเฉพาะในวัยรุ่นไทยที่กำลังอยู่ในช่วงนาทีทองสะสมแคลเชียมไว้ตลอดชีวิตผลสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าจำนวนวัยรุ่นที่ดื่มนมทุกวันมีแค่ 57 เปอร์เซ็นด์แต่มีวัยรุ่นจำนวนมากถึง 55 เปอร์เซ็นต์ที่ดื่มน้อัดลมทุกวัน เป็นสถิติที่น่าเป็นห่วงและอดคิดไม่ได้นะครับว่าโอกาสเกิดภาวะขาดแคลเซียมในอนาคตจะมีมากขนาดไหน
เข้าชม : 9
|