งานของชีวิต
มนุษย์มีงานสำคัญที่ต้องทำให้ครบถ้วน ๓ งาน คือ
1. งานอาชีพ ทำเพื่อให้ได้ปัจจัย ๔ เครื่องอุปโภคบริโถคมาเลี้ยงชีพ ในเส้นทางการสร้างบาบารมี งานอาชีพจะอยู่ในรูปของงานรักษาองค์กร เพื่อให้องค์กรพุทธศาสนา(วัดหรือมูลนิธิ) ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง เช่น การจัดหาทรัพยากร ดูแลรักษาศาสนสมบัติ
2.งานพัฒนานิสัย เป็นการศึกษาธรรมะจากพระไตรปิฎก นำคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประพฤติปฎิบัติ ปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องของตนเองเพื่อให้อยู่ร่วมกัน ได้อย่างมีความสุข ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่
3.งานพัฒนาจิตใจ หรืองานภาวนา เพื่อรักษาใจให้สงบ ละเอียดสุขุม ใสสว่าง ได้รู้เห็นชีวิตตามความเป็นจริง เมื่อใจได้รับการพัฒนาจะมีศักยภาพ ในการนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่
งานทั้งสามนี้ จะต้องทำไปพร้อมๆกันในชีวิตประจำวัน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ความสมบูรณ์ของชีวิตกจะขาดหายไป ความมั่นคงในชีวิตก็จะไม่เกิดขึ้น ความหวังที่จะเป็นนักสร้างบารมีที่สมบูรณ์แบบ ก็คงจะเป็นไปได้โดยยาก
คนในสังคมส่วนใหญ่มุ่งพัฒนาส่งเสริมงานอาชีพ ส่วนงานพัฒนานิสัยนั้น ให้ความสนใจน้อย ยิ่งงานพัฒนาจิตใจด้วยแล้ว จะถูกมองข้ามไปเลย จึงเป็นเหตให้คนส่วนใหญ่ในสังคม มีแต่ความรู้ความสามารถ แต่ขาดคุณธรรม จึงนำความรู้ความสามารถนั้น มาใช้ในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในชีวิตหรือ การทำงานก็จะหาทางออก ในทางที่ผิดหลักศีลธรรม ขาดความยั้งคิด เพราะใจขาดสมาธิไม่รู้จักความสงบ ไม่มีหลักแห่งศีลธรรมมาเป็น เครื่องช่วยในการตัดสินใจ
แต่หลักการพัฒนาตนเอง ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีทั้ง ๓ งานดังกล่าวข้างต้น อย่างครบถ้วน โดยมีงานอาชีพหรือกิจวัตรกิจกรรม ในชีวิตประจำวันเป็นเครื่องหล่อหลอมจิตใจ อาศัยร่างกายของมนุษย์และปัจจัย ๔ รวมถึงสิ่งแวดล้อมทุกอย่าง ตั้งแต่ผู้คนรอบข้างและสรรพสิ่งต่างๆ เป็นอุปกรณ์ในการฝึก
ลำดับขั้นในการฝึกพัฒนา คุณธรรมจะเริ่มจากสิ่งใกล้ตัว ออกไปสู่สิ่งไกลตัว หรือจากเรื่องง่ายๆไปสู่เรื่องยาก ดังจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ด้วยขั้นตอนการฝึกพัฒนาคุณธรรม ๔ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
บันได ๘ ขั้นในการฝึกพัฒนาคุณธรรม
บันไดทั้ง ๘ ขั้นตอนการฝึกพัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจ แสดงให้เห็นถึงความเข้มข้นในการฝึก จากเรื่องหยาบไปสู่เรื่องละเอียด จากเรื่องใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว ส่งผลให้คุณธรรมค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปในจิตใจ อย่างแน่นแฟ้น จนผู้ฝึกนั้นสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย วาจา ใจ (วิชชาและจรณะ)
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาคุณธรรมในชีวิตจริงแต่ละขั้น ย่อมมีการแทรกปะปนกัน อยู่มากบ้างน้อยบ้างตามโอกาส แต่ที่ไม่ควรให้ขาดเลยในทุกขั้นตอนคือ การศึกษาธรรมะ ทั้งภาคปริยัติ(ทฤษฎี) และปฎิบัติ (ศีล สมาธิ) ภาคปริยัติ(ทฤษฎี) ใช้เป็นหลักมาตรฐานในการฝึก ส่วนภาคปฎิบัติให้ในการปรับจิตใจ ปรับความเห็นให้ตรง และประคับประคองให้บริสุทธ์อยู่เสมอ จนเกิดปัญญาแจ่มแจ้งเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง
การพัฒนาคุณธรรมตามบันได ๘ ขั้นนั้นหากสังเกตให้ดีจะพบว่า เป็นการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันซึ่งต้องทำเป็นประจำอยู่แล้ว จึงเป็นเครื่องหล่อหลอมนิสัยใจคอ ของคนเราให้มีแบบแผนการปฏิบัติตัว จนกลายมาเป็นอุปนิสัยประจำอย่างถาวรไปโดยปริยาย พุทธศาสนิกชนได้นำคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาหล่อหลอมชีวิตจิตใจของตนเองมายาวนาน จนกลายเป็นวัฒนธรรม และถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงอนุชนรุ่นหลัง จึงเรียกวัฒนธรรมนี้ว่า “วัฒนธรรมชาวพุทธ” วัฒนธรรมชาวพุทธ จึงเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต ของพุทธศาสนิกชนที่เป็นระบบระเบียบ จนสามารถพัฒนานิสัยใจ คอของตนเอง ให้เจริญขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เข้าชม : 247
|