บทความทั่วไป
แอมโมเนียกับการรักษาสภาพน้ำยาง

ศุกร์ ที่ 4 เดือน มีนาคม พ.ศ.2554

คะแนน vote : 53  

แอมโมเนียกับการรักษาสภาพน้ำยาง


ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย  โดยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลก  มีการผลิตประมาณปีละ 3 ล้านตัน  หรือร้อยละ 36 ของปริมาณการผลิตของโลก  น้ำยางที่กรีดได้จากต้น  เรียกว่า  น้ำยางสด  ซึ่งถูกนำไปผ่านกระบวนการปั่นเหวี่ยงให้ได้น้ำยางข้นเพื่อสะดวกกับการเก็บรักษาและขนส่ง  ปัจจุบันมีโรงงานผลิตน้ำยางข้นอยู่  77 โรง  น้ำยางข้นส่วนใหญ่ส่งออกตลาดต่างประเทศ  ส่วนที่เหลือนำไปใช้วัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่มีมูลค่าสูงขึ้น  ได้แก่  ถุงมือยาง  และยางยืด  เป็นต้น

                น้ำยางสดหลังกรีดจากต้นคงสภาพเป็นน้ำยางอยู่ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง  เพราะแบคทีเรียเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้เกิดกรด  น้ำยางเกิดการเสียสภาพ  อนุภาคยางรวมตัวกันเป็นก้อน  และเกิดการบูดเน่ามีกลิ่นเหม็น  ในการผลิตน้ำยางข้นจึงต้องใช้สารรักษาสภาพ  ทั้งในส่วนของน้ำยางสดก่อนการแปรรูปและน้ำยางข้นหลังการแปรรูปโดยแอมโมเนีย ซึ่งระเหยง่ายและมีกลิ่นรุนแรงมาก  เมื่อระเหยสู่บรรยากาศทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม  น้ำยางที่อยู่ระหว่างการเก็บรักษามีคุณสมบัติไม่คงที่  และการใช้แอมโมเนียปริมาณมากในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อให้เกิดปัญหาในการแปรรูปน้ำยางด้วย  ดังนั้นการพัฒนาหาสารเคมีที่ช่วยในการรักษาสภาพของน้ำยางชนิดใหม่ทดแทนแอมโมเนียจึงเป็นสิ่งสำคัญ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



เข้าชม : 1284


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      วันสงกรานต์ 2556 ประเพณีวันสงกรานต์ ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์ 9 / เม.ย. / 2556
      แอมโมเนียกับการรักษาสภาพน้ำยาง 4 / มี.ค. / 2554




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเกาะลันตา   จังหวัดกระบี่
ม.๔ ตำบลเกาะกลาง  อำเภอเกาะลันตา  จังหวัดกระบี่  ๘๑๑๒๐
โทรศัพท์๐๗๕-๖๙๔๗๒๓โทรสาร ๐๗๕-๖๙๔๗๒๓
lib_kohlanta@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05