ประชาคมอาเซียน

            วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

            อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510  ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่   อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย

            อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับ ได้แก่   

      บรูไนดารุสซาลาม   เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ    8 ม.ค. 2527

     เวียดนาม                 เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ  28 ก.ค. 2538
     ลาว                         เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ
  23 ก.ค. 2540

     สหภาพพม่า             เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ  23 ก.ค.  2540
     กัมพูชา                    เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ
  30 เม.ย. 2542

 

สัญลักษณ์ของอาเซียน   คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว  สีน้ำเงิน


 

รวงข้าว 10 ต้น  หมายถึง  สมาชิก  10  ประเทศ
 สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง
 สีแดง     หมายถึง 
ความกล้าหาญและความก้าวหน้า      
 สีขาว       หมายถึง  ความบริสุทธิ์
 สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพ  และความมั่นคง

คำขวัญอาเซียน

       One Vision , One Identity , One Community
        หนึ่งวิสัยทัศน์    หนึ่งเอกลักษณ์    หนึ่งประชาคม

 

เป้าหมายอาเซียน   :  จัดตั้งประชาคมอาเซียนให้ได้   ภายในปี 2558   โดยแบ่งออกเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่

 

 

                1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคง ทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชน มีความปลอดภัยและมั่นคง

 

 

                2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ASEAN Economic Community – AEC)  มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
     (1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ    การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การลดปัญหา  ความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
     (2) ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
     (3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการ รวมตัวทางเศรษฐกิจ ของอาเซียน
     (4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจ  มหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและ  การพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

    3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียน อยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

 

 



เข้าชม : 173
 
 
ห้องสมุดประชาชนอำเภอคลองท่อม
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองท่อม
หมู่ที่ ๒ ตำบลคลองท่อมใต้  อำเภอคลองท่อม  จังหวัดกระบี่ 81120 
โทรศัพท์ 075-699255

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05