แผนยุทธศาสตร์ชาติ ปี 2561-2580 ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน.
วิสัยทัศน์ของประเทศ
“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
เป้าหมายการพัฒนาประเทศ
“ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติประกอบด้วย
๑) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
๒) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
๔) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
๕) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
๖) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ
##########
ด้านที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
๑. การรักษาความสงบภายในประเทศ เพื่อสร้างเสริมความสงบเรียบร้อยและสันติสุขให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติบ้านเมือง
๒. การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เพื่อแก้ไขปัญหาเดิม และป้องกันไม่ให้ปัญหาใหม่เกิดขึ้น
๓. การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติเพื่อยกระดับขีดความสามารถของกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคง
๔. การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติรวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ เพื่อสร้างเสริมความสงบสุข สันติสุข ความมั่นคง และความเจริญ ก้าวหน้า ให้กับประเทศชาติ ภูมิภาค และโลก อย่างยั่งยืน
๕. การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม เพื่อให้กลไกสำคัญต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้หลักธรรมาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ด้านที่ 2 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
๑. การเกษตรสร้างมูลค่า ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณและมูลค่า และความหลากหลายของสินค้าเกษตร
๒. อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต โดยสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต
๓. สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว โดยการรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของการท่องเที่ยวระดับโลกที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับ และเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง
๔. โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก ครอบคลุมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในด้านโครงข่ายคมนาคม พื้นที่และเมือง รวมถึงเทคโนโลยี ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
๕. พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่มีทักษะและจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์ชัดเจน
ด้านที่ 3 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
๑. การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์
๒. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุกช่วงวัย
๓. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ ๒๑ มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา
๔. การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย
๕. การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจสติปัญญา และสังคม
๖. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
๗. การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ
ด้านที่ 4 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
๑. การลดความเหลื่อมล้า สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ
๒. การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
๓. การเสริมสร้างพลังทางสังคม
๔. การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง
ด้านที่ 5 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
๑. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว
๒. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล
๓. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
๔. พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
๕. พัฒนาความมั่นคงน้่า พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
๖.ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อก่าหนดอนาคตประเทศ
ด้านที่ 6 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
๑. ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส
๒. ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่
๓. ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
๔. ภาครัฐมีความทันสมัย
๕. บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกมีความสามารถสูง มุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพ
๖. ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๗. กฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ และมีเท่าที่จ่าเป็น
๘. กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาค
###########
บทบาทหน้าที่ของสำนักงาน กศน.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ให้บุคคลได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยให้บุคคลซึ่งได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปแล้วหรือไม่ก็ตามมีสิทธิได้รับการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยได้
วิสัยทัศน์
คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสม
กับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ ๒๑
บทบาทหน้าที่
สำนักงาน กศน. มีบทบาทหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
๑. เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ*
๒. จัดทำข้อเสนอแนะ นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ การวิจัยการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากร และระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔. ส่งเสริม สนับสนุน และด าเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์และการเทียบระดับการศึกษา
๕. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่นรวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๖. จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุชุมชน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนชุมชนและแหล่งการเรียนรู้อื่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องของประชาชน
๗. ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการด าเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๘. ปฏิบัติงานอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.
๑.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
๑.๑ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย การมีจิตอาสา และอุดมการณ์ความยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ
๑.๒ ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
๑.๓ พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ชายแดน
๑.๔ ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านสังคมการเมือง
๒. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๒.๑ ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค
๒.๒ พัฒนากำลังคนให้มีทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
๒.๓ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้กับประชาชนเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ
๓. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ
๓.๑ เร่งรัดดำเนินการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อยกระดับทักษะอาชีพของประชาชนสู่ฝีมือแรงงาน
๓.๒ ส่งเสริมให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
๓.๓ ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนทุกวัย
๓.๔ เพิ่มอัตราการอ่านของประชาชน
๓.๕ เตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
๓.๖ พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กระบวนการ “สะเต็มศึกษา” (STEM Education)
๔. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
๔.๑ ส่งเสริมการรู้ภาษาไทย เพิ่มอัตราการรู้หนังสือ และยกระดับการรู้หนังสือของประชาชน
๔.๒ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา
๔.๓ ส่งเสริม และพัฒนาระบบการสะสมและเทียบโอนหน่วยการเรียน (Credit Bank System)
๔.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้
๔.๕ พัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพระยะสั้น
๔.๖ พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล
๔.๗ สร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ E-learning
๔.๘ ยกระดับการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายทหารกองประจำการ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายพิเศษอื่นๆ
๕. ยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๕.๑ ส่งเสริมให้มีการให้ความรู้กับประชาชน
๕.๒ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสังคมสีเขียว
๕.๓ ส่งเสริมให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๖. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ
๖.๑ พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
๖.๒ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
๖.๓ ส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ (ว๒๑/๒๕๖๐)