11. พิมพ์ตัวเลขได้ด้วย Numpad บนโน้ตบุ๊ก
สำหรับคนที่ใช้โน้ตบุ๊กแล้วต้องทำงานกับตัวเลขบ่อยๆ อาจจะรู้สึกหงุดหงิดที่มันไม่มีแป้นตัวเลขให้พิมพ์เหมือนกับเครื่องเดสก์ทอป แม้ว่าโน้ตบุ๊กบางรุ่นเดี๋ยวนี้จะมีการใส่มาให้ด้วย แต่ก็ต้องเป็นโน้ตบุ๊กรุ่นที่มีขนาดหน้าจอ 15 นิ้วขึ้นไป ซึ่งต้องมาแบกกันหลังแอ่นอีก
สำหรับคนที่ใช้คีย์บอร์ดโน้ตบุ๊กแล้วต้องพิมพ์ตัวเลขบ่อยๆ สามารถหาทางออกได้ด้วยการไปซื้อ Numpad แบบ USB มาต่อเพิ่ม หรือกดปุ่ม Fn + Numlock บนคีย์บอร์ดเพื่อเปิดฟังก์ชันคีย์ตัวเลขที่มีมาให้ด้วยเช่นกัน (โน้ตบุ๊กแต่ละรุ่นอาจจะเปิด Numlock ด้วยปุ่มที่แตกต่างกันไป) ส่วนจะพิมพ์ตัวเลขอย่างไรนั้น ให้ลองมองที่บริเวณปุ่ม U I O J K L จะเห็นว่ามีตัวเลขเล็กๆ ระบุอยู่เรียบไปตามปุ่มเป็นรูปแบบคล้ายๆ Numpad แม้ว่าจะเบี้ยวๆ ไปบ้าง ก็ดีกว่าไม่มีให้ใช้
ใช้งานเสร็จแล้วอย่าลืมปิด Numlock ด้วย ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถพิมพ์ตัวอักษรบริเวณที่เป็น Numpad ได้ ซึ่งปัญหานี้มีหลายคนเจอด้วยความบังเอิญ แล้วนึกว่าคีย์บอร์ดเสีย พิมพ์ตัวอักษรแล้วกลายเป็นตัวเลข แบบนี้ให้ลองเช็ก Numlock ดูก่อน
12. ลงวินโดวส์บนโน้ตบุ๊กแล้ว อยากเก็บระบบไว้ Restore ภายหลัง
หากคุณเซตระบบต่างๆ จนเป็นที่พอใจแล้วหรือคิดว่าการลงวินโดวส์และไดรเวอร์ครั้งนี้เป็นที่น่าพอใจและระบบมีความเสถียร อาจจะเลือกจัดเก็บระบบดังกล่าวนี้เอาไว้ เพื่อที่ในอนาคต อาจจะนำระบบที่จัดเก็บไว้มา Restore กลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งใน Windows 7 นั้นสามารถเลือกที่จะ Backup ไฟล์ต่างๆ ใน Library ก็ได้หรือจะเก็บเฉพาะ System ไว้ก็ได้เช่นกัน ด้วยการ Backup ทั้งระบบเก็บไว้เป็นไฟล์ Image ด้วยการเข้าไปที่ Control Panel > System and Security > Backup and Restore แล้วคลิกเลือกที่ Set Backup แล้วเรียก Windows Backup ขึ้นมาทำงาน
13. ตั้งค่าให้ดึงแฟลชไดรฟ์ได้ ไม่ต้อง Safely Remove
เริ่มด้วยดับเบิลคลิกเปิด My Computer ขึ้นมา จากนั้นก็เสียบแฟลชไดรฟ์ให้เรียบร้อย รอสักครู่จนเครื่องมองเห็นเป็นไดรฟ์ขึ้นมา ถึงตรงนี้ให้คลิกขวาที่ไอคอนของแฟลชไดรฟ์แล้วเลือก Properties เลือกแท็บ Hardware แล้วดับเบิลคลิกที่ชื่อของแฟลชไดรฟ์ ในหน้าต่างย่อยอันใหม่ที่แสดงขึ้นมาให้คลิก Change Settings -> Continue จากนั้นเลือกไปที่แท็บ Policies จะมีรายการให้ปรับแต่งให้เลือกเป็น Optimize for quick removal ซึ่งหมายถึงสามารถถอดเข้าถอดออกได้โดยไม่ต้องไปคลิกที่ safely remove hardware เพียงเท่านี้ ก็สามารถแฟลชไดรฟ์ได้ทันทีที่เลิกใช้งาน
14. ลบข้อมูลลับในโน้ตบุ๊กก่อนส่งซ่อม
กรรมวิธีในการลบไฟล์แบบสะอาด ยากที่จะกู้กลับคืนมาได้มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น การฟอร์แมตและลบพาร์ทิชัน ก็ช่วยได้เยอะ แต่ถ้าเอาแบบสะอาดสุดๆ ก็คงต้องใช้วิธี Low Level Format ที่จะล้างไปถึงระดับ Sector อย่างไรก็ดี คงไม่ใช่วิธีที่ง่ายนัก เนื่องจากต้องใช้ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการ วิธีง่ายๆ อีกวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ข้อมูลอื่นๆ ก๊อบปี้ทับลงไปในฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการทำความสะอาด เสร็จแล้วให้ฟอร์แมตไปเรื่อยๆ ทำซ้ำประมาณ 2-3 ครั้ง ก็แทบจะกู้ไฟล์ที่ไม่ต้องการได้เลย แต่สิ่งที่ยากก็คือ หากใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ ก็จะใช้เวลาในการทำมากพอสมควร ซึ่งถ้าไม่ได้รีบร้อนก็ค่อยๆ ทำไป แต่ถ้ารีบก็คงต้องการโซลูชันอื่นมาจัดการหรือจะใช้โปรแกรมซ่อนไฟล์อย่าง Free Hide Folder
Free Hide Folder ความสามารถของโปรแกรมช่วยให้เราซ่อนข้อมูลต่างๆ ที่เราไม่ต้องการให้คนอื่นเห็นนั้นเอง มีระบบล็อกรหัสผ่านด้วย ข้อมูลลับจะได้ไม่รั่ว เพราะเราไม่รู้ว่าระหว่างส่งซ่อมนั้นช่างทำอะไรกับโน้ตบุ๊กของเราบ้าง โดยโปรแกรมตัวนี้เป็นฟรีแวร์ทั้งดีและฟรีอีกด้วย แต่คุณก็สามารถสนับสนุนผู้พัฒนาโปรแกรมได้เช่นกัน วิธีใช้ก็แค่เพิ่มโฟลเดอร์ที่ต้องการลงในโปรแกรมจากนั้นก็ตั้งรหัสผ่าน ยังสามารถ Backup ค่า Setting ที่เราซ่อนไว้เผื่อโปรแกรมเสียหายจะได้ Restore กลับมาได้
15. NBD บนโน้ตบุ๊กคืออะไร
หลายคนคงพอได้เห็นในโบรชัวร์ขายโน้ตบุ๊กกันมาบ้างแล้ว ก็อาจจะสงสัยว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับโน้ตบุ๊กความหมายของคำว่า NBD ที่แสดงอยู่ในใบประกาศของโน้ตบุ๊กนั้นย่อมาจาก Next Business Day ซึ่งเป็นการบอกให้ทราบถึงลักษณะของการประกันของโน้ตบุ๊ก ที่หากมีความขัดข้องทางบริษัทก็จะการันตีส่งช่างไปซ่อมถึงที่ (On Site) ภายในวันรุ่งขึ้น นับจากที่มีการโทรแจ้ง ยกเว้นวันรุ่งขึ้นจะติดวันหยุด ก็จะขยับไปในวันถัดไปแทน แบบนี้ก็คงคลายข้อสงสัยกันไปได้บ้างแล้วใช่ไหมครับ
16. เช็กดูว่าพัดลมโน้ตบุ๊กหมุนหรือไม่
โปรแกรม Speed Fan ก็ถือว่าเป็นผู้ช่วยที่ให้ผู้ใช้โน้ตบุ๊กตรวจสอบเรื่องความร้อนและความเร็วรอบของพัดลมได้ โดยสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Speed Fan มาติดตั้งได้ทันที
-แท็บ Reading จะเป็นตัวบอกสถานะต่างๆ ในการทำงานของระบบ ไม่ว่าจะเป็น CPU Usage และอุณหภูมิ ซึ่งดูได้จากช่องตรงกลาง ที่มีบอกทั้งซีพียูและการ์ดจอ รวมถึง System ด้านล่างจะเป็นเรื่องของแรงดันไฟอุปกรณ์
-ระบบพัดลมสามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบ ซึ่งถ้าปกติไม่ได้เข้าไปตั้งค่า Smart Fan หน้าต่างโปรแกรมจะรายงานการทำงานเป็น 100% เนื่องจากพัดลมถูกตั้งให้ทำงานเต็มที่ หากมีเสียงรบกวนมากไป ก็อาจปรับลดได้จากตรงนี้ ด้วยการคลิกลูกศรขึ้น-ลง
-แต่ถ้าต้องการจะเปิดหรือปิดการรายงานของรอบพัดลมหรือแรงดันไฟ รวมถึงอุณหภูมิ สามารถคลิกไปที่ Configure แล้วเลือกไปตามแท็บต่างๆ ประกอบไปด้วย Temp, Fan, Voltage และ Speed เลือกคลิกให้รายงานได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมรอบพัดลมให้ทำงานได้อัตโนมัติตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ด้วยการคลิกที่ Clock แล้วตั้งค่าชิปเซต รุ่น รวมถึงสัญญาณนาฬิกาให้ตรง ตั้งค่าความเร็วที่ทำให้พัดลมทำงานเร็วขึ้นหรือช้าลงได้อีกด้วย
17. ถ่ายรูปด้วยเว็บแคมบนโน้ตบุ๊ก
หากเป็นวินโดวส์เอ็กซ์พีบนโน้ตบุ๊ก เมื่อติดตั้งไดรเวอร์ต่างๆ เรียบร้อย ก็จะเห็นไอคอนเว็บแคมอยู่ใน My Computer ซึ่งไอคอนนี้จะช่วยให้สามารถเปิดขึ้นมาถ่ายภาพนิ่งได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่ม แต่ถ้าต้องการเป็นภาพวิดีโอ ก็คงต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่ม ซึ่งมันช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้มาก โดยเฉพาะคนที่ซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ และอยากจะเทสต์ว่าเว็บแคมใช้งานได้ไหม แต่ในวินโดวส์ 7 ในส่วนนี้ไม่มีมาให้อีก ซึ่งคุณจะไม่สามารถถ่ายภาพจากเว็บแคม หรือเรียกใช้งานเว็บแคมได้โดยตัววินโดวส์เพียงอย่างเดียว แต่ทางออกง่ายๆ ก็คือต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติม
เท่าที่สังเกต ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะไม่ทราบก็คือแม้จะตัดส่วนของการใช้งานเว็บแคมออกไปจากตัวระบบ แต่ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กที่มีเว็บแคม หรือผู้ผลิตเว็บแคมเองจะมีซอฟต์แวร์ที่ทำงานด้านนี้มาให้อยู่แล้ว โดยคุณสามารถเข้าไปดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้สามารถเรียกใช้เว็บแคมขึ้นมาถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวได้จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตโน้ตบุ๊ก ซึ่งทุกยี่ห้อจะมีซอฟต์แวร์ตรงนี้มาให้ดาวน์โหลดฟรีอยู่แล้วสำหรับผู้ใช้งานวินโดวส์ 7 ซอฟต์แวร์นั้นจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อของโน้ตบุ๊ก และอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่นด้วย บางยี่ห้อเลือกที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ ขึ้นมาเป็นแบรนด์ของตัวเอง ในขณะที่บางรายก็ทำสัญญาซื้อซอฟต์แวร์มาให้ลูกค้าได้ใช้งานอย่างเช่น Cyberlink YouCam ก็มีให้เห็นเช่นกัน
18. พับฝาโน้ตบุ๊ก เปิดปิด หลับๆ ตื่นๆ
โน้ตบุ๊กปัจจุบันนี้ทันสมัยและวินโดวส์เองฉลาดยิ่งขึ้น แค่คุณใช้งานโน้ตบุ๊กแล้วพับฝาโน้ตบุ๊กลง ตัวฮาร์ดแวร์จะทำการปิดหน้าจอให้โดยอันโนมัติอยู่แล้ว แต่ตัววินโดวส์จะถูกสั่งให้เข้าสู่โหมด Stand by ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 5-10 วินาทีจึงจะเข้าสู่โหมด Stand by โดยสมบูรณ์ แล้วใช้เวลาอีก 3-5 วินาที ในการเปิดเครื่องขึ้นมาจากโหมด Stand by อาจจะนานกว่านั้นถ้ามันเข้าสู่โหมด Sleep หรือ Hibernate ไปเลย
วิธีการตั้งค่าว่าถ้าเรากำลังปิดฝาหน้าจอโน้ตบุ๊กลงมา จะให้วินโดวส์ทำงานอย่างไร ซึ่งสามารถตั้งค่าได้ตั้งแต่ให้ Sleep หลับไปเลยยาวๆ คล้ายๆ ชัตดาวน์แต่สามารถเปิดโปรแกรมค้างไว้ได้และเปิดขึ้นมาทำงานต่อได้แต่ใช้เวลานานหน่อยกว่าจะเปิดและปิด หรือจะให้มันแค่ Stand by อย่างที่เราเห็นๆ กัน ใช้เวลาน้อย แต่ต้องมีแบตเตอรี่เลี้ยงอยู่ตลอด แถมยังกินแบตฯ มากกว่า Sleep ด้วย หรือจะสั่งว่า ไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้เช่นเดียวกัน
การทั้งค่าทั้งหมดนี้จะอยู่ใน Power Option โดยคุณสามารถพิมพ์ค้นหาได้จาก Start Menu หรือจะเข้าไปหาใน Control Panel ก็ได้เช่นเดียวกัน จากนั้นไปเลือก Choose what closing the lid does จะมีให้ปรับทั้งหมด 3 ส่วนอยู่ในที่เดียวกันคือเมื่อกดปุ่ม Power หรือ Sleep ให้ทำอะไร เมื่อปิดฝาหน้าจอ ให้ทำอะไร โดยแยกเป็นกรณีของใช้งานแบตเตอรี่และเสียบสายชาร์จ
19. จอคอมพ์โน้ตบุ๊กมีเงาภาพซ้อนสลับกัน
ดูจากอาการคล้ายๆ กับแรมใกล้หมดหรือมีการใช้พื้นที่แรมเต็ม Out of memory ยิ่งถ้ามีอาการกระตุกก็ยิ่งชัดเจนเลย อาการนี้ให้ลองวิธีง่ายๆ ก่อนคือ ปิดแอพพลิเคชันที่ใช้ทั้งหมดลงก่อน จากนั้นลองดูว่ายังเป็นหรือไม่ ถ้ายังเป็นอยู่ ก็ให้ดูว่ามีโปรแกรมอื่นๆ รันอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า ด้วยการกด Ctrl+Alt+Del แล้วดูที่หน้า Process ดูที่ช่อง Memory ว่ามีอะไรใช้งานแรมอยู่เยอะจนผิดสังเกตหรือไม่ หากมีก็ให้ลอง End Process ออกไป จากนั้นลองตรวจเช็กไวรัสดูก่อน แต่ถ้าในกรณีที่ไม่ได้มีอะไรผิดปกติจริงๆ คือเครื่องช้าลงจากการใช้แอพพลิเคชันเพิ่มขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว ก็คงถึงเวลาที่ต้องอัพเกรดแรมให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากใช้อยู่ 2GB ก็แนะนำว่าน่าจะเพิ่มเป็น 4-8GB เป็นอย่างน้อย เพื่อลดปัญหาในการใช้งานในอนาคต
20. ลำดับความสำคัญของ WiFi แต่ละตัว
หากเราอยู่ในแหล่งชุมชนที่มี WiFi ให้เชื่อมต่อหลายตัว แต่อยากให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอันที่เป็นของเรา หรืออันที่เร็วที่สุดก่อน หากต่อไม่ได้ก็ค่อยไปเชื่อมต่อกับ WiFi จุดอื่นแทน ก็สามารถตั้งค่าได้โดยเข้าไปที่ Manage Wireless Network Connection โดยเข้าไปที่ Network and Sharing Center สำหรับวิสต้า แล้วที่เมนูด้านซ้ายให้เลือก Manage Wireless Network Connection ซึ่งในนั้นจะมี Profile มากมายที่เคยตั้งค่าไว้ แล้วเลือก Profile ที่ต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม Move up หรือ Move Down เพื่อจัดลำดับความสำคัญได้เลย
ที่มา ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์
รายงานโดย นางสาวนุชรีย์ บวชชุม
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำนักงาน กศน. จังหวัดตรัง
เข้าชม : 809
|