เลี้ยงลูกอย่างไร...ในสังคม 4G (ตอนที่ 1)
โดย : เปาโล เมาที่นี่   เมื่อวันที่ : พฤหัสบดี ที่ 1 เดือน กันยายน พ.ศ.2565   





เลี้ยงลูกอย่างไร...ในสังคม 4G (ตอนที่ 1)

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมไปกับการหมุนของโลกไบนี่ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมเราอย่างมาก ปัจจัยสี่อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค กลายเป็นหลักคิดเดิมที่นักทฤษฎีทั้งหลายอาจต้องนำกลับมาทบทวนกันใหม่ ปัจจัยหลายอย่างถูกนำมาเป็น "สิ่งจำเป็น"ในการใช้ชีวิตในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆทางด้านไอที ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet หรือแม้กระทั่ง Social Applications ด่างๆ ที่เรียกกันว่าแทบจะเป็นที่รู้จักและขาดไม่ได้เลยในการใช้ชีวิตในสังคมเมืองโดยสมบูรณ์

สังคม 4G สร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต และการเข้าถึงข้อมูลให้กับเราทุกคนเป็นอย่างมาก นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด นักลงทุนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์ได้แบบวินาทีต่อวินาที ระบบสาธารณสุขสามารถเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพของคุณได้แม้ว่าคุณจะเข้ารับบริการที่สถานบริการสุขภาพใดก็ตาม เราทุกคนสามารถสืบหาข้อมูลและคำตอบที่ต้องการได้จากอินเทอร์เน็ตแทบจะในทันที หรือความสะดวกสบายสำหรับนักเดินทางในการค้นหาสถานที่ เส้นทางการเดินทางหรือแม้กระทั่งการเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ในเมืองหลวง

ในขณะเดียวกันการใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่มีประโยชน์มากมายนั้นก็เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่สามารถสร้างปัญหาทางสังคมในรูปแบบต่างๆตามมาได้มากมายไม่แพ้กัน จากการศึกษาวิจัยของหลายประเทศสะท้อนข้อมูลที่น่าตกใจว่า "เด็กไทยยังคงครองแชมป์ในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก"ซึ่ง นพยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิหัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษา กรมสุขภาพจิต ได้กล่าวถึงบาป 12 ประการ จากการใช้อินเทอร์เน็ตแบบไม่เหมาะสมไว้ได้อย่างน่าสนใจ และในฉบับนี้ผมจะขอนำหลักคิดที่อาจารย์ได้กล่าวไว้มาถ่ายทอดต่อ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่หรือผู้ดูแลในการเลี้ยงดูลูกน้อยให้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสมมากขึ้นครับ

ผลกระทบด้านลบและปัญหาทางด้านสังคมที่อาจเกิดขึ้นได้มีหลายประการ หากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้ควบคุมดูแลให้เด็กใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสมโดยแบ่งตามช่วงวัยของลูกน้อย ได้แก่ ช่วงปฐมวัย(อายุ 05 ปี) ช่วงวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี) และช่วงวัยรุ่น (13-18 ปี) ดังนี้ครับ

ช่วงปฐมวัย (0-5 ปี)


แน่นอนครับว่าความก้าวหน้าทางด้านไอทีส่งผลให้หลายๆ ครอบครัวเลือกที่จะใช้สมาร์ตโฟนหรือแทบเล็ตเพื่อความบันเทิงของลูก (หรือบางครั้งแทบจะเรียกได้ว่าใช้ดูแลเด็กๆ แทน) ในช่วงที่พ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องทำภารกิจอื่นที่สำคัญกว่าเหมือนภาพที่เรามักจะเห็นครอบครัวที่ดูแลลูกเล็กๆ
ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านอาหารอยู่บ่อยครั้งผลกระทบของไอทีต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารทางเดียวและมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วภายในเสี้ยววินาที ส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของลูกน้อยอย่างมาก และมักส่งผลให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการตามมาไม่ว่าจะเป็น


1. เสียสมาธิ ผมมองว่าพ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆท่านยังคงเข้าใจคลาดเคลื่อนในประเด็นนี้อยู่มากการที่ลูกน้อยสามารถนั่งเล่นหรืออยู่กับการ์ตูนที่ชอบได้เป็นชั่วโมงๆ ไม่ได้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเป็นเด็กที่มีสมาธิดีเสมอไป สิ่งเร้าที่ถูกส่งผ่านอุปกรณ์ไอทีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเกม การ์ตูน แอพพลิเคชั่นหรือแม้แต่โปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการในรูปแบบต่างๆล้วนเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่แทบจะตลอดเวลา ลักษณะของการรับรู้ข้อมูลแบบนี้ในเด็กเล็กจะขัดขวางพัฒนาการและทักษะในการคงความสนใจหรือสมาธิต่อสิ่งต่างๆ อย่างมาก ทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการคงสมาธิเพื่อการเรียนรู้ต่างๆตามมา หนักที่สุดอาจถึงขั้นเป็นโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention Deficit and Hyperactivity Disorder)

2. เสียสังคม เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีการเรียนรู้สูงมาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทางสังคมไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ภาษาผ่านการพูดและการฟังทักษะการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกผ่านสีหน้า แววตาน้ำเสียงหรือทำทาง รวมไปถึงทักษะการวางตัวหรือการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ตามบริบททางสังคมเช่น เมื่อถูกแม่ดู เด็กจะรับรู้อารมณ์โกรธของแม่ผ่านอวัจน์ภาษาต่างๆ ที่แม่แสดงออกมา เรียนรู้ภาษาผ่านการตั้งใจฟังสิ่งที่แม่พูดอย่างช้าๆและชัดถ้อยชัดคำและเรียนรู้ทักษะการตอบสนองทางสังคม ว่าควรจะทำอย่างไรในสถานการณ์นั้นๆ การเรียนรู้ทักษะทางสังคมตามกระบวนการต่างๆ เหล่านี้จะถูกขัดขวางโดยอุปกรณ์ไอที ที่นำเสนอให้เด็กได้รับรู้ข้อมูลผ่านการสื่อสารเพียงทางเดียว

3. เสียพัฒนาการ หลักการเรียนรู้อย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้คือ ความสนใจและความสนุกสนาน การปล่อยให้ลูกอยู่กับอุปกรณ์ไอทีที่พวกเขาชอบหรือพอใจอาจทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองสบายใจและประหยัดเวลา
ในการต่อกรกับลูก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญหรือเร่งรีบ แต่การปล่อยให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ จะทำให้ลูกคุณไม่สนใจที่จะเรียนรู้สิ่งเร้าอื่นๆ ที่ไม่สนุกสนานหรือน่าสนใจเท่ากับอุปกรณ์ไอทีที่พวกเขาโปรดปราน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเคลื่อนไหวและการควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่และเล็ก ด้านการเข้าใจและการใช้ภาษา นอกเหนือไปจากทักษะทางด้านการดูแลตนเองและด้านสังคมที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อนนี้

ช่วงวัยเรียน (6-12 ปี)

เด็กวัยเรียนกับอุปกรณ์ไอที่เป็นสิ่งที่แยกจากกันได้ยากในปัจจุบัน เกือบทุกโรงเรียนมีการผูกติดความเจริญก้าวหน้าทางด้านไอทีเข้ากับหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ของเด็กอย่างแนบแน่น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคม 4G สามารถสนับสนุน/ส่งเสริมการเรียนรู้และการเข้าถึงข้อมูลของนักเรียนได้มากมายมหาศาล แต่การไม่ควบคุมให้มีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

4. เสียการเรียน การแบ่งสัดส่วนในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม เป็นตัวสะท้อนทักษะในการบริหารจัดการชีวิตและระเบียบวินัยได้ดี เด็กวัยเรียนที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองให้ทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน เช่น การเรียน (และการเรียนพิเศษ)การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อน รวมไปถึง
การเล่น (เกมหรืออะไรก็แล้วแต่) ในสัดส่วนที่เหมาะสมได้นั้น ย่อมมีโอกาสที่จะขาดระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต และมีโอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานสูงกว่าเด็กคนอื่นๆ อย่างแน่นอน ผมเชื่อว่าผู้ปกครองจะไม่แปลกใจเลยถ้าลูกน้อยของคุณเริ่มมีผลการเรียนที่แย่ลงตามปริมาณเวลาที่ใช้ไปกับอุปกรณ์ไอทีเพื่อความบันเทิงที่มากขึ้น จริงไหมครับ?!?

5. เสียสุขภาพ การใช้เวลาส่วนมากไปกับอุปกรณ์ไอที ทำให้มีสัดส่วนเวลาสำหรับพฤติกรรมสุขภาพที่ดีน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (ตรงตามเวลา) การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
(ตรงตามเวลา) และที่สำคัญคือการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ พฤติกรรมสุขภาพที่น้อยลงส่งผลลบต่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างมากมีการวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่าร้อยละ 20 ของเด็กวัยเรียนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์เข้าขั้น "อ้วน" โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีและการติดเกม ทำให้มักจะชอบนั่งนอนอยู่กับที่และไม่ออกกำลังกายโดยมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์เพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอ้วนทั้งหมดเท่านั้น

6. ติดเกม การใช้เวลาไปกับอุปกรณ์ไอทีที่มากเกินไปมีความสัมพันธ์กับการติดเกมในเด็กวัยเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำว่า "เด็กติดเกม"หมายถึง เด็กที่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมมากเกินไป
จนไม่สามารถควบคุมตนเองให้เล่นในเวลาที่กำหนดได้ ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือมีความต้องการเล่นเกมนานขึ้นเรื่อยๆจากเดิมเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนอาจถึงขนาดเล่นข้ามวันข้ามคืนเมื่อถูกควบคุมหรือบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นก็จะมีพฤติกรรมในเชิงต่อต้าน หงุดหงิดหรือไม่พอใจอย่างรุนแรง ซึ่งในเด็กบางคนอาจแสดงออกเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้

ลักษณะการเล่นเกมของเต็กติดเกมจะมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของพวกเขาโดยตรงเช่น ไม่สนใจการเรียน ไม่ทำการบ้าน หนีเรียนหลับในห้องเรียน หรืออาจหนีออกจากบ้านเพื่อไปเล่นเกม ผลการเรียนตกลงจากเดิม มักชอบแยกตัวจากสังคมและกิจกรรมของครอบครัว เพราะหมกมุ่นอยู่แต่ในสังคมของเกมที่ตนเล่นจนไม่ได้ใช้ชีวิตในสังคมของความเป็นจริง โดยเด็กติดเกมบางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โกหกลักขโมย (เพื่อนำเงินไปเล่นเกม) ดื้อต่อต้านแยกตัวหรืออารมณ์ซึมเศร้า เป็นต้น
ทดลองเล่นสล็อตฟรี
7. เสพติดความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเกมหรือการ์ตูนต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมของเด็กวัยนี้ เกือบทั้งหมดมักแฝงมาซึ่งความรุนแรงทั้งสิ้น โดยอาจอยู่ในรูปแบบของการต่อสู้ แย่งชิง ลักขโมย แข่งข้นแบบดุเดือดเลือดพล่าน หรืออาศัยกลยุทธ์ชั้นเชิงที่แยบยลเพื่อเอาชนะกัน การ์ตูนหลายเรื่องหรือเกมหลายเกมอาจถึงขั้นส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรมที่บกพร่องลงไปเรื่อยๆ การที่ผู้ปกครองปล่อยปละละเลยให้เด็กวัยเรียนหมกมุ่นหรือใช้เวลากับสื่อไอทีในลักษณะนี้มากเกินไป หรือไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด ย่อมทำให้เด็กเสพติดความรุนแรงและ/หรือมีความบกพร่องในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจเผลอแสดงออกมาเป็นคำพูดที่หยาบค่าย พฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว อาจมีการประพฤติผิดกฎระเบียบของครอบครัว โรงเรียนหรืออาจถึงขั้นผิดกฎหมาย

ในฉบับต่อไปผมจะกล่าวถึงผลกระทบด้านลบทางสังคมของการใช้อุปกรณ์ไอทีแบบไม่เหมาะสมในกลุ่มเด็กวัยรุ่นอีก 5 ประการ รวมถึงเทคนิคง่ายๆที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกหลานของคุณนะครับ



เข้าชม : 5





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ถนนปานุราช ตำบลปากน้ำ  อำเภอเมือง  จังหวัดกระบี่ 81000
โทรศัพท์ 075-631746 โทรสาร 075-623310
muangkrabinfe@gmail.com www.facebook/muangkrabinfe
ตำแหน่งของคุณ ถึง สำนักงาน กศน. จังหวัดกระบี่ - Google Maps

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05