*กศน.ตำบลปลายพระยา กศน.ตำบลดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๕๗
นายธราดล ปากลาว ครู กศน.ตำบลดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๕๖
สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
กศน.ตำบลปลายพระยา ที่อยู่ : ๑๒๒/๒๔ ถนน อ่าวลึก-พระแสง ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ : ๐๘ ๑๙๕๖ ๕๙๓๔ เบอร์โทรสาร : .......-....... E-mail ติดต่อ : iam_dol@hotmail.com , Face book : กศน.ตำบล ปลายพระยา สังกัด : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลายพระยา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกระบี่
ประวัติความเป็นมา
กศน.ตำบลปลายพระยา เดิมคือศูนย์การเรียนชุมชนตำบลปลายพระยา ใช้ศาลาเอนกประสงค์บ้านเขาเขนใน หมู่ที่ 2 ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ เป็นสถานที่ในการจัดการกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ราคาถูกราคาถูกสำหรับประชาชนเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงานและการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน/สังคม เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรม กศน.ตำบลทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนมีคณะกรรมการ กศน.ตำบลที่เป็นคนในชุมชน ให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตาม ดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล
กศน.ตำบลปลายพระยา จึงได้ทำพิธีเปิด กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ราคาถูก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2553 กศน.ตำบลปลายพระยา มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนตำบลปลายพระยา สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีครู กศน.ตำบลเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา กศน.ตำบลปลายพระยา ให้เป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานตามโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษา 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้กับประชากรวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ และไม่อยู่ในระบบโรงเรียน ในระดับระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอน ปลาย มุ่งเน้นจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาวิชาการ เช่น กิจกรรมการเรียน ปรับพื้นฐาน กิจกรรมสอนเสริม กิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ กิจกรรมการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมลูกเสือและกิจกรรมอาสายุวกาชาด กิจกรรมด้านกีฬาและส่งเสริมสุขภาพตลอดถึงการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่ การศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำใน 5กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพพาณิชยกรรมและบริการ กลุ่มอาชีพความคิดสร้างสรรค์และกลุ้มอาชีพเฉพาะทาง จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างชุมชนนักปฏิบัติและรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดีและการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน และการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเซียนและหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐานและสะดวกต่อการใช้งาน เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อเนื่องของสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน รวมถึงเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตำบลปลายพระยา
สภาพของชุมชน
๑.๑ ที่ตั้ง อาณาเขต สภาพทางกายภาพและภูมิประเทศ
ตำบลปลายพระยา เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 4 ตำบลของอำเภอปลายพระยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอ ระยะทางจากตำบลถึงจังหวัดกระบี่ ประมาณ ๖๕ กิโลเมตร เดิมอยู่ในเขตปกครองของอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๖ แยกมาขึ้นกับกิ่งอำเภอปลายพระยา และเมื่อ ๑๓ เมษายน ๒๕๒๐ ยกฐานะเป็นตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชสวน มีเนินเขาและภูเขาน้อยใหญ่ สลับซับซ้อน มีต้นไม้ และพืชสวนปกคลุมพื้นที่อย่างแน่นหนา
๑.๒ เนื้อที่
ตำบลปลายพระยามีเนื้อที่ ๒ ข้างทางถนนสายอ่าวลึก-พระแสง ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒๗, ๑๗๙ ไร่ หรือประมาณ ๒๐๓.๔๙ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกตษรกรรม โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ จดอำเภอพระแสง อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ จดอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ทิศตะวันออก จดอำเภอพระแสงและ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันตก จดอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
๑.๓ จำนวนประชากร
ประชากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยามีทั้งสิ้น ๑๒,๐๑๓ คน
แยกเป็น ชาย ๖,๑๔๐ คน หญิง ๕,๘๗๓ คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๕๙ คน / ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีจำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ จาก สำนักทะเบียนอำเภอปลายพระยา) ดังนี้
|
หมู่ที่/หมู่บ้าน
|
จำนวน
ครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
หมู่ที่ 1 บ้านปากน้ำ
|
229
|
405
|
363
|
768
|
หมู่ที่ 2 บ้านเขาเขนใน
|
195
|
349
|
352
|
701
|
หมู่ที่ 3 บ้านปากหยา
|
282
|
498
|
484
|
982
|
หมู่ที่ 4 บ้านคลองพระยา
|
243
|
457
|
434
|
891
|
หมู่ที่ 5 บ้านวังจา
|
159
|
243
|
261
|
504
|
หมู่ที่ 6 บ้านบางเหียน
|
241
|
479
|
451
|
930
|
หมู่ที่ 7 บ้านหาดถั่ว
|
137
|
279
|
244
|
523
|
หมู่ที่ 8 บ้านโคกเจียก
|
315
|
560
|
525
|
1,085
|
หมู่ที่ 9 บ้านหน้าสวน
|
345
|
481
|
492
|
973
|
หมู่ที่ 10 บ้านทะเลหอย
|
391
|
732
|
716
|
1,448
|
หมู่ที่ 11 บ้านน้ำซ่ำ
|
215
|
401
|
411
|
812
|
หมู่ที่ 12 บ้านศรีพระยา
|
211
|
405
|
375
|
780
|
หมู่ที่ 13 บ้านควนเขียว
|
236
|
477
|
411
|
888
|
หมู่ที่ 14 บ้านริมสวน
|
142
|
321
|
310
|
631
|
รวม
|
3,342
|
6,140
|
5,873
|
12,013
|
๑.๔ ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกัน พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยา จะขนาบไปด้วยเทือกเขา ซึ่งเป็นแนวเขตติดต่อระหว่างอำเภอและตำบล
๑.๕ ด้านการเมืองการปกครอง
ตำบลปลายพระยา มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ซึ่งมีหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยาเต็มทั้งหมู่บ้าน ๙ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๒ ,๓,๔,๘,๑๐,๑๑,๑๒,๑๓ และหมู่ที่ ๑๔
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยา เต็มบางส่วนมีทั้งหมด ค หมู่บ้าน
ได้แก่ ๑,๕,๖,๗ และหมู่ที่ ๙
องค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยามีคณะบริหารซึ่งนำโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทำหน้าที่บริหารงาน กำหนดนโยบายแนวทางการบริหาร พัฒนาท้องถิ่นและการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
การแบ่งเขตการปกครอง ทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
ที่
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
๑.
|
นายสุคนธ์ แก้วกาญจน์
|
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๙
|
บ้านหน้าสวน
|
๒.
|
นายสุธรรม ปั้นทอง
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑
|
บ้านปากน้ำ
|
๓.
|
นายทานีย์ แก้วจินดา
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒
|
บ้านเขาเขนใน
|
๔.
|
นายชำนาญ เอียดเกลี้ยง
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓
|
บ้านปากหยา
|
๕.
|
นายสมหมาย พรหมรักษา
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔
|
บ้านคลองพระยา
|
๖.
|
นายอารี ทองหนู
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕
|
บ้านวังจา
|
๗.
|
นายนิคม สมปรีดา
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖
|
บ้านบางเหียน
|
๘.
|
นายอนันต์ ฉิมเรือง
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗
|
บ้านหาดถั่ว
|
๙.
|
นายสมคิด สมทรง
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘
|
บ้านโคกเจียก
|
๑๐.
|
นายภักดี แก้วเรือง
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๐
|
บ้านทะเลหอย
|
๑๑.
|
นายอุดม สมจันทร์
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๑
|
บ้านน้ำซ่ำ
|
๑๒.
|
นายภานุพงศ์ คงปาน
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๒
|
บ้านศรีพระยา
|
๑๓.
|
นายบัญชา ดีชู
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๓
|
บ้านควนเขียว
|
๑๔.
|
นายวรรณชัย ธรรมทอง
|
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๔
|
บ้านริมสวน
|
๒. สภาพเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลปลายพระยา ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมซึ่งเน้นหนักไปทางด้านการทำสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นยังมีอาชัพค้าขายและอาชีพรับจ้างทั่วไปนอกจากนี้ ประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยังรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพเพื่อหารายได้เสริม โดยมีกลุ่มอาชีพ ดังนี้
๑.กลุ่มชาวนา หมู่ที่ ๑ บ้านปากน้ำ
๒.กลุ่มเลี้ยงสุกร หมู่ที่ ๕ บ้านวังจา หมู่ที่ ๑๐ บ้านทะเลหอย และหมู่ที่ ๑๔ บ้านริมสวน
๓.กลุ่มเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ หมู่ที่ ๘ บ้านโคกเจียก
๔.กลุ่มผลิตน้ำดื่ม หมู่ที่ ๑๑ บ้านน้ำซ่ำ
หน่วยธุรกิจ
- องค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยา มีสหกรณ์นิคม จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ สหกรณ์นิคมปากน้ำจำกัด
- โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเดินกิจการประกอบการ จำนวน ๑ แห่งได้แก่ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม บริษัทยูนิวานิช จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่
- โรงสีในโครงการพระราชดำริ จำนวน ๑ โรง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่
- มีแหล่งท่องเที่ยวคือ ถ้ำปราสาทนาฬาคีริง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่
๓. สภาพทางสังคม
๓.๑ การศึกษา
- สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปลายพระยา มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา ๗ แห่ง
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง
- บ้านหนังสืออัจฉริยะ จำนวน ๑๑ แห่ง
- มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๓ แห่ง
๓.๒ สถาบันและองค์การทางศาสนา
- ทางด้านศาสนาและประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ ๙๙% นอกนั้นนับถือศาสนาอื่น ๆ ประมาณ ๑%
- มีสถาบันหรือองค์การทางศาสนา วัด มีจำนวน ๓ แห่ง
- สำนักสงฆ์ มีจำนวน ๙ แห่ง
๓.๓ ด้านสาธารณสุข
ตำบลปลายพระยามี
สถานบริการทางด้านสาธารณสุขดังนี้
- โรงพยาบาลของรัฐขนาด ๓๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุข จำนวน ๑ แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/ หมู่บ้านจำนวน ๒ แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๑ แห่ง
- สถานีพยาบาล จำนวน ๔ แห่ง
- อาสาสมัครสาธารณสุข อสม. มีทุกหมู่บ้าน
- และอัตราการมีการใช้ส้วมราดน้ำ เต็ม ๑๐๐%
๓.๔ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ จำนวน ๑ แห่ง คือสถานีตำรวจภูธรอำเภอปลายพระยา
- หน่วยบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลปลายพระยา จำนวน ๑ แห่ง
- สถานีดับเพลิงไม่มี แต่ใช้รถดับเพลิงของเทศบาลตำบลปลายพระยา