รวยถ้ำล้ำค่า  ธาราลือเลือง  เมืองยางปาล์มดี  ภาพเขียนสีดึกดำบรรพ์
                                                    
 

  

บทความสุขภาพ
ตะลิงปลิง

จันทร์ ที่ 21 เดือน มีนาคม พ.ศ.2559

คะแนน vote : 59  

  ลักษณะทางธรรมชาติ

http://i1092.photobucket.com/albums/i414/priraya/266.jpg                 
       * เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  ต้นสูงเต็มที่ 5-7 ม.  ทรงพุ่มโปร่งและแตกกิ่งก้านเหมือนมะเฟือง ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล  ชอบดินเหนียวร่วน  มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  ต้องการความชื้นสูง  เจริญเติบดีในพื้นที่มีน้ำตลอดปีเหมือนมะพร้าว  ตาล  จาก เช่น  ริมคลอง               

       * ปลูกบนที่ดอนเมื่อถึงช่วงหน้าแล้งจะผลัดใบพักต้น  เมื่อได้ฝนก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับออกดอก  ส่วนแปลงที่ได้รับน้ำตลอดปี  หลังตัดแต่งกิ่งแล้วแตกใบอ่อนก็จะมีดอกออกมาแบบไม่มีฤดูกาล  
               

       * ออกดอกติดผลตลอดปีละรุ่น  โดยออกดอกช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.  ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.  พร้อมกับมะม่วงปี  แต่ถ้าได้บำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปีก็จะออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้ 
                 

       * เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น  2  ปีหลังปลูก
               

       * ออกดอกติดผลที่กิ่งแก่และลำต้นเหมือนมะเฟือง ดอกสีชมพูสวยมาก  เป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างดอกต่างต้นได้
               

       * อายุผลผลิตตั้งแต่ออกดอก ถึง เก็บเกี่ยว 75 วัน
               

       * รสเปรี้ยวจัดกว่ามะนาวมาก
                

          สายพันธุ์
               
          นิยมปลูกเพียงสายพันธุ์เดียว  คือ  พันธุ์พื้นเมือง
                

          การขยายพันธุ์
               
          ตอน (ดีที่สุด). ทาบกิ่ง.  เสียบยอด.  เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์).
                
          ระยะปลูก
               
        - ระยะปกติ  4 X 4  ม. หรือ  6 X 6 ม.
               
        - ระยะชิด    2 X 2  ม. หรือ  2 X 4 ม.
                

          เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
        - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
      - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
        - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
        - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง               
          หมายเหตุ :
               
        - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
              
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
               
      
  - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                

          เตรียมต้น 
                          ตัดแต่งกิ่ง :               
        - ตะลิงปลิงเป็นไม้ทิ้งกิ่งเองเมื่อกิ่งใดแก่ก็จะแห้งแล้วหลุดร่วงได้เอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุง อย่างไรก็ตามการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนย่อมได้ผลดีกว่าปล่อยให้เป็นไปตาม ธรรมชาติ  นั่นคือ  การตัดแต่งกิ่งก็ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นอยู่     
               
        - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค  ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
        - ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน        - ถ้าต้องการควบคุมขนาดทรงพุ่มก็ต้องตัดกิ่งแก่ กรณีนี้ให้บำรุงต้นก่อนแล้วลงมือตัดได้เลย  กิ่งแก่ใดที่มีใบและกิ่งแขนงติดอยู่มาก หลังจากตัดปลายกิ่งแก่จนเป็นกิ่งด้วนไปแล้วมักมีดอกออกมาตามซอกใบด้วยเสมอ  ซึ่งถ้าต้นสมบูรณ์ดีจริงๆจะมีดอกมากกว่าการตัดปลายกิ่งอ่อนด้วยซ้ำ               
        - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสง แดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
               
        - นิสัยการออกออกดอกของตะลิงปลิงไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไป ตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์ดีกว่ากว่าตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
               
          ตัดแต่งราก :
               
        - ระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธี ล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
        - ต้น อายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมี ประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม

 
สรรพคุณของตะลิงปลิง
ใบตะลิงปลิง นำไปบดชงกับน้ำร้อนหรือนำไปต้ม ดื่มแก้ลำไส้ใหญ่อักเสบและรักษาโรคซิฟิลิส นอกจากนั้นยังสามารถนำใบมาตำพอกรักษาสิว คางทูม ได้เช่นกัน
ดอกตะลิงปลิง มีรสเปรี้ยวฝาด สามารถนำมาชงเป็นน้ำชา ดื่มบรรเทาอาการไอ
รากตะลิงปลิง นำไปตากแห้ง ใช้ต้มดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยลดไข้ บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว
ผลตะลิงปลิง ต้มรับประทานหรือรับประทานสด ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร  ลดไข้ ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด
แม้ว่าผลของตะลิงปลิงจะมีประโยชน์หลายอย่าง มีวิตามินเอสูง แคลอรี่ต่ำ แต่ข้อควรจำอย่างหนึ่งในการรับประทานผลก็คือ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะมีฤทธิ์ทำให้เลือดตกตะกอน
เกษตรกรที่สนใจเพาะปลูกต้นตะลิงปลิง สามารถใช้วิธีเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่งก็ได้ แต่การปลูกด้วยวิธีเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์กว่า แต่ข้อเสียก็คือเติบโตช้ากว่าตอนกิ่ง กว่าจะได้ผลต้องรอ 2-3 ปี ในขณะที่ตอนกิ่งให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 8 เดือน
ลักษณะพื้นที่ซึ่งเหมาะสมในการปลูกตะลิงปลิง คือ ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี และไม่มีน้ำท่วมขัง
สรรพคุณสุดยอดขนาดนี้ เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกว่างอยู่ หากยังคิดไม่ออกว่าจะลงต้นไม้อะไรดี ลองนึกถึงตะลิงปลิงดูบ้างก็เข้าท่าไม่น้อย


เข้าชม : 285


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      ตะลิงปลิง 21 / มี.ค. / 2559
      แอปเปิ้ล 28 / ก.พ. / 2558
      ผัก ๑๐ ชนิด ที่ไม่กินไม่ได้แล้ว 28 / ก.พ. / 2558
      ผักผลไม้ 5 สี ของดีมีประโยชน์ 9 / ก.พ. / 2555
      ลดไขมันคืออะไร ทําอย่างไร 9 / ก.พ. / 2555


 
ห้องสมุดประชาชน  "เฉลิมราชกุมารี"  อำเภออ่าวลึก
15/7  หมู่ที่ 2  ตำบลอ่าวลึกเหนือ  อำเภออ่าวลึก  จังหวัดกระบี่ 81110 
โทรศัพท์ 075-610810

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05